Wednesday, 23 April 2025
แกร็บ

'แกร็บ' ชี้ไทยติดท็อป 3 ประเทศยอดนิยมในภูมิภาค เผยผู้ใช้บริการต่างชาติเรียกรถพุ่ง 45%

แกร็บ ประเทศไทย ชี้ตลาดท่องเที่ยวในประเทศไทยฟื้นตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3/2565 ดันยอดใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตขึ้น 45% พร้อมเผยอินไซต์นักท่องเที่ยวจากผลสำรวจของผู้ใช้บริการจาก 6 ประเทศในภูมิภาค โหวตไทยติด 1 ใน 3 ประเทศที่อยากไปมากที่สุด

(31 ม.ค. 66) นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า การท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยภายหลังจากการประกาศผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และมีการเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างเต็มรูปแบบ เราเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกของตลาดท่องเที่ยวผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทยอยเดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 ของปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมตลอดทั้งปีที่ผ่านมาสูงกว่าเป้าหมายที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้ใช้บริการเรียกรถของแกร็บในกลุ่มชาวต่างชาติที่มีอัตราการเติบโตสูงถึง 45% (เปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้บริการในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 กับไตรมาสก่อนหน้า) โดย 5 อันดับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันของแกร็บมากที่สุดในปีที่ผ่านมา คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

“ในฐานะแพลตฟอร์มผู้ให้บริการเรียกรถสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก แกร็บมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย ด้วยการนำเสนอบริการการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัยและมีมาตรฐานเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ 3 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันของแกร็บ คือ 1) ตอบโจทย์ด้านความสะดวกสบาย โดยนักท่องเที่ยวสามารถเรียกใช้บริการได้ง่ายและสะดวกผ่านสมาร์ทโฟน เพียงเลือกจุดหมายปลายทางที่ต้องการก็มีพาร์ทเนอร์คนขับมาให้บริการถึงที่ ทั้งยังมีฟีเจอร์แชตและแปลภาษาที่ช่วยในการสื่อสารกับพาร์ทเนอร์คนขับ 2) อุ่นใจในมาตรฐานด้านความปลอดภัย ทั้งเทคโนโลยีและมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ที่มาพร้อมระบบคัดกรองพาร์ทเนอร์คนขับที่เข้มข้น อาทิ การยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้าก่อนให้บริการทุกครั้ง หรือการตรวจประวัติอาชญากรรมย้อนหลังอย่างน้อย 7 ปี และ 3) มั่นใจในราคาที่โปร่งใส ด้วยระบบแสดงค่าโดยสารล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนเรียกรถ ซึ่งช่วยประกอบการตัดสินใจและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องการพกพาเงินสด ด้วยช่องทางการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย” นายวรฉัตร กล่าวเสริม

นอกจากนี้ แกร็บ ยังได้เผยเทรนด์ด้านการท่องเที่ยวที่น่าสนใจจากผลการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการแกร็บจำนวน 10,046 รายจาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย รวมถึงไทย ดังนี้

‘หนุ่มไรเดอร์’ โดนด่า หาว่าเป็น ‘ชู้’ กับเมียชาวบ้าน เพราะเห็นโทรมาบ่อย แจง!! ‘ผมเป็นแกร็บ มาส่งออเดอร์’ อีกฝ่ายเสียงอ่อย หลังรู้ความจริง

(18 พ.ค. 67) ผู้ใช้ TikTok บัญชี basnobu23 ซึ่งเป็นไรเดอร์ส่งอาหาร ได้โพสต์คลิปวิดีโอเหตุการณ์คุยโทรศัพท์กับชายคนหนึ่ง ที่กล่าวหาตัวเขานั้น เป็นชู้กับเมียของชายคนดังกล่าว โดยระบุข้อความว่า ‘พี่ฟังผมก่อน’

ในคลิปหนุ่มไรเดอร์ได้คุยกับโทรศัพท์กับชายคนหนึ่ง โดยทันทีที่รับสาย ชายคนดังกล่าวก็ไม่ฟังอะไร กล่าวหาว่าไรเดอร์เป็นชู้กับเมียของเขา โดยบอกว่าโทรมาบ่อยขนาดนี้ เป็นชู้หรือเปล่า

ซึ่งไรเดอร์หนุ่มก็พยายามปฏิเสธ แต่ปลายสายเหมือนจะไม่ยอมฟัง และบอกว่าให้ฟังก่อนก็ยังถูกด่าไม่หยุด เมื่อมีช่องให้พูด จึงบอกว่า “ผมแกร็บครับ มาส่งออเดอร์พี่”

ทำเอาปลายสายเสียงอ่อน บอก แกร็บเหรอครับ หนุ่มไรเดอร์ตอบว่าใช่ แล้วได้ยินเสียงเหมือนหันไปถามเมียว่าสั่งอาหารมาหรือ

หลังจากคลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำเอาชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมาย ชาวเน็ตบางคนมองว่านี่อาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับไรเดอร์คนไหนก็ได้ ถ้าเป็นตัวเองจะรับคำขอโทษเป็นเงินสดเท่านั้น

ขณะที่ชาวเน็ตหลายคนก็สงสัยว่าทำไมเมียของชายที่โทรมาไม่บอกผัวตัวเองว่าสั่งข้าวมา หรือว่าจะมีกิ๊กอยู่จริง ๆ เมื่อมีคนถามว่าเจอสถานการณ์แบบนี้บ่อยไหม ไรเดอร์ก็บอกว่าเจอบ่อย

‘ชาวต่างชาติ’ เล่าความประทับใจ ทำมือถือหายใน ‘แท็กซี่’ ‘คนขับ’ รีบเอามาส่งคืนให้ ถึงแม้จะอยู่ไกล หลายร้อยกิโลเมตร

(22 พ.ค.67) ชาวต่างชาติรายหนึ่งได้ตั้งกระทู้เรดดิท บอกเล่าเรื่องราวสุดประทับใจเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ของคนไทยที่ทำเขาลืมไม่ลง

โดยเจ้าของกระทู้เล่าว่า เมื่อคืนก่อนเขาดื่มแอลกอฮอล์มากไปหน่อย ตื่นเช้ามาก็พบว่าโทรศัพท์ได้หายไป เขาจึงรีบเปิดโน้ตบุ๊กและเข้าเฟซบุ๊กเพื่อพูดคุยกับแฟน ต่อมานึกได้ว่าเผลอทิ้งโทรศัพท์ไว้ในโบลต์แท็กซี่ เขาจึงเข้าอีเมลเพื่อตรวจดูใบเสร็จและข้อมูลของคนขับ จากนั้นก็นำข้อมูลที่ได้ไปค้นหาในเฟซบุ๊ก จนพบกับคนขับ

เขารีบส่งข้อความไปหาคนขับทันที ด้านคนขับก็ตอบกลับอย่างรวดเร็ว โดยแจ้งว่าเจอโทรศัพท์อยู่บนรถและจะนำไปคืนให้ แต่คงต้องใช้เวลาเพราะตอนนี้อยู่ที่กรุงเทพฯ (ห่างจากชลบุรีประมาณ 80 ไมล์ หรือราว 128 กิโลเมตร)

และไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ทางคนขับก็ได้นำโทรศัพท์มาคืนตามที่บอกไว้ ซึ่งเขาประทับใจมากและไม่รู้จะขอบคุณอย่างไรให้เพียงพอ เขาจึงให้ทิปคนขับไปจำนวนหนึ่ง พร้อมตั้งกระทู้เพื่อแบ่งปันความประทับใจครั้งนี้

ด้านความคิดเห็นชาวเน็ตนั้น ต่างเข้ามาชื่นชมในความจิตใจดีของคนขับ พร้อมเล่าประสบการณ์การทำของหายที่เมืองไทยเพียบ ซึ่งส่วนใหญ่ค่อนข้างประทับใจในความซื่อสัตย์และความใจดีของคนไทย

“คล้ายกับฉัน ตอนนั้นนั่งแท็กซี่จากสุวรรณภูมิไปนานา หอบทั้งกระเป๋าสะพายและกระเป๋าเดินทาง แล้วดันลืมโทรศัพท์ไว้บนรถ หลังจากเช็กอิน พนักงานก็เอากระเป๋าไปไว้บนห้อง แต่พอเปิดกระเป๋าก็พบว่าโทรศัพท์หายไป เลยไปล็อบบี้แล้วขอดูกล้องวงจรปิด ดูเรื่อยๆ ทายสิว่าใครจอดรถและเดินเข้ามาในล็อบบี้พร้อมโทรศัพท์ของฉัน!? คนขับแท็กซี่ เขาขับไปครึ่งทางแล้วแต่ก็วนกลับมา ฉันทั้งตกใจและโล่งใจเลยให้ทิป 1,000 บาท แต่เขาปฏิเสธ ฉันจึงยัดเงินลงในกระเป๋าของเขา พร้อมขอบคุณ”

“อย่างน้อยปีละครั้งที่ฉันลืมโทรศัพท์ไว้ในแกร็บ แต่ฉันก็ได้มันคืนมาเสมอ ไม่ว่าคนขับจะสังเกตเห็นและเอามาคืนเอง หรือฝั่งฉันจะยืมโทรศัพท์เพื่อนเพื่อโทรไปหาคนขับก็ตาม คนขับก็จะวนกลับมาภายใน 20 นาที”

“ภรรยาของฉันเคยทำโทรศัพท์หล่นไว้บนรถตุ๊กตุ๊กในกรุงเทพ ฉันพูดได้เลยว่าเธอเสียใจมาก แต่เธอก็พยายามแสดงออกว่าโอเค ฉันเลยกระหน่ำโทรหาประมาณ 100 ครั้ง และในที่สุดคนขับก็ได้ยิน และเอาโทรศัพท์กลับมาคืนให้ภรรยา”

‘แอนโทนี่ ตัน’ ซีอีโอ Grab ทำงานหนัก วันละ 20 ชั่วโมง ด้วยเงินทุน 8 แสนบาท สร้าง ‘ยูนิคอร์น’ ตัวแรกของอาเซียนได้สำเร็จ กวาดรายได้ปีละ 6.6 หมื่นล้านบาท

(13 ต.ค. 67) ‘แกร็บ’ (Grab) สตาร์ทอัพเล็กๆ ในมาเลเซีย ที่เริ่มต้นด้วยบริการแอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ จากเงินทุนก้อนแรก 8 แสนบาท ก้าวสู่การเป็น ‘ยูนิคอร์น’ บริษัทแรกของอาเซียนในเวลาเพียงไม่กี่ปี 

เพียงเพราะ ‘แอนโทนี่ ตัน’ เด็กหนุ่มทายาทตระกูลร่ำรวยที่อยากพิสูจน์ตัวเอง จนสร้าง ‘ซูเปอร์แอป’ ที่มีรายได้ปีละ 2 พันล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 6.6 หมื่นล้านบาท ด้วยธุรกิจเจาะกลุ่ม ‘ฐานของปิรามิด’ และทำงานหนักเพื่อสร้างแอปที่ใช้งานได้จริง 

แอนโทนี่ ตัน โตมากับตำแหน่งทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลแทน  จากการทำธุรกิจผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ข้ามชาติ บริษัทตันชงมอเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศมาเลเซีย จนไม่จำเป็นต้องแสวงหาความร่ำรวยแล้ว 

ในปี 2552  แทนได้เข้าศึกษาต่อที่ Harvard Business School และพบกับ โฮย หลิง ตัน เพื่อนชาวมาเลเซียในชั้นเรียน ‘การทำธุรกิจในตลาดที่เป็นฐานของปิรามิด’ 

จนกระทั่งปีในปี 2554 ทั้งคู่ได้พูดคุยกันถึงปัญหาความปลอดภัยของระบบแท็กซี่ในมาเลเซีย โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง ซึ่งจุดประกายให้พวกเขาตัดสินใจที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

จุดเริ่มต้นของธุรกิจ Grab หลังจากที่ทั้งคู่ได้ร่วมกันร่างแผนธุรกิจเพื่อเข้าร่วมการประกวดสตาร์ทอัพในมหาวิทยาลัย และสามรถคว้ารางวัลรองชนะเลิศพร้อมเงินรางวัล 25,000 ดอลลาร์ หรือราวๆ 8 บาทเท่านั้น

จากสตาร์ทอัพเล็กๆ ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและได้รับการสนับสนุนจากบริษัทชั้นนำอย่าง SoftBank จนมีมูลค่าตลาดสูงถึง 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่เส้นทางการสร้างบริษัทให้ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

ความคาดหวังของครอบครัวที่อยากให้ตันสานต่อธุรกิจที่บ้าน มำให้ไอเดียการสร้าง Grab ถูกปฏิเสธ พ่อของเขาพูดว่า “ฉันไม่คิดว่ามันจะสำเร็จ” ประโยคกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ทันมุ่งมั่นที่จะพิสูจน์ตัวเอง

เมื่อขอเงินทุนจากพ่อไม่สำเร็จ ทันหันขอเสนอแผนธุรกิจนี้กับแม่ ซึ่งเห็นความเป็นไปได้ในธุรกิจนี้และตัดสินใจสนับสนุนเงินทุนให้เป็นคนแรก ด้วยเงินทุนที่ได้มา ทันจึงเริ่มต้นธุรกิจ Grab ภายใต้ชื่อ MyTeksi ในเดือนมิถุนายน ปี 2555 
.
ช่วงเริ่มต้นของ Grab นั้นเต็มไปด้วยความท้าทาย ตันและทีมงานต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องงบประมาณที่จำกัดในการสร้างระบบแท็กซี่ใหม่ให้กับมาเลเซีย

สำนักงานเดิมของ Grab ตั้งอยู่ในห้องเล็กๆ ในกัวลาลัมเปอร์ เป็นห้องทำงานเล็กๆ ที่ขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานอย่างเครื่องปรับอากาศขณะที่อากาศร้อนตลอดปี และไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตขนาดต้องใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตจากมือถือ

นอกจากนี้ ข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้เป็นเรื่องยากที่ทำให้ Grab ดึงคนขับมาเป็นพาร์ทเนอร์บนแพลตฟอร์ม ดังนั้นพวกเขาจึงต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

ในการเริ่มต้นธุรกิจ Grab ในช่วงแรก ๆ แทนได้เดินทางไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อโน้มน้าวให้พนักงานขับรถแท็กซี่มาลองใช้บริการ Grab

ตันสังเกตเห็นพฤติกรรมของคนขับแท็กซี่ในโฮจิมินห์ซิตี้ที่มักแวะดื่มกาแฟที่ปั๊มน้ำมันในช่วงเช้า จึงนำไปสู่ไอเดียแจกกาแฟฟรีตอน ตี 4 เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและชักชวนให้พวกเขามาร่วมงานกับ Grab นั่นเป็นวิธีเดียวที่ทำให้เค้าเข้าถึงกลุ่มไรเดอร์

ส่วนที่มะนิลา แทนใช้เวลาช่วงเช้ามืดไปทำความรู้จักกับคนขับแท็กซี่อย่างใกล้ชิด นั่งคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวชีวิตพร้อมกับดื่มเบียร์เย็นๆ เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของพวกเขาอย่างลึกซึ้ง

ปี 2561  เป็นปีที่ตลาดบริการเรียกรถในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อ Uber ยักษ์ใหญ่ด้านการเรียกรถบริการจากสหรัฐตัดสินใจขายธุรกิจในภูมิภาคนี้ให้กับ Grab คู่แข่งรายสำคัญ โดยแลกกับหุ้นใน Grab ถึง 27.5% และ Dara Khosrowshahi ซีอีโอของ Uber เข้าร่วมคณะกรรมการของ Grab 

การตัดสินใจครั้งนี้ถือเป็นการสิ้นสุดสงครามการแข่งขันที่ดุเดือดและยาวนาน ทำให้ Grab กลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในตลาด และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งในภูมิภาคอย่างมาก

แม้ว่า Grab จะประสบความสำเร็จในการสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งและขยายธุรกิจไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่บริษัทก็ต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาเรื่องการผูกขาดตลาดจากทั้งนักวิจารณ์และหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วและการครอบคลุมตลาดในหลายประเทศ 

Grab ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว เช่นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทาง และเพิ่มโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้คนในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรือที่เรียกว่า ‘ฐานของปิรามิด’

ตอนนี้นอกจาก Grab จะให้บริการเรียกแล้ว ยังขยายธุรกิจไปสู่บริการจัดส่งอาหารและสินค้า รวมถึงบริการทางการเงิน เช่น การชำระเงิน การให้กู้ยืมและธนาคารดิจิทัล ปัจจุบันแกร็บให้บริการลูกค้ากว่า 35 ล้านคน และสร้างงานอิสระกว่า 13 ล้านตำแหน่งใน 8 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา 

แกร็บเปิดสถิติปี 67 เรียกรถไปดู ‘หมูเด้ง’ ฟีเวอร์พุ่ง 267% อาหารไทย-อเมริกาโน่เย็น ครองเมนูอันดับ 1

(19 ธ.ค.67) แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยข้อมูลสถิติ 'ที่สุดแห่งปี 2024' ครอบคลุมทั้งธุรกิจการเดินทางและเดลิเวอรีในประเทศไทย โดยปีที่ผ่านมา บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ยังคงได้รับความนิยมทั้งจากคนไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะบริการใหม่อย่าง GrabCar SAVER ที่เติบโตขึ้นกว่า 400% พบกระแส 'หมูเด้งฟีเวอร์' ดันยอดเรียกรถไปสวนสัตว์เขาเขียวเพิ่มขึ้น 267% ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนและประเทศในอาเซียนติดท็อป 5 ใช้บริการมากที่สุด โดยเน้นเรียกรถไปห้างสรรพสินค้าและแหล่งช้อปปิ้ง ฟากบริการฟู้ดเดลิเวอรี เมนู 'อาหารไทย' และ 'อเมริกาโน่เย็น' ยังครองใจผู้ใช้บริการเป็นอันดับหนึ่ง กระแสไวรัลของหมีเนยดันยอด Butterbear พุ่งเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ 'ดูไบช็อคโกแลต' 'ชาผลไม้พรีเมียม' และ 'สมูตตี้เพื่อสุขภาพ' เป็นเมนูมาแรงแห่งปี

ปี 2567 เรียกรถผ่านแอปฯ ยังคงเติบโต รับอานิสงส์ 'ท่องเที่ยวคึกคัก-หมูเด้งฟีเวอร์-ไลน์อัพอีเวนท์' บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ยังคงได้รับความนิยมจากคนไทยและต่างชาติ โดยมียอดใช้บริการสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริการใหม่อย่าง GrabCar SAVER ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเพื่อนำเสนอทางเลือกใหม่สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเรียกรถในราคาที่ประหยัดลง โดยมีอัตราการเติบโตสูงถึงกว่า 400% ในหัวเมืองหลัก

กระแส 'หมูเด้ง' ที่กลายเป็นขวัญใจของคนทั่วโลก ไม่เพียงช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวในประเทศ แต่ยังดันยอดใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ที่เดินทางไปสวนสัตว์เปิดเขาเขียวให้เติบโตขึ้นกว่า 267% 

นโยบายรัฐบาลที่ผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็น 'World Class Event Hub' ทำให้ปีนี้เราได้เห็นความคึกคักของวงการอีเวนต์ ไม่ว่าจะเป็น งานประชุมและนิทรรศการ งานแฟร์ รวมถึงการจัดคอนเสิร์ตของศิลปินไทยและเทศ ซึ่งส่งผลให้ยอดใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ไปงานเหล่านี้เติบโตขึ้นถึง 25% โดยเฉพาะการเดินทางไปราชมังคลากีฬาสถาน ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ อิมแพ็คอารีนา และไบเทค บางนา 

ต่างชาติมั่นใจใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ไป “สนามบิน แหล่งช้อปปิ้ง และเที่ยวเมืองรอง”  ด้วยบริการที่สะดวกสบายและราคาที่โปร่งใสทำให้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว สะท้อนผ่านยอดใช้บริการที่สนามบินต่าง ๆ ซึ่งเติบโตขึ้นกว่า 67% โดย 5 ชาติที่ใช้บริการมากที่สุด คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ห้างสรรพสินค้าและแหล่งช้อปปิ้งยังคงเป็นจุดหมายปลายทางหลักที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเดินทางไป โดย 5 สถานที่ยอดฮิต คือ ไอคอนสยาม (ICONSIAM) เซ็นทรัลเวิลด์ (CentralWorld) สยามพารากอน (Siam Paragon) ถนนข้าวสาร และตลาดนัดจตุจักร นอกจากนี้ อีกหนึ่งห้างที่มาแรงที่สุด คือ เอ็มสเฟียร์ (EMSPHERE) ไลฟ์สไตล์มอลล์ใจกลางสุขุมวิท ซึ่งเพิ่งเปิดตัวในปีที่ผ่านมา

จังหวัดเมืองรองยังได้รับความนิยมต่อเนื่องจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล สะท้อนผ่านยอดใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ที่เติบโตขึ้นกว่า 90% โดยเฉพาะใน 5 เมืองน่าเที่ยวอย่างเชียงราย ตาก อุดรธานี อุบลราชธานี และพิษณุโลก

ฟีเจอร์มาแรง 'จองรถล่วงหน้า ใช้รถอีวี' ฟีเจอร์จองรถล่วงหน้า (Advance Booking) กลับมาได้รับความนิยมหลังแกร็บประกาศปรับโฉมใหม่ โดยสามารถจองรถล่วงหน้าได้ถึง 7 วันและมีประกันคุ้มครองสูงสุดถึง 800,000 บาท โดยผู้ใช้บริการส่วนใหญ่นิยมใช้บริการเพื่อเดินทางไปสนามบิน ไม่ว่าจะเป็น สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ และกระบี่

คนไทยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สะท้อนผ่านจำนวนผู้ใช้บริการที่ใช้ฟีเจอร์เลือกใช้รถอีวี (Grab EV Rides) เพิ่มขึ้นกว่า 200% โดยฟีเจอร์ดังกล่าวพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสค้นหารถ EV ในพื้นที่และช่วงเวลานั้นๆ เพื่อให้บริการเป็นตัวเลือกแรก

'อาหารไทย' และ 'อเมริกาโนเย็น' ครองใจคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง อาหารไทยยังคงครองใจผู้ใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี โดยเฉพาะเมนูสั่งง่ายในราคาสบายกระเป๋า โดย 5 เมนูขายดีแห่งปี คือ ส้มตำ ไก่ทอด ข้าวมันไก่ หมูปิ้ง รวมถึงเมนูที่ทำจากหมูอย่าง 'ไข่พะโล้' และ 'ข้าวขาหมู' ซึ่งมียอดสั่งในเดือนกันยายนเติบโตขึ้นกว่า 38% จากอิทธิพลของ 'หมูเด้ง' ฟีเจอร์ ขณะที่กาแฟและชายังคงเป็นเมนูเครื่องดื่มขายดีตลอดปี นำโดย 'อเมริกาโน่เย็น' กาแฟดำไม่ใส่น้ำตาลที่ตอบโจทย์คอกาแฟสายสุขภาพ โดยมียอดสั่งรวมทั้งปีถึง 5 ล้านแก้ว รองลงมา คือ 'ชาไทย' โดยเฉพาะเมนู 'เสลอปี้ชาไทย' สุดฮิตที่แทบทุกแบรนด์ส่งมาชิงตลาด ตามมาด้วยเอสเพรสโซ่เย็น ชาเขียวเย็น และชานมไข่มุก

กระแส 'บัตเตอร์แบร์' แรงไม่หยุด 'ดูไบช็อคโกแลต ชาผลไม้ สมูตตี้' เมนูมาแรงแห่งปี กระแสไวรัลของหมีเนยขวัญใจโซเชียลมาแรงไม่แผ่วตลอดทั้งปี ทำให้ยอดสั่งเมนูต่าง ๆ ของบัตเตอร์แบร์ (Butterbear) พุ่งเป็นประวัติการณ์โดยเติบโตกว่า 1,200% ชาผลไม้พรีเมียมแบรนด์ดังจากประเทศจีนที่ตบเท้าเข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น เจี้ยนชา (JIAN CHA) ชาจี (CHAGEE) และ ไนซือ (NaiXue) ได้รับกระแสความนิยมจากคนไทยไม่ขาดสาย โดยมียอดขายเฉลี่ยเติบโตขึ้นถึง 10 เท่า โดยเฉพาะ 'ชาองุ่นปั่นครีมชีส' ที่กลายเป็นไอเทมที่มาแรงที่สุดในปีนี้

เมนูเพื่อสุขภาพยังคงเป็นที่นิยมในกลุ่มฟู้ดดี้สายเฮลท์ตี้ ไม่ว่าจะเป็น อาซาอิโบลว์ที่ดังต่อเนื่องข้ามปี สลัดแร็ปผักล้น ไปจนถึงสมูตตี้เพื่อสุขภาพที่เป็นกระแสจาก 'น้ำปั่น Erawon' จนกลายเป็นอีกหนึ่งเมนูฮิตติดลมบน โดยเฉพาะ Oh! Juice แบรนด์น้องใหม่จากโอ้กะจู๋ ที่ปั่นทั้งกระแสและยอดขายไปอย่างถล่มทลายจนเติบโตขึ้นกว่า 400% ภายในระยะเวลา 3 เดือน 

ฟากของหวานอย่าง 'ดูไบช็อกโกแลต' รวมถึงเมนูขนมหวานที่มีส่วนผสมของถั่วพิตาชิโอ กลายเป็นไอเทมสุดฮอตแห่งปี โดยเฉพาะแบรนด์ The Rolling Pinn ที่มียอดขายถล่มทลายในช่วงครึ่งปีหลัง และทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นกว่า 20 เท่า 

ฟีเจอร์มาแรง 'สั่งเป็นกลุ่ม กินที่ร้าน' ฟีเจอร์คำสั่งซื้อกลุ่ม (Group Order) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นโดยมียอดสั่งอาหารเติบโตขึ้นสองเท่าหลังแกร็บฟู้ดอัปเกรดฟีเจอร์ให้สามารถสั่งอาหารร่วมกันได้สูงสุดถึง 10 คนและเพิ่มทางเลือกในการแบ่งจ่ายได้ถึง 3 ออปชัน เทรนด์การกินข้าวนอกบ้านดันให้ฟีเจอร์กินที่ร้าน (Dine Out) เติบโตขึ้น โดยมียอดใช้บริการเติบโตขึ้นกว่า 11 เท่าในไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะในร้านบุฟเฟต์ ซึ่ง 3 ร้านที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ โม โม่พาราไดซ์ (Mo-Mo-Paradise) โคเอ็น (Kouen) และซูกิชิ (Sukishi)  


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top