Thursday, 8 May 2025
เจ๊ออย

THE STATESTIMES เปิดตำรา ไขข้อสงสัย ‘ให้โดยเสน่หา’ คืออะไร เรียกคืนได้หรือไม่

(28 ต.ค. 67) จากกระแสข่าวระหว่าง ‘ทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด’ กับ ‘เจ๊อ้อย’ ถึงเงินพิพาทกว่า 71 ล้านบาท ที่เกิดขึ้นนำมาสู่ข้อสงสัยให้กับสังคมว่า ‘การให้โดยเสน่หา’ คืออะไร 

การให้โดยเสน่หา หรือ การให้ อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 ลักษณะที่ 3 ให้ และอยู่ในบรรพที่ 3 คือ เอกเทศสัญญา

ดังนั้น การให้ หรือ ให้โดยเสน่หา คือ สัญญารูปแบบหนึ่งนั้นเอง 

โดยมาตรา 521 ได้บัญญัติไว้ว่า “อันว่าให้นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น”

สรุปง่าย ๆ คือ การมอบทรัพย์สินของตัวเองให้คนอื่น โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนนั้นเอง 

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ได้กำหนดไว้ว่าในบางกรณีผู้ให้โดยเสน่หา หรือ ผู้ให้สามารถขอทรัพย์สินของตนเองคืนได้ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 531 ความว่า

“อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาชญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายลักษณะอาชญา หรือ
(2) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ
(3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้”

ซึ่งจากการสืบค้นคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งเป็น Case Study สำหรับเรื่องกฎหมายแล้ว พบว่าส่วนใหญ่เรื่องที่ขึ้นศาลเกี่ยวกับการให้ จะเกี่ยวข้องกับการขอทรัพย์สินคืน เนื่องจากประพฤติเนรคุณจากเหตุทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง ผ่านการหมิ่นประมาทผู้ให้นั่นเอง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top