Tuesday, 22 April 2025
เครื่องบินระเบิด

3 มีนาคม พ.ศ.2544 เครื่องบินการบินไทย ระเบิดคาลานจอด ก่อน ‘ทักษิณ’ จะขึ้นเครื่องเพียงไม่กี่นาที 

วันนี้ เมื่อ 22 ปีก่อน เครื่องบินของการบินไทย เกิดระบิดขึ้นก่อนที่ผู้โดยสารขึ้นเครื่องไม่กี่นาที 

เครื่องบินลำดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้น กลางสนามบินดอนเมือง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้คนจำนวนมาก โชคดีของผู้โดยสารที่ยังไม่มีใครขึ้นบนเครื่องบิน จึงไม่มีผู้โดยสารสังเวยชีวิตในครั้งนั้น มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คนอยู่บนเครื่องและในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน

เครื่องบินโบอิง 737-4D7 ของการบินไทย เที่ยวบินที่ 114 ที่มีกำหนดการเดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปท่าอากาศยานเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เวลา 14.48 น. แต่ปรากฏว่า 35 นาทีก่อนกำหนดการบิน ขณะที่เครื่องจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เกิดการระเบิดขึ้น ผลการสอบสอบสวนพบว่าเกิดการสันดาปที่ถังน้ำมันส่วนกลาง ซึ่งอยู่ใกล้กับระบบปรับอากาศซึ่งทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีความร้อนสูง ขณะเกิดเหตุยังไม่มีผู้โดยสารอยู่บนเครื่อง มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน

ทั้งนี้ เที่ยวบินดังกล่าว มีบุคคลสำคัญหลายคนเดินทางไปด้วย รวมทั้งนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และพานทองแท้ ชินวัตร บุตร ซึ่งจะเดินทางไปร่วมพิธีเปิดศูนย์การค้าสุรวงศ์เซ็นเตอร์ ของ ‘เจ๊แดง’ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่จังหวัดเชียงใหม่

26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ‘เลาดาแอร์’ สายการบินออสเตรีย เกิดอุบัติเหตุตก ในจ.สุพรรณบุรี คร่าชีวิตไป 223 คน หลังบินสู่ท้องฟ้าได้เพียง 16 นาทีเท่านั้น

เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 767 ของสายการบิน เลาดาแอร์ ประเทศออสเตรีย เส้นทางบิน ฮ่องกง-กรุงเทพฯ-เวียนนา บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือรวม 223 คนทะยานออกจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

หลังบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เพียง 16 นาทีเศษ ก็เกิดเสียงระเบิดกึกก้องเหนือท้องฟ้าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ พุเตย หมู่ 7 ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อเวลา 23.20 น. ชาวบ้านแถวนั้นเห็นดวงไฟขนาดใหญ่ตกจากท้องฟ้าพุ่งลงสู่พื้นดิน ทั้ง 223 คน เสียชีวิต เป็นชาวต่างชาติ 184 คน ชาวไทย 39 คน

จากการตรวจพิสูจน์กล่องดำ พบสาเหตุสำคัญที่สุดคือกลไกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ทรัสต์ รีเวิร์สเซอร์’ (Thrust Reverser) ที่เครื่องยนต์หมายเลข 1 ซึ่งทำหน้าที่ชะลอความเร็วของเครื่องบินขณะบินลงเกิดทำงานขึ้นกะทันหันอย่างไม่รู้สาเหตุ ขณะที่เครื่องบินยังอยู่สูงบนท้องฟ้าที่ระดับความสูง 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

ประกอบกับนักบินที่ 1 ไม่เชื่อไฟสัญญาณเตือนภัยที่กะพริบขึ้นมาในระยะที่เครื่องบินกำลังบินสูงราว 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล แล้วไม่ตรวจสอบแก้ไข จึงก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมสลดครั้งนี้

3 มีนาคม พ.ศ. 2544 เครื่องบินโบอิ้งการบินไทย ระเบิดคาลานจอด ก่อน ‘ทักษิณ ชินวัตร’ จะขึ้นเครื่องเพียงไม่กี่นาที

วันนี้ เมื่อ 24 ปีก่อน เครื่องบินโบอิ้ง 737-4D7 ของการบินไทย เที่ยวบินที่ 114 เกิดระเบิดขึ้นก่อนที่ผู้โดยสารขึ้นเครื่องไม่กี่นาที 

เครื่องบินลำดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้น กลางสนามบินดอนเมือง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้คนจำนวนมาก โชคดีของผู้โดยสารที่ยังไม่มีใครขึ้นบนเครื่องบิน จึงไม่มีผู้โดยสารสังเวยชีวิตในครั้งนั้น มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คนอยู่บนเครื่องและในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน

เครื่องบินโบอิ้ง 737-4D7 ของการบินไทย เที่ยวบินที่ 114 ที่มีกำหนดการเดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปท่าอากาศยานเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เวลา 14.48 น. แต่ปรากฏว่า 35 นาทีก่อนกำหนดการบิน ขณะที่เครื่องจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เกิดการระเบิดขึ้น ผลการสอบสวนพบว่าเกิดการสันดาปที่ถังน้ำมันส่วนกลาง ซึ่งอยู่ใกล้กับระบบปรับอากาศซึ่งทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีความร้อนสูง ขณะเกิดเหตุยังไม่มีผู้โดยสารอยู่บนเครื่อง มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน

ทั้งนี้ เที่ยวบินดังกล่าว มีบุคคลสำคัญหลายคนเดินทางไปด้วย รวมทั้งนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และพานทองแท้ ชินวัตร บุตร ซึ่งจะเดินทางไปร่วมพิธีเปิดศูนย์การค้าสุรวงศ์เซ็นเตอร์ ของ ‘เจ๊แดง’ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่จังหวัดเชียงใหม่

หลังเกิดเหตุนายทักษิณ แถลงว่า การระเบิดนี้เป็นการก่อวินาศกรรมเพื่อหวังลอบสังหารตนเอง โดยฝีมือของผู้เสียผลประโยชน์ชาวต่างชาติ (ว้าแดง) เนื่องจากนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล หลังจากที่เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานของไทยตรวจพบหลักฐานที่เชื่อว่าอาจเป็นร่องรอยของระเบิดซีโฟร์หรือเซมเท็กซ์ (Semtex)

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11 เมษายน 2544 คณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่งแห่งชาติของสหรัฐ (National Transportation Safety Board) ที่ส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางเข้ามาร่วมสอบสวนด้วย แถลงว่า ได้นำชิ้นส่วนไปทดสอบที่ห้องทดลองของเอฟบีไอแล้วไม่พบร่องรอยของวัตถุระเบิด และว่ากรณีนี้คล้ายกับการระเบิดของเครื่องโบอิง 737 ของสายการบินฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของถังน้ำมันเชื้อเพลิง

ภายหลังการระเบิด ท่าอากาศยานในประเทศไทยได้กำหนดมาตรการตรวจสอบผู้โดยสารรัดกุมขึ้น มีการตรวจสอบบัตรประจำผู้โดยสารทุกคนก่อนขึ้นเครื่อง มีการเอกซเรย์กระเป๋า และสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดซื้อเครื่องบินประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ‘ไทยคู่ฟ้า’


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top