Friday, 16 May 2025
เครือCP

CP Seeding 'องค์ความรู้-ศักยภาพ' แห่งเครือ CP หนุน!! ผู้ประกอบการ SME ไทย GO INTER

จากรายการ THE TOMORROW ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES เมื่อวันที่ 18 พ.ย.66 ได้พูดคุยกับ คุณเอกชัย ตั้งรัตนาวลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ซีดดิ้ง โซเชียลอิมแพคท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ในฐานะขององค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME ไทยทั่วประเทศ ได้รับโอกาสทางธุรกิจผ่านแพลตฟอร์ม CPseeding.com และสามารถขยายธุรกิจไประดับโลกได้ ว่า...

CP Seeding เป็นหน่วยงานที่ CP สร้างขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ SME เติบโตได้ ด้วยกลไกต่าง ๆที่ทาง CP พร้อมสนับสนุน เนื่องจากมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจประสบความสำเร็จมายาวนาน ซึ่งถ้านำองค์ความรู้ของ CP มาสนับสนุนผู้ประกอบการจะทำให้เติบโตได้เร็วขึ้น รวมทั้งกระบวนการพัฒนาและตลาดรองรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

คุณเอกชัย กล่าวว่า "เรามองผู้ประกอบการคนไทยเป็นดั่งพี่น้อง ดังนั้นการพัฒนาผู้ประกอบการ หรือธุรกิจ ของพี่น้องคนไทย ให้เติบโตไปด้วยกัน จะเป็นการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจทั้งประเทศให้ดีขึ้น และยกระดับสินค้าไทยให้มีมาตรฐานและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น"

คุณเอกชัย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "ผมมอง Mindset เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ Mindset เถ้าแก่ เราต้องสร้างความเข้าใจในธุรกิจ เข้าใจกลไกของธุรกิจ โดย CP Seeding มีการวางกรอบการพัฒนาผู้ประกอบการออกเป็น 3 กรอบ ได้แก่ 

1.การเรียนรู้ตลาดก่อน ว่าสินค้าของผู้ประกอบการจะไปในทิศทางไหน ตอบโจทย์ผู้บริโภคหรือไม่ 
2.การทำต้นแบบสินค้าจริง เพื่อทดลองตลาดจริงๆ แล้วนำมาพัฒนาปรับปรุง 
3.การเข้าสู่ตลาด เนื่องจากทาง CP มีฐานตลาดจำนวนมาก ทำให้วิเคราะห์ตลาดให้เหมาะสมกับสินค้าได้"

ปัจจุบัน CP Seeding ได้เปิดรับนักธุรกิจที่สนใจ ได้แก่ 
1.กลุ่มเริ่มคิดทำธุรกิจ หรือยังไม่มีไอเดีย 
2.กลุ่มเกษตรกร 
3.กลุ่มสตรีทฟู้ด 
4.กลุ่มร้านอาหารและโรงแรม 
5.กลุ่มที่มีโรงงานและอยากผลิตสินค้าเข้าห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ 
6.กลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว ซึ่งจะสามารถขยายเพิ่มเติมไปยังต่างประเทศได้ 

ในส่วนจุดเด่นของ CP Seeding คุณเอกชัย กล่าวว่า "เป็นเรื่องของการ Support ข้อมูลให้กับผู้ประกอบการ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของผู้ประกอบการคือ ข้อมูล และเวลา จะเดินช้าไม่ได้ โดยผู้ประกอบการที่มาปรึกษากับเราส่วนใหญ่นิยาม CP Seeding ว่าเหมือนบันไดเลื่อน ช่วยให้สำเร็จรวดเร็วมากขึ้น ส่วนเป้าหมาย คาดหวังว่าจะช่วยผลักดันธุรกิจ หรือผมใช้คำว่าหาทีมชาติ 100 ผู้ประกอบการให้ไปตลาดโลกให้ได้ ซึ่งในปัจจุบันมีโครงการพาผู้ประกอบการไทยไปสำรวจตลาดที่ต่างประเทศ (Business Survey) ซึ่งเราจะพาไปดูตลาดจริง กับผู้รู้จริง ๆ สำรวจพฤติกรรมของผู้ซื้อในแต่ละประเทศว่าเป็นอย่างไร มี feedback กับสินค้าของเราอย่างไร ซึ่งตอนนี้มี แพลนพาผู้ประกอบการไปในรอบ ๆ บ้านเราก่อน เช่น กัมพูชา มาเลเซีย จีน เป็นต้น" 

สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.cpseeding.com/ ทางบริษัทฯ เชื่อว่ากิจกรรมดังกล่าวจะช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ เติมเต็มองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

'มาซาโตชิ อิโตะ' ต้นตระกูลเจ้าของยักษ์สะดวกซื้อ หลังมีข่าวผนึก CP สกัดค้าปลีกแคนาดาเทคโอเวอร์

(31 ม.ค.68) หนึ่งข่าวแวดวงธุรกิจช่วงนี้ที่ถูกกล่าวถึงกันมากคือ รายงานข่าวของสื่อท้องถิ่นญี่ปุ่นที่ว่า ตระกูลอิโตะ (Ito)ผู้ก่อตั้งและเจ้าของบริษัท 7-ELEVEN ญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ เซเว่น& ไอ โฮลดิงส์ (Seven & i Holdings)เจ้าของร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN มีสาขาทั่วโลก ติดต่อกลุ่มธุรกิจเครือ CP เจริญโภคภัณฑ์ ของเจ้าสัว ธนินท์ เจียรวนนท์ ให้ช่วยเหลือเพื่อกันไม่ให้บริษัทร้านสะดวกซื้อแคนาดาชื่อดัง Alimentation Couche-Tard เข้าเทคโอเวอร์กิจการในราคา 47 พันล้านดอลลาร์ 

แม้ว่าปัจจุบันสมาชิกตระกูลอิโตะ จะไม่ได้ทำหน้าที่บริหารกลุ่มเซเว่น& ไอ โฮลดิงส์ โดยตรงแล้วก็ตาม โดยให้นายริวอิจิ อิซากะ รับหน้าที่ประธานและซีอีโฮของกลุ่มเซเว่น& ไอ โฮลดิงส์ แทน แต่ปัจจุบันตระกูลอิโตะยังคงมีบทบาทและถือหุ้นใน เซเว่น& ไอ โฮลดิงส์ อยู่ไม่น้อย

ก่อนหน้านี้ในปี 2023 กลุ่มเซเว่น& ไอ โฮลดิงส์ เพิ่งสูญเสียบุคคลสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเกิดขึ้นของแบรนด์ 7-ELEVEN ในญี่ปุ่น นั่นคือการเสียชีวิตของนาย มาซาโตชิ อิโตะ อดีตประธานและผู้ก่อตั้งกลุ่ม เซเว่น& ไอ โฮลดิงส์ ที่เสียชีวิตด้วยโรคชราในวัย 98 ปี เมื่อ 14 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา

นายมาซาโตชิ อิโตะ นับว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างแบรนด์ 7-ELEVEN ให้รู้จักไปทั่วญี่ปุ่นรวมถึงทั่วโลก ต้องเท้าความก่อนว่าเชนแฟรนไชนส์ร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN นั้นแรกเริ่มเดิมทีมีต้นกำเนิดในเมืองเออร์วิง รัฐเท็กซัส ของสหรัฐ โดย โจ ซี. ทอมป์สัน (Joe C. Thompson) กระทั่งต่อมาขายหุ้นบริษัทให้กับกลุ่ม‘อิโตะ-โยคาโดะ’ (Ito-Yokado) ของตระกูลอิโตะ 

ย้อนกลับมาที่ประวัติของมาซาโตชิ อิโตะ ย้อนไปในปี 2499 นายอิโตะรับช่วงต่อธุรกิจร้านเสื้อผ้าขนาดเล็กต่อจากลุงและพี่ชายต่างมารดา ก่อนจะเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น ‘อิโตะ-โยคาโดะ’ (Ito-Yokado) และเปลี่ยนธุรกิจไปเป็นเชนร้านสะดวกซื้อครบวงจร ที่ขายทุกอย่างตั้งแต่ของชำไปจนถึงเสื้อผ้า และได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในปี 2515

ในเวลาเดียวกัน นายโทชิฟุมิ ซูซุกิ ผู้บริหารคนหนึ่งของ อิโตะ-โยคาโดะ ได้เป็นเจอร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น ขณะเดินทางเยือนสหรัฐฯ พวกเขาเล็งเห็นโอกาส ในเวลาต่อมา อิโต-โยคาโดะ จึงได้ทำข้อตกลงกับบริษัทสหรัฐฯ ‘เซาท์แลนด์ คอร์เปอเรชัน’ (Southland Corporation) ซึ่งเป็นบริษัทแม่เจ้าของ เซเว่น อีเลฟเว่น ในสหรัฐ นำแบรนด์เข้ามาทำตลาดแดนอาทิตย์อุทัย และเปิดร้านสาขาแรกในญี่ปุ่นในปี 2517

หลังจากนั้นในเดือนมีนาคม 2533 บริษัทของนายอิโตะก็เข้าซื้อหุ้น 70% ของบริษัท เซาท์แลนด์ คอร์เปอเรชัน หลังเซาท์แลนด์ฯ ประสบปัญหาหนี้ท่วมจนต้องยื่นล้มละลาย ทำให้นายอิโตะได้สิทธิ์ในการบริหารกิจการทั้งหมดของเซาท์แลนด์ฯ ก่อนจะขยายสาขาของ เซเว่น อีเลฟเว่น ไปในหลายประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ในปี 2535 นายอิโตะต้องลาออกจากตำแหน่งใน อิโตะ-โยคาโดะ เพื่อรักษาความสงบในการประชุมผู้ถือหุ้น หลังจากผู้บริหารของบริษัท 3 คนถูกกล่าวหาว่า จ่ายเงินผิดกฎหมายให้กลุ่มแก๊งยากูซ่า

จากนั้นในปี 2548 บริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ ก็ถูกก่อตั้งขึ้น และมีการปรับโครงสร้างการบริหาร ให้ อิโตะ-โยคาโดะ ไปเป็นบริษัทสาขาแทน แต่ทางบริษัทยังให้ความสำคัญกับนายอิโตะ โดยตัว ‘ไอ’ (i) ของชื่อ เซเว่น แอนด์ ไอ มีที่มาจากอักษรตัวแรกจากชื่อของนายอิโตะกับบริษัท อิโตะ-โยคาโดะ และนายอิโตะยังได้รับตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ด้วย

ปัจจุบัน เซเว่น อีเลฟเว่น เป็นร้านสะดวกซื้อครบวงจรที่มีสาขามากกว่า 83,000 แห่งใน 17 ประเทศทั่วโลก โดย 1 ใน 4 ของจำนวนนี้อยู่ในประเทศญี่ปุ่น คู่แข่งหลักของเซเว่น อีเลฟเว่น ได้แก่ ลอว์สัน (Lawson) ที่มีเจ้าของเป็นชาวญี่ปุ่นเช่นกัน และแฟมิลี มาร์ท (Family Mart) ซึ่งเป็นแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ แต่ทั้ง 2 เจ้าก็ยังมีจำนวนสาขาทั่วโลกไม่เยอะ หรือทั่วถึง เทียบเท่ากับอาณาจักรของเซเว่น อีเลฟเว่น 

กล่าวกันว่ามุมมองธุรกิจที่เฉียบแหลมของอิโตะ ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ที่ปรึกษาด้านการจัดการของเขา ผู้ซึ่งเคยยกย่องอิโตะว่า "เป็นผู้ประกอบการและผู้สร้างธุรกิจที่โดดเด่นคนหนึ่งของโลก"

ปี 2531 อิโตะเคยให้สัมภาษณ์กับ The Journal of Japanese Trade and Industry ว่าเมื่อครั้งที่เขาเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในปี 2503 เขาเกิดความรู้สึกตกใจว่า "ทำไมทุกคนที่นี่ถึงดูร่ำรวย ในขณะญี่ปุ่นเวลานั้นเศรษฐกิจย่ำแย่ และอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2"

เขาจึงเริ่มศึกษาจำนวนผู้บริโภคที่แท้จริงในสหรัฐ จนพบว่ามีขนาดใหญ่ และลองหาเทคนิคการจัดจำหน่ายที่เป็นไปได้เพื่อตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มใหญ่นี้

“แม้ผู้คนอยู่ในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่พวกเขายังคงมีความต้องการโดยพื้นฐานเหมือนกัน และระบบการจัดจำหน่ายของญี่ปุ่น จะเริ่มเหมือนของสหรัฐมากขึ้น เมื่อสังคมผู้บริโภคของญี่ปุ่นเติบโตขึ้น”

อิโตะ เป็นผู้ประกอบการที่สร้างธุรกิจในยุคหลังสงคราม เขาได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ปั้นแบรนด์ระดับโลกที่จำหน่ายสินค้าทุกอย่าง ตั้งแต่โยเกิร์ตไปจนถึงอาหารสำเร็จรูปและยารักษาโรค  ตลอดช่วงปี 2513 -2523 มีผู้สนใจเสนอซื้อกิจการและขยายกิจการหลายครั้งหลายครา

ในบทสัมภาษณ์ของอิโตะเมื่อ 2531 เขาเคยกล่าวว่า “ผมมักถูกถามว่า ประสบความสำเร็จได้ เพราะทำงานหนักหรือเพราะโชคดี คำตอบของผม คือ ทั้งสองอย่าง”

สำหรับบริษัท Seven & i Holdings ปัจจุบันมีบริษัทโฮลดิ้งของตระกูลอิโตะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ  Ito Kogyo KK มีสัดส่วนถือหุ้นประมาณ 8.14%


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top