Tuesday, 22 April 2025
อลงกรณ์

ลือสะพัด”อลงกรณ์จะย้ายพรรคไปเพื่อไทยหลังพบชัชชาติ” เจ้าตัวแจงสร้างมิติใหม่ ”การเมืองไร้รอยต่อ“

นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีต รัฐมนตรีและอดีต ส.ส.6สมัย พรรคประชาธิปัตย์โพสต์ในเฟสบุ๊คส่วนตัวกรณีมีคำถามเรื่องการย้ายพรรคไปเพื่อไทยหลังจากมีข่าวไปพบหารือนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยนายอลงกรณ์เขียนชี้แจงเรื่องนี้เกี่ยวกับ“การเมืองที่ไร้รอยต่อ”ไว้อย่างน่าสนใจดังต่อไปนี้

“การเมืองที่ไร้รอยต่อ“ Seamless politics กรณีมีข่าว”อลงกรณ์-ชัชชาติ“ผนึกความร่วมมือ“กทม.-จีน”ด้านพลังงานสะอาดและยานยนต์ไฟฟัาโดยฝ่ายหนึ่งนำโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร (พรรคประชาธิปัตย์)กับอีกฝ่ายหนึ่งนำโดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พรรคเพื่อไทย) ทำให้เพื่อนๆและสื่อมวลชนหลายคนสอบถามด้วยความกังขาว่าคุยกันรู้เรื่องหรือ??? บางคนตีความไปว่าผมจะย้ายพรรคไปเพื่อไทยใช่ไหม??? ผมถามกลับไปว่า ทำไมถึงคิดเช่นนั้นก่อนจะถามต่อไปว่า เข้าใจคำว่า “การเมืองที่ไร้รอยต่อ”(seamless politics)ไหม???  ย้อนถามแบบนี้ก็งงกันสิครับ

ผมอธิบายสั้นๆว่า “การเมืองที่ไร้รอยต่อ” หมายถึงวัฒนธรรมทางการเมืองที่พรรคการเมืองหรือนักการเมืองที่อยู่คนละพรรคทำงานร่วมมือกันได้ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยก้าวความความแตกต่างทางการเมืองหรือการแข่งขันทางการเมือง ผมเชื่อว่าท่านผู้ว่าชัชชาติก็มีแนวความคิดความเชื่อเช่นเดียวกับผมในเรื่องการเมืองที่ไร้รอยต่อ ท่านให้เกียรติและแสดงออกอย่างกระตือรือร้นในระหว่างการประชุมหารือ และแสวงหาความร่วมมือที่เป็นไปได้ในทุกมิติ โดยปราศจากร่องรอยการแบ่งพรรค แบ่งฝ่าย ยิ่งกว่านั้นเรายังได้พูดถึงความร่วมมือในการยกระดับการศึกษาด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น เยเนอเรทีฟ เอไอ(Generative AI-ปัญญาประดิษฐ์) ในระบบ AI Classroom และความร่วมมือในโครงการกรุงเทพสีเขียว 2030( Green Bangkok 2030)เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและคุณภาพของเมืองหลวงของประเทศ เป็นต้น

ความร่วมมือระหว่างท่านผู้ว่าชัชชาติและผมคือหนึ่งในตัวอย่างของการเมืองที่ไร้รอยต่อ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างความกันขาให้กับเพื่อนๆ และสื่อมวลชน ผมเข้าใจดีว่า การเมืองบ้านเรา เคยชินกับวัฒนธรรมทางการเมืองที่มุ่งต่อสู้แข่งขันแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายหมายเอาชนะคะคานกัน ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง แต่สำหรับผมคิดว่า เหรียญมีสองด้านเสมอ ด้านหนึ่งคือการแข่งขันอีกด้านหนึ่งคือความร่วมมือ การเมืองจึงไม่ได้มีแค่เรื่องการแข่งขันหรือการต่อสู้ทางการเมืองเท่านั้น แต่การเมืองสามารถร่วมมือกันได้ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติและนี่คือวิถีของการเมืองสร้างสรรค์ที่ผมยึดถือเชื่อมั่นมาโดยตลอดและอยากเห็นวัฒนธรรมทางการเมืองไทยแบบนี้เป็นรากฐานใหม่ของการเมืองไทย สรุปคือไม่มีการย้ายพรรคครับ”

"Seamless politics" is a concept that refers to a political environment or system where different political parties or entities work together smoothly and effectively without experiencing significant disagreements, conflicts, or disruptions. In a seamless politics scenario, there is a high level of cooperation, collaboration, and communication among different stakeholders in the political arena. This leads to more efficient governance, better decision-making processes, and potentially improved outcomes for society as a whole.

“อลงกรณ์-สภาอุตสาหกรรมฯ.”ตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาสาหร่ายพืชแห่งอนาคตขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy) หวังสร้างฐานผลิตใหม่23จังหวัดชายทะเลทดแทนการนำเข้าลดคาร์บอนแก้โลกร้อน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท(WCF:Worldview Climate Foundation)เปิดเผยวันนี้(25 มี.ค)ว่า ประเทศไทยผลิตสาหร่ายน้อยมากต้องพึ่งพานำเข้าสาหร่ายจากต่างประเทศจนติดท็อปเทนของโลก ในขณะที่มีชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยยาวกว่า3,000 กิโลเมตรใน23จังหวัดจึงมีศักยภาพในการผลิตทดแทนการนำเข้าและยังช่วยลดคาร์บอนด้วย ดังนั้นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) และมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท Worldview Climate Foundation จึงได้ทำเอ็มโอยู.ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาสาหร่ายตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำถือเป็นความร่วมมือที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(blue economy)ในการใช้ทรัพยากรในทะเลและมหาสมุทรอย่างยั่งยืนเป็นครั้งแรกในประเทศไทยซึ่งในการประชุมล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่สำนักงานใหญ่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.)ได้ข้อสรุปในการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาสาหร่ายพืชแห่งอนาคตทั้งนี้มูลนิธิฯ.ได้เสนอรายชื่อกรรมการและหน่วยงานรัฐเช่นกรมประมง กรมทรัพยากรชายฝั่งทะเลฯลฯเป็นกรรมการเรียบร้อยแล้วส่วนสอท.จะเสนอรายชื่อภายหลังการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสอท.ชุดใหม่วันที่ 25 มีนาคมนี้เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการฯ.ในการขับเคลื่อนความร่วมมือในครั้งนี้ให้เกิดผลสำเร็จโดยเร็ว

"สาหร่ายถือเป็นพืชแห่งอนาคตตัวใหม่ เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สามารถผลิตเป็น อาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ ปุ๋ยชีวภาพ อาหารสัตว์พลาสติกชีวภาพสำหรับบรรจุภัณฑ์ กระดาษ สิ่งทอ สารกระตุ้นทางชีวภาพ (bio stimulants) และน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยตั้งเป้าหมายสร้างงานสร้างรายได้ให้กับ23จังหวัดชายทะเลซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการผลิตสาหร่าย ยิ่งกว่านั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมสาหร่ายยังมีส่วนสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 “นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด สำหรับการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าประชุมตัวแทนมูลนิธิได้แก่นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานกรรมการมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท,รศ.ดร.สุชาติ นวกวงษ์ กรรมการมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท ,นางสาวสภาวรรณ พลบุตร ,นางสาวณัฐนิชา ผกาแก้ว ผู้ประสานงานมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท
และนายชนะพล พอสม Advisor, Worldview International Foundation ส่วนผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้แก่ นายเชิญพร เต็งอำนวย รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ,นางสาวศุภกาญจน์ พรหมราช ,นางสาวจิราวรรณ เดียขุนทด และนางสาวนฤดี มาทองหลาง จากสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม

“อลงกรณ์”ชี้ประเทศเผชิญวิกฤติศรัทธา ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการเลือกตั้ง จุดยืนพรรคการเมืองและกระบวนการยุติธรรม แนะ“ทักษิณ”ยอมรับความผิดและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเดินกลับเข้าคุกเหมือนนักโทษคนอื่น

ในการสัมนาเรื่อง “วันนี้ประเทศไทยเกิดอะไรขึ้น?”ที่โรงแรมบาซาร์ รัชดากรุงเทพ 
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์และอดีตรัฐมนตรีอดีต ส.ส.6สมัย กล่าวในหัวข้อ“ทิศทางการเมืองไทย”ว่าประเทศกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติศรัทธาเพราะประชาชนขาดความเชื่อมั่นในระบบการเลือกตั้งและไม่มั่นใจในจุดยืนอุดมการณ์ของพรรคการเมืองรวมทั้งประเด็นปัญหากระบวนการยุติธรรมกรณีอดีตนายกฯ.ทักษิณ ประเด็นประชาชนขาดความเชื่อมั่นในระบบการเลือกตั้งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับรากฐานของระบอบประชาธิปไตยเพราะการเลือกตั้งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย แต่ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาพรรคที่ชนะการเลือกตั้งเป็นอันดับหนึ่งและรวมเสียงได้เกินกว่าครึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ จนมีคำถามว่า“แล้วจะมีเลือกตั้งไปทำไม ?”“ทำไมถึงไม่เคารพเสียงของประชาชน?”

ยิ่งกว่านั้น พรรคการเมืองที่อยู่คนละขั้วประกาศในระหว่างหาเสียงว่าจะไม่จับมือกันกลับไม่รักษาคำพูดโดยร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลทำให้เกิดคำถามถึงจุดยืนและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคแกนนำรัฐบาลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบพรรคการเมืองโดยตรง

การเลือกตั้งและพรรคการเมืองมีความสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตย หากประชาชนโดยเฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกขาดความเชื่อมั่นก็ยากต่อการพัฒนาการเมืองในอนาคต นายอลงกรณ์ยังกล่าวต่อไปว่า ในปีนี้จะมีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่จะส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคตของการเมืองไทยได้แก่
1. การเลือกส.ว. ชุดใหม่
2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3.การตรากฎหมายนิรโทษกรรม
4.การปรับคณะรัฐมนตรี
5.คดียุบพรรคก้าวไกล
6. ปัญหากระบวนการยุติธรรมจากกรณีอดีตนายกฯ.ทักษิณ

สำหรับเรื่องการยุบพรรคนั้น นายอลงกรณ์ไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรคโดยมีความเห็นว่าพรรคการเมืองเป็นองค์กรทางการเมืองที่ประกอบไปด้วยสมาชิกพรรค สาขาพรรคและตัวแทนพรรค การลงโทษใดๆควรดำเนินการกับกรรมการหรือคณะกรรมการบริหารส่วนกรณีอดีตนายกฯ.ทักษิณกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและหลักนิติรัฐของประเทศอย่างร้ายแรง 
ข้อแนะนำคืออดีตนายกฯ.ทักษิณเมื่อกลับเข้ามายอมรับความผิดต้องสำนึกผิดอย่างแท้จริงและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงลดโทษให้ด้วยการเคารพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมโดยเซทซีโร่เดินกลับเข้าคุกเริ่มต้นขั้นตอนการลงโทษเหมือนนักโทษคนอื่นๆจะเป็นตัวอย่างที่ดีของกระบวนการยุติธรรมของประเทศ

นายอลงกรณ์ยังกล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่าได้สรุปบทเรียนความผิดพลาดในอดีตโดยเฉพาะประเด็นจุดยืนและอุดมการณ์ที่ถูกมองว่าพรรคละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปร่วมกับเผด็จการและสนับสนุนการสืบทอดอำนาจจนมีข้อกล่าวหาว่าจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหารกระทบต่อความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพรรคประชาประชาธิปัตย์สะท้อนจากผลการเลือกตั้งปี2562และ2566จากพรรคที่มี ส.ส.กว่า100คนเหลือเพียง25คน หลายพรรคการเมืองในวันนี้กำลังตกอยู่ในกับดักที่ประชาธิปัตย์เคยประสบมาก่อนเมื่อใดที่ประชาชนไม่เชื่อมั่น เมื่อนั้นพรรคการเมืองก็ไม่มีอนาคต ”บทเรียนความผิดพลาดในอดีตที่ต้องจ่ายด้วยราคาแพงเป็นบทเรียนสำคัญ วันนี้พรรคประชาธิปัตย์เหมือนเงาะถอดรูป
พรรคประชาธิปัตย์กำลังวางปัจจุบันและอนาคตบนแนวทางประชาธิปไตย ความซื่อสัตย์สุจริต วิสัยทัศน์ก้าวหน้าและนโยบายทันสมัยโดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคได้แต่งตั้งคณะกรรมกา ยุทธศาสตร์ทำหน้าที่กำหนดทิศทางและแนวทางการขับเคลื่อนพรรคสู่การเป็นสถาบันทางการเมืองที่แท้จริงของประเทศเน้นการเปิดกว้างสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน หวังว่าความพยายามครั้งนี้ของพรรคประชาธิปัตย์จะสามารถฟื้นฟูศรัทธากลับมาด้วยโอกาสใหม่ที่ประชาชนมอบให้“.
การสัมนาเรื่อง “วันนี้ประเทศไทยเกิดอะไรขึ้น?”ที่โรงแรมบาซาร์ รัชดากรุงเทพ จัดโดยหนังสือพิมพ์ไทยแลนด์ ทูเดย์ นิวส์เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2567

“อลงกรณ์”เห็นตรง“ดร.ธรณ์”ไทยเผชิญวิกฤติโลกร้อนทะเลเดือด ชี้โลกรวน คือวิกฤตการณ์แห่งศตวรรษที่21

เร่งผนึกทุกภาคีเดินหน้าโครงการคาร์บอนสีน้ำเงิน(Blue Carbon)หวังฟื้นฟูป่าชายเลนลดคาร์บอน110 ล้านตันสู่เป้าหมายเน็ทซีโร่(Net Zero)

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท โพสต์บทความวันนี้เกี่ยวกับปัญหาวิกฤตโลกร้อนกับผลกระทบต่อประเทศไทยและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงินในหัวข้อ“โลกรวน คือวิกฤตแห่งศตวรรษที่21 :ก้าวต่อไปของประเทศไทยในการลดโลกร้อนทะเลเดือด”โดยมีข้อความว่า

อ่านเรื่อง โลกเดือด ทะเลเดือดของดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ น้องที่เคยร่วมงานขบวนการปฏิรูปประเทศก็เห็นตรงกัน100%และขอร่วมแชร์ปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบสุดขั้ว(Extreme)ที่ทำให้เกิดภาวะ“โลกรวน”ในหัวข้อ “โลกรวน คือวิกฤติการณ์แห่งศตวรรษที่21 :ก้าวต่อไปของประเทศไทยในการลดโลกร้อนทะเลเดือด”

ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกร้อนทะเลเดือดเป็นวิกฤตแห่งศตวรรษที่21ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกทำให้มีความพยายามที่จะลดก๊าซเรือนกระจกด้วยมาตรการต่างๆภายใต้กรอบการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติหรือ (COP) เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ตัวอย่างเช่นสหภาพยุโรปเริ่มใช้ระบบภาษีคาร์บอนในรูปมาตรการCBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) กับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป สำหรับประเทศไทยของเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 0.8 ของโลกมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิกว่า 240ล้านตันต่อปี เฉพาะด้านการใช้พลังงาน

โดยภาพรวมในปี 2565ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น1.5% “หากจะบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้ภาคพลังงานจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ปีละ 86 ล้านตันคาร์บอนฯ และป่าไม้ต้องดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ปีละ 120 ล้านตันคาร์บอน” แต่ถ้าทำไม่ได้จะเกิดอะไรขึ้น องค์การสหประชาชาติคาดว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุ ฯลฯ ที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะสร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ยิ่งกว่านั้นคือจะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติรุนแรงที่สุด10อันดับแรกของโลก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยทั้งการลดปริมาณการปล่อยและเพิ่มศักยภาพในการดูดกลับหรือกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์รวมทั้งต้องผนึกความร่วมมือทุกฝ่ายทำงานเชิงรุกทุกหน้างาน

ดังนั้นการเดินหน้าเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy)เช่นโครงการปลูกโกงกางในพื้นที่ป่าชายเลนของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยอธิบดีคนใหม่นายปิ่นสักก์ สุรัสวดีที่ช่วยปลดล็อคปมส่อทุจริตของโครงการนี้ในอดีตพร้อมกับขยายความร่วมมือทุกภาคส่วนทำให้เกิดเครือข่ายพันธมิตรโกงกางประเทศไทย(TMA: Thailand Mangrove Alliance)เป็นครั้งแรกถือเป็นตัวอย่างที่ดีของโครงการลดคาร์บอนเนื่องจากป่าชายเลนของประเทศไทยมีศักยภาพลดคาร์บอนได้ถึง 110 ล้านตันในระยะเวลา 10 ปี ทั้งนี้เป็นรายงานของดร.สนใจ หะวานนท์ ผู้เชี่ยวชาญป่าชายเลนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งได้ศึกษาวิจัยเรื่องป่าชายเลนในหลายประเทศมากว่า 40 ปี ระบุว่า “…การสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ของป่าชายเลนโดยกระบวนการสังเคราะห์แสงที่ต้องใช้คาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยออกซิเจนออกมา พบว่าป่าชายเลนของประเทศไทยสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหนือพื้นดินได้ 27.1 ตันต่อเฮกตาร์ (6.25 ไร่) และสะสมในดิน 16.9 ตันต่อเฮกตาร์ รวมแล้ว 44.0 ตันต่อเฮกตาร์ ประมาณการณ์ได้ว่าป่าชายเลนของประเทศไทยประมาณ 1.5 ล้านไร่ หรือประมาณ 0.24 ล้านเฮกแตร์ สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 11 ล้านตันต่อปี…“ เพื่อระดมพลังทุกภาคส่วนในการเร่งทำงานลดโลกร้อนลดคาร์บอน ทางมูลนิธิฯ.ได้หารือกับผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรโกงกางประเทศไทย(TMA: Thailand Mangrove Alliance)และกรมทช.เกี่ยวกับการจัดสัมนาเรื่อง  “ป่าโกงกาง สู่เป้าหมายซีโร่คาร์บอน(Zero Carbon)ของประเทศไทย”ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy)ลดโลกร้อนในเร็วๆนี้

โดยต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามูลนิธิฯ.ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MoU)กับ32 องค์กรภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย (Thailand Mangrove Alliance) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งนับเป็นการบูรณาการความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน ตามหลักการ 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ ในการปกป้อง ฟื้นฟู และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าชายเลน ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ การจัดการป่าชายเลนอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) และการประกอบอาชีพที่ยั่งยืนของชุมชนป่าชายเลน ในพื้นที่เป้าหมาย 24 จังหวัดชายทะเลของประเทศไทยซึ่งจะมีการประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย (Thailand Mangrove Alliance) ในงานวันป่าชายเลนแห่งชาติ 10 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมช้างเผือก องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของไทยในการแก้ปัญหาโลกร้อน “มูลนิธิจะสนับสนุนการพัฒนาและการอนุรักษ์ป่าโกงกาง รวมไปถึงการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนและคนรุ่นต่อไปเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรป่าชายเลนและจะดำเนินการปลูกต้นโกงกางเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การทำโครงการคาร์บอนเครดิต (Carbon Credits) การพัฒนาองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องบลูคาร์บอน (Blue Carbon) รวมถึงการศึกษาและการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าชายเลนด้วยความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น รวมถึงชุมชนในพื้นที่ในการปลูกและขยายพันธุ์เมล็ดและฝักโกงกางในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย”

“อลงกรณ์”โชว์วิสัยทัศน์เวทีเส้นทางสายไหมนานาชาติ ดึงจีนลงทุน12อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ดันไทยประเทศรายได้สูง

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์และอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศได้รับเชิญให้กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมสุดยอดการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 2024 และงานนิทรรศการสินค้าประเทศตามแนว “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”
ณ นครอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน

โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่านับตั้งแต่ข้อริเริ่ม “อีต้าอีลู่ หรือเส้นทางสายไหม หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง One Belt and One Road” ถูกประกาศอย่างเป็นทางการในปี 2013 โดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เพื่อรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมในอดีตสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ เมื่อกว่า2พันปีก่อนสู่เส้นทางสายไหมใหม่ในศตวรรษที่ 21 เป็นเวลา11ปีที่ประเทศไทยและจีนได้สร้างความร่วมมือระหว่างกันอย่างเต็มที่ภายในกรอบ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจดิจิทัล เกษตรกรรม การค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างดี จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทยต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของไทย แหล่งเงินทุนต่างประเทศหลัก และแหล่งนักท่องเที่ยวที่สำคัญอันดับ1  นอกจากนี้ ไทยและจีนยังคงมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด สร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นและลึกซึ้ง "ไทย จีน ใช่อื่นไกล พี่น้องกัน" กลายเป็นประโยคที่เข้าใจกันอย่างแพร่หลายของประชาชนทั้งสองประเทศ 

ความสำเร็จของความร่วมมือไทย-จีนในวันนี้ มาจากการที่ทั้งสองฝ่ายยึดมั่นในหลักการของการเคารพซึ่งกันและกัน การให้ความเสมอภาค ผลประโยชน์ร่วมกัน และการร่วมกันสร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังเป็นผลงานที่มาจากความร่วมมือระยะยาวระหว่างภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศที่กำลังดำเนินไปอย่างลึกซึ้ง ความร่วมมือระหว่างไทย-จีนกำลังเผชิญกับโอกาสมากมายมหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทย (2018-2037) ระบุว่า ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2036 และจะดำเนินการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (2023-2027) เพื่อเข้าสู่โหมดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (BCG :Bio-Circular-Green Economy)

ซึ่งรวมถึงนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาและเชื่อมต่อระบบดิจิทัล การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมสมัยใหม่ที่เน้นคุณค่าในกรอบ "Thailand 4.0" การพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน และการเน้นการถือประชาชนเป็นหลัก โดยเฉพาะการเพิ่มความกระตือรือร้นสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืน เป็นเพราะความสอดคล้องกันระหว่างแนวคิด "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" กันนโยบายการพัฒนาของไทยทำให้เกิดความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือที่มีศักยภาพสูงในหลายๆ ด้าน

ในโอกาสนี้ขอเชิญชวนนักลงทุนชาวจีนและนานาประเทศให้มาร่วมลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทย (Eastern Economic Corridor หรือ EEC) และเข้าร่วมอย่างกระตือรือร้นใน"12 อุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต"ของไทย (12 S-CURVES)เช่น การค้าและการลงทุนในสาขาเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การท่องเที่ยวและการแพทย์ อุตสาหกรรมดิจิทัล ยานยนต์สมัยใหม่ เป็นต้น เพื่อเชื่อมโยงกับโอกาสต่างๆ ภายใต้แนวคิด "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" และเปิดศักราชใหม่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจไปด้วยกัน.

สำหรับการประชุมสุดยอดการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 2024 และงานนิทรรศการสินค้าประเทศตามแนว “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”จัดขึ้นที่ นครอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่20 พฤษภาคม 2567 มีตัวแทนจากประเทศไทยคือนางสาวอภิญญา ปราโมช นายกสมาคมการค้าไทย-จีนและเศรษฐกิจเอเชียเข้าร่วมประชุมด้วย.

“อลงกรณ์-เอฟเคไอไอ.”เร่งรับมือเมกะเทรนด์โลกสร้างคานงัดนวัตกรรม ผนึกศูนย์เทคโนโลยีปฏิรูปภาคเกษตร-อุตสาหกรรมอาหารทุกจังหวัดดันไทยมหาอำนาจอาหารโลก 

นายอลงกรณ์ พลบุตริประธานสถาบันเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์ เปิดเผยวันนี้ว่า ในขณะที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ สังคมสูงวัย เอไอ.ดิสรัปชั่น ความมั่นคงทางอาหาร สงครามและความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นทะลุ8พันล้านคน และความต้องการอาหารมากขึ้น

จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในฐานะเป็นผู้ส่งออกอาหารและสินค้าเกษตรอันดับ12และ13ของโลกโดยการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหารอย่างเร่งด่วนก้าวข้ามขีดจำกัดของปัญหาการทำเกษตรดั้งเดิมโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มผลิตภาพ(Productively และสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เกษตรอัจฉริยะและอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายเป็นมหาอำนาจอาหารโลก
ด้วยเหตุนี้สถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์(FKII Thailand)จึงเร่งต่อยอด เชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อสร้างคานงัดนวัตกรรมโดยผลึกความร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม ( AIC:Agritech and Innovation Center ) 100 แห่งได้แก่ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัด 77 จังหวัดและศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมประเภทศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) อีก23ศูนย์เพื่อร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพภาคเกษตร เกษตรอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมอาหารด้วยการสนับสนุนและส่งเสริม  การวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งเครื่องจักรกลทางด้านการผลิต การแปรรูป การตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์และการบริหารจัดการ

“ศูนย์ AIC คือคานงัดนวัตกรรมในการยกระดับภาคเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูงด้วยเกษตรอัจฉริยะ
โดยศูนย์AICมีความพร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะเกษตรกรและผู้ประกอบการ สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งมีกว่า800นวัตกรรม และองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผู้ประกอบการมีโครงสร้าง 1 จังหวัด 1 ศูนย์ มีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคเกษตรกรและผู้ทรงคุณวุฒิมีผู้อำนวยการเป็นผู้บริหาร“นายอลงกรณ์ อดีตประธานคณะกรรมการศูนย์AICแห่งชาติและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0กล่าวในที่สุด

สำหรับสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์(FKII Thailand: Field for Knowledge Integration and Innovation)เป็นองค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคม(Social Enterprise)ทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่นวัตกรรมและองค์ความรู้รวมทั้งเป็นตัวกลางเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานวิจัยกับภาคเอกชนภาครัฐทั้งในและต่างประเทศตลอดจนองค์กรเกษตรและเกษตรกรสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ส่วนศูนย์AIC เริ่มดำเนินการทั่วประเทศเมื่อ 1 มิถุนายน 2563 โดยการริเริ่มจัดตั้งของนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ภายใต้นโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ.และสานต่อในยุครัฐมนตรีเกษตรฯ.คนปัจจุบัน(ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า)

‘ปชป.’ ถ่อมตัวผลสำรวจไลน์ทูเดย์โหวต ‘เฉลิมชัย’ ครองใจประชาชนอันดับ 3 รองจาก ‘เศรษฐา-พิธา’ ‘อลงกรณ์’ เผย 5 ตัวแปรดันหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตีตื้นขึ้นท็อปทรี

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยวันนี้ว่า ผลโหวตสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองของนักการเมืองในปัจจุบันของไลน์ ทูเดย์(Line Today)ประจำเดือนกรกฎาคมยกให้นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ติดอันดับที่ 3 รองจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ถือเป็นสัญญาณบวกสำหรับพรรคประชาธิปัตย์หลังจากเปลี่ยนหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์บอกว่าผลสำรวจมีขึ้นมีลง วันนี้ขึ้นพรุ่งนี้ลงเป็นธรรมชาติของการเมืองที่มีความไม่แน่นอน มีแต่ทำงานหนักเพื่อประชาชนอย่างต่อเนื่องต่อไปเท่านั้นจึงจะได้รับโอกาสจากประชาชน นายอลงกรณ์ให้เหตุผล 5 ประการที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ประชาชนโหวตให้นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แก่

1.ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ของหัวหน้าพรรค มุ่งปรับพรรคให้ทันสมัยทันโลก มองอนาคตก้าวข้ามอดีตและการเมืองแบบเก่า
2.การทำงานในฐานะฝ่ายค้านทั้งในและนอกสภาอย่างเข้มแข็ง
3.การสื่อสารการเมืองแบบดิจิตอล คอมมิวนิเคชั่นโดยศูนย์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการสื่อสารที่ตั้งขึ้นใหม่รับผิดชอบโดย ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคและอดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4.การขับเคลื่อนพรรคอย่างมียุทธศาสตร์และกลยุทธ์โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคกำหนดวิสัยทัศน์ จุดยืน ทิศทางและแนวนโยบายใหม่มีหัวหน้าพรรคเป็นประธานด้วยตัวเอง
5.การเปิดพรรคกว้างสร้างเครือข่ายและเปิดรับคนรุ่นใหม่

ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้โพสต์ข้อความขอบคุณในเฟสบุ๊คและทุกดิจิตอลแพลตฟอร์มของพรรคดังนี้ “พรรคขอขอบคุณที่ได้โหวตให้กับหัวหน้าพรรค คนของพรรคประชาธิปัตย์ จากผลโพลดังกล่าวจะเป็นกำลังใจให้พวกเราได้ทำหน้าที่เพื่อประเทศและพี่น้องประชาชนอย่างเต็มความสามารถต่อไป”
สำหรับLine Today ได้เปิดเผยผลโหวตสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองของนักการเมืองในปัจจุบัน ประจำเดือนกรกฎาคมซึ่งเปิดโหวตตั้งแต่วันที่ 1-20 ก.ค.2567 ที่ผ่านมา ในห้วข้อ “คุณคิดว่าใครมีบทบาท ผลงานโดดเด่น หรือถูกใจคุณที่สุด” ปรากฏผลการสำรวจ 10 อันดับแรก 10 อันดับแรก ดังนี้ อันดับ 1 ได้แก่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนน 8,742 คะแนน หรือคิดเป็น 40.13% อันดับที่2 คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ได้คะแนน 7,427 คะแนน คิดเป็น 34.09% อันดับ ที่ 3 คือ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ที่ได้มา 1,966 คะแนน หรือ 9.02% และอันดับ 4 คือ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ได้ 565 คะแนน คิดเป็น 2.59% อันดับที่ 5 ได้แก่ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน มีคะแนน 479 คะแนน คิดเป็น 2.2%

อันดับที่ 6 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้ 471 คะแนน คิดเป็น 2.16 % อันดับที่ 7 ได้แก่ น.ส.จิราพร สินธุไพร ได้ 204 คะแนน คิดเป็น 0.94% อันดับที่ 8 ได้แก่ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ได้ 191 คะแนน คิดเป็น 0.88 % อันดับที่ 9 ได้แก่ นายชวน หลีกภัย ได้ 190 คะแนน คิดเป็น 0.87 % อันดับที่ 10 ได้แก่ นายรังสิมันต์ โรม ได้ 182 คะแนน คิดเป็น 0.84% 

‘อลงกรณ์’ ประธานFKII เสนออัพเกรดประเทศสู่ก้าวใหม่เศรษฐกิจไทย ตั้งเป้าก้าวใหญ่ ‘มหาอำนาจอาหารและการท่องเที่ยวโลก’

(23 ก.ย. 67) สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติ เชิญ นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์ รองประธานคณะกก.ยุทธศาสตร์ ปชป. อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ บรรยายพิเศษเรื่อง “ก้าวใหม่เศรษฐกิจไทย โอกาสในวิกฤติ”ในการสัมนาจัดโดยสมาคมฯ.และหนังสือพิมพ์ THAILAND TODAY NEWS ที่โรงแรมเดอะบาซาร์

นายอลงกรณ์ได้นำเสนอใน 5 ประเด็น

1. ก้าวเก่าเศรษฐกิจไทย
2. ทุกความท้าทาย คือ โอกาส
3. เศรษฐกิจแห่งอนาคต
4. มหาอำนาจอาหารการท่องเที่ยวโลก
: เกมที่ไทยเอาชนะได้
5. ก้าวใหม่เศรษฐกิจไทย : ก้าวข้ามขีดจำกัด
โดยฉายภาพ

“ก้าวเก่าเศรษฐกิจไทย”ว่า เป็นเศรษฐกิจดั้งเดิมเคยรุ่งเรืองในทศวรรษที่80-90จนได้ชื่อว่าเป็นเสือตัวที่5แห่งเอเชียขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแต่เป็นอุตสาหกรรมโออีเอ็ม.(OEM)ขาดการวิจัย&พัฒนา(R&D)มีโครงสร้างเศรษฐกิจแบบกระจุกตัวและผูกขาดมีการคอรัปชั่นมากเหมือนมะเร็งร้ายขาดพลังในการยกระดับศักยภาพตัวเองทำให้การขยายตัวของ GDP โตช้าโตต่ำเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างมีความเหลื่อมล้ำสูง การกระจายรายได้ต่ำ รายได้ประชาชนชะลอตัว การส่งออกอ่อนแรง รายได้รัฐต่ำ ต้องทำงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องเกือบ20ปีทำให้ เมื่อเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ วิกฤติโรคระบาดโควิ-19 พร้อมกับสงครามรัสเซีย-ยูเครนสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ทำให้สถานการณ์ยิ่งทรุดหนักส่งผลกระทบทำให้
จีดีพี.ปี2566เติบโตเพียง 1.9%และไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวเพียง1.5%เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดอันดับ9ของอาเซียนเหนือกว่าเมียนมาร์เพียงประเทศเดียวจากสภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ปัจจุบันมีหนี้สาธารณะกว่า10ล้านล้านหรือกว่า60%ของจีดีพีมีหนี้ครัวเรือนกว่า16ล้านล้านบาทหรือกว่า90%ของจีดีพี. ติดกับดักประเทศรายได้ปานกลางกลายเป็นเสือตัวที่5ของอาเซียน
นอกจากนี้ยังเผชิญกับความผันผวนความท้าทายและโอกาสของแนวโน้มและโจทย์เมกะเทรนด์และเมกะเทรธ(Megatrend & Megathreat) เช่น

1.โลกร้อน โลกรวน (Climate Change)
2.ภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิเศรษฐศาสตร์(Geo-Politics &Geo-Economics)
3.สังคมสูงวัย(Aging Society)
4.เอไอ เทคโนโลยี ดิสรัปชั่น(AI-Technology Disruption)
5.ความมั่นคงทางอาหาร(Food Security)
เราต้องสร้างโอกาสในวิกฤติด้วยการปฏิรูปโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจแบบยกเครื่องเป็นก้าวใหม่เศรษฐกิจไทยบนหลักการ สมดุล&ยั่งยืน (Balance & Sustainability)และอีเอสจี.(ESG:Environmental, Social,Governance ) ด้วยการสร้างโมเดลเศรษฐกิจใหม่
1.เศรษฐกิจดิจิตอล(Digital Economy)
2.เศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy)
3.เศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy)
4.เศรษฐกิจสีเงินหรือเศรษฐกิจสูงวัย(Silver Economy)
5.เศรษฐกิจนวัตกรรม(Innovation Economy) 
6.เศรษฐกิจคาร์บอน(Carbon Economy)

นายอลงกรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์และอดีต ส.ส กล่าวว่า
”…โมเดลเศรษฐกิจใหม่เป็นคานงัดยกระดับอัพเกรดศักยภาพใหม่ให้ประเทศเราต้องปรับตัวเมื่อโลกเปลี่ยน
กล้าก้าวข้ามขีดจำกัดในอดีตพลิกโฉมประเทศใหม่ตอบโจทย์ความท้าทายในอนาคตด้วยระบบเศรษฐกิจใหม่จึงจะสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศและประชาชนพ้นจากหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือนพร้อมกับมีงบประมาณมากพอที่จะพัฒนาการศึกษา ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ยกระดับการสาธารณสุขและสร้างระบบสวัสดิการรัฐให้กับประชาชนอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง…”

ทั้งนี้นายอลงกรณ์ยังได้ยกตัวอย่างการวางวิสัยทัศน์ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็น“มหาอำนาจอาหารและการท่องเที่ยวโลก”(Food & Tourism Superpower)เป็นการต่อยอดศักยภาพเดิมเสริมศักยใหม่ที่ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในระดับโลก เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารและสินค้าเกษตรอันดับ12และอันดับ13ของโลกและสามารถผลิตได้ตลอด365วันทั้งยังมีความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity)ท็อปเทน ของโลก ตอบสนองปัญหาความมั่นคงอาหารจากผลกระทบของภาวะโลกร้อนโลกรวน ยิ่งกว่านั้นยังมีโครงสร้างศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC :Agitech and Innovation Center)จัดตั้งครบ77จังหวัดในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศสมัย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นรัฐมนตรีเกษตรฯ.ตามนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0ที่มีตนเป็นประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายปี2563-2566ซึ่งมีนวัตกรรมเกือบ1พันรายการสามารถถ่ายทอดไปยังฟาร์มและอุตสาหกรรมอาหารได้ทันที ทางด้านการท่องเที่ยว เราเป็นประเทศที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวหลากหลายและวัฒนธรรมที่งดงามทั้งในเมืองและต่างจังหวัดซึ่งในช่วงก่อนโควิดมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย40ลัานคนมีรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่อันดับสูงสุด1ใน5ของโลกและปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคน 

โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวปี 2567 ไว้ที่ 3.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศ 1 ล้านล้านบาท และรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.5 ล้านล้านบาท
(ปี 2566 มีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมตลอดทั้งปี ทะลุ 28 ล้านคน มีรายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติ 1.2 ล้านล้านบาท)

สำหรับตัวเลขการส่งออกปี 2566 ประเทศไทยส่งออก284,561.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเป็นมูลค่า 49,203.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (1.69 ล้านล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วน 17.3% ของมูลค่าการส่งออกรวม (สินค้าเกษตร 9.4% และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 7.9%) แบ่งเป็นสินค้าเกษตร 26,801.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (0.92 ล้านล้านบาท) ขยายตัว 0.2% และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 22,401.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่า 0.77 ล้านล้านบาท) หดตัว 1.7% สินค้าเกษตรส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) หรือมีการแปรรูปขั้นต้นเท่านั้น จึงต้องเร่งส่งเสริมและผลักดันให้ไทยส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่าสูงและสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร-อาหารเพิ่มขึ้น เช่น อาหารแห่งอนาคต อาหารฮาลาล อาหารเสริม อาหารสัตว์เลี้ยง สินค้าเกษตรอินทรีย์สินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์สารสกัดจากวัตถุดิบเกษตร

‘อลงกรณ์’ - เอฟเคไอไอ “ผนึก3ภาคีเอ็มโอยู.ส่งเสริมเศรษฐกิจไทยจับคู่ธุรกิจระลอกแรก28บริษัทจีนฉลองสัมพันธ์50ปีไทย-จีน

(7 ต.ค. 67) นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์ (FKII Thailand)  รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ปชป.และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงานสัมมนา”บริบทใหม่หุ้นส่วน ไทย-จีน: โอกาสใหม่ของธุรกิจและการลงทุน”(FKII Global Business Forum “New Paradigm of Thailand - China Partnership: Next Business & Investment Opportunity”)ณ สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพมหานคร

นายอลงกรณ์กล่าวว่าเนื่องในโอกาสที่ไทยและจีนจะครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ในปี พ.ศ.2568 จึงเป็นโอกาสอันดีในการขยายธุรกิจการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศมากยิ่งขึ้น วันนี้มีบริษัทชั้นนำของจีนชุดแรกจากเซิ่นเจิ้น กว่างโจวและจูไห่28 บริษัทในสาขาต่างๆเช่น กลุ่มพัฒน อสังหาริมทรัพย์ กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอัจฉริยะและนวัตกรรมไฮเทค กลุ่มอุตสาหกรรมแอลอีดี. กลุ่มบ้าน-อาคาร-เมืองอัจฉริยะกลุ่มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเกษตรอะกรีเทค กลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มการเงินและพลังงาน กลุ่มไซเบอร์ซีเคียวริตี้และอื่นๆที่สนใจมาร่วมค้าร่วมธุรกิจร่วมทุนกับผู้ประกอบการไทยซึ่งเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจในวิกฤตต่างๆที่ประเทศไทยเผชิญ จีนเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของไทยและมีความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องจึงเป็นฐานความมั่นคงหนึ่งที่สำคัญของไทยในการก้าวเดินไปข้างหน้าฝ่าปัญหาและอุปสรรคทั้งปัจจุบันและอนาคตไปด้วยกัน ทั้งนี้จะมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์ สถาบันทิวาและบริษัทไวส์ยูของจีนเพื่อสร้างสะพานเชื่อมโยงโอกาสทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีนอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยในช่วงสัมมนา ได้รับเกียรติจากนายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวา ในการกล่าวต้อนรับและบรรยายพิเศษหัวข้อ “บริบทใหม่ธุรกิจและการลงทุนของไทยกับบทบาทของ FKII Thailand และสถาบันทิวา” การบรรยายหัวข้อ “หุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-จีน: ปัจจุบันและอนาคต (Thailand - China Economic Partnership: Present and Future) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน และการบรรยายหัวข้อ “โอกาสและศักยภาพการลงทุนในประเทศไทย” (Opportunities and Potential of Investment in Thailand) โดย นางสาวธนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ได้มีการแนะนำคณะผู้ประกอบการจีนจำนวน 28 ราย ที่มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ โดย Mr. Phillip Lin CEO of WISEYOU จากนั้นมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์( FKII Thailand )โดย นายอลงกรณ์ พลบุตรกับสถาบันทิวา (TVA) โดย คุณชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวาและ WISE YOU CULTURAL MEDIA, Co., Ltd.จากประเทศจีน โดย Mr. Phillip Lin CEO of WISEYOU) และกล่าวปิดงาน” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ฐาปนา บุญหล้า ที่ปรึกษา FKII Thailand จากนั้นมีกิจกรรมเชื่อมโยงธุรกิจ(Namecard Exchange)ตามความสนใจของผู้เข้าร่วมงาน ที่สนใจเชื่อมโยงธุรกิจกับผู้ประกอบการจีนชั้นแนวหน้าของจีนในกลุ่ม อุตสาหกรรมซอฟแวร์และแฟลตฟอร์ม อุตสาหกรรมไฟส่องสว่าง  การทดสอบและรับรอง เทคโนโลยี่สมาร์ทซิตี้ ระบบอีคอมเมิร์ซอัจฉริยะ  ตลอดจนสินค้านวัตกรรมต่างๆ ติดตาม FKII Thailand https://shorturl.at/zZPtt https://lin.ee/BgPCPvd

#FKIIThailand #FKII #FKIIGlobalBusinessForum #China #Thailand #MOU #TVA #WISEYOU #สวนเสียงไผ่

“อลงกรณ์”หนุน”พีระพันธุ์”ขจัดผูกขาดพลังงาน โพสต์วาทะดัง”คุณไม่ได้เดินเดียวดายคนเดียว-You will never walk alone”

หลังจากนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานโพสต์ข้อความว่ามีขบวนการปั้นข่าวรุมถล่ม โดยระบุกลุ่มทุนพลังงานไม่พอใจการทำงานของนายพีระพันธุ์ตามที่ปรากฏเป็นข่าวเมื่อวานนี้

ปรากฎว่า วันนี้(5 ม.ค.)นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรัฐมนตรีและส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันเป็นประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์(FKII Thailand)
และรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์ได้โพสต์ในเฟสบุ้คส่วนตัวถึงนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคโดยมีข้อความดังต่อไปนี้

“….ถึง คุณพีระพันธุ์
“You will never walk alone”

ขอให้รู้ว่า คุณไม่ได้เดินเดียวดายคนเดียว
แต่มีผมและพวกเราอีกไม่น้อยที่พร้อมสนับสนุนและเป็นกำลังใจ ไม่ใช่เพียงเพราะความเป็นเพื่อนหรือคนที่เคยทำงานใต้ชายคาเดียวกันคือพรรคประชาธิปัตย์มาเกือบ30ปีแต่เพราะตรงกันในจุดยืนขจัดการผูกขาด(Anti-Monopoly)โดยเฉพาะการผูกขาดด้านพลังงาน ประเทศของเรายังมีการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ต้องช่วยกันทลายให้หมดไปเพราะเป็นสาเหตุของปัญหาความเหลื่อมล้ำและการคอรัปชั่นที่ทำให้ประเทศล้าหลังและประชาชนยากจนมาอย่างยาวนาน ขอให้การผูกขาดจบในรุ่นของเราด้วยเจตจำนงทางการเมือง(Political will)ร่วมกันที่แน่วแน่เพื่อส่งต่อประเทศไทยที่ดีกว่าให้กับลูกหลานของเรา

ทำดีไม่มีพังครับ

อลงกรณ์ พลบุตร
5 มกราคม 2568..”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top