3 มุมมององค์กรระดับโลก ยกย่องศักยภาพ-ความสำเร็จของ 'ประเทศไทย'
ส่อง!! 3 มุมมอง ‘องค์กรระดับโลก’ ที่ยกย่องศักยภาพ-ความสำเร็จของ ‘ประเทศไทย’

ส่อง!! 3 มุมมอง ‘องค์กรระดับโลก’ ที่ยกย่องศักยภาพ-ความสำเร็จของ ‘ประเทศไทย’
#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา
ตั้งแต่ปี 2531 องค์กรอนามัยโลก ได้กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศ ตระหนักถึงอันตราย และความสูญเสียทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการสูบบุหรี่ โดยได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยใช้ชื่อว่า World Spidemic หรือการสูบบุหรี่เป็นโรคระบาดยู่ทั่วโลก
ดังนั้นรัฐบาลไทย ได้ตระหนักถึงความสูญเสียในชีวิตของประชากร ที่เกิดจากการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี ให้รับทราบถึงอันตราย โทษของการสูบบุหรี่ซึ่งก็เป็นที่รู้กัน แต่จะให้เลิกสูบเลย เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้ที่ติดบุหรี่แล้ว
จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ และกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลนำมาใช้ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุขผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูบบุหรี่ พยายามเลิกสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเลิกได้สำเร็จหรือไม่ก็ตาม ดังเช่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุขประกาศบังคับใช้ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ให้มีการพิมพ์คำเตือนโทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซอง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา
(2 ส.ค. 66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘ฝีดาษวานร Mpox’ ระบุว่า
วานร องค์การอนามัยโลกกำหนดชื่อเป็น Mpox เพื่อไม่ต้องการให้ใช้ชื่อสัตว์ สถานที่ บุคคลมาตั้งชื่อ ให้เป็นตราบาป ดังเช่นถ้าเรียกฝีดาษลิง ทุกคนจะไปโทษลิง ซึ่งที่จริงแล้ว ไม่ใช่ต้นเหตุของการระบาดครั้งนี้
การระบาดทั่วโลกของฝีดาษ Mpox รวมทั้งสิ้น รวม 90,000 ราย พบมากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศไทยมีรายงานแล้วมากกว่า 120 ราย สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะยอดในปีนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากเดือนมิถุนายน ที่มีเทศกาล
โรคไม่รุนแรงจึงเห็นได้ว่าอัตราเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรือมีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางด้านระบาดวิทยา สำหรับโรคที่ไม่รุนแรง จะยากในการควบคุม ประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีการตรวจกรองเฝ้าระวัง การดูแลรักษา และวัคซีนป้องกัน ได้ดีกว่าประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศยากจนกว่า
ในอนาคต โรคนี้คงไม่หมดไป เพราะเกี่ยวข้องกับสัมผัส เพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในกลุ่มพิเศษ และจะยังคงมีการระบาดในประเทศที่ระบบสาธารณสุข ที่ การควบคุม ป้องกัน และการศึกษา รวมทั้งวัคซีนในการป้องกันที่มีทรัพยากรน้อยกว่า
ประเทศไทยที่พบกว่า 100 ราย ก็ไม่ได้น้อย และยังมีการพบประปรายอยู่ตลอด แต่ความตื่นตัว ของโรคนี้ในปัจจุบัน น้อยกว่าในระยะแรกๆ เราจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจ การระบาดของโรคโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดการระบาดในประเทศไทย
(9 พ.ย. 66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คริสเตียน ลินด์ไมเออร์ โฆษกองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าผู้คนในฉนวนกาซาถูกสังหารแล้วกว่า 11,000 ราย หรือราวร้อยละ 0.5 ของประชากรทั้งหมด โดยพบเด็กเสียชีวิตเฉลี่ย 160 รายต่อวัน
ลินด์ไมเออร์ แถลงว่า ปัจจุบันมีบุคลากรการแพทย์เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่แล้ว 16 ราย โดยองค์การฯ กำลังทำงานเพื่อสนับสนุนบุคลากรการแพทย์ในกาซา พร้อมเรียกร้องการรับรองความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้อีกครั้ง
ลินด์ไมเออร์ กล่าวว่า มีการโจมตีสถานพยาบาลในกาซา 102 ครั้ง ในเขตเวสต์แบงก์ 121 ครั้ง และในอิสราเอล 25 ครั้ง ขณะโรงพยาบาลในกาซา 14 แห่ง ไม่สามารถให้บริการได้เนื่องจากขาดแคลนเชื้อเพลิงและได้รับความเสียหาย
เมื่อวันอังคาร (7 พ.ย.) ถือเป็นวันครบรอบหนึ่งเดือนที่กลุ่มฮามาสเปิดฉากโจมตีอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค. โดยลินด์ไมเออร์เผยว่า ผู้คนในอิสราเอลหวาดกลัวและกังวลเรื่องตัวประกันมากกว่า 200 คน พร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวประกันทั้งหมดทันที ซึ่งหลายคนในจำนวนนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน
นอกจากนั้น ลินด์ไมเออร์ ย้ำว่า ไม่มีสิ่งใดสามารถสร้างความชอบธรรมให้แก่ความหวาดกลัวที่พลเรือนในกาซาต้องเผชิญ พวกเขาต้องการน้ำ อาหาร และการรักษาพยาบาล ขณะระดับความอันตรายถึงชีวิตและความทุกข์ทรมานที่พวกเขาเผชิญอยู่นั้นยากจะหยั่งรู้ได้
ด้าน เจนส์ ลาร์เคอ โฆษกประจำสำนักงานเพื่อการประสานงานกิจการด้านมนุษยธรรมขององค์การสหประชาชาติ (UN) กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่ารถบรรทุกจำนวน 561 คันได้เข้าไปในกาซาตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค. แต่ไม่มีรถบรรทุกคันใดบรรจุเชื้อเพลิงเนื่องจากคำสั่งห้ามของทางการอิสราเอล
ส่วนอเลสซานดรา เวลลุชชี ผู้อำนวยการฝ่ายบริการข้อมูลขององค์การฯ ในเจนีวา กล่าวว่าผู้คนในกาซามากกว่า 1.5 ล้านคนต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่น โดยเกือบครึ่งหนึ่งลี้ภัยอยู่ในค่ายพักพิงขององค์การฯ
(2 มี.ค.67) Business Tomorrow รายงานเอกสารเผยแพร่จาก Lancet จากศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย Imperial College ในลอนดอนกล่าวว่า โรคอ้วนกำลังเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การมีน้ำหนักที่พอดีกำลังลดลงไปในทั่วโลก นาย Francesco Branca หัวหน้าแผนกสารอารหารแห่ง WHO กล่าวว่า โรคอ้วนอาจเคยเป็นปัญหาของประเทศที่ร่ำรวย แต่ตอนนี้ได้แผ่กระจายเป็นปัญหาระดับโลกเสียแล้ว
จากการเก็บข้อมูลจาก 190 ประเทศทั่วโลกของปี 2022 โรคอ้วนในผู้ใหญ่กำลังเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในขณะที่เพิ่มขึ้นสี่เท่าในกลุ่มเด็กอายุ 5-19 ปีจากปี 1990 ไป 2022 ผลวิเคราะห์พบว่าเด็กหญิง เด็กชาย และผู้ใหญ่กำลังมีจำนวนผู้มีร่างกายสมส่วนลดลงไป เด็กหญิง 1 ใน 5 เด็กชายลดไป 1 ใน 3 และลดไปครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ กระนั้น ก็ยังมีคนหลักร้อยล้านคนที่ยังไม่มีอาหารเพียงพอในการกิน
ประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำกำลังประสบปัญหาคนเป็นโรคอ้วนพุ่งขึ้นสองเท่ามากขึ้นโดยเฉพาะฝั่งแคริบเบียนและตะวันออกกลาง ในแถบยุโรปบางประเทศก็เพิ่มมากขึ้น ยกเว้นสเปน ที่เริ่มมีตัวเลขโรคอ้วนที่ลดลงหรือคงที่
>> ตัวเลขสถิติที่น่าสนใจ...
- ประเทศตองกาและประเทศอเมริกันซามัวครองแชมป์ร่วมเพศชาย 81% ของประชากรชาย เป็นโรคอ้วน
- ประเทศนาอูรูและประเทศอเมริกันซามัวครองแชมป์ร่วมฝั่งหญิงที่ 70% เป็นโรคอ้วน
- สหรัฐฯ ครองอันดับ 10 ฝั่งชาย และ 36 ฝั่งหญิง
>> อ้วนครึ่งโลกในปี 2035...
ประชากรที่อายุมากกว่า 5 ปี 774 ล้านคน มีเกณฑ์ที่จะเป็นโรคอ้วนในอนาคต หรือก็คือพบได้ 1 ใน 8 คน ทาง WHO ก็มีการออกมาเรียกร้องให้เพิ่มมาตรการอย่างการเพิ่มภาษีน้ำตาลและสนับสนุนให้โรงเรียนเปลี่ยนมื้ออาหารให้เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ สหพันธ์โรคอ้วนยังเผยอีกว่า โลกของเราจะมีคนเป็นโรคอ้วนครึ่งโลกภายในปี 2035 และส่งผลให้ต้องใช้เงินแก้ปัญหานี้กว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
(15 ส.ค.67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โรคเอ็มพอกซ์ (MPOX) หรือโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนความเสี่ยงเกิดการแพร่ระบาดระหว่างประเทศ
ทางด้าน ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การฯ แถลงข่าวว่า เขารับทราบคำแนะนำจากคณะกรรมการฉุกเฉิน ซึ่งได้ประชุมหารือและพิจารณาแล้วว่าสถานการณ์การระบาดของโรคเอ็มพอกซ์หรือโรคฝีดาษลิง ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ
โดยภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ นับเป็นสัญญาณเตือนระดับสูงสุดภายใต้กฎหมายสาธารณสุขระหว่างประเทศ ทุกฝ่ายจึงควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคเอ็มพอกซ์หรือโรคฝีดาษลิง ซึ่งมีแนวโน้มแพร่ระบาดภายในแอฟริกาและกระจายวงกว้างยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลขององค์การฯ พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคเอ็มพอกซ์หรือโรคฝีดาษลิงในปี 2024 ได้สูงเกินจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในปี 2023 แล้ว โดยขณะนี้มีผู้ป่วยสะสมอยู่ที่มากกว่า 14,000 ราย และผู้ป่วยเสียชีวิตอยู่ที่ 524 ราย
ทั้งนี้ องค์การฯ ประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ หลังจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกาประกาศให้การระบาดของโรคเอ็มพอกซ์หรือโรคฝีดาษลิงในเวลานี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของทวีป
ทีโดรสกล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการฉุกเฉินว่าการรับมือในตอนนี้ ไม่ได้รับมือกับการระบาดของสายพันธุ์เดียว แต่เป็นการรับมือกับการระบาดของหลายสายพันธุ์ในหลายประเทศ ซึ่งมีรูปแบบการระบาดและระดับความเสี่ยงแตกต่างกัน
นอกจากนี้ เมื่อวันพุธ (14 ส.ค.) องค์การเตรียมความพร้อมและรับมือภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของคณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่า สหภาพยุโรปประกาศแผนการจัดซื้อและบริจาควัคซีนเอ็มวีเอ-บีเอ็น (MVA-BN) แก่แอฟริกา จำนวน 175,420 โดส และบาวาเรียน นอร์ดิก (Bavarian Nordic) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพในเดนมาร์ก จะบริจาควัคซีนแก่องค์การฯ จำนวน 40,000 โดสด้วย
(7 ก.พ.68) หลังจากสหรัฐฯ และอาร์เจนตินาถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ล่าสุด ฮังการีอาจเป็นประเทศถัดไปที่พิจารณาก้าวออกจากองค์กรนี้
เมื่อวันพฤหัสบดี สำนักงานของนายกรัฐมนตรีวิกเตอร์ ออร์บาน แห่งฮังการี เปิดเผยว่ากำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการถอนตัวจาก WHO โดย เกร์เกย์ กุยยาช รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “หากประเทศที่ทรงอำนาจที่สุดในโลกตัดสินใจออกจากองค์กรระหว่างประเทศ เราก็ควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะเดินตามแนวทางนั้นหรือไม่”
กุยยาชระบุว่า ฮังการีอาจตัดสินใจอยู่ต่อ หรืออาจเลือกทางอื่น แต่เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างจริงจัง เนื่องจาก “ประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกตัดสินใจออกจาก WHO ด้วยความสมัครใจ”
ในวันเดียวกัน รองประธานสภารัสเซียก็ออกมาสนับสนุนแนวคิดการถอนตัว โดย พีออตร์ ตอลสตอย สมาชิกพรรคสหรัสเซียของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน เขียนบน Telegram ว่า “ถึงเวลาตรวจสอบการทำงานของ WHO ในรัสเซียอย่างละเอียด และในระหว่างกระบวนการตรวจสอบ เราควรระงับสมาชิกภาพของรัสเซีย หรือทางที่ดีกว่า เราควรอำลา WHO ไปเลย”
ก่อนหน้านี้ อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และพันธมิตรได้วิจารณ์ WHO ว่าแทรกแซงอธิปไตยของประเทศต่างๆ ถูกจีนครอบงำ และบริหารจัดการวิกฤตโควิด-19 อย่างผิดพลาด อย่างไรก็ตาม เทดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการ WHO ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด โดยกล่าวต่อที่ประชุมสมาชิกว่า WHO เป็นองค์กรที่เป็นกลางและทำงานเพื่อประโยชน์ของทุกประเทศทั่วโลก
“เมื่อประเทศต่างๆ ขอให้ WHO ดำเนินการเกินขอบเขตหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อสนับสนุนสุขภาพโลก เราก็ต้องปฏิเสธอย่างสุภาพ” เทดรอสกล่าว
(14 มี.ค. 68) องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) เปิดเผยข้อมูลที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์โรคหัดในภูมิภาคยุโรป โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคหัด เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่ในปี 2567 ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบกว่า 25 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2540
การวิเคราะห์โดยองค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคหัดที่รายงานในภูมิภาคยุโรป เพิ่มขึ้นเป็น 127,352 รายในปี 2567 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากจำนวนที่รายงานในปีก่อนหน้า
“โรคหัดกลับมาอีกแล้ว และเป็นการเตือนสติให้ตื่นตัว หากไม่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูง ก็ไม่มีหลักประกันสุขภาพ” ดร. ฮันส์ พี. คลูเก้ ผู้อำนวยการภูมิภาคยุโรปของ WHO กล่าวในแถลงการณ์
รายงานจากทั้งสององค์กรระบุว่า การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคหัดในยุโรปเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะการลดลงของอัตราการฉีดวัคซีนในบางประเทศ รวมถึงความท้าทายในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ซึ่งส่งผลให้เด็กและผู้ที่มีความเสี่ยงสูงไม่ได้รับการป้องกันที่เพียงพอจากโรคหัด
ทาง WHO และยูนิเซฟได้เรียกร้องให้ทุกประเทศในยุโรปเร่งดำเนินการเพิ่มการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคหัด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อาจตกเป็นเป้าหมายของโรคนี้ นอกจากนี้ยังมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน
ทั้งนี้ โรคหัดเป็นโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน และการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยในยุโรปครั้งนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนที่ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างการเข้าถึงวัคซีนในพื้นที่ที่ยังมีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ เพื่อป้องกันการระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต