Wednesday, 23 April 2025
สีลม

Throwback Rooftop Bar นั่งจิบเบาๆที่ดาดฟ้า มองลงมาเห็นวิวสวนลุม เน้นเล่นดนตรีสดยุค 90s

ช่วงนี้กระแส Y2K กำลังมาแรง THE STATES TIMES ขอนำเสนอ Throwback Rooftop Bar บาร์ดาดฟ้าบรรยากาศดี ใจกลางเมือง ย่านสีลม ศาลาแดง ที่ชั้น 9 ตึก Silom Edge ที่นี่คือบาร์ที่จะพาเราย้อนเวลาไปสู่ยุค 90s ไม่ว่าจะเป็น ดนตรีเพราะๆ บรรยากาศสุดชิล ฟีลกินดื่ม Mood&Tone การใช้สีสันในโทนสดใส สีเหลืองตัดกับสีน้ำเงินสด การตกแต่ง รวมไปถึงเมนูอาหารและเครื่องดื่มของที่ร้าน เรียกได้ว่าเปิดเพลงไหนเราก็ร้องตามได้ทุกเพลง และที่สำคัญสามารถมองเห็นวิวสวนลุม ใจกลางสี่แยกสีลม หรือหากอยากนั่งข้างใน ห้องแอร์ ฟังดนตรีสดชัดๆ ก็สามารถนั่งข้างในได้เช่นเดียวกัน รองรับคนได้กว่า 200 คน พร้อมที่จอดรถกว้างขวาง หรือจะเลือกเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดงและ MRT สีลม ก็สะดวกสบาย ปลอดภัยไม่ต้องขับรถ

ข้อมูลเพิ่มเติม
พิกัด : ตึก Silom Edge ชั้น 9 ถนนสีลม, 10500

เรื่อง : กันย์ ฉันทภิญญา Content Manager

ชื่นชม!! ‘จนท.ไทย’ รุดช่วยเหลือ ‘เด็กฝรั่ง’ พลัดหลงกับพ่อขณะเล่นน้ำ ด้านชาวเน็ต บอก!! นี่แหละ Soft Power ที่ยิ่งใหญ่ของไทยอย่างแท้จริง

(17 เม.ย.67) เป็นคลิปไวรัลช่วงสงกรานต์ที่ทำเอาใจฟูไปทั้งโซเชียล หลังหนูน้อยชาวต่างชาติพลัดหลงกับพ่อ และได้เดินร้องไห้มาที่จุดปฐมพยาบาล เหล่าเจ้าหน้าที่ไทยได้รีบช่วยเหลือ จนในที่สุดพ่อของหนูน้อยก็ตามมาเจอ พร้อมกับเอ่ยขอบคุณไม่หยุด และบอกว่า “เขารักเมืองไทยและซาบซึ้งกับน้ำใจของคนไทยมาก!”

โดยคลิปดังกล่าวถูกโพสต์จาก TikTok ช่อง @memustation ที่เป็นสมาชิกอาสาสมัครที่อยู่ในจุดปฐมพยาบาลวชิรพยาบาล (ฐาน 46-00) ร่วมกับศูนย์บรรเทาสาธารณภัยภูมินทร์ ที่ตั้งในงานสงกรานต์ที่สีลม

ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 เม.ย.67 ช่วงเวลาประมาณ 16.00 น. ได้มีเด็กสาวต่างชาติเดินร้องไห้และมีอาการหนาวสั่นมาคนเดียว จากการสอบถามทราบว่าหนูน้อยชื่อ ลอร่า อายุ 10 ขวบ เป็นชาวฝรั่งเศส พลัดหลงกับพ่อระหว่างเดินเล่นน้ำ

ทางเจ้าหน้าที่จึงนำมาห่มฟลอยด์มาห่มให้น้องคลายหนาว ก่อนจะช่วยกันประสานงานทางวิทยุทุกช่องทุกข่าย ส่งทุกกลุ่มไลน์ที่จะประสานได้

จนในที่สุดมีชายชาวต่างชาติวิ่งเข้ามาและตะโกนว่า “my daughter” และทั้งคู่ก็โผเข้ากอดกันแน่น และพ่อของเด็กก็รีบยกมือไหว้ขอบคุณ พร้อมบอกว่าเขารักเมืองไทย และขอขอบคุณที่ช่วยให้เขาเจอลูก เขาซึ้งใจในน้ำใจของคนไทย

ซึ่งคลิปนี้ทำเอาผู้ได้ชมใจฟูและยิ้มกว้างไปกับพวกเขาด้วย โดยชาวเน็ตต่างพากันชื่นชมการทำงานของเจ้าหน้าที่ และบอกว่า ”นี่แหละคือ soft power ของคนไทยที่แท้จริง!”

‘พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ’ คึกคัก!! เหตุ ‘ต่างชาติ’ ย้ายสำนักงานใหญ่ ค่าเช่าเพิ่มขึ้น 0.5% จากไตรมาสก่อน เป็น 933 บาท ต่อตร.ม.ต่อเดือน

(8 ก.ย. 67) ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารหัวหน้าส่วนพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าไตรมาส2 ปี2567 อุปทานอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯเพิ่มขึ้น 29,200 ตร.ม. หรือ 0.5% จากไตรมาสก่อนคิดเป็น 6.16 ล้าน ตร.ม.

โดยมีอาคารสำนักงานใหม่ 2 แห่งสร้างแล้วเสร็จแล้ว ได้แก่ ศุภาลัย ไอคอน สาทร และรัชโยธิน ฮิลส์ ขณะที่ซัพพลายในอนาคตยัง"ไม่มี"การประกาศก่อสร้างโครงการใหม่ทำให้พื้นที่ให้เช่ารวมสำหรับการพัฒนา ‘ลดลง’ เหลือ 1.46 ล้าน ตร.ม.คิดเป็น 24% ของระดับอุปทานในปัจจุบัน

สำหรับ ‘พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ’ (CBD) ยังคงเป็นทำเลหลักมีสัดส่วน 60% ของอุปทานใหม่จะกระจุกตัวอยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจ จากการประเมินพบว่าในอีก 2.5 ปีข้างหน้าอุปทานพื้นที่สำนักงานใหม่ ในครึ่งปีหลัง 2567 อยู่ที่ 410,700 ตร.ม. ในปี 2568 คาดการณ์ 316,000 ตร.ม.และในปี 2569 คาดการณ์ 440,400 ตร.ม.

โดยดีมานด์การดูดซับสุทธิของตลาดพื้นที่สำนักงานในไตรมาสนี้เป็นบวกหรือเท่ากับ 18,400 ตร.ม เพิ่มขึ้นจากที่ติดลบในไตรมาสก่อน ส่งผลให้พื้นที่ครอบครองทั้งหมดเพิ่มขึ้น 0.4% จากไตรมาสก่อน เป็น 4.73 ล้าน ตร.ม. ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2565 ที่การดูดซับสุทธิของพื้นที่สำนักงานสีเขียวติดลบลดลงเหลือ5,900 ตร.ม.

ขณะที่พื้นที่สำนักงานที่ ‘ไม่ใช่’ สำนักงานสีเขียวเพิ่มขึ้น 24,300 ตร.ม. คาดว่าจะฟื้นตัวในไตรมาสหน้าตามเทรนด์ความยั่งยืนยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในตลาดสำนักงาน 

‘ความต้องการพื้นที่สำนักงานในย่านศูนย์กลางธุรกิจเพิ่มขึ้น มีการดูดซับสุทธิที่ 23,400 ตร.ม. ในขณะที่ความต้องการพื้นที่สำนักงานในย่านนอกศูนย์กลางธุรกิจ (Non-CBD) หดตัวเล็กน้อย การดูดซับสุทธิติดลบ 4,950 ตร.ม. เนื่องจากมีความต้องการจากบริษัทข้ามชาติที่ย้ายสำนักงานใหญ่เข้ามาในกรุงเทพฯมากขึ้น’

อย่างไรก็ตามอัตราการครอบครองตลาดอาคารสำนักงานภาพรวม ‘ทรงตัว’ อยู่ที่ 77% สอดคล้องกับไตรมาสก่อน หากแยกตามแต่ละกลุ่ม พบว่า สำนักงานเกรด A มีเสถียรภาพมากที่สุด อัตราการครอบครองสูงสุดที่ 80% แม้ว่าจะลดลง 2.5% เมื่อเทียบปีต่อปี เนื่องจากแรงกดดันอย่างต่อเนื่องของอุปทาน สำนักงานเกรด B เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.3% ส่วนสำนักงานเกรด C ลดลง 1% เหลือ 77%

ขณะที่ค่าเช่าเฉลี่ยในไตรมาสแรกอยู่ที่ 817 บาท ต่อตร.ม.ต่อเดือน เพิ่มขึ้น 0.5% จากไตรมาสก่อน และ 0.3% จากปีก่อน ค่าเช่าเฉลี่ยของอาคารทุกเกรดเพิ่มขึ้น แม้ว่าเทรนด์โดยรวมมีแนวโน้มเป็นบวก แต่ผู้ให้เช่าส่วนใหญ่เลือกที่จะคงค่าเช่าในอัตราเดิม ส่วนค่าเช่าเฉลี่ยของอาคารย่านศูนย์กลางธุรกิจในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 0.5% จากไตรมาสก่อน เป็น 933 บาท ต่อตร.ม.ต่อเดือน 

ขณะที่อัตราการครอบครองเฉลี่ยยังคงทรงตัวที่ 79% สีลม-สาทร-พระราม 4 เป็นย่านหลักที่ขับเคลื่อนพื้นที่การเช่าในย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยพื้นที่ย่านดังกล่าวมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญโดยการดูดซับสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 22,200 ตร.ม. ทำให้อัตราการครอบครองเพิ่มขึ้น 0.4% จากไตรมาสก่อน ส่วนอัตราค่าเช่าลดลงเล็กน้อย 0.7% จากไตรมาสก่อน

ตรงกันข้ามกับอาคารสำนักงานนอกย่านศูนย์กลางธุรกิจที่มีค่าเช่าและอัตราการครอบครอง ‘ลดลง’ ค่าเช่าเฉลี่ยลดลง 1.6% จากไตรมาสก่อน เหลือ 660 บาท ต่อตร.ม.ต่อเดือน อัตราการครอบครองเฉลี่ยก็ลดลงเช่นกัน โดยลดลง 0.5% จากไตรมาสก่อน เหลือ 74% ค่าเช่าของตลาดทั้ง 3 กลุ่มมีการเติบโตเป็นบวก แต่อัตราการครอบครองลดลง

อย่างไรก็ตาม ‘คุณภาพ’  ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญของการเลือกอาคารสำนักงาน แม้ว่าคำจำกัดความของ ‘คุณภาพ’ ยังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้เช่าจำนวนมากได้ปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่สำนักงาน โดยให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่น เทคโนโลยี และการปรับตัว การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่รองรับรูปแบบการทำงานที่หลากหลายและเน้นความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานมีความสำคัญมากขึ้น

รวมทั้งผู้เช่ายังให้ความสำคัญกับแนวคิดในเรื่องความยั่งยืนและ ESG ก่อนตัดสินใจเช่า ด้วยความมุ่งมั่นด้านคาร์บอน บางบริษัทจะพิจารณาเฉพาะอาคารที่ได้รับการรับรองสีเขียวเท่านั้น แม้ว่าตัวเลือกที่ไม่ได้รับการรับรองจะมาพร้อมกับสิ่งจูงใจที่น่าดึงดูดก็ตาม ดังนั้นอาคารเก่าที่ไม่ได้รับการปรับปรุงสินทรัพย์ (AE) หรือปรับปรุงการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก (FM) ต้องเผชิญกับการคุกคามมากขึ้นจากการเกิดขึ้นของอาคารใหม่ ๆ ที่ใช้กลยุทธ์การกำหนดราคาที่แข่งขันได้ พื้นที่ทางกายภาพ และบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้เช่ายุคใหม่

ทั้งนี้เนื่องจาก จะมีพื้นที่อุปทานใหม่เกือบ 1.2 ล้าน ตร.ม. ในอีก 2.5 ปีข้างหน้า จะกลายเป็น ‘แรงกดดัน’ ต่อจำนวนการเช่าพื้นที่และค่าเช่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ราคาค่าเช่าจะกลายเป็นตัวชี้วัดของตลาดที่มีความน่าเชื่อถือน้อยลง เนื่องจากช่องว่างระหว่างอัตราค่าเช่าและค่าเช่าที่แท้จริงเริ่มกว้างขึ้น โดย ช่วงครึ่งหลังของปี 2567 คาดว่าจะมีการเช่าเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ ย่านสีลม-สาทร-พระราม 4 จากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของโครงการ วัน แบงค็อก เฟส 1 ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหลักของตลาดที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะในช่วงที่กลไกตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลายตลอดเวลา

“การแข่งขันในตลาดสำนักงานกรุงเทพฯรุนแรงขึ้น ดังนั้น การมีคุณสมบัติของอาคารสีเขียวและการเน้นการปฏิบัติตามหลัก ESG จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้ทรัพย์สินของคุณมีความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดใจในตลาดปัจจุบัน เพราะความยั่งยืนเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้” นายปัญญา กล่าวทิ้งท้าย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top