Monday, 21 April 2025
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานรับลูก  กฟผ. เคาะลดค่าไฟ 'พ.ค.- ส.ค.' เหลือ 4.70 บาท ส่วนงวดใหม่รอเช็กปริมาณก๊าซ

(24 เม.ย.66) นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) นัดพิเศษวันนี้ พิจารณาปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ FT งวดเดือน พ.ค.-ส.ค.2566 ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอ พร้อมรับภาระค่าเอฟทีลดลง 7 สต.ทำให้ค่าไฟฟ้า ค่าเอฟทีลดลงจากเดิมที่ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.77 บาทต่อหน่วย เป็นอัตราเอฟทีใหม่ที่ 91.19 สตางค์ หรือค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.70 บาทต่อหน่วย

ทั้งนี้ในการดำเนินการดังกล่าวตามมติ กกพ. จะมีผลทันทีโดยไม่ต้องรับฟังความเห็นประชาชนรอบใหม่ เนื่องจากสมมุติฐานอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง 

ส่วนกรณีการแสดงความเห็นในช่วงนี้ว่าค่าไฟแพงนั้น นายคมกฤช ยอมรับว่า ค่าไฟฟ้าปัจจุบัน งวดเดือน มี.ค. –เม.ย. ยังไม่ได้ปรับขึ้น โดยยังคิดที่เฉลี่ย 4.72 บาทต่อหน่วย แต่ด้วยอากาศร้อน และมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างหนัก จึงทำให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจุบันค่าไฟฟ้าเป็นอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้มากก็ยิ่งต้องจ่ายมาก หากใช้เงิน 300 หน่วยต่อเดือน ก็ไม่มีส่วนลดจากรัฐบาล ก็ยิ่งทำให้หลายคนเจอกับปัญหาค่าไฟแพงด้วย

‘กกพ.’ เตือน!! ระวังแก๊งโจรสวมรอย หลอกแอดไลน์ดูดเงิน ชี้!! ใช้ช่องโหว่ค่าไฟแพง ย้ำ!! ไม่เคยให้จนท. ติดต่อแก้ไขค่าไฟแพง

(5 พ.ค. 66) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) โดย ดร.วัลลภ จิวหลง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ แจ้งว่า จากสถานการณ์อากาศร้อนผิดปกติในช่วงเดือนเมษายน หลายครัวเรือนใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องจ่ายเงินค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงมีกลุ่มบุคคลนำไปปั่นกระแสในสื่อออนไลน์ไฟฟ้าแพงทั้ง ๆ ที่ค่า Ft ยังอยู่ในอัตราเดิม จากความเข้าใจผิดดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลและกลายเป็นช่องทางให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ฉวยโอกาสในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

“จากการเปิดช่องทางรับข้อร้องเรียนไฟฟ้าแพง ผู้ใช้ไฟฟ้าหลายรายโทรศัพท์สอบถามว่า สำนักงาน กกพ. มีการติดต่อเพื่อส่งเจ้าหน้าที่เข้าแก้ไขปัญหาไฟฟ้าแพง โดยขอเข้าไปดูอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน และขอแอดไลน์ เพื่อใช้ในการประสานงาน ทางสำนักงาน กกพ. ขอแจ้งว่า ไม่มีการมอบหมายเจ้าหน้าที่ให้โทรศัพท์ติดต่อ ขอแอดไลน์ หรือเข้าไปตรวจอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านแต่อย่างใด คาดว่าจะเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ฉวยโอกาสช่วงประชาชนกังวลกับกระแสข่าวไฟฟ้าแพง เพื่อหลอกผู้ใช้ไฟฟ้าเชื่อมโยงช่องทางสื่อสารอันนำไปสู่การหลอกขอรหัสหรือฝังไวรัสไว้ในเครื่องโทรศัพท์ เพื่อใช้โอนเงินออกจากบัญชีภายหลัง” ดร.วัลลภ กล่าว
 

‘วีระศักดิ์’ ชี้ ‘ปัญหาสิ่งแวดล้อม’ จะล้อมเราทุกคน หากยังไม่เริ่มเปลี่ยนที่ตัวเราเอง

เมื่อไม่นานมานี้ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวในช่วงหนึ่งของรายการ คนบันดาลไฟ ตอน ‘คนดลใจ’ ซึ่งสนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่า…

“…อย่าปล่อยให้ทุกอย่างสายเกินแก้… เพราะโลกอยู่ในมือเราทุกคน
…ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะล้อมเราทุกคน ถ้าเรายังไม่เปลี่ยนในใจของเรา…”

‘กกพ.’ ยัน!! เชื้อเพลิงก๊าซฯ ยังสำคัญช่วงเปลี่ยนผ่าน ในจังหวะพลังงานหมุนเวียนยังพึ่งพาไม่ได้ 100%

5 ก.พ. 67) นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า การผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงก๊าซในระบบการผลิตไฟฟ้าหลักยังมีความจำเป็นในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพื่อรองรับความมั่นคงและความผันผวนของพลังงานหมุนเวียนไม่สามารถพึ่งพาได้ 100%  

แม้ภาคนโยบายจะวางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในระบบไฟฟ้าของไทยอย่างต่อเนื่องก็ตามในมิติด้านสังคมมองว่า ประเทศไทยยังมีนโยบายอัตราค่าไฟฟ้าอัตราเดียวกันทุกพื้นที่เพื่อกระจายความเจริญ มีนโยบายที่ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย มีนโบายช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสภาวะวิกฤตพลังงาน และมีนโยบายไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะเพื่อความปลอดภัยประชากรโดยไม่คิดค่าไฟฟ้า

ซึ่งนโยบายเหล่านี้เป็นนโยบายที่ใช้ไฟฟ้าเป็นกลไกสนับสนุนสังคมให้มีการใช้ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน การวางแผนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียว (Energy Transition) จะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางเทคโนโลยีประกอบด้วย เช่น การประยุกต์ใช้ไฮโดรเจนในการผลิตไฟฟ้า การพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) การพัฒนาการของระบบกักเก็บพลังงาน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่รวดเร็ว (Disruptive Technology) เป็นต้น

อย่างไรก็ดี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ทันเวลา จะสามารถช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ลดราคาพลังงาน และสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม ตรงเวลา เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน เกิดการพัฒนาร่วมกันที่สมดุลและยั่งยืน

"อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff: UGT) เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าพลังงานสีเขียวสามารถเลือกซื้อไฟฟ้าสีเขียวจากระบบได้ในราคาที่เป็นธรรมและไม่เอาเปรียบผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิม"

นายคมกฤช กล่าวอีกว่า ความท้าทายบนกระแสความเปลี่ยนแปลงของภาคพลังงานต่อการกำกับดูแลเพื่อสนับสนุนการสร้างความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ และการพัฒนาภาคพลังงานให้เกิดความยั่งยืนจะมีทั้งหมด 4 ด้าน ประกอบด้วย 

-การกำกับดูแลเพื่อรองรับการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนใหม่ๆ เช่น พลังงานจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจน พลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก รวมไปถึงการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บคาร์บอนในประเทศ

-การบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสามารถรองรับแนวโน้มพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้มา กที่สุดในราคาที่เหมาะสม

-การส่งเสริมการพัฒนาพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนตามศักยภาพและความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ ภาคพลังงานไทยมีความได้เปรียบซึ่งสามารถดึงเอาศักยภาพและความได้เปรียบเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่ ศักยภาพในเชิงที่ตั้งที่จะสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้และต่อเนื่องจากการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ภูมิประเทศที่มีพรมแดนเชื่อมติดกับ สปป.ลาว ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงานสะอาดสามารถเชื่อมต่อและรับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำที่ไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก สปป.ลาว ได้เป็นจำนวนมาก และการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และแหล่งอื่นๆ รวมทั้งการนำเข้าจากต่างประเทศให้เสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกันก็สามารถช่วยเสริมการให้บริการไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ สถานการณ์รองรับความผันผวนพลังงานและยังสามารถพัฒนาให้เป็นหลุมกักเก็บคาร์บอนได้ด้วย 

-การเพิ่มการแข่งขันในภาคพลังงานโดยมุ่งให้ผลประโยชน์เกิดกับผู้ใช้ไฟฟ้า ส่งเสริมผู้ใช้พลังงานและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถเข้าถึงและใช้พลังงานสะอาดได้ในระดับราคาที่เหมาะสม

สำหรับความท้าทายในการกำกับดูแลกิจการพลังงานในระยะต่อไป คือการสร้างความมั่นคงและความมีเสถียรภาพทางด้านพลังงานที่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน สามารถบรรลุเป้าหมายทำให้ภาคพลังงานรับใช้ประชาชนผู้ใช้พลังงานด้วยการพัฒนาสังคม ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงพลังงานสะอาดของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ 

และสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Energy Transition) โดยมีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ขณะนี้ประชากรโลกให้ความสำคัญกับสภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นภัยคุกคามหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น จึงร่วมกันตั้งเป้าหมายที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกให้มีความชัดเจนมากขึ้น เช่น ประเทศไทยมีเป้าหมายการเข้าสู่สังคม Carbon Neutral ในปี 2050 และ เข้าสู่สังคม Net Zero Emission ในปี 2065 เป็นต้น 

นอกจากนี้ยังเริ่มมีมาตรการหรือกลไกเชิงบังคับ (CBAM) เพื่อให้ทุกประเทศร่วมกันใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดสภาวะโลกร้อนให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงนโยบายการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้สามารถใช้พลังงานสะอาดที่สะดวกในราคาที่เหมาะสมและสามารถแข่งขันในตลาดโลกตามกติกาสากล จะต้องเป็นการเปลี่ยนผ่านที่มีรูปแบบให้มีการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพและไม่กระทบต่อความมั่นคงในการให้บริการ ต้องมีรูปแบบการเปลี่ยนผ่านที่ยังคงสามารถช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้สามารถดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานในสังคม และยังคงมีการให้บริการสาธารณะในระดับที่เพียงพอและเกิดความปลอดภัยในสังคมต่อไป

‘ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์’ เข้ารับตำแหน่ง ‘เลขาฯ กกพ.’ พร้อมเดินหน้างานกำกับดูแลพลังงานไทยให้ราบรื่น-ไร้รอยต่อ

(4 มิ.ย. 67) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ ได้เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 ต่อจาก นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ ที่เพิ่งครบวาระการดำรงตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบคัดเลือกและแต่งตั้งให้ ดร.พูลพัฒน์ เป็นเลขาธิการสำนักงาน กกพ. เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 โดย ดร.พูลพัฒน์ จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ จาก The George Washington University ประเทศสหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์การทำงานเริ่มเข้ารับราชการครั้งแรกเมื่อปี 2541 ที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน ต่อจากนั้นในปี 2561 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เมื่อปี 2566

ดร.พูลพัฒน์ มีประสบการณ์การทำงานในกิจการก๊าซธรรมชาติและกิจการไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องทั้งการวางยุทธศาสตร์ การกำกับ และการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพลังงาน โดยที่ผ่านมาเป็นบุคลากรหลักที่สำคัญที่ร่วมอยู่ในคณะทำงานและคณะเจรจาทางด้านพลังงานระหว่างประเทศสำคัญ ๆ หลายคณะด้วยกัน อาทิ การเจรจาในระดับทวิภาคีกับประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงาน การเจรจาในระดับพหุภาคี เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของภูมิภาคและของประเทศ และการทำหน้าที่ประธานในการหารือแนวทางในการปรับปรุงข้อตกลงความมั่นคงด้านปิโตรเลียม (ASEAN Petroleum Security Agreement) เป็นต้น 

นอกจากนี้ ดร.พูลพัฒน์ ยังมีส่วนร่วมในการบริหารสัญญาและสัมปทานก๊าซธรรมชาติเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและต่อเนื่องด้านเชื้อเพลิงของประเทศ และการร่วมแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศในด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานด้วยเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) รวมทั้งการสนับสนุนให้ภาคการศึกษาพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานของประเทศในอนาคต


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top