Wednesday, 23 April 2025
สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

‘สภาทนายความฯ’ แถลง ให้คำปรึกษากฎหมายประชาชน ฟรี! ชี้ ติดต่อมาที่ช่องทางต่าง ๆ ของสภาทนายความฯ ได้เลย

จากกรณีที่ทนายความดัง ชี้แจงค่าจัดแถลงข่าวราคา 300,000 บาท  เพราะมีความเสี่ยงถูกฟ้อง ตลอดจนเปิดเรตค่าปรึกษาทนาย ระหว่าง 1,000-3,000 บาทนั้น

(30 มี.ค.66) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงการณ์ เรื่องการให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชนฟรี ความว่า สภาทนายความในพระบรมราชปถัมภ์ ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ประชาชนที่ต้องการขอรับคำปรึกษาทางกฎหมายจากสภาทนายความ สามารถติดต่อมายังช่องทางต่าง ๆ ของสภาทนายความ ฯ ได้แก่ สายด่วน 1167,โทรศัพท์ 0-25227124-27 ต่อ 135,ปรึกษาทางไลน์ @lct249, ที่ทำการสภาทนายความ (ส่วนกลาง), ที่ทำการประธานสภาทนายความจังหวัดทั่วประเทศ, ที่ทำการกรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค 1-9, ศาล (ส่วนกลาง 15 แห่ง ภูมิภาค 106 แห่ง), สถานีตำรวจนครบาล 1-9 จำนวน 50 สถานี และสถานีตำรวจภูธร ภาค 1-9 (153 สถานี)


ที่มา : https://www.matichon.co.th/local/news_3900456

‘สภาทนายความฯ’ แต่งตั้ง ‘ท่านอ้น’ เป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นายกสภาฯ เพื่อใช้ความรู้ ทำประโยชน์ให้ปชช. สร้างความเท่าเทียม ในกระบวนการยุติธรรม

(6 เม.ย. 67) ที่ห้องประชุมชั้น 3 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวานนี้ นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้มอบหนังสือแต่งตั้งท่านชายวัชเรศร วิวัชรวงศ์ หรือ ท่านอ้น เป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกสภาทนายความ ปี พ.ศ. 2565-2568 โดยมีคณะกรรมการบริหารสภาทนายความ และกรรมการสภาทนายความ นายพงศ์พันธ์ ศรีเสวตร์ รองประธานกรรมการ พร้อมด้วยกรรมการสำนักงานคดีปกครอง ร่วมเป็นเกียรติแสดงความยินดี

ท่านชายวัชเรศร วิวัชรวงศ์ หรือ ท่านอ้น กล่าวขอบคุณนายกสภาทนายความที่ให้ความไว้วางใจแต่งตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกสภาทนายความ

"รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง โดยจะทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และให้ความรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุกคน และจะตั้งใจทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ด้านความยุติธรรม"

นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวขอบคุณท่านชายวัชเรศร วิวัชรวงศ์ ที่ให้เกียรติเป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกสภาทนายความ ซึ่งเชื่อมั่นว่า ต่อจากนี้ไปจะเห็นบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสภาทนายความอย่างแน่นอน

‘นิด้าโพล’ เผย!! ปชช. ยังเชื่อมั่นใน ‘ทนายความจิตอาสา’ ชี้!! ยังมีอยู่จริงแท้ แค่ไม่มากเท่าไร ยังคงไว้ใจได้อยู่

(3 พ.ย. 67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทนายความจิตอาสาจริง ๆ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อทนายความ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการมีอยู่จริงของทนายความจิตอาสาที่ช่วยเหลือประชาชนด้วยใจ ไม่สนใจผลประโยชน์หรือการสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 52.44 ระบุว่า มีจริง แต่ไม่มากเท่าไร รองลงมา ร้อยละ 26.56 ระบุว่า ไม่มั่นใจว่ามีจริง ร้อยละ 16.88 ระบุว่า ไม่มีจริง และร้อยละ 4.12 ระบุว่า มีจริง จำนวนมาก

ด้านบุคคลหรือหน่วยงานที่ประชาชนไว้ใจในการขอความช่วยเหลือหากไม่มั่นใจในความยุติธรรมจากคดีความที่ฟ้องร้องผู้อื่นหรือถูกผู้อื่นฟ้องร้อง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.06 ระบุว่า ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย รองลงมา ร้อยละ 21.83 ระบุว่า ชมรม สมาคม มูลนิธิ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 19.16 ระบุว่า สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ร้อยละ 13.44 ระบุว่า ไม่ไว้ใจใครเลย ร้อยละ 11.68 ระบุว่า ทนายอาสาจากสภาทนายความ ร้อยละ 11.37 ระบุว่า ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 ร้อยละ 9.01 ระบุว่า ทนายทั่วไป ร้อยละ 8.17 ระบุว่า ทนายอาสาจากเนติบัณฑิตยสภา ร้อยละ 6.87 ระบุว่า ทนายที่มีชื่อเสียง ร้อยละ 1.60 ระบุว่า นักการเมือง และร้อยละ 4.96 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อสังคมออนไลน์

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความไว้วางใจของประชาชนต่อความช่วยเหลือที่จะได้รับจากการใช้บริการหรือขอคำปรึกษาจากทนายความ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.06 ระบุว่า ค่อนข้างไว้วางใจ รองลงมา ร้อยละ 36.11 ระบุว่า ไม่ค่อยไว้วางใจ ร้อยละ 12.52 ระบุว่า ไม่ไว้วางใจเลย ร้อยละ 8.78 ระบุว่า ไว้วางใจมาก และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.64 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.90 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.46 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 33.44 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.89 สมรส และร้อยละ 2.67 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 0.53 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 18.02 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 36.18 จบการศึกษามัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.47 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.99 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.81 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.92 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.56 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.46 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.21 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.34 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.85 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.66 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.00 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 4.96 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 13.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30.53 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 12.06 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.90 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.99 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.38 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.08 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 0.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.09 ไม่ระบุรายได้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top