Tuesday, 22 April 2025
ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

‘อธิบดีผู้พิพากษา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง’ เป็นประธานในพิธีอบรมและปฏิญาณตนของผู้พิพากษาสมทบ ในศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสงขลา - ปัตตานี - สตูล และนครศรีธรรมราช

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.45 – 16.00 น. ที่ผ่านมา ณ โรงแรม บีพี สมิหลา บีช สงขลา นายประกอบ ลีนะเปสนันท์ อธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่ง อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เป็นประธานในพิธีอบรมและปฏิญาณตนของผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา จำนวน 42 คนจังหวัดปัตตานี 26 คน จังหวัดสตูล 21 คน และจังหวัดนครศรีธรรมราช 36 คน รวมทั้งสิ้น 125 คน 

โดยได้รับเกียรติจากมี นางสาววิไล จิวังกูร ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 9 นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา/ นายปัญญา ช่อมณี อธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 / นายก่อเกียรติ สุพลพงษ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 9 / นายประคอง เตกฉัตร อธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 / นายสถาพร ประสารวรรณ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 9 / นางวิรา ยากะจิ ณ พิกุล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 

‘ศาลเยาวชนฯ’ แจงเหตุออกหมายจับ ‘หยก’ เยาวชนคดี 112 เหตุประวิงเวลา เบี้ยวหมายเรียกครั้งที่ 2 อ้างติดสอบแต่ดันไปม็อบ

ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง แจงออกหมายจับ ด.ญ.หยก เยาวชนอายุ 15 ปี คดีหมิ่นเบื้องสูง มาตรา 112 ตามขั้นตอนกฎหมาย เหตุประวิงเวลา เบี้ยวพบตำรวจในการออกหมายเรียกครั้งที่ 2 อ้างติดสอบปลายภาค แต่กลับไปร่วมกิจกรรมม็อบหน้า UN จึงออกหมายจับ และนำตัวเข้าสถานพินิจฯ ยังไม่มีผู้ปกครองมาขอรับตัวหรือยื่นประกันตัว

(13 พ.ค.66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้เผยแพร่เอกสารชี้แจงการดำเนินคดี เยาวชน (ชื่อเล่น หยก) อายุ 15 ปี ผู้ต้องหากระทำความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูงว่า ตามที่เด็กหญิง ธ. ได้ถูกดำเนินคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 368 และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 มาตรา 4 และมีการสื่อในสังคมออนไลน์กล่าวถึงการใช้ดุลพินิจของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ในการออกหมายจับและการควบคุมตัวเด็กหญิง ธ. ว่ากระทำไปโดยไม่ชอบนั้น

ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขอชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทราบดังต่อไปนี้ เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2566 พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอออกหมายจับเด็กหญิง ธ. ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โดยอ้างว่าเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2566 พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกครั้งที่ 1 ให้เด็กหญิง ธ.มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 2 ก.พ. 2566 เวลา 10.00 น. แต่เด็กหญิง ธ. ไม่ไปพบตามหมายเรียกและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง พนักงานสอบสวนจึงได้ออกหมายเรียกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 ให้เด็กหญิง ธ. ไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 15 ก.พ. 2566 โดยในครั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้มีหนังสือเรื่อง ขอแจ้งเหตุขัดข้องไม่อาจมาพบพนักงานสอบสวนได้ โดยให้เหตุผลว่า เด็กหญิง ธ. อยู่ระหว่างการเตรียมและสอบวัดผลปลายภาคเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อเนื่องรายงานตัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทำให้ไม่สามารถไปพบพนักงานสอบสวนได้ และขอเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 9 เม.ย. 2566 เวลา 10.00 น.

แต่กลับปรากฏว่าหลังจากขอเลื่อนเพียง 3 วัน คือ เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2566 เวลาประมาณ 15.00 น. เด็กหญิง ธ. ได้ไปทำกิจกรรมบริเวณหน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติ อันแสดงให้เห็นว่าการขอเลื่อนการเข้าพบพนักงานสอบสวนในครั้งที่ 2 เป็นการประวิงเวลา ศาลพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 และพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 67 แล้ว เห็นว่ากรณีมีเหตุให้ออกหมายจับ จึงอนุญาตให้ออกหมายจับเด็กหญิง ธ. ตามขออันเป็นการออกหมายจับโดยชอบ

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566 เด็กหญิง ธ. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและถูกควบคุมตัวมายังศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2566 ศาลได้ตรวจสอบการจับตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 73 โดยศาลตั้งที่ปรึกษากฎหมายแก่เด็กหญิง ธ. แม้เด็กหญิง ธ. ปฏิเสธการลงลายมือชื่อในใบแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมาย แต่ถือว่าศาลได้ตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้ตามกฎหมายแล้ว และเห็นว่าการจับและปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ในวันตรวจสอบการจับ เด็กหญิง ธ. ไม่มีบิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การ ซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วยมาศาล คงมีเพียงนาย ส. แถลงต่อศาลว่าเป็นคนรู้จักกับเด็กหญิง ธ. และเป็นบุคคลที่เด็กหญิง ธ. ไว้วางใจและมาทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองชั่วคราว เนื่องจากมารดาของ เด็กหญิง ธ. เจ็บป่วยไม่สามารถมาศาลในวันดังกล่าว จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฎชัดเจนว่าเด็กหญิง ธ. อยู่ในความปกครองของมารดา ไม่ปรากฎว่านาย ส.เป็นผู้ปกครองตามกฎหมายหรือเป็นบุคคล ที่เด็กหญิง ธ. อาศัยอยู่ด้วย ศาลย่อมไม่อาจมอบตัวเด็กหญิง ธ. ให้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลซึ่งเด็กหญิง ธ. อาศัยอยู่ด้วยตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว มาตรา 73 ได้ 

ศาลจึงมีคำสั่งให้ส่งเด็กหญิง ธ. ไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน บ้านปรานี ข้อเท็จจริงยังปรากฎ ต่อมาว่า นับตั้งแต่วันตรวจจับจนถึงปัจจุบันนี้ มารดาของเด็กหญิง ธ. ไม่เคยมาศาล เพื่อติดต่อขอรับตัวเด็กหญิง ธ.ไปดูแล ทั้งยังไม่มีบุคคลใดมายื่นคำร้องขอปล่อยตัวเด็กหญิง ธ. ชั่วคราว การควบคุมตัวเด็กหญิง ธ. จึงเป็นไปโดยชอบ 

อนึ่ง เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชน คดีนี้บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การ ซึ่งเด็กหญิง ธ. อาศัยอยู่ด้วยสามารถมาแสดงตนขอรับตัวเด็กหญิง ธ.ไปอยู่ในความดูแลตาม พ ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 73 นอกจากนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กหญิง ธ. ก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเด็กหญิง ธ. ได้ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106

'รัดเกล้า' เผย!! รัฐเปิดเกมดุ ขจัดปัญหายาเสพติดตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ควบคู่!! เดินหน้าสร้างภูมิคุ้มกันแก่เยาวชน 'เท่าทัน-เข้าใจ-ห่างไกล'

(4 ส.ค. 67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้ร่วมเป็นองค์เสวนา ชื่อหัวข้อ 'เยาวชนความรู้เท่าทันเรื่องอะไรบ้างจึงป้องกันตัวเองได้' ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม 'โครงการเยาวชนรู้เท่าทัน ป้องกันตนเอง' ที่จัดขึ้น ณ ชุมชนบ้านปูนใต้สะพานพระราม 8 เขตบางพลัด กรุงเทพมหานครฯ ระหว่างเวลา 08:30 – 14:00 น. โดย นายกีรติ กีรติยุติ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และนางอิง ภาสกรนที ประธานผู้พิพากษาสมทบ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ร่วมเป็นประธานในการเปิดงาน

ทั้งนี้ รองโฆษกรัฐบาล รัดเกล้า ได้กล่าวว่า นโยบายและแนวทางของรัฐบาลในการจัดการกับปัญหายาเสพติด ว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะนำมาสู่ปัญหาอื่น ๆ อีกมากมายเช่น ปัญหาอาชญากรรมอื่น ปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น ทางรัฐบาลได้ให้ทิศทางนโยบายโดยเน้นตัดต้นตอกระบวนการค้ายาเสพติด ด้วยการเน้นทำลายโครงสร้างการค้าและการเงินของกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด ความน่ากังวลใจคือสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้รายงานว่าปัจจุบันมีการจับการค้ายาเสพติดได้จำนวนเพิ่มขึ้นถึง 4-5 เท่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีแพร่ระบาดของยาเป็นจำนวนมาก 

"ในสภาวะเช่นนี้หน่วยปฏิบัติต้องทำงานหนักมาก และต้องพบความเสี่ยงในการทำงานมากขึ้น ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่สำคัญที่สุด เมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้มอบอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกัน และตอบโต้กลุ่มผู้ค้ายาเสพติด อาทิ กล้อง Night Vision โดรนตรวจการณ์ ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ ANTI-DRONE และรถโฟร์วีล เป็นต้น" รองโฆษกฯ รัดเกล้า กล่าว

รองโฆษกฯ รัดเกล้า กล่าวอีกว่า "นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าสู่วงโคจรของยาเสพติด ที่เริ่มต้นจากผู้เสพ ซึ่งมีผลกระทบมากมาย อาทิ ปัญหาสุขภาพทั้งกายและใจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จึงอยากแนะนำไปยังเด็กและเยาวชนว่า เรื่องของยาเสพติดต้องหลีกเลี่ยงตั้งแต่ต้น และยังได้แสดงความห่วงใยจากการที่เด็กและเยาวชนจะถูกหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดีให้ขนย้ายยาเสพติด"

เมื่อพูดถึงเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้า รองโฆษกฯ รัดเกล้าแสดงความห่วงใยด้วยว่า “นอกจากปัญหายาเสพติดแล้ว ปัญหาของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นปัญหาอีกปัญหาหนึ่งซึ่งแพร่ระบาดในเด็กและเยาวชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งความอันตรายไม่ได้น้อยไปกว่าบุหรี่ มีผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อเข้าถึงเด็กโดยเฉพาะ และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายของประเทศไทยด้วย” 

สำหรับการเสวนาในครั้งนี้นอกจากนางรัดเกล้า สุวรรณคีรี รองโฆษกรัฐบาลแล้ว ยังมีนางสาวนิชญา ปราณีจิตต์ เลขานุการศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง นายอุดมชัย โลหณุต ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร นายแพทย์ธนัช พจน์พิศุทธิพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และร้อยตำรวจโทพิมดาว พวงพิลา รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจบางยี่ขัน เข้าร่วมการเสวนาด้วย

ทั้งนี้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในฐานะผู้จัดงานเปิดเผยว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นเพียงแค่การคิ๊กออฟโครงการ เป็นต้นแบบที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมุ่งหวังจะเดินหน้าจัดในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป เป้าหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางคือให้ความรู้ในเรื่องคดีต่างๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีความรู้ ความเข้าใจ โดยในเฟสแรกนี้จะมุ่งเป้าหาความร่วมมือกับคณะกรรมการชุมชนต่างๆ สำนักงานเขตต่างๆ ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีความพร้อม โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะครอบคลุมให้ได้มากถึง 4 ชุมชนต่อปี โดยงบประมาณหลักในการจัดงานนี้มาจากการระดมทุนของคนในศาลโดยมุ่งหวังสร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญา ให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติด และอยากเห็นเยาวชนไทยได้รับโอกาสที่ดีในชีวิต

ด้าน นายกีรติ ระบุว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และได้รับความร่วมมือกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจับกุม ปราบปราม และเยียวยา เยาวชนที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และเผชิญความเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภัยจากการล่อลวง (เช่น การเปิดบัญชีม้า และการค้าประเวณี) ซึ่งท้ายสุดก็ทำให้กลุ่มเยาวชนเข้าไปอยู่ในวงจรสีเทาที่มีการค้าขายยาเสพติดสอดแทรกอยู่ในนั้น ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เป็นเพียงแค่การคิกออฟโครงการ เป็นต้นแบบที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมุ่งหวังจะเดินหน้าจัดในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป  

สำหรับกิจกรรมภายในงาน มีกิจกรรมการแสดงความสามารถของเยาวชนในชุมชนเพื่อนบ้าน การแสดงกระบี่กระบอง จากชุมชนวัดฉัตรแก้ว ที่เป็นแบบที่ดีของชุมชนที่สร้างกิจกรรมดังกล่าวให้เยาวชนในพื้นที่ใช้เวลาว่างมาทำในสิ่งที่มีประโยชน์ สร้างรายได้เสริม และเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน มีการแสดงรำร่ายไหว้ครูมวยไทย ชุดผู้ใหญ่และชุดเด็ก และการแสดงคีตะมวยไทย จากชุมชนเขตคลองเตย นอกจากนั้นในบริเวณรอบข้างยังมีการออกร้านให้ชุมชนรอบข้างนำของดีในพื้นที่มาวางขาย เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้เพลิดเพลินและร่วมอุดหนุนสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่อีกด้วย

'รัดเกล้า' ชี้!! บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไม่น้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป แนะ!! ต้องป้องกันเด็ก-เยาวชน ให้ห่างไกลวงโคจรยาเสพติด

เมื่อวานนี้ (4 ส.ค. 67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้ร่วมเป็นองค์เสวนา ชื่อหัวข้อ 'เยาวชนความรู้เท่าทันเรื่องอะไรบ้างจึงป้องกันตัวเองได้' ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม 'โครงการเยาวชนรู้เท่าทัน ป้องกันตนเอง' ที่จัดขึ้น ณ ชุมชนบ้านปูนใต้สะพานพระราม 8 เขตบางพลัด กรุงเทพมหานครฯ ระหว่างเวลา 08:30 – 14:00 น. โดย นายกีรติ กีรติยุติ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และนางอิง ภาสกรนที ประธานผู้พิพากษาสมทบ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ร่วมเป็นประธานในการเปิดงาน

ทั้งนี้ รองโฆษกรัฐบาล รัดเกล้า ได้กล่าวว่า นโยบายและแนวทางของรัฐบาลในการจัดการกับปัญหายาเสพติด ว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะนำมาสู่ปัญหาอื่น ๆ อีกมากมายเช่น ปัญหาอาชญากรรมอื่น ปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น ทางรัฐบาลได้ให้ทิศทางนโยบายโดยเน้นตัดต้นตอกระบวนการค้ายาเสพติด ด้วยการเน้นทำลายโครงสร้างการค้าและการเงินของกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด ความน่ากังวลใจคือสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้รายงานว่าปัจจุบันมีการจับการค้ายาเสพติดได้จำนวนเพิ่มขึ้นถึง 4-5 เท่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีแพร่ระบาดของยาเป็นจำนวนมาก 

"ในสภาวะเช่นนี้หน่วยปฏิบัติต้องทำงานหนักมาก และต้องพบความเสี่ยงในการทำงานมากขึ้น ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่สำคัญที่สุด เมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้มอบอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกัน และตอบโต้กลุ่มผู้ค้ายาเสพติด อาทิ กล้อง Night Vision โดรนตรวจการณ์ ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ ANTI-DRONE และรถโฟร์วีล เป็นต้น" รองโฆษกฯ รัดเกล้า กล่าว

รองโฆษกฯ รัดเกล้า กล่าวอีกว่า "นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าสู่วงโคจรของยาเสพติด ที่เริ่มต้นจากผู้เสพ ซึ่งมีผลกระทบมากมาย อาทิ ปัญหาสุขภาพทั้งกายและใจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จึงอยากแนะนำไปยังเด็กและเยาวชนว่า เรื่องของยาเสพติดต้องหลีกเลี่ยงตั้งแต่ต้น และยังได้แสดงความห่วงใยจากการที่เด็กและเยาวชนจะถูกหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดีให้ขนย้ายยาเสพติด"

เมื่อพูดถึงเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้า รองโฆษกฯ รัดเกล้าแสดงความห่วงใยด้วยว่า “นอกจากปัญหายาเสพติดแล้ว ปัญหาของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นปัญหาอีกปัญหาหนึ่งซึ่งแพร่ระบาดในเด็กและเยาวชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งความอันตรายไม่ได้น้อยไปกว่าบุหรี่ มีผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อเข้าถึงเด็กโดยเฉพาะ และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายของประเทศไทยด้วย” 

สำหรับการเสวนาในครั้งนี้นอกจากนางรัดเกล้า สุวรรณคีรี รองโฆษกรัฐบาลแล้ว ยังมีนางสาวนิชญา ปราณีจิตต์ เลขานุการศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง นายอุดมชัย โลหณุต ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร นายแพทย์ธนัช พจน์พิศุทธิพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และร้อยตำรวจโทพิมดาว พวงพิลา รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจบางยี่ขัน เข้าร่วมการเสวนาด้วย

ทั้งนี้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในฐานะผู้จัดงานเปิดเผยว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นเพียงแค่การคิ๊กออฟโครงการ เป็นต้นแบบที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมุ่งหวังจะเดินหน้าจัดในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป เป้าหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางคือให้ความรู้ในเรื่องคดีต่างๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีความรู้ ความเข้าใจ โดยในเฟสแรกนี้จะมุ่งเป้าหาความร่วมมือกับคณะกรรมการชุมชนต่างๆ สำนักงานเขตต่างๆ ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีความพร้อม โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะครอบคลุมให้ได้มากถึง 4 ชุมชนต่อปี โดยงบประมาณหลักในการจัดงานนี้มาจากการระดมทุนของคนในศาลโดยมุ่งหวังสร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญา ให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติด และอยากเห็นเยาวชนไทยได้รับโอกาสที่ดีในชีวิต

ด้าน นายกีรติ ระบุว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และได้รับความร่วมมือกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจับกุม ปราบปราม และเยียวยา เยาวชนที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และเผชิญความเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภัยจากการล่อลวง (เช่น การเปิดบัญชีม้า และการค้าประเวณี) ซึ่งท้ายสุดก็ทำให้กลุ่มเยาวชนเข้าไปอยู่ในวงจรสีเทาที่มีการค้าขายยาเสพติดสอดแทรกอยู่ในนั้น ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เป็นเพียงแค่การคิกออฟโครงการ เป็นต้นแบบที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมุ่งหวังจะเดินหน้าจัดในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป  

สำหรับกิจกรรมภายในงาน มีกิจกรรมการแสดงความสามารถของเยาวชนในชุมชนเพื่อนบ้าน การแสดงกระบี่กระบอง จากชุมชนวัดฉัตรแก้ว ที่เป็นแบบที่ดีของชุมชนที่สร้างกิจกรรมดังกล่าวให้เยาวชนในพื้นที่ใช้เวลาว่างมาทำในสิ่งที่มีประโยชน์ สร้างรายได้เสริม และเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน มีการแสดงรำร่ายไหว้ครูมวยไทย ชุดผู้ใหญ่และชุดเด็ก และการแสดงคีตะมวยไทย จากชุมชนเขตคลองเตย นอกจากนั้นในบริเวณรอบข้างยังมีการออกร้านให้ชุมชนรอบข้างนำของดีในพื้นที่มาวางขาย เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้เพลิดเพลินและร่วมอุดหนุนสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่อีกด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top