Wednesday, 23 April 2025
วันสตรีสากล

พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล เป็นประธานมอบโล่เชิดชูเกียรติ ชูพลังสตรี ร่วมแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ หวังปลดล็อกกีดกันทางการค้าถาวร เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day)

พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานมอบโล่เชิดชูเกียรติ ให้กับสตรีที่มีผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือเด็ก  สตรี ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และงานจราจรเนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day)

วันพุธที่ 13 มีนาคม 2566 เวลา 10.00 น. พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ,  พลตำรวจโท ภาคภูมิภิภัทฒ์  สัจจพันธุ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/รองผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, พลตำรวจโท ธนายุตม์  วุฒิจรัสธำรงค์  ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/คณะทำงาน ศพดส.ตร., พลตำรวจโท สันติ์ สุขวัจน์,  พลตำรวจโท วันไชย เอกพรพิชญ์, พลตำรวจโท พนัญชัย  ชื่นใจธรรม,พลตำรวจตรี นิพนธ์ เจริญผล และ พลตำรวจตรี ไพโรจน์ กุจิรพันธ์ คณะที่ปรึกษา ศพดส.ตร. รวมถึง นายพงษ์วาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม, นายอนุกูล  ปีดแก้ว รองปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, นางมารศรี  ใจรังษี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ผู้แทนกระทรวงแรงงาน, นางจตุพร แสงหิรัญ  อธิบดีอัยการ สำนักงานอัยการคดีค้ามนุษย์ ร่วมพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ ให้กับสตรีที่มีผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือเด็ก สตรี ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และงานจราจรเนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) ณ ห้องศรียานนท์ อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  

วันสตรีสากล (International Women’s Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี วันสตรีสากลนี้เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นในการขจัดการแบ่งแยกและการเหยียดเพศให้หมดไป เปิดโอกาสให้ผู้หญิงทุกคนได้แสดงความสามารถ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความทัดเทียมกัน ในประเทศไทยทุกวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในวันสตรีสากล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักและเห็นความสำคัญของวันสตรีสากล และยังได้จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่นประจำปี เนื่องในวันสตรีสากล ทั้งนี้ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีผู้สร้างประโยชน์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ อีกด้วย

พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์  หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ได้เล็งเห็นความสำคัญ ถึงบทบาท หน้าที่ของสตรี ในยุคปัจจุบัน ที่มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี จึงมีแนวคิดที่จะมอบโล่เชิดชูเกียรติ ให้กับข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็กและสตรีดีเด่น ,ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานจราจรดีเด่น และสตรีผู้ปฏิบัติงานในองค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ซึ่งมีผลงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็ก  และสตรีดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญกำลังใจให้กับสตรี เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) ผ่านการเสนอชื่อจากสายการบังคับบัญชา เสนอคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณา โดยมี พลตำรวจโท ภาคภูมิภิภัทฒ์  สัจจพันธุ์  ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/รองผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นประธาน ซึ่งได้มีการคัดเลือกสุภาพสตรีที่ได้รับรางวัล 3 สาขา จำนวน 31 ท่าน 

พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวว่า ที่ผ่านมาการค้ามนุษย์ในประเทศไทยกลายเป็นปัญหาระดับชาติเนื่องจากไทยถูกลดระดับและกีดกันทางการค้าจากความไม่เอาใจใส่ในการปราบปรามการค้ามนุษย์  กระทั่งสามปีที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังทำให้สหรัฐอเมริกา มองเห็นถึงความจริงจังในการดำเนินการจึงปรับระดับจาก 2.5 มาเป็น 2 และในปีนี้ผลงานด้านการปราบปรามที่ไปนำเสนอในเวที ทิป ออฟฟิศ ก็ยังคงได้รับคำชื่นชมจากวุฒิสภาสมาชิกของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา ทำให้ไทยมีสิทธิ์ลุ้นที่จะได้รับการปรับระดับอีกครั้ง  ทั้งนี้ความสำเร็จที่เกิดขึ้นก็ล้วนเป็นผลมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะกลุ่มสตรีซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการร่วมกันแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการกระทำอนาจารต่อเด็กและสตรี  และในวันนี้ยังมีสุภาพสตรีจำนวนนึงที่รับราชการตำรวจและเลือกปฏิบัติหน้าที่งานด้านจราจร ให้บริการประชาชนบนท้องถนน ซึ่งเป็นงานที่มีความเสี่ยงภัย แต่ตำรวจจราจรหญิงเหล่านี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ทัดเทียมกับตำรวจจราจรชาย ในฐานะที่ผมกำกับดูแลงานจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญ และขอชื่นชมสุภาพสตรีเหล่านี้  นี่จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในวันสตรีแห่งชาติ ศูนย์พิทักษ์เด็กสตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอมอบโล่เชิดชูเกียรติให้กับสุภาพสตรีทุกท่าน เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการร่วมแก้ปัญหาต่อไปในอนาคต และหวังว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นอย่างจริงจังเหล่านี้จะนำไปสู่การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์อย่างถาวร ซึ่งจะทำให้ไทยไม่ถูกกีดกันทางการค้าอีกต่อไป

เอกสารแนบท้าย
(รายชื่อผู้ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ จำนวน 31 ท่าน)

ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็กและสตรีดีเด่น จำนวน 14 ท่าน ได้แก่
พ.ต.อ.หญิง กษิรานิษฐ์  เตชิตวรเศรษฐ์  รอง ผบก.สก.สกพ.(ฝอ.ศพดส.ตร.)
พ.ต.อ.หญิง จรีย์วรรณ  พุทธานุรักษ์ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.ภ.5
พ.ต.ท.หญิง จารุวรรณ  มากยงค์ รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.เมืองระนอง ภ.จว.ระนอง
พ.ต.ท.หญิง ชมภูนุช  อนันตญากุล  รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.ป่าตอง ภ.จว.ภูเก็ต
พ.ต.ท.หญิง ฐิติพร  เรืองรอด รอง ผกก.วป.ผอ.
พ.ต.ท.หญิง เมธาวรินทร์  เอี่ยมชู    รอง ผกก.ปพ.ผอ.
พ.ต.ท.หญิง ชนัญชิดา ตุ่ยสิมา สว.(สอบสวน) กก.6 บก.ปคม.
พ.ต.ท.หญิง พรรัมภา  พัฒนาวาท  สว.กก.ดส.
ว่าที่ พ.ต.ต.หญิง ภูษณิศา  จันทรัชภ์  สว.(สอบสวน) สภ.ราชบุรีเพชรบุรี ภ.จว.ราชบุรี
ร.ต.อ.หญิง ขวัญดาว  หิรัญ รอง สว.กลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต บก.ตอท.
ร.ต.อ.หญิง พิสมัย  วิชัยศร  รอง สว.กก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.4 
(ชป.TICAC ภ.4)
ร.ต.อ.หญิง พรรณวดี  เกษร  รอง สว.(สอบสวน) กตค.บก.กค.ภ.4
ร.ต.ท.หญิง ณัฐวดี  ศรีคำสุข รอง สว.กลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศ
ต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต บก.ตอท.
จ.ส.ต.หญิง ทิพยรัตน์ สมสวัสดิ์ ผบ.หมู่ 1 กก.สืบสวน 2 บก.สส.ภ.4
(ชป.TICAC ภ.4)    

ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานจราจรดีเด่น จำนวน 8 ท่าน ได้แก่
พ.ต.ต.หญิง ปวีณา ชุมฤทธิ์ สว.จร.สภ.เมืองภูเก็ต
ร.ต.อ.หญิง เนตรนฤมนต์ ปล้องใหม่ รอง สว.ป.สภ.กงหรา ภ.จว.พัทลุง
ร.ต.อ.หญิง สุชิรา ยะโกะ รอง สว.(สอบสวน) สภ.เบตง ภ.จว.ยะลา
ร.ต.อ.หญิง ธวัลรัตน์ เอี่ยววิบูลธนกิจ รอง สว.จร.สภ.บางละมุง ภ.จว.ชลบุรี
ร.ต.ท.หญิง กุลภัสสร์สรณ์  นิลวรรณ รอง สว.(ป.) สน.บางรัก
จ.ส.ต.หญิง มัลลิกา รามบุตรดี ผบ.หมู่ (ป.) สภ.โนนศิลา ภ.จว.ขอนแก่น
จ.ส.ต.หญิง บุษบา กำเลิศภู ผบ.หมู่ (ป.) สภ.เมืองอุดรธานี ภ.จว.อุดรธานี
จ.ส.ต.หญิง สิริยุพา ศิริวัจนพร ผบ.หมู่ (ป.) สภ.หนองสองห้อง ภ.จว.ขอนแก่น

สตรีผู้ปฏิบัติงานในองค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ซึ่งมีผลงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็ก และสตรีดีเด่น จำนวน 9 ท่าน ได้แก่
คุณปวีณา หงสกุล มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
นางอภิญญา ทาจิตต์  Stella Maris
น.ส.ณัฐกานต์ โนรี โครงการสปริง มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม
น.ส.รำไพพรรณ จิตต์ธรรม มูลนิธิเพื่ออิสรภาพ (The Exsodus Road)
นางวีรวรรณ มอสบี้ โครงการฮัก ภายใต้มูลนิธิสานสัมพันธ์ครอบครัว
น.ส.พรนิภา  คำสม มูลนิธิเพื่อความเข้าใจเด็ก (FOCUS)
น.ส.พรรณรัชฏ์ ยุทธวารีชัย  องค์การ โอ ยู อาร์ ประเทศไทย (O.U.R.)
น.ส.พชรลิตา  หรรษคุณาฒัย องค์การ โอ ยู อาร์ ประเทศไทย (O.U.R.)
น.ส.นันท์นารี  หลวงมอย  มูลนิธิศูนย์เพื่อน้องหญิง

8 มีนาคม ของทุกปี วันสตรีสากล (International Women's Day) ร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคและเท่าเทียม

วันสตรีสากล (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย

ความเป็นมาของวันสตรีสากล

ประวัติวันสตรีสากล เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คน ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400)

จากนั้นในปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ "คลาร่า เซทคิน" (CLARE ZETKIN) นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดี

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

ทั้งนี้ ยังได้รับรองข้อเสนอของ 'คลาร่า เซทคิน' ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top