Monday, 24 June 2024
ร้านสะดวกซื้อ

เจ้าถิ่นเจ๋ง!!! ร้านสะดวกซื้อเจ้าถิ่นใน ‘อินโดนีเซีย’ แข็งแกร่ง!! แม้แต่ ‘7-11’ ยังต้องยอมแพ้ - ล้มเลิกกิจการ

สวัสดีนักอ่านทุกท่านครับ วันนี้ผมมีเรื่องราวน่าสนใจจากประเทศเพื่อนบ้านมาเล่าสู่กันฟังครับ หากพูดถึงร้านสะดวกซื้อในไทยที่เราเห็นได้บ่อย เข้าใช้บริการบ่อย ก็ต้องนึกถึง 7-Eleven ถูกต้องไหมครับ และเป็นที่รู้กันโดยทั่วว่า 7-Eleven ประสบความสำเร็จในประเทศไทยอย่างยิ่ง

แต่ถึงแม้ว่า 7-Eleven จะประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายในหลาย ๆ ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์ แต่ใน ‘อินโดนีเซีย’ แล้วนั่น กลับเป็นเรื่องที่ยากแสนยาก และไม่มีทีท่าว่าจะสามารถเจาะตลาดร้านสะดวกซื้อของประเทศนี้ได้

เหตุผลหลัก ๆ ที่เป็นเช่นนั้น คือ ‘อินโดนีเซีย’ มีเครือข่ายร้านค้าสะดวกซื้ออยู่แล้ว เช่น ‘Indomaret’ และ ‘Alfamart’ ที่สามารถพบเจอได้เกือบทุก ๆ ๑ กม. หรือน้อยกว่านั้น และร้านค้า ๒ เจ้านี้จะกระจายตัวอยู่ตามเมืองใหญ่หรือเมืองเล็ก ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ 7-Eleven ทำแล้วได้ผลดีในประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ร้านสะดวกซื้ออย่าง Lawson's และ Family Mart ก็ใช้วิธีการนี้ด้วยเช่นกัน

นอกจาก 7-Eleven จะนิยมเปิดร้านสะดวกซื้อภายในอาคาร สำนักงาน หรือในพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน โดยกำหนดเป้าหมายไปยังพื้นที่ที่ Indomaret และ Alfamart ตั้งอยู่ หวังให้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการแล้ว 7-Eleven ยังอัปเกรดร้านให้เป็นร้าน ‘ระดับพรีเมียม’ โดยมีบริการสถานที่นั่งรับประทานอาการ ดื่มเครื่องดื่ม และมี Wi-Fi ให้ใช้ฟรีอีกด้วย

ดูเหมือนว่ากลยุทธ์นี้จะดึงดูดความสนใจจากลูกค้าได้ แต่ก็เพียงแค่ในระยะแรกที่เป็นกระแสเท่านั้น เพราะเมื่อเวลาผ่านไปผู้คนมักจะเข้ามาซื้อเพียงเครื่องดื่มที่มีราคาถูก เพียงหวังจะได้นั่งในร้านเพื่อใช้ Wi-Fi ฟรีเป็นเวลาหลายชั่วโมง ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ 7-Eleven มีรายได้น้อย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสูง (ค่าไฟฟ้า อินเทอร์เน็ต และค่าเช่าพื้นที่ในพื้นที่ระดับพรีเมียม) 

7-Eleven เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น นักเรียนนักศึกษา อายุระหว่าง 18 - 25 ปี โดยลูกค้ากลุ่มนี้จะใช้ 7-Eleven เป็นสถานที่แฮงก์เอาต์ และสถานที่ท่องเที่ยวทั้งในกลางวันและกลางคืน (24 ชม.) โดยมีการนำเสนอรายการอาหารและเครื่องดื่มของ 7-Eleven แบบดั้งเดิมเช่น Slurpee และของว่างพร้อมกับอาหารท้องถิ่นและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั่นจึงไม่แปลกใจว่าทำไมถึงฮิตในกล่มวัยรุ่น

ในปี ค.ศ. 2020 7-Eleven มีสาขามากถึง 70,750 แห่งทั่วโลก แต่ร้าน 7-Eleven แต่กลับไม่มีสักสาขาเดียวในอินโดนีเซีย เนื่องจากในปี ค.ศ. 2017 7-Eleven ได้ประกาศปิดสาขาทั้งหมด หลังเข้ามารุกธุรกิจในประเทศนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 

การดำเนินงานของ 7-Eleven ในอินโดนีเซียจะดำเนินงานผ่านผู้ให้บริการท้องถิ่นคือ PT Modern Internasional ซึ่งจัดการบริการที่ตรงกันข้ามกับร้านสะดวกซื้อในอเมริกาที่เน้นการซื้อกลับบ้านและของกินเล่นยามดึก หลังเริ่มธุรกิจได้ไม่นาน บริษัท PT Modern Internasional ก็เริ่มขยายตัวภายในกรุงจาการ์ตา โดย 7-Eleven เปิดสาขาแห่งที่ 21 ภายในปี ค.ศ. 2010 และมีสาขาครบ 100 แห่งในปี ค.ศ. 2012 

ในปี ค.ศ. 2013 บริษัทมียอดขายสูงสุดประมาณ 78 แห่งจากร้านค้าทั้งหมด 190 แห่ง ดูเหมือนว่าอนาคตของ 7-Eleven ในอินโดนีเซียจะสดใส แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่ เนื่องจากประสบปัญหาที่แก้ไม่ตกเพราะลูกค้าไม่ยอมใช้เงินในร้าน แม้ว่าจะมีลูกค้าจำนวนมากใน 7-Eleven แต่ก็จ่ายเงินซื้อเครื่องดื่มเพียงแก้วเดียว แล้วนั่งนาน ๆ หลายชั่วโมง 

บริษัท PT Modern Internasional ได้ออกมาบอกด้วยว่า “ยอดขายที่ขาดหายไปเป็นเพราะการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งรายเดิมและรายใหม่ เช่น Family Mart และ Alfamart”

‘ร้านสะดวกซื้อ’ ในญี่ปุ่น เผชิญปัญหา ‘ขาดแคลนแรงงาน’ ทำกระทบเวลาให้บริการ ไม่สามารถเปิด 24 ชม.ได้แล้ว

เมื่อวานนี้ (7 พ.ค.67) เกียวโด นิวส์ รายงานว่า ร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเกือบ 12% ที่ดำเนินงานโดยผู้ประกอบการรายใหญ่ จะไม่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงอีกต่อไป ด้วยเหตุผลเรื่องการขาดแคลนแรงงาน และ ความต้องการซื้อที่ลดลงในช่วงดึก จากการสำรวจของเกียวโด นิวส์

โดยการสำรวจนี้ จัดขึ้นในเดือนเมษายน และตอบกลับโดยผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ 7 ราย ยกเว้นบริษัท Yamazaki Baking Co. โดยพบว่า ร้านสะดวกซื้อประมาณ 6,400 แห่ง จาก 55,00 แห่ง ในประเทศ เปิดทำงานในเวลาที่สั้นลง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน

ทั้งนี้ ร้านค้าบางแห่ง ได้เร่งเปิดตัวเครื่องบันทึกเงินสดแบบไร้พนักงาน เพื่อรับมือการขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงมากขึ้น

ด้าน เซเว่น อิเลฟเว่น เจแปน คอร์ป ผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ ได้ลดเวลาทำการของร้านค้าเพิ่มเติม 200 แห่ง นับแต่ปี 2020 ตามคำขอของเจ้าของแฟรนไชส์ ขณะที่บริษัท ลอว์สัน ได้ใช้มาตรการที่คล้ายกันกับร้านค้าอีกประมาณ 100 แห่ง

ในบรรดาร้านสะดวกซื้อชั้นนำ 3 แห่งของญี่ปุ่น ได้แก่ เซเว่น-อิเลฟเว่น , ลอว์สัน และ แฟมิลี่ มาร์ท มีสัดส่วนของร้านค้าที่ทำการสั้นลงค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ประมาณ 8-10% เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายเล็กอื่น ๆ

Seicomart ซึ่งเป็นร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในฮอกไกโด ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น มีอัตราการลดเวลาทำงานของร้านค้าสูงสุดที่ร้อยละ 87 ตามมาด้วย Poplar Co. ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองฮิโรชิมา ทางตะวันตกของญี่ปุ่น ที่ร้อยละ 79

“เรากำลังใช้มาตรการ โดยคำนึงถึงยอดขายและความยั่งยืน” Ministop Co. เปิดเผย ซึ่งได้เปิดให้ร้านค้า 22% เปิดทำการสั้นลง

นับตั้งแต่ เซเว่น อิเลฟเว่น เจแปน เปิดร้านสะดวกซื้อแห่งแรกของประเทศใน โกโต ของโตเกียว ในเดือนพฤษภาคม 2517 ร้านค้าดังกล่าวเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และแพร่หลายไปมากขึ้น โดยลูกค้าไม่เพียงแวะมาซื้อของ แต่ยังมาใช้บริการทางการเงิน จัดส่งพัสดุ และ อื่น ๆ อีกมาก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาไม่กี่ปีนี้ ตลาดในประเทศเริ่มอิ่มตัว และความกังวลเกี่ยวกับการทำงานที่มากเกินไป ได้ปรากฏขึ้นท่ามกลางวิกฤตแรงงาน ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยข้อพิพาทปี 2019 ระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์ ในโอซาก้า และ เซเว่น อิเลฟเว่น เจแปน เกี่ยวกับการดำเนินงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ได้รับความสนใจจากสาธารณชน โดยเน้นย้ำเรื่องความกังวลนี้ 

วงในบอกเอง!! ทำไมลูกค้าต้องรอคิวจ่ายเงินที่ร้านสะดวกซื้อ  แม้มีพนักงานอยู่เยอะ แต่กลับไม่มาช่วยคิดเงินก่อน

เมื่อวานนี้ (18 มิ.ย.67) เชื่อว่าหลายคนก็คงสงสัย เมื่อไปที่ร้านสะดวกซื้อแล้วต้องต่อคิวรอจ่ายเงิน ทั้งที่ลูกค้ารอต่อคิวเยอะมาก แต่พนักงานของร้านบางคน ทำอะไรไม่รู้อยู่ด้านหลังเคาเตอร์แคชเชียร์ ทำไมไม่มาช่วยกันคิดเงินก่อน ปล่อยให้เพื่อนร่วมงานรับชะตากรรมอยู่คนเดียว

โดยในเฟซบุ๊กกลุ่ม ‘กลุ่มที่ไม่ว่าพิมพ์อะไรเราก็ให้กำลังใจในทุกเรื่องแบบงง ๆ อิหยังวะ’ มีคนเข้ามาโพสต์ว่า เวลาที่ไปร้านสะดวกซื้อ ลูกค้าต่อคิวจ่ายเงิน แต่มีพนักงานคิดเงินแค่คนเดียว บางคนยืนคิดยอดบัญชี บางคนอยู่หลังตู้แช่ ทำไมไม่มาคิดเงินให้ลูกค้าก่อน

ซึ่งก็มีคนที่เจอประสบการณ์แบบเดียวกัน เข้ามาเล่าว่า ตนเข้าร้านสะดวกซื้อร้านหนึ่งในช่วงเวลา 07.00-07.30 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาเร่งด่วน และร้านกลับเปิดเคาน์เตอร์แคชเชียร์แค่ช่องเดียว คนคิดเงินคนเดียว คนชงเครื่องดื่มอีกคน ทำไมจัดการแบบนี้ทั้งที่เป็นชั่วโมงขายดี

ไม่นับร้านสะดวกซื้อเจ้าดังที่มักจะเปิดเคาน์เตอร์คิดเงินช่องเดียวจนคนทะลัก แถมพอจะจ่ายเงิน ยังต้องแนะนำโปรโมชั่นให้ลูกค้าก่อนอีก พนักงานบางคนก็ช้า กว่าจะหยิบของสแกน กว่าจะหยิบใส่ถุง ลูกค้าต้องยืนกลั้นใจนานสองนาน ว่าแล้วก็อยากไปช่วยทำงานแทน

ต่อมาก็มีคนมาให้คำตอบเรื่องนี้ว่า พนักงานร้านสะดวกซื้อแต่ละคน มีหน้าที่ประจำ ไม่ใช่แค่ต้องยืนเคาน์เตอร์ และเหตุที่มีพนักงานหลังเคาน์เตอร์เยอะแยะ แต่กลับไม่มาช่วยคิดเงิน เพราะพนักงานต้องส่งยอดให้ตรงเวลา เขามีเวลาเป๊ะ ๆ ที่ต้องห้ามส่งยอดช้า ห้ามรับออร์เดอร์ช้า ต้องรีบจัดของให้เสร็จก่อนส่งต่อพนักงานชุดต่อไป บางคนก็เป็นเวลาพักของเขา เขาก็ต้องไปพัก ไม่ต้องทำงาน

รวมไปถึงสินค้าเดลิเวอรี่ ที่พนักงานต้องรีบรับออร์เดอร์ ถ้าเกินเวลาที่กำหนด ระบบจะส่งเรื่องไปที่สำนักงานใหญ่ และสาขาจะโดนใบเตือน แต่หากกดรับแล้ว จะใช้เวลาจัด จะส่งตอนไหน ก็ขึ้นอยู่กับออร์เดอร์ที่ได้รับ

สรุปคือ พนักงานร้านสะดวกซื้อทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องทำ และต้องทำงานของตัวเองให้เสร็จด้วย แม้ว่าคนจะเยอะ แต่ก็ไม่ได้มีหน้าที่คิดเงินแค่อย่างเดียว

ขณะที่มีผู้คอมเมนต์ท่านหนึ่ง ซึ่งเผยว่าตนเคยมีประสบการณ์ในการทำงานที่ร้านสะดวกซื้อ ก็ได้โพสต์เล่าให้ฟังด้วยว่า...

"จากใจคนเคยทำงานพนักงานร้านสะดวกซื้อคือเรื่องจริง ถ้าทำงานไม่เสร็จในกะตัวเองต้องลากยาวจนกว่าจะเสร็จ ซึ่งร้านที่เคยทำมาต้องโหลดของเข้าร้านเองด้วยซ้ำ และของแต่ละรอบคือ 4-5 พาเลท ของที่ส่งแบบเป็นลัง ๆ ขนาดมีตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการมีน้องในกะ 3 คนยังไม่ทันเลย...

"การส่งงานต่อให้อีกกะมันค่อนข้างมีความเกรงใจคนรับงานอยู่ จนทำให้ต้องรับผิดชอบของที่กะเราเป็นรับมาถึงแม้ว่าอีก 10 นาทีจะหมดกะเราแล้วก็ตาม ตอนที่ทำอยู่คือไม่เคยเลิกงานตรงเวลาเลย เวลาเข้ากะดึกงานก็เหนื่อยมากแล้ว ไหนจะอดนอนอีก เช้าก็อยากกลับบ้านไปพักผ่อน แต่งานไม่เสร็จกว่าจะได้กลับบ้านคือเกือบเที่ยง ทนทำเพราะ ผจก.ดี เพื่อนร่วมงานดี และมาหลัง ๆ คือร่างกายไม่ไหวจริง เลยต้องหางานใหม่...

'การส่งต่อกะที่เคาเตอร์ยิ่งต้องรอบคอบเพราะมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวคนส่งนับ 1 รอบ คนรับก็ต้องรับถ้าเงินไม่ตรงก็เรื่องเกิดรับเครื่องต่อไม่ได้ไม่งั้นคนรับเครื่องต่อก็ซวยถ้าไม่นับเงิน ใครไม่ได้ทำก็ไม่รู้หรอก เข้าใจได้เพราะตอนยังไม่ได้ทำก็วีนฉ่ำเหมือนกัน พอมาทำถึงเข้าใจ หลังจากนั้นก็ไม่เหวี่ยงไม่วีนอีกเลย คิดซะว่าถ้าช้าต้องยืนรอก็ยังรอในห้องแอร์ไม่ได้ร้อนอะไร เป็นกำลังใจให้พนักงานเคาเตอร์ทุกคนนะคะ...

อีกเรื่องคือ เรื่องขายสินค้าโปรถ้ามีเวลาฟังไปเหอะค่ะ ถ้าไม่สนใจก็แค่ปฏิเสธไป ร้านพวกนี้เขามีบัดเจทยอดขายถ้าทำไม่ถึงยอดก็โดนเตือนอีก เขาเลยต้องพูด ต้องถามบ่อย ๆ ถ้ามันไม่มีอะไรมาบีบบังคับไม่มีใครเขาอยากพูดให้คนอื่นรำคานหรอกเชื่อเหอะ"


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top