Monday, 21 April 2025
รัดเกล้า_อินทวงศ์_สุวรรณคีรี

'รัดเกล้า' เผย ‘Depa’ เดินหน้าโครงการ ‘Coding for Better Life’ ขับเคลื่อนโมเดลพัฒนาคนดิจิทัล สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

(19 ก.ค. 67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เดินหน้าโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนโมเดลการพัฒนากำลังคนดิจิทัลของประเทศ และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างยั่งยืน ภายหลังที่ประชุม ครม. (9 มกราคม 2567) รับทราบแนวทางการดำเนินโครงการดังกล่าว

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กิจกรรม Coding Bootcamp และ Coding Roadshow ภายใต้โครงการ Coding for Better Life มี 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ Coding Bootcamp Coding Roadshow และ Coding War รอบคัดเลือก ที่จะมีการเดินสายทั่วประเทศใน 8 จังหวัดทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยเริ่มพื้นที่แรกไปแล้ว

(1) เมื่อวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2567 จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,600 และมีผู้ชมผ่าน FB Live รวมกว่า 23,000 คน 
(2) วันที่ 8-9 กรกฎาคม 2567 กรุงเทพฯ 
(3) วันที่ 11-12 กรกฎาคม 2567 จังหวัดอุบลราชธานี 
(4) วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2567 จังหวัดพิษณุโลก 
(5) วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2567 จังหวัดเชียงใหม่ 
(6) วันที่ 23-24 กรกฎาคม 2567 จังหวัดภูเก็ต 
(7) วันที่ 15-16 สิงหาคม 2567 จังหวัดชลบุรี 
(8) วันที่ 19-20 สิงหาคม 2567 จังหวัดสงขลา

โดยในส่วนของกิจกรรม Coding Bootcamp นั้น จัดขึ้นสำหรับครูและนักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่ภาคกลางที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 400 คน 100 ทีม เพื่อเรียนรู้ทักษะโค้ดดิ้งเข้มข้น ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลในหัวข้อต่าง ๆ ก่อนคัดเลือก 10 ผลงานยอดเยี่ยมเพื่อเป็น 1 ใน 100 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน Coding War รอบ Final ที่ MCC Hall เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ ระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2567 เพื่อค้นหาสุดยอดผลงาน ชิงเงินรางวัล และรับสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันโค้ดดิ้งเวทีระดับนานาชาติอย่าง Seoul International Invention Fair 2024 (SIIF 2024) ณ สาธารณรัฐเกาหลี

โดยกิจกรรม Coding Roadshow จัดขึ้นสำหรับผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยภายในกิจกรรมมีทั้งนิทรรศการ และกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโค้ดดิ้ง เทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล 

ส่วนกิจกรรม Coding War เป็นการเปิดพื้นที่ให้ครูและนักเรียนจากโรงเรียนที่สนใจ และส่งใบสมัครเข้าร่วมแข่งขันนำเสนอผลงานและคัดเลือกสู่การเป็น 1 ใน 100 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน Coding War รอบ Final ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือติดตามรายละเอียดและข่าวสารต่าง ๆ ของโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย ได้ทาง www.depa.or.th และเฟซบุ๊กเพจ depa Thailand และ Coding Thailand by depa

'รัดเกล้า' เผย!! รัฐเปิดเกมดุ ขจัดปัญหายาเสพติดตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ควบคู่!! เดินหน้าสร้างภูมิคุ้มกันแก่เยาวชน 'เท่าทัน-เข้าใจ-ห่างไกล'

(4 ส.ค. 67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้ร่วมเป็นองค์เสวนา ชื่อหัวข้อ 'เยาวชนความรู้เท่าทันเรื่องอะไรบ้างจึงป้องกันตัวเองได้' ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม 'โครงการเยาวชนรู้เท่าทัน ป้องกันตนเอง' ที่จัดขึ้น ณ ชุมชนบ้านปูนใต้สะพานพระราม 8 เขตบางพลัด กรุงเทพมหานครฯ ระหว่างเวลา 08:30 – 14:00 น. โดย นายกีรติ กีรติยุติ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และนางอิง ภาสกรนที ประธานผู้พิพากษาสมทบ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ร่วมเป็นประธานในการเปิดงาน

ทั้งนี้ รองโฆษกรัฐบาล รัดเกล้า ได้กล่าวว่า นโยบายและแนวทางของรัฐบาลในการจัดการกับปัญหายาเสพติด ว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะนำมาสู่ปัญหาอื่น ๆ อีกมากมายเช่น ปัญหาอาชญากรรมอื่น ปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น ทางรัฐบาลได้ให้ทิศทางนโยบายโดยเน้นตัดต้นตอกระบวนการค้ายาเสพติด ด้วยการเน้นทำลายโครงสร้างการค้าและการเงินของกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด ความน่ากังวลใจคือสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้รายงานว่าปัจจุบันมีการจับการค้ายาเสพติดได้จำนวนเพิ่มขึ้นถึง 4-5 เท่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีแพร่ระบาดของยาเป็นจำนวนมาก 

"ในสภาวะเช่นนี้หน่วยปฏิบัติต้องทำงานหนักมาก และต้องพบความเสี่ยงในการทำงานมากขึ้น ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่สำคัญที่สุด เมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้มอบอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกัน และตอบโต้กลุ่มผู้ค้ายาเสพติด อาทิ กล้อง Night Vision โดรนตรวจการณ์ ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ ANTI-DRONE และรถโฟร์วีล เป็นต้น" รองโฆษกฯ รัดเกล้า กล่าว

รองโฆษกฯ รัดเกล้า กล่าวอีกว่า "นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าสู่วงโคจรของยาเสพติด ที่เริ่มต้นจากผู้เสพ ซึ่งมีผลกระทบมากมาย อาทิ ปัญหาสุขภาพทั้งกายและใจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จึงอยากแนะนำไปยังเด็กและเยาวชนว่า เรื่องของยาเสพติดต้องหลีกเลี่ยงตั้งแต่ต้น และยังได้แสดงความห่วงใยจากการที่เด็กและเยาวชนจะถูกหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดีให้ขนย้ายยาเสพติด"

เมื่อพูดถึงเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้า รองโฆษกฯ รัดเกล้าแสดงความห่วงใยด้วยว่า “นอกจากปัญหายาเสพติดแล้ว ปัญหาของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นปัญหาอีกปัญหาหนึ่งซึ่งแพร่ระบาดในเด็กและเยาวชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งความอันตรายไม่ได้น้อยไปกว่าบุหรี่ มีผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อเข้าถึงเด็กโดยเฉพาะ และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายของประเทศไทยด้วย” 

สำหรับการเสวนาในครั้งนี้นอกจากนางรัดเกล้า สุวรรณคีรี รองโฆษกรัฐบาลแล้ว ยังมีนางสาวนิชญา ปราณีจิตต์ เลขานุการศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง นายอุดมชัย โลหณุต ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร นายแพทย์ธนัช พจน์พิศุทธิพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และร้อยตำรวจโทพิมดาว พวงพิลา รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจบางยี่ขัน เข้าร่วมการเสวนาด้วย

ทั้งนี้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในฐานะผู้จัดงานเปิดเผยว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นเพียงแค่การคิ๊กออฟโครงการ เป็นต้นแบบที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมุ่งหวังจะเดินหน้าจัดในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป เป้าหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางคือให้ความรู้ในเรื่องคดีต่างๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีความรู้ ความเข้าใจ โดยในเฟสแรกนี้จะมุ่งเป้าหาความร่วมมือกับคณะกรรมการชุมชนต่างๆ สำนักงานเขตต่างๆ ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีความพร้อม โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะครอบคลุมให้ได้มากถึง 4 ชุมชนต่อปี โดยงบประมาณหลักในการจัดงานนี้มาจากการระดมทุนของคนในศาลโดยมุ่งหวังสร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญา ให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติด และอยากเห็นเยาวชนไทยได้รับโอกาสที่ดีในชีวิต

ด้าน นายกีรติ ระบุว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และได้รับความร่วมมือกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจับกุม ปราบปราม และเยียวยา เยาวชนที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และเผชิญความเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภัยจากการล่อลวง (เช่น การเปิดบัญชีม้า และการค้าประเวณี) ซึ่งท้ายสุดก็ทำให้กลุ่มเยาวชนเข้าไปอยู่ในวงจรสีเทาที่มีการค้าขายยาเสพติดสอดแทรกอยู่ในนั้น ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เป็นเพียงแค่การคิกออฟโครงการ เป็นต้นแบบที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมุ่งหวังจะเดินหน้าจัดในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป  

สำหรับกิจกรรมภายในงาน มีกิจกรรมการแสดงความสามารถของเยาวชนในชุมชนเพื่อนบ้าน การแสดงกระบี่กระบอง จากชุมชนวัดฉัตรแก้ว ที่เป็นแบบที่ดีของชุมชนที่สร้างกิจกรรมดังกล่าวให้เยาวชนในพื้นที่ใช้เวลาว่างมาทำในสิ่งที่มีประโยชน์ สร้างรายได้เสริม และเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน มีการแสดงรำร่ายไหว้ครูมวยไทย ชุดผู้ใหญ่และชุดเด็ก และการแสดงคีตะมวยไทย จากชุมชนเขตคลองเตย นอกจากนั้นในบริเวณรอบข้างยังมีการออกร้านให้ชุมชนรอบข้างนำของดีในพื้นที่มาวางขาย เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้เพลิดเพลินและร่วมอุดหนุนสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่อีกด้วย

'รัดเกล้า' ชี้!! บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไม่น้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป แนะ!! ต้องป้องกันเด็ก-เยาวชน ให้ห่างไกลวงโคจรยาเสพติด

เมื่อวานนี้ (4 ส.ค. 67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้ร่วมเป็นองค์เสวนา ชื่อหัวข้อ 'เยาวชนความรู้เท่าทันเรื่องอะไรบ้างจึงป้องกันตัวเองได้' ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม 'โครงการเยาวชนรู้เท่าทัน ป้องกันตนเอง' ที่จัดขึ้น ณ ชุมชนบ้านปูนใต้สะพานพระราม 8 เขตบางพลัด กรุงเทพมหานครฯ ระหว่างเวลา 08:30 – 14:00 น. โดย นายกีรติ กีรติยุติ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และนางอิง ภาสกรนที ประธานผู้พิพากษาสมทบ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ร่วมเป็นประธานในการเปิดงาน

ทั้งนี้ รองโฆษกรัฐบาล รัดเกล้า ได้กล่าวว่า นโยบายและแนวทางของรัฐบาลในการจัดการกับปัญหายาเสพติด ว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะนำมาสู่ปัญหาอื่น ๆ อีกมากมายเช่น ปัญหาอาชญากรรมอื่น ปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น ทางรัฐบาลได้ให้ทิศทางนโยบายโดยเน้นตัดต้นตอกระบวนการค้ายาเสพติด ด้วยการเน้นทำลายโครงสร้างการค้าและการเงินของกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด ความน่ากังวลใจคือสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้รายงานว่าปัจจุบันมีการจับการค้ายาเสพติดได้จำนวนเพิ่มขึ้นถึง 4-5 เท่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีแพร่ระบาดของยาเป็นจำนวนมาก 

"ในสภาวะเช่นนี้หน่วยปฏิบัติต้องทำงานหนักมาก และต้องพบความเสี่ยงในการทำงานมากขึ้น ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่สำคัญที่สุด เมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้มอบอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกัน และตอบโต้กลุ่มผู้ค้ายาเสพติด อาทิ กล้อง Night Vision โดรนตรวจการณ์ ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ ANTI-DRONE และรถโฟร์วีล เป็นต้น" รองโฆษกฯ รัดเกล้า กล่าว

รองโฆษกฯ รัดเกล้า กล่าวอีกว่า "นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าสู่วงโคจรของยาเสพติด ที่เริ่มต้นจากผู้เสพ ซึ่งมีผลกระทบมากมาย อาทิ ปัญหาสุขภาพทั้งกายและใจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จึงอยากแนะนำไปยังเด็กและเยาวชนว่า เรื่องของยาเสพติดต้องหลีกเลี่ยงตั้งแต่ต้น และยังได้แสดงความห่วงใยจากการที่เด็กและเยาวชนจะถูกหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดีให้ขนย้ายยาเสพติด"

เมื่อพูดถึงเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้า รองโฆษกฯ รัดเกล้าแสดงความห่วงใยด้วยว่า “นอกจากปัญหายาเสพติดแล้ว ปัญหาของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นปัญหาอีกปัญหาหนึ่งซึ่งแพร่ระบาดในเด็กและเยาวชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งความอันตรายไม่ได้น้อยไปกว่าบุหรี่ มีผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อเข้าถึงเด็กโดยเฉพาะ และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายของประเทศไทยด้วย” 

สำหรับการเสวนาในครั้งนี้นอกจากนางรัดเกล้า สุวรรณคีรี รองโฆษกรัฐบาลแล้ว ยังมีนางสาวนิชญา ปราณีจิตต์ เลขานุการศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง นายอุดมชัย โลหณุต ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร นายแพทย์ธนัช พจน์พิศุทธิพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และร้อยตำรวจโทพิมดาว พวงพิลา รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจบางยี่ขัน เข้าร่วมการเสวนาด้วย

ทั้งนี้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในฐานะผู้จัดงานเปิดเผยว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นเพียงแค่การคิ๊กออฟโครงการ เป็นต้นแบบที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมุ่งหวังจะเดินหน้าจัดในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป เป้าหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางคือให้ความรู้ในเรื่องคดีต่างๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีความรู้ ความเข้าใจ โดยในเฟสแรกนี้จะมุ่งเป้าหาความร่วมมือกับคณะกรรมการชุมชนต่างๆ สำนักงานเขตต่างๆ ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีความพร้อม โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะครอบคลุมให้ได้มากถึง 4 ชุมชนต่อปี โดยงบประมาณหลักในการจัดงานนี้มาจากการระดมทุนของคนในศาลโดยมุ่งหวังสร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญา ให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติด และอยากเห็นเยาวชนไทยได้รับโอกาสที่ดีในชีวิต

ด้าน นายกีรติ ระบุว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และได้รับความร่วมมือกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจับกุม ปราบปราม และเยียวยา เยาวชนที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และเผชิญความเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภัยจากการล่อลวง (เช่น การเปิดบัญชีม้า และการค้าประเวณี) ซึ่งท้ายสุดก็ทำให้กลุ่มเยาวชนเข้าไปอยู่ในวงจรสีเทาที่มีการค้าขายยาเสพติดสอดแทรกอยู่ในนั้น ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เป็นเพียงแค่การคิกออฟโครงการ เป็นต้นแบบที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมุ่งหวังจะเดินหน้าจัดในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป  

สำหรับกิจกรรมภายในงาน มีกิจกรรมการแสดงความสามารถของเยาวชนในชุมชนเพื่อนบ้าน การแสดงกระบี่กระบอง จากชุมชนวัดฉัตรแก้ว ที่เป็นแบบที่ดีของชุมชนที่สร้างกิจกรรมดังกล่าวให้เยาวชนในพื้นที่ใช้เวลาว่างมาทำในสิ่งที่มีประโยชน์ สร้างรายได้เสริม และเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน มีการแสดงรำร่ายไหว้ครูมวยไทย ชุดผู้ใหญ่และชุดเด็ก และการแสดงคีตะมวยไทย จากชุมชนเขตคลองเตย นอกจากนั้นในบริเวณรอบข้างยังมีการออกร้านให้ชุมชนรอบข้างนำของดีในพื้นที่มาวางขาย เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้เพลิดเพลินและร่วมอุดหนุนสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่อีกด้วย

‘ดร.ปรเมษฐ์-เนเน่’ เสวนาการศึกษาฯ เร่งพัฒนาคุณภาพครู ยกระดับการศึกษา เสนอ ‘พานิภัค โมเดล’ ชี้!! ‘เด็ก-เยาวชน’ ให้ค้นพบตัวเอง เพื่อมีเป้าหมาย มุ่งสู่ฝัน

เมื่อวานนี้ (17 ส.ค.67) ดร.ปรเมษฐ์ จินา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 5 พร้อมด้วยนางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมเสวนาในเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรการศึกษาทั้งในและนอกระบบของ จ.สุราษฎร์ธานี ในกิจกรรม ‘ธนาคารโอกาสและถนนครูเดิน ครั้งที่ 2’ และเวทีเสวนาเพื่อเคลื่อนขบวนความร่วมมือ ‘All for Education -  Education for All’ ซึ่งจัดโดย กองทุนเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา หน่วยบริการ ALTV องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ในวันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2567 ณ โรงเรียนศรีสุวรรณ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี

ดร.ปรเมษฐ์ จินา กล่าวว่า ในฐานะที่เคยดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เคยรับผิดชอบดูแลในเรื่องของทั้งการสาธารณสุขและการศึกษา 

ปัญหาโดยพื้นฐานของสังคมจะมีอยู่ 3 ประเด็นหลัก ๆ คือ เรื่องการแก้ปัญหาขาดความรู้ผ่านการศึกษา การแก้ปัญหาการเจ็บป่วยผ่านการสาธารณสุข แก้ปัญหาความยากจนผ่านการสร้างรายได้ ถ้าแก้ปัญหา 3 ประเด็นนี้ได้ปัญหาสังคมอื่น ๆ จะหมดไป 

ประเด็นสำคัญของสุราษฎร์ธานีคือ การแก้ปัญหาการยุบเลิกโรงเรียน ตนเห็นว่าจะต้องมีการปรับโมเดลของการศึกษาให้สอดคล้องกับพื้นที่มากกว่าการยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนในพื้นที่ที่ทำเรื่องการท่องเที่ยวก็ต้องเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องของการท่องเที่ยว โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ทำการประมงก็ต้องเพิ่มพูนความรู้เรื่องของการประมง 

จากประสบการณ์การไปดูงานในประเทศที่ประสบความสำเร็จทางการศึกษาระดับต้น ๆ ของโลก มีการปลูกฝังเป้าหมายของเด็กและเยาวชน เพื่อให้ค้นพบตัวตนตั้งแต่ต้น ยกตัวอย่างเมื่อเร็ว ๆ มานี้ เทนนิส นางสาวพาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ นักเทควันโดคนแรกของประเทศไทยที่ได้รับเหรียญทองจากการแข่งกีฬาโอลิมปิก และเป็นนักกีฬาไทยคนแรกที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกสองสมัยติดต่อกัน ที่ได้ตั้งเป้าหมายและเดินตามเส้นทางนักกีฬา ตั้งแต่อายุน้อย ๆ นี่คือสิ่งที่การศึกษาของประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนหลักการทางการศึกษา

การพัฒนาในเรื่องการศึกษาอีกหัวใจสำคัญคือการให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย พร้อมกับการสนับสนุนที่ดีของภาครัฐภาคเอกชน ทั้ง 3 ส่วนนี้จะสามารถผลักดันคุณภาพทางการศึกษาต่อไปได้ 

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี เปิดเผยว่า ในฐานะคุณแม่คนหนึ่ง สิ่งที่เป็นความฝันและความหวัง ก็คือการที่จะได้เห็นการศึกษาของประเทศไทยดีขึ้น งานครั้งนี้ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่หลาย ๆ ภาคส่วนร่วมมือ ร่วมใจกัน เพื่อยกระดับการศึกษาไทย

จากประสบการณ์ที่ตนเรียนจบปริญญาโทมาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ICT in Education) จากมหาวิทยาลัยด้านการศึกษาเบอร์ 1 ของโลกคือ Institutute of Education (IoE) ในเครือของ University College London (UCL) ประเทศสหราชอาณาจักร  การสนับสนุนอุปกรณ์เทคโนโลยีให้กับโรงเรียนเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเน้นย้ำคือ การพัฒนาบุคลากรครู

ทุกวันนี้เราพยายามตั้งเป้าในการพัฒนาผ่านอุปกรณ์ในการเรียนการสอน ซึ่งหลายๆ ครั้งต้องใช้ทั้งเวลา และใช้งบประมาณ แต่สิ่งที่เราสามารถผลักดันได้เลยทันทีคือคุณภาพและความเป็นอยู่ของครู เพราะมันเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืนที่สุด

'รองโฆษกฯ รัดเกล้า' เดินหน้าสร้างวัคซีนด้านการเงินแก่คนไทย 'ทุกเพศ-ทุกวัย' ยกระดับการบริหารเงิน 'ออม-ลงทุน-หนี้' พร้อมเท่าทันมิจฉาชีพออนไลน์

เมื่อวานนี้ (18 ส.ค. 67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี หรือ ‘เนเน่’ รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ และอดีตผู้สมัคร สส. เขตบางพลัด-บางกอกน้อย อดีตโฆษกประจำสำนักนายกฯ ยังคงเดินหน้าสนับสนุนมาตรการแก้ปัญหาหนี้สินให้กับประชาชน โดยนำโครงการดี ๆ ที่ขับเคลื่อนโดย ธนาคารกรุงไทย ร่วมมือกับ กระทรวงการคลัง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และองค์กร/หน่วยงานภาคีอีกหลากหลาย ที่เดินสายจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) ภายใต้หลักสูตร 'หลักสูตรอภินิหารทางการเงิน' ให้กับประชาชน 

ทั้งนี้ในปี 2567 มีเป้าหมายที่จะจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 18 ครั้งให้กับชุมชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยนางรัดเกล้าได้ประสานโครงการดังกล่าวให้มามอบความรู้ให้ประชาชนในชุมชนวัดโพธิ์เรียง และชุมชนใกล้เคียง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ระหว่างเวลา 09.00 - 12.00 น. ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนที่ดีจากสำนักงานเขตบางกอกน้อยอีกด้วย โดย ดร.วรชล ถาวรพงษ์ ผู้อำนวยการเขตบางกอกน้อย ได้ให้เกียรติมาร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมอีกด้วย

นางรัดเกล้า กล่าวต้อนรับผู้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “นอกเหนือจากการให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการการเงิน การออม การลงทุน การบริหารจัดการหนี้ (ทั้งในระบบและนอกระบบ) อีกเนื้อหาสำคัญที่หลักสูตรนี้นำมาสอนให้กับประชาชนคือ การรู้เท่าทันอาชญากรรมออนไลน์ เช่น กลุ่มคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นการเสริมความรู้ เพิ่มความปลอดภัยในการท่องโลกออนไลน์ให้กับคนในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของเหล่าอาชญากร วันนี้ตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เห็นว่านอกเหนือจากกลุ่มผู้สูงอายุ ยังมีน้อง ๆ เยาวชนเข้ามาร่วมเรียนหลักสูตรด้วย คนรุ่นใหม่สามารถเป็นกำลังสำคัญในการสอดส่อง ดูแล ให้คำแนะนำกับผู้สูงอายุในชุมชนได้”

นางรัดเกล้า กล่าวต่อไปว่า “กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการเสริมองค์ความรู้ในเชิงรุก (pro-active) มุ่งหวังให้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับพี่น้องประชาชนในพื้นที่จะได้เรียนรู้และเสริมสร้างภูมิปัญญาและภูมิคุ้มกันจากภายในรูปแบบต่าง ๆ วอนขอให้ประชาชนที่ได้ความรู้จากกิจกรรมนี้ นอกเหนือจากนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาด้านการเงินของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว ขอให้นำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อ สอนต่อ เพื่อเป็นการเสริม 'วัคซีนทางการเงิน' ให้กับญาติ มิตร สหาย ในชุมชนด้วย”

กิจกรรมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ที่นางรัดเกล้า นำมาจัดให้กับพี่น้องในเขตบางพลัดบางกอกน้อย

‘เนเน่-รัดเกล้า’ ร่วมแสดงแฟชั่นโชว์ ‘อัตลักษณ์ภูษา พัสตราชาติพันธุ์’ เผยแพร่วิถีชีวิต-ภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์ เทิดพระเกียรติพระพันปีหลวง

เมื่อวานนี้ (22 ส.ค. 67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ เปิดเผยว่า ตนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่วิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อ อัตลักษณ์ และภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านการแสดงแฟชั่นโชว์ ‘อัตลักษณ์ภูษา พัสตราชาติพันธุ์’

ภายในงานมหกรรมแสดงผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนและสินค้าราษฎรบนพื้นที่สูง เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ‘ใต้ร่มพระบารมี พระบรมราชชนนีพันปีหลวง’

งานดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘ใต้ร่มพระบารมี อัตลักษณ์วิถีชาติพันธุ์ วิสาหกิจชุมชนสร้างสรรค์ ผลักดันสวัสดิการยั่งยืน’ จัดโดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวง พม. 

ซึ่งงานดังกล่าวจะถึง 3 วัน ระหว่างวันที่ 22 - 24 สิงหาคม 2567 ที่เซ็นทรัลเวิลด์ไลฟ์ ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร 

โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่วิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อ อัตลักษณ์ และภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ และเป็นช่องทางในการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์กลุ่มชาติพันธุ์ของราษฎรบนพื้นที่สูง เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับตลาด ช่วยสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ที่มั่นคงแก่ชุมชนบนพื้นที่สูง

‘พรรครวมไทยสร้างชาติ’ ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันโครงการดี ๆ ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยทุกคน ทุกชาติพันธุ์ อย่างเท่าเทียมกัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top