Monday, 21 April 2025
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กตป. สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ ม.สงขลานครินทร์ (ม.อ.) จัดการประชุมระดมคลังสมอง  (Think tank) 

(27 ก.ย.67) ณ โรงแรม ทีเค. พาเลช & คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมี นางสาวอารีวรรณ จตุทอง กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นประธานเปิดการประชุม ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินการจัดประชุมคณะที่ปรึกษาโครงการ โครงการจ้างที่ปรึกษาติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2567 

ดำเนินการตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งกำหนดให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) มีอำนาจหน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. เป็นประจำทุกปี โดยในปี 2567 กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคได้กำหนดนโยบายที่สำคัญด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล 2 เรื่อง 1) การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะภายหลังการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท แอดวานช์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) และบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) (3BB) เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และ 2) การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการสนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 

เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) โครงการจ้างที่ปรึกษาติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญ ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2567 มีระยะเวลาดำเนินงานทั้งสิ้น 210 วัน โดยมีแผนการดำเนินงาน เริ่มด้วยการเตรียมการ และการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ 1) การรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ศึกษาโดยวิธีการทางเอกสาร จำนวน 2 เรื่อง และ 2) การเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อประกอบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 2 เรื่อง ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ 1) วางแผนเพื่อสำรวจข้อมูลข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ตามหลักวิชาการและระเบียบวิธีวิจัยอย่างเหมาะสม 2) การจัดประชุมระดมคลังสมอง (Think Tank) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารหรือผู้แทน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา 3) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 

กลุ่มตัวอย่าง ใน 2 เรื่องที่ศึกษา 4) การจัดการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล 5) การจัดประชุมสนทนากลุ่มย่อย (Interview Group) ทั้ง 2 เรื่องที่ศึกษา 6) จัดการประชุมเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public hearing) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 4 ครั้ง ณ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี และอุบลราชธานี และ 7) การจัดทำแบบสอบถาม (Questionnaire) ตามระเบียบวิธีวิจัย โดยการออกแบบเครื่องมือ และสำรวจข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในทุกภูมิภาค และจบด้วยการวิเคราะห์และสรุปผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล หลังจากนั้นจะมีการจัดทำสรุปผลการศึกษาเพื่อเผยแพร่ (Pocket Book) รวมถึงจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผลการศึกษา จำนวน 2 เรื่อง และจัดแถลงข่าวต่อไป

นักวิชาการ ม.อ.ปัตตานี เตือนไทยเสี่ยงเกิดเหตุรุนแรง หลังส่ง ‘อุยกูร์’ กลับจีน หวั่น!! ถูกตีความเลือกข้าง ทั้งเรื่อง ‘สิทธิมนุษยชน-นโยบายต่างประเทศ’

(2 มี.ค. 68) รศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวถึงกรณีที่ไทยส่งตัวชาวอุยกูร์ กว่า 40 คนกลับจีน ว่า อาจจะเกิดผลกระทบระยะสั้นจากประสบการณ์ที่ไทยเคยส่งกลับ สมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่หลังจากนั้นเกิดความรุนแรงเกิดเหตุระเบิดที่กรุงเทพฯมีคนเสียชีวิตและเกิดเหตุประท้วงที่อิสตันบูลจรคนไทยได้รับผลกระทบ ดังนั้นในระยะสั้นสิ่งที่ต้องพึงระวัง เรื่องความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นหรือการตอบโต้ นอกจากนี้องค์กรระหว่างประเทศหรือสหประชาชาติได้ออกมาประณามรัฐบาล ทำให้เรื่องของความน่าเชื่อถือ เชื่อใจ และการไม่กระทำนโยบายต่างประเทศที่ส่งบุคคลที่นำไปสู่ความเสี่ยงแก่ชีวิต เรื่องนี้จะทำให้ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยในปัจจุบัน ลดน้อยถอยลง และความเชื่อถือด้านสิทธิมนุษยชนต่อวงการนานาชาติ จะถดถอยลงอย่างมีนัยสำคัญ

ส่วนในระยะยาวเรื่องที่น่ากังวล รศ.เอกรินทร์ ระบุคือเรื่องสิทธิมนุษยชนและนโยบายต่างประเทศของไทย ที่ต้องพึงระวังว่าเราอยู่ท่ามกลางมหาอำนาจ โดยเฉพาะการแข่งขันของมหาอำนาจคือจีนและสหรัฐอเมริกา ถ้าการที่ไทยส่งชาวอุยกูร์กลับจีนถูกคนตีความว่าเราเลือกข้าง จะทำให้เราไม่สามารถสร้างความสมดุล ในการเมืองระหว่างประเทศได้

ส่วนไทยจำเป็นต้องปรับบทบาทเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศอย่างไร รศ.เอกรินทร์ กล่าวว่า การที่ไทยมีรัฐบาลพลเรือนหลังเลือกตั้งนานาประเทศคาดหวังว่า ไทยจะกลับสู่เวทีนานาชาติ อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี แต่เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่าเราไม่สามารถที่จะเป็นตัวผู้เล่นหลักหรือไว้เนื้อเชื่อใจได้ โดยเฉพาะประเทศอาเซียน ขณะที่บทบาทของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษานายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน แต่ประเด็นเรื่องอุยกูร์ ส่งไปประเทศจีนทำให้เราขาดความน่าเชื่อถือ และถูกตั้งคำถามเรื่องนโยบายต่างประเทศเป็นอย่างมาก และจะเห็นชัดเจนว่าการตอบโต้ หรือการออกมาให้ข้อมูลของ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมีลักษณะกลับไปกลับมา และสับสนเพียงชั่วข้ามวัน ที่ตอนแรกบอกไม่รับทราบเรื่องนี้ แต่อีกวันบอกรู้เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการส่งตัวกลับ จึงคิดว่าการที่ไม่ได้พูดอย่างตรงไปตรงมา และไม่ดำเนินนโยบายอย่างเปิดเผย ในการส่งคนช่วงกลางคืน ขาดความโปร่งใส วิธีการที่ไม่ให้องค์กรต่างๆ โดยเฉพาะ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าไปสังเกตการณ์ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึง นโยบายของรัฐบาลที่ขาดความโปร่งใส ทำให้รัฐบาลอยู่ภายใต้อิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจ หนึ่ง ซึ่งเป็นอันตราย

รศ.เอกรินทร์ ยังกล่าวอีกว่าเป็นที่ชัดเจนว่าไทยอาจถูกกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในฐานะที่ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทำให้นานาประเทศตั้งคำถามกับไทย ว่าจะจัดวางตัวเองอย่างไรให้บาลานซ์ในเวทีนานาชาติ และเราจะตอบคำถามเรื่องนี้อย่างไรในเวทีนานาชาติ จึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นภาระหนักมากของรัฐบาล นอกจากนี้ สหประชาชาติยังได้ออกแถลงการณ์ประณาม และยังจะเห็นจดหมายของคนอุยกูร์ ที่ระบุว่ารู้สึกกังวลและไม่อยากกลับ ขณะเดียวกันต้องติดตามอีก 8 คนที่อยู่ในไทย ว่าจะถูกส่งกลับหรือไม่ และที่ส่งกลับไปปลอดภัยหรือไม่

“กระบวนการทั้งหมดความยุ่งยากที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศไทยเกิดความวุ่นวาย และก่อให้เกิดความสับสน ในเรื่องนโยบายต่างประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งที่จริงแล้วหากเราแก้ไข ด้วยวิธีการให้ประเทศที่ต้องการจะรับอย่างตุรกี เรื่องเหล่านี้ก็จะถูกคลี่คลาย ไม่น่าจะลำบากเหมือนปัจจุบัน” รศ.เอกรินทร์ กล่าว

ส่วนกรณีดังกล่าวเป็นความเพรี่ยงพร้ำของรัฐบาลไทยหรือมีการเมืองเข้ามาสอดแทรกหรือไม่ รศ.เอกรินทร์ กล่าวว่า น่าจะเป็นความตั้งใจและจงใจ ของรัฐบาลปัจจุบันสืบเนื่องมาจากการ ที่จีนส่งรัฐมนตรีมาไทยเรื่องคนจีนที่เข้าไปในเมียนมาทำเรื่อง Call Center และทำให้คนอ่านออกว่าเราทำตามนโยบายของประเทศจีน ถ้าเราอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีนเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top