Monday, 21 April 2025
ภูมิธรรม_เวชยชัย

'ภูมิธรรม' เลื่อนแถลงร้านค้า 'ดิจิทัลวอลเล็ต' หวังลดซ้ำซ้อนลงทะเบียน ปชช. พร้อมเปิดทาง 'ธงฟ้าของถูกทั่วไทย ลดค่าเช่าแผงค้า' เดินหน้าก่อน

(4 ส.ค. 67) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จะมีการเลื่อนแถลงข่าว ‘ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต’ ที่กำหนดไว้วันที่ 5 สิงหาคม 2567 ที่กระทรวงพาณิชย์ ออกไปเป็นเดือนกันยายน เพราะไม่ต้องการให้ซ้ำซ้อนกับการลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ตของประชาชน อยากให้ผ่านขั้นตอนนี้ไปก่อน

สำหรับกระทรวงพาณิชย์ ได้เตรียมความพร้อมเรื่องร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ตไว้แล้ว โดยนายภูมิธรรม ย้ำว่า เบื้องต้นมีร้านธงฟ้าในเครือข่ายกว่า 1.44 แสนร้านค้าที่จะเข้าร่วม

และ ในสัปดาห์นี้ จะเริ่มโครงการลดภาระและต้นทุนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะค่าเช่าพื้นที่ ซึ่งได้ประสานหน่วยงานต่างๆ ให้ช่วยลดค่าเช่าพื้นที่หรือให้พื้นที่ขายของโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 3 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคมนี้
โดยกระทรวงพาณิชย์ ประเดิมยกเว้นเก็บค่าใช้พื้นที่ขายของรายเดือน แบ่งเป็น ร้านจำหน่ายในศูนย์อาหารสวัสดิการ 43 ร้านค้า และ แผงค้าในตลาดนัดที่จัดทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และศุกร์ จำนวน 993 แผง

‘ภูมิธรรม’ ปัดกระแสข่าวไม่เอา ‘วงษ์สุวรรณ’ ร่วมครม. ยกให้ ‘อุ๊งอิ๊ง’ เป็นผู้ดำเนินการ ตัดสินใจ ใครได้นั่งเก้าอี้

(18 ส.ค.67) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.)

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อเท็จจริงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าการปรับครม.ครั้งนี้ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ระบุว่าจะต้องไม่มีคนในตระกูลวงษ์สุวรรณ นายภูมิธรรม กล่าวว่า นายกฯพูดไปหมดแล้ว ส่วนกระแสข่าวดังกล่าวตนไม่เคยได้ยินและไม่มี และนายกฯก็ได้พูดชัดเจนไปหมดแล้ว วันนี้น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกฯ แล้ว ก็ขอให้ท่านเป็นผู้ดำเนินการ และทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามกระบวนการ ยืนยันว่าไม่มีผู้จัดการรัฐบาล วันนี้นายกฯเป็นตัวหลัก ส่วนตัวก็ให้กำลังใจอย่างเต็มที่ในฐานะที่เป็นผู้นำรัฐบาล วันนี้ขอว่าให้เป็นวันของนายกรัฐมนตรีและเป็นเรื่องของท่านไม่ว่าจะการให้สัมภาษณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ ถือเป็นวันของท่าน และคงต้องรอให้พ้นจากวันนี้ไปรอให้ท่านนายกฯ ดำเนินการตัดสินใจต่าง ๆ แล้วค่อยว่ากันว่ากัน ส่วนโผครม. เสร็จหรือยังใครจะไปรู้ ต้องไปถามนายกรัฐมนตรี

เมื่อถามว่า โดยขั้นตอนอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ส.ค. ยังคงดำรงตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯอยู่ใช่หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ในวันที่ 20 ส.ค.เรายังทำหน้าที่รักษาการอยู่ เพราะทั้งหมดยังต้องเป็นไปตามขั้นตอน แม้วันนี้จะมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฯ ลงมาแล้ว แต่ก็ยังมีขั้นตอนในการถวายสัตย์ปฏิญาณ การแต่งตั้งครม.ยังมีอีกหลายอย่าง และขณะนี้ยังไม่มีการหารืออย่างเป็นทางการใด ๆ ทั้งสิ้น จากนี้ไปเป็นหน้าที่นายกฯคนใหม่ ส่วนจะมอบหมายใครเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เมื่อถามว่า โควตารัฐมนตรียังเป็นสัดส่วนเดิมหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ไม่ทราบ เรื่องนี้อยู่ที่นายกฯตัดสินใจ

‘ภูมิธรรม’ ชี้ตั้ง ‘ครม.’ เสร็จภายในเดือนนี้ เผย!! ส่งชื่อเกินเกือบทุกพรรค คาด!! พร้อมลุยงานเดือนหน้า ยังกั๊กตอบ ‘ปชป.’ ได้ร่วมรัฐบาลหรือไม่

(25 ส.ค. 67)  ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพฯ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีและในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแพทองธาร 1 ที่มีกระแสข่าวว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ วันที่ 26 ส.ค.นี้ ว่า ยังไม่ได้ระบุถึงขั้นนั้น อยู่ที่ความพร้อมทั้งหมด แต่กำลังเร่งเพราะต้องการเห็นการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งได้ทำงานเต็มที่ ขออย่ากังวลเพราะเราทำหน้าที่ เสมือนรัฐบาลจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ จึงจะพ้นจากหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับ แต่ก็อยากให้ทุกอย่างเสร็จภายในสิ้นเดือนส.ค.นี้ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ส่วนจะมีการโปรดเกล้าฯเมื่อใดอยู่ที่กระบวนการขั้นตอนการตรวจสอบ

เมื่อถามถึงการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภานายภูมิธรรม กล่าวว่า ได้มีการเตรียมคู่ขนานไว้แล้ว ทันทีที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งก็จะสามารถเรียกประชุมได้ คาดว่าภายในต้นเดือนก.ย. หรือไม่เกินกลางเดือนก.ย. รัฐบาลชุดใหม่จะสามารถทำหน้าที่ได้

เมื่อถามถึงกรณีที่จำนวนคนเกินกว่าตำแหน่งรัฐมนตรี ได้มีการเคลียร์เรื่องนี้หรือยัง นายภูมิธรรม กล่าวว่า เกินเกือบทุกพรรคเพราะไม่รู้ตามดุลยพินิจใหม่ที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความ คำว่าจริยธรรมไว้กว้างมาก จึงต้องระมัดระวัง

เมื่อถามถึงพรรคพลังประชารัฐมีข้อสรุปที่ชัดแล้วหรือไม่ หลังมีกระแสข่าวส่งชื่อมา 2 บัญชี นายภูมิธรรม กล่าวว่า ต้องขออนุญาตเพราะตามมารยาทไม่ควรพูดถึงพรรคอื่น แต่เชื่อว่าแต่ละพรรครู้ดีอยู่แล้ว ต้องรีบดำเนินการให้ทันกับสถานการณ์ของประเทศ เพราะภัยพิบัติต่างๆรออยู่ ไม่อยากให้ช้าถึงขั้นกระทบต่อภัยพิบัติที่ประชาชนได้รับ ต้องดำเนินการไปตามกระบวนการ

เมื่อถามถึงกรณีพรรคประชาธิปัตย์ จะนับรวมเป็นพรรคร่วมรัฐบาลครั้งนี้หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า การจัดตั้งรัฐบาลมันพูดชัดเจนไม่ได้ จนกว่าสุดท้ายจะตกลงและมีชื่อยื่น และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯลงมา เพราะในกระบวนการต่างๆเราไม่รู้ว่าใครจะมีปัญหาหรือไม่ หรือแต่ละพรรคจะได้ตามโควตาที่เป็นอยู่หรือไม่ หรือเกิดปัญหาภายในพรรคที่จัดการไม่ได้หรือไม่ เราไม่รู้ข้อเท็จจริง

เมื่อถามว่า การเชิญพรรคประชาธิปัตย์ร่วมรัฐบาลจะต้องมีการเทียบเชิญหรือไม่ หรือสามารถส่งชื่อเข้ามาได้เลย นายภูมิธรรม กล่าวว่า ขณะนี้เราไม่ควรดำเนินการแบบนี้ เพราะจะทำให้เกิดความไม่มั่นใจหรือไม่มั่นคงในพรรคร่วมรัฐบาล เป็นไปตามขั้นตอนหรือ step by step ถ้าเกิดปัญหาตรงไหนค่อยคลี่คลายไปตามสภาพ เพราะวันนี้เราได้ร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาลและทุกคนได้เสนอตัวมาแล้ว ขึ้นอยู่กับว่ารายละเอียดจะลงตัวอย่างไร

เมื่อถามอีกว่า ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมจะต้องแจ้งให้พรรคอื่นที่ร่วมรัฐบาลทราบใช่หรือไม่นายภูมิธรรม กล่าวว่า ยังไม่ถึงขั้นตอนนั้น ขอคิดในขั้นตอนปัจจุบัน และขอคิดเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนก่อน

นายภูมิธรรม กล่าวด้วยว่าส่วนตัว ยังไม่ได้ยื่นใบกรอกประวัติ และยังไม่ได้รับแจ้ง ว่าจะดำรงตำแหน่งกระทรวงใด

'ภูมิธรรม' เคาะ!! 68 มาตรการ คุมเข้มนำเข้าสินค้าและบริการไม่ได้มาตรฐานและผิดกฎหมายจากต่างประเทศ พร้อมปรับกฎระเบียบรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

ปัญหานำเข้าสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน และผิดกฎหมายจากต่างประเทศ ยังคงสร้างปัญหาให้กับผู้ผลิตผู้ประกอบการ ตลอดจนถึงผู้บริโภคชาวไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากร กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ฯลฯ ต้องเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก 

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการ/แนวทางในการแก้ไขปัญหาและปกป้องผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในทุกมิติ เช่น ตรวจสอบความถูกต้องของการจดทะเบียนการค้าและใบอนุญาตต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของต่างชาติ ตรวจสอบคุณภาพสินค้าจากต่างประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานได้รับการรับรองจากหน่วยงานของไทย ตรวจสอบใบอนุญาตนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และการชำระอากรขาเข้าของผู้ประกอบการต่างชาติ และตรวจสอบความถูกต้องของการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ควบคู่ไปกับการสร้างภูมิคุ้มกันและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เรียกประชุม 28 หน่วยงาน อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เพื่อหารือถึงมาตรการแก้ปัญหาการนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าไม่ได้มาตรฐานและราคาต่ำจากต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาสินค้านำเข้าสู่ตลาดที่ไม่ได้มาตรฐานและราคาต่ำ ในการป้องกันและกำกับดูแลทั้งสินค้าและธุรกิจที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายควบคู่กับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs และ e-Commerce ไทยปรับตัวได้ในโลกการค้ายุคใหม่ โดยการหารือดังกล่าว เป็นการติดตามการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐตามมติ ครม.ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการ แนวทางในการแก้ไขปัญหาและปกป้องผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้ประกอบการ 

นายภูมิธรรม ระบุว่า ที่ประชุมได้หารือและมีข้อสรุปร่วมกันสำหรับมาตรการที่หน่วยงานรัฐต้องดำเนินการ 5 มาตรการหลัก แยกเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการทันที และมาตรการยั่งยืน รวม 63 มาตรการย่อย ดังนี้...

1. ให้หน่วยงานบังคับใช้ระเบียบ กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยบูรณาการตรวจเข้มสินค้า ณ ด่านศุลกากร ทั้งในส่วนของการสำแดงพิกัดสินค้า การชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม การตรวจมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) การเพิ่มอัตราการเปิดตู้สินค้า (Full Container Load) เพิ่มความถี่ในการตรวจสอบของ Cyber Team ตรวจสอบสินค้ามาตรฐานจำหน่ายออนไลน์ในส่วนการประกอบธุรกิจ มีมาตรการเชิงรุกตรวจสอบผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายไทย การป้องปรามการกระทำอันมีลักษณะเป็นนอมินี โดยให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นคนไทยต้องส่งเอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงิน พร้อมกับการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด

2. ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบให้สอดคล้องกับการค้าอนาคต ซึ่งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) อยู่ระหว่างจัดทำประกาศให้ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มต่างประเทศที่มีคุณสมบัติตามกำหนด "ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล โดยให้มีสำนักงานในไทย" พร้อมให้มีข้อกำหนดเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและคุ้มครองผู้บริโภคไทย นอกจากนี้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะเร่งเพิ่มจำนวนรายการสินค้าควบคุมภายใต้มาตรฐานบังคับ ครอบคลุมรายการสินค้าให้มากที่สุดไปด้วยอีกทางหนึ่ง

3. มาตรการภาษี โดยกรมสรรพากรอยู่ระหว่างปรับปรุงประมวลรัษฎากรสำหรับการกำหนดให้ผู้ขายสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ และแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ ที่จำหน่ายสินค้าในไทย ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ขณะเดียวกัน กรมการค้าต่างประเทศเตรียมการจัดอบรมให้ความรู้เชิงเทคนิคกับภาคเอกชนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ

4. มาตรการช่วยเหลือ SMEs ไทย โดยได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทุกหน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม, กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น เร่งพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้า และการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SMEs ไทย เพื่อให้แข่งขันได้ในยุคการค้าโลกใหม่ โดยเฉพาะการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้สามารถขยายการส่งออกผ่าน 9 แพลตฟอร์ม e-Commerce พันธมิตรในประเทศเป้าหมาย

5. สร้าง/ต่อยอดความร่วมมือกับประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เพื่อส่งเสริมการค้าผ่านช่องทางตลาด e-Commerce ให้เป็นอีกช่องทางในการผลักดันสินค้าไทยผ่าน e-Commerce ไปตลาดต่างประเทศให้ผู้ประกอบการไทย รวมถึงส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางรวบรวมและกระจายสินค้าสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับภูมิภาค

นายภูมิธรรม กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ได้ตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามสินค้าและธุรกิจฝ่าฝืนกฎหมาย โดยปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานรับรายงานทุกสัปดาห์ โดยจะประชุมร่วมกันทุก 2 สัปดาห์ หากมีความจำเป็นก็จะทำงานให้เข้มข้นขึ้น อย่างไรก็ตาม ย้ำว่า สินค้าที่จะจำหน่ายในไทยต้องมีคุณภาพ ถูกกฎหมาย ไม่สร้างความเสียหายให้กับประเทศ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล และจะตรวจให้เข้มข้นขึ้น ถ้ามีปัญหาอาจเพิ่มความถี่ในการเปิดตู้

ขณะเดียวกัน  เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก กฎ ระเบียบที่มีอยู่ แม้จะมีผลบังคับใช้ แต่ก็ต้องมีการ ทบทวนปรับกฎระเบียบเพิ่มเติม เพื่อรักษาผลประโยชน์ประเทศอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ มาตรการแนวทางที่จะออกมา จะไม่ถือเป็นการกีดกันทางการค้า แต่จะคำนึงถึงความตกลงทางการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พร้อมกับรักษาผลประโยชน์ของอุตสาหกรรม และธุรกิจทุกฝ่ายอย่างสมดุลสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถปรับตัวและแข่งขันได้ในโลกการค้ายุคใหม่ ซึ่งทุกประเทศมีกลไกดูแลสินค้าผู้ประกอบการในประเทศของตัวเอง

“จากปัญหาความห่วงใยของพี่น้องประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยและผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์ม ที่มีความกังวลในสินค้าจากต่างประเทศที่เข้ามา ทั้งปัญหาที่ไม่ได้มาตรฐานหรือผิดกฎหมาย ครม.ได้มอบหมายให้ผมเป็นประธานในการประชุมแก้ไขปัญหา และให้รายงานคณะรัฐมนตรีภายในสิ้นเดือนสิงหาคม ผมย้ำว่าสินค้าที่จะจำหน่ายในไทยต้องมีคุณภาพ ถูกกฎหมาย ไม่สร้างความเสียหายให้กับประเทศ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยจะดำเนินการไปพร้อมกับรักษาผลประโยชน์ของอุตสาหกรรม และธุรกิจทุกฝ่ายอย่างสมดุลสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถปรับตัวและแข่งขันได้ในโลกการค้ายุคใหม่ ซึ่งทุกประเทศมีกลไกดูแลสินค้าผู้ประกอบการในประเทศของตัวเอง” รมว.พาณิชย์ กล่าว 

ส่วนแพลตฟอร์ม TEMU ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่สิงคโปร์ นายภูมิธรรม กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้หารือกับเอกอัคราชฑูตประเทศจีนแล้ว โดยทางเอกอัคราชฑูต รับทราบถึงข้อกังวลดังกล่าว และจะพยายามให้ทาง TEMU เข้ามาจดทะเบียนตั้งบริษัท และสำนักงานในประเทศไทย ซึ่งหากไม่ดำเนินการรัฐบาลไทยจำเป็นต้องใช้กฎหมายบังคับต่อไป

'รัฐบาล' มั่นใจ!! สถานการณ์น้ำเหนือรับมือได้ ยืนยัน!! 'กรุงเทพฯ-ภาคกลาง' ยังไม่น่าเป็นห่วง

(29 ส.ค. 67) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเดินทางเข้าอาคารชินวัตร 3 ถนนวิภาวดี เพื่อรายงานสถานการณ์น้ำให้กับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

โดยนายภูมิธรรม กล่าวว่า วันนี้เป็นการประชุมร่วมกันเพื่อสรุปสถานการณ์อุทกภัย ประกอบกับในวันพรุ่งนี้ (30 ส.ค.67) นายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่ไปให้กำลังใจประชาชนที่จังหวัดสุโขทัย ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นจะเดินทางไปในวันที่ 31 สิงหาคม เพื่อประชุมที่ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา และสั่งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

ขณะที่ร้อยเอกธรรมนัส ได้รายงานสถานการณ์น้ำเหนือในปัจจุบันว่า สถานการณ์ในแม่น้ำยม ที่จังหวัดสุโขทัย ขณะนี้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ก่อนที่ปริมาณน้ำที่ผ่านจากจังหวัดสุโขทัย จะเข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งตนก็จะลงไปดูพื้นที่ บริเวณปากน้ำโพในวันพรุ่งนี้ (30 ส.ค.67) พร้อมยืนยันว่าสถานการณ์ ณ ขณะนี้รัฐบาล "เอาอยู่"

โดยสิ่งที่ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงก็คือ ปริมาณน้ำเหนือที่จะลงมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลก็เฝ้าติดตามการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่เสมอว่า จะมีน้ำเมื่อไหร่ แต่ปริมาณน้ำ ณ เวลานี้ยืนยันว่า สามารถควบคุมได้ 

ด้านนายภูมิธรรม ระบุอีกว่า ปัจจุบันนี้เขื่อน และอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ ซึ่งไม่น่ามีความเป็นห่วง แต่รัฐบาลก็พยายามป้องกันเรื่องอุบัติเหตุ เช่น พายุ ที่อาจจะมีเพิ่มเข้ามา 

ขณะที่สถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพ และปริมณฑล และภาคกลาง ก็ยืนยันว่าไม่มีความน่าเป็นห่วง ซึ่งสถานการณ์เฉพาะหน้าขณะนี้ก็ยืนยันว่า "เอาอยู่ ทั้งหมด" แต่ก็ต้องเตรียมป้องกันเรื่องพายุ ที่อาจจะมีเพิ่มเข้ามา โดยในวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคมนี้ นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. จะนำแผนที่ทั้งหมดมาประเมินว่า ตรงไหนยังเป็นจุดบอดอยู่ และให้ดาวเทียมถ่ายภาพไว้ทั้งหมด เพื่อมาประเมินสถานการณ์ร่วมกัน ซึ่งจะสามารถสั่งการ และบัญชาการที่ศาลากลางจังหวัดสุโขทัยได้ทันที เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์อำนวยการส่วนหน้า 

เมื่อถามถึงอุปสรรคการเป็นรัฐบาลรักษาการ จะส่งผลต่อการช่วยเหลือประชาชนหรือไม่ โดยเฉพาะงบประมาณ นายภูมิธรรม ยืนยันว่า ขณะนี้ไม่ใช่รัฐบาลรักษาการ แต่เป็นรัฐบาลโดยตรง เพราะ เป็นการพ้นตำแหน่งเฉพาะตัวของนายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นรัฐมนตรีสามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ และสามารถอนุมัติงบประมาณกลางได้ทันที หากพบเจอปัญหา ซึ่งขณะนี้ได้วางงบฯ ไว้ทุกภาคส่วนแล้ว และผู้ว่าราชการทุกจังหวัดมีงบประมาณจังหวัดละ 20 ล้านบาท หลังรัฐบาลประกาศเป็นภาวะภัยพิบัติ อีกทั้งยังมีเงินอยู่อีกก้อนหนึ่งที่รองนายกรัฐมนตรีดูแลอยู่ 

ทั้งนี้ตนในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี สามารถเซ็นอนุมัติงบประมาณกลาง เพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติได้ 

'สหายใหญ่' บนเก้าอี้เสนาบดีกลาโหม 'อดีต' บอก 'อนาคต' อะไรควรไม่ควรทำ

ถ้าจะเอ่ยนามอดีตนักศึกษา ปัญญาชนที่เข้าป่าจับปืน ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในห้วงปี 2519-2525 เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลภายใต้ธงทฤษฎีของ พคท.ในขณะนั้นว่า "อำนาจรัฐได้มาด้วยกระบอกปืน" แต่สุดท้ายต้องคืนรังกลับมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) และมีโอกาสเข้าสู่วงการการเมือง มีบทบาท มีชื่อเสียง...ก็ต้องบอกว่ามีหลายสิบหรือนับร้อย...

หาได้มีเฉพาะ ภูมิธรรม เวชยชัย 'บิ๊กอ้วน' หรือ 'สหายใหญ่' รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม ที่กำลังเป็นตำบลกระสุนตกอยู่ในขณะนี้ไม่...

ขอเอ่ยชื่อ 'บิ๊กเนม' อดีตสหาย ที่ออกจากป่าเมื่อ 40-50 ปีก่อน สู่สภาหรือเป็นเสนาบดีพอเป็นตัวอย่างสักจำนวนหนึ่ง....

มงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา, ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรมต., พินิจ จารุสมบัติ อดีตสส./รมต., จาตุรนต์ ฉายแสง สส./อดีตรมต., นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตรมต., ประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสว., อดิษร เพียงเกษ สส./อดีตรมต., ประพันธ์  คูณมี อดีตสว., นพ.เหวง จิราการ อดีตสส., ศุภชัย โพธิ์สุ อดีตรองประธานสภาฯ, นพ.พลเดช ปิ่นประทีป อดีตสว./รมต. ฯลฯ

คนเหล่านี้ก็เหมือนกับนักศึกษา ประชาชนอีก 2-3,000 คนที่หนีกระเจิงหลังการล้อมปราบในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ไปร่วมกับ พคท. โดย หงา  คาราวาน, อ.ธีรยุทธ บุญมี, ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ฯลฯ ก็อยู่ในชะตากรรมนี้...ก่อนที่ทั้งหมดจะพบว่า พคท. ก็ไม่ใช่ทางออกของประเทศ...

การทำสงครามประชาชนระหว่าง พคท.กับ รัฐบาลนับแต่วันเสียงปืนแตก 7 ส.ค.2508 จนถึงวันที่นักศึกษาประชาชนถั่งโถมโหมแรงไฟ...ในห้วงเวลาดังกล่าว ปิดฉากลงด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่แสนแพง ทั้งชีวิตเลือดเนื้อของทั้งสองฝ่าย และความขัดแย้งแตกแยกของสังคมไทย...
 
โชคดีที่ประเทศไทยในห้วงเวลาดังกล่าวมี ในหลวง ร.9 ที่มีพระราชวิสัยทัศน์อันลุ่มลึกยาวไกลดังที่ได้พระราชทานให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซีว่า...การที่พระองค์ทรงพระกรณียกิจทั้งปวงไม่ได้เป็นการต่อสู้กับ พคท. หากแต่สู้กับความยากจนของคนไทยทั้งหมด หากแก้ปัญหาได้คนไทยเหล่านั้นก็จะได้ประโยชน์ด้วย...

และปี 2523-2525 เรายังมีความโชคดีที่มาถูกที่ถูกเวลา คือ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 ( และ 65/2525) ว่าด้วยการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกฯ คนที่ 16 เป็นผู้ลงนาม...แม้เป็นเพียงคำสั่งสำนักนายกฯ แต่พลานุภาพมากล้น ช่วยหยุดความขัดแย้งและการหลั่งเลือดล้มตาย...

กรณีของ 'สหายใหญ่' ที่โดนอดีตทหารหาญบางส่วนต่อต้าน คงไม่ได้ต่อต้านไม่ให้เป็นรัฐมนตรี แต่ติดใจที่ทำไมต้องมานั่งเก้าอี้ รมว.กลาโหม แต่ 'สหายใหญ่' ก็พยายามชี้แจงแล้วทำนองว่า เหตุการณ์ในอดีตร่วม 50 ปีก็ให้มันผ่านพ้นไป วันนี้ตนเข้าใจและมั่นใจในการอยู่ร่วมกับกองทัพและช่วยกันพัฒนา...

วิเคราะห์และมองแบบไม่สลับซับซ้อน มองโลกในแง่ดี ก็ต้องเชื่อไว้ก่อนว่าสหายใหญ่คงรู้โจทย์ดีว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ นั่งกินกาแฟกับอดีตรมว.หลาโหม สุทิน คลังแสง สักสองถ้วยก็มองทะลุแล้ว...

เมื่อวันที่ 5 ก.ย.คุณเปลว สีเงิน เจ้าสำนักไทยโพสต์ ก็เขียนบทความยาวเกี่ยวกับเรื่องบิ๊กอ๊วน...แต่บทสรุปอยู่ตรงชื่อเรื่องว่า 'เก้าอี้กห.นั่งได้ -แต่อย่าซน'

ทีมงานบิ๊กอ้วนและตัวบิ๊กอ้วน ควรหาอ่านเป็นเครื่องเตือนใจ...และถ้าเป็นไปได้ช่วยสำเนาไปให้คนชื่อ 'ทักษิณ' อ่านด้วย...เพราะจะว่าไปป๋าเปลวแกไม่ได้ระแวงคนชื่อภูมิธรรม แต่แกไม่ไว้ใจทักษิณ...

เดิมทีวันนี้ 'เล็ก เลียบด่วน' ตั้งใจจะวิเคราะห์ประเด็นโผทหาร...เผือกร้อนในมือ 'บิ๊กอ้วน' แท้ ๆ แต่นำร่องซะยืดย้วย...ขอยกเรื่องโผทหารไปตอนหน้าล่ะกัน

📌‘ภูมิธรรม’ โชว์ผลงาน 1 ปี ส่งท้ายเก้าอี้ รมว.พาณิชย์ สำเร็จตามเป้า

1 ปี บนเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของ ‘นายภูมิธรรม เวชยชัย’ ก่อนจะลุกไปครองเก้าอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายภูมิธรรม ก็ได้สร้างภาพจำไว้ได้ไม่น้อย 

เมื่อวานนี้ (9 ก.ย. 67) นายภูมิธรรม เวชยชัย ได้เดินทางเข้ากระทรวงฯ เพื่ออำลาตำแหน่ง และแถลงผลงานครบรอบ 1 ปี ถือเป็นภารกิจสุดท้าย ในฐานะเจ้ากระทรวงฯ โดยมี 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการ นภินทร ศรีสรรพางค์ และ สุชาติ ชมกลิ่น คณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนถึง พาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศและทูตพาณิชย์ที่ร่วมรับฟัง ทั้งในห้องประชุม และผ่านทางระบบ ZOOM  

นายภูมิธรรม ได้กล่าวถึงผลงานในรอบ 1 ปี ว่า ได้กำหนดนโยบายในการทำงานในช่วงบริหารงานกระทรวงพาณิชย์ไว้ 7 ด้าน ได้แก่ 

1.ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส 
2.บริหารให้เกิดความสมดุลระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร ผู้ประกอบการ 
3.ทำงานเชิงรุกระหว่างพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ 
4.แก้ไขข้อจำกัดของกฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายที่เก่าล้าสมัย 
5.ร่วมขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต 
6.เร่งผลักดันส่งออกจากติดลบให้เป็นบวก 
7.ผลักดันการใช้ประโยชน์จาก FTA 

ซึ่งปรากฏผลการทำงานประสบความสำเร็จในทุกด้าน สามารถดูแลตั้งแต่เกษตรกร ที่เป็นคนฐานรากของประเทศ ดูแลประชาชนผู้บริโภคให้มีภาระค่าครองชีพลดลง และดูแลผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยเพิ่มรายได้

นอกจากนี้ ยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการ ‘ทีมพาณิชย์’ เพื่อบูรณาการการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ 9 คณะ ได้แก่ 

1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเพื่อการพาณิชย์ 
2.ส่งเสริมและยกระดับ SMEs ไทย 
3.ส่งเสริมและขับเคลื่อนการค้าและเศรษฐกิจเชิงรุกไทย-จีน-อาเซียน 
4.ขับเคลื่อนการทำงานเพื่อบูรณาการตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์  
5.ขับเคลื่อนนโยบายโลจิสติกส์ทางการค้า 
6.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Big data และอินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้า 
7.พัฒนากฎหมายกระทรวงพาณิชย์ 
8.พัฒนาการค้าตามระเบียบการค้าโลกใหม่ 
9.สร้างการรับรู้และภาพลักษณ์กระทรวงพาณิชย์ 

นอกจากนี้ยังเน้นการทำงานเชิงรุก โดยพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ต้องรู้จักสินค้า เข้าใจความต้องการตลาด เข้าถึงช่องทางการค้ายุคใหม่ บริหารจัดการประโยชน์ของทุกกลุ่มทุกภาคส่วนให้มีความสมดุล ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ และ ผู้บริโภค 

สำหรับนโยบายเพิ่มรายได้ สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้นเกือบ 2 แสนล้านบาท จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพืชผลทางการเกษตร โดยพืชหลัก ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มัน ปาล์ม ยางพารา ช่วยเหลือเกษตรกรเกือบ 8 ล้านครัวเรือน ดูแลปริมาณผลผลิตเกือบ 90 ล้านตัน สร้างสถิติราคาซื้อขายข้าวเปลือกเจ้าได้สูงสุดในรอบ 20 ปี พืชรอง ได้แก่ ผลไม้ พืช 3 หัว และผัก ช่วยเหลือเกษตรกรเกือบ 1.5 ล้านครัวเรือน ดูแลปริมาณผลผลิตกว่า 8 ล้านตัน สร้างสถิติราคาซื้อขายสับปะรด กระเทียม หอมแดง สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 

ขณะเดียวกัน ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ผู้ประกอบการชุมชน และ SME โดยผลักดันการค้า E-Commerce ทั้งในและต่างประเทศ เกิดมูลค่าการซื้อขาย 2,347.70 ล้านบาท อาทิ ทำ MOU กับ Rakuten ญี่ปุ่น เพื่อจำหน่ายสินค้าไทย ร่วมมือกับ Amazon ขายออนไลน์ นำสินค้าไทยขายบน Shopee มียอดขาย 71.44 ล้านบาท เชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับตลาดต้องชม 251 แห่ง เพิ่มรายได้ 1,987 ล้านบาท พัฒนาหมู่บ้านทำมาค้าขาย เพิ่มรายได้ 185 ล้านบาท ผลักดันเพิ่มมูลค่าสินค้า GI สร้างรายได้ 71,000 ล้านบาทต่อปี ใช้ร้านอาหาร Thai SELECT ในต่างประเทศเป็นโชว์รูม เพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการและผลักดัน Soft Power ทั้งอาหาร ดนตรี เชื่อมโยงร้านอาหาร Thai SELECT กับการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ และเพิ่มรายได้ให้ร้านธงฟ้า จัดไปรษณีย์@ธงฟ้า อำนวยความสะดวกผู้ค้าออนไลน์ และประชาชน ให้บริการ Drop Off ให้บริการรับพัสดุแล้วกว่า 1 แสนชิ้น 

จัดกิจกรรมฟื้นฟูเศรษฐกิจ ผ่านการจัดตลาดพาณิชย์ทั่วประเทศ โดยประสานพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการรายเล็ก ในช่วง 1 ส.ค.-30 ส.ค. จำนวน 318 ครั้ง มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 4,683 ราย สร้างรายได้ 373 ล้านบาท ตั้งเป้าจัดตลาดพาณิชย์ 935 ครั้ง ในช่วง ส.ค.-พ.ย.67 คาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้เป็นจำนวนมาก และยังเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า อาทิ HoReCa 2024, THAIFEX - Anuga Asia 2024 และ STYLE Bangkok 2024 สร้างมูลค่าซื้อขายกว่า 1 แสนล้านบาท จัด Thailand SME Synergy Expo 2024 สร้างมูลค่าการค้ากว่า 200 ล้านบาท 

ส่วนนโยบายลดรายจ่าย ได้จัดโครงการ ‘พาณิชย์สั่งลุย...ลดราคา’ ลดราคาสินค้าจำเป็น ช่วงเทศกาลสำคัญ ปีใหม่ ตรุษจีน กินเจ ก่อนเปิดภาคเรียน ลดสูงสุด 60-85% รวม 8 กิจกรรม ลดค่าครองชีพได้ 8,060 ล้านบาท และกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 13,400 ล้านบาท จัด ‘โครงการธงฟ้าราคาประหยัด ลดค่าครองชีพประชาชน’ จำหน่ายสินค้าจำเป็นราคาต่ำกว่าท้องตลาด 20-40% รวม 1,134 ครั้ง ลดค่าครองชีพ 130 ล้านบาท 

จัดจำหน่ายสินค้าผ่านรถโมบายในแหล่งชุมชน 450 จุด ลดค่าครองชีพ 122.09 ล้านบาท จัดโครงการร้านอาหารธงฟ้า มีจำนวน 5,607 ร้าน ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนประมาณวันละ 2.63 ล้านบาท หรือ 960 ล้านบาท จัดพาณิชย์สั่งลุยราคาปุ๋ย ลดต้นทุนให้เกษตรกร 102 ล้านบาท ลดต้นทุนให้ร้านค้า ผู้ประกอบการ 14,000 ราย มูลค่า 53 ล้านบาท ด้วยการงดจัดเก็บค่าเช่าพื้นที่ในกระทรวง และขอความร่วมมือตลาดในสังกัด กทม.ไม่เก็บด้วย งดการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการใช้เพลงที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ฟรี 3 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค.66-มี.ค.67 และมอบส่วนลดค่าลิขสิทธิ์เพลง 50–55% ต่อเนื่องอีก 1 ปี ลดต้นทุนผู้ประกอบการ SME ที่ใช้งานเพลง 400,000 ราย มูลค่า 3,300 ล้านบาท และขอฝากกรมการค้ารวบรวมร้านค้า เพื่อเข้าสู่โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 

สำหรับการขยายโอกาสทางการค้า ได้เดินหน้าเจาะตลาดหลัก โดยจีน นำเข้าผู้ประกอบการเข้าร่วมงาน CAEXPO สหรัฐฯ นำเอกชนลงนาม MOU ซื้อขายข้าวและอาหาร ญี่ปุ่น ผลักดันอาหาร ผลไม้ ผ้าไทย ซีรีส์วายในงาน Thai Festival Tokyo ฝรั่งเศส นำเอกชนเข้าร่วมงาน Cannes Film Festival 2024 คาดมูลค่าเจรจาการค้ากว่า 11,000 ล้านบาท ใช้แคมเปญ Think Thailand Next Leve ในการบุกตลาดอินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกาใต้ รวมทั้งผลักดันการค้าชายแดน และแก้ไขอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะการเจรจาเปิดด่าน เพื่อรองรับฤดูกาลผลไม้ไทย 

การลงนาม FTA ไทย-ศรีลังกา ผลักดันการเจรจา FTA ไทย-EFTA ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2567 เปิดเจรจา FTA ใหม่ อาทิ ไทย-เกาหลีใต้ ไทย-ภูฏาน และไทย-บังกลาเทศ การรุกตลาดเมืองรอง โดยต่อยอด MOU ที่ลงนามไปแล้ว สร้างมูลค่าการค้ากว่า 5,500 ล้านบาท อาทิ ความร่วมมือกับมณฑลกานซู่ ปูซาน โคฟุ โดยนายภูมิธรรม ได้ฝากให้ รมช.พาณิชย์ทั้งสองท่าน และปลัดกระทรวงพาณิชย์ สานงานต่อด้วย 

และยังได้เพิ่มโอกาสทางการค้าผ่านกลยุทธ์ตลาดแนวใหม่ โดยใช้ซีรีส์วาย ซีรีส์ยูริ ดึงมาย-อาโป ฟรีน-เบ็คกี้ ยกระดับสินค้าชุมชน อาทิ สมุนไพร สุราชุมชน ขนมขบเคี้ยว Tie-in เข้าสู่ตลาดโลกผ่านซีรีส์ และนำเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ฮ่องกง เวียดนาม ฝรั่งเศส เกิดการจับคู่ธุรกิจ 756 คู่ มูลค่า 4,102 ล้านบาท ใช้เครือข่าย KOL จีนไลฟ์สดขายสินค้าและบริการไทย เพื่อสร้างรายได้ให้คนตัวเล็ก กำหนดจัดวันที่ 25-29 ก.ย.67 คาดการณ์มูลค่า 1,500 ล้านบาท 

และได้จัดทำ MOU กับ Sinopec นำสินค้าไทยจำหน่ายใน Easy Joy ร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน คาดการณ์มูลค่า 1,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี การเจรจาธุรกิจออนไลน์ (OBM) เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ฮาลาล สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น คาดการณ์มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท และยังทำงานเชิงรุกทูตพาณิชย์และพาณิชย์จังหวัด ขายกล้วยหอมเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น ขายลำไยเข้าสู่ตลาดจีน ขายมังคุดไปจีนและญี่ปุ่น และเปิดตลาดผ้าไทยในญี่ปุ่น เป็นต้น รวมไปถึงการช่วยสร้างโอกาสทางการค้า จากการใช้ประโยชน์จาก Big Data คิดค้า.com เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ มีสินค้าเกษตร 13 ชนิด เศรษฐกิจการค้ารายจังหวัด และเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น มีผู้ใช้งานกว่า 220,000 คน เฉลี่ย 22,000 คนต่อเดือน

“1 ปีที่ผ่านมา ผมได้วางรากฐานการทำงานเป็นทีม การคิดนอกกรอบเพื่อสร้างสรรค์งานในเชิงรุก การบริหารจัดการประโยชน์ที่ให้ความสำคัญกับคนตัวเล็ก และผมขอฝาก อนาคตกระทรวงพาณิชย์ใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1. เข้าถึง เครือข่ายเพื่อร่วมผลักดันการค้า 2.ขับเคลื่อน โดยทีมพาณิชย์บูรณาการร่วมกับทีมประเทศไทย และ 3. เคียงข้างไปด้วยกัน คนตัวใหญ่ช่วยคนตัวเล็ก เพื่อขับเคลื่อนพลังคนรุ่นใหม่” นายภูมิธรรม กล่าว 

นอกจากนี้ยังได้ย้ำถึง โครงการเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ว่า รัฐบาลยืนยันเดินหน้าโครงการซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและวางรากฐานนำประเทศเข้าสู่ระบบดิจิทัล แน่นอน โดยจะนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.นัดแรก ในวันที่ 17 ก.ย.นี้ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย หลังจากรับฟังความเห็นแล้ว เพื่อให้ทุกคนสบายใจ ในรอบแรกจะเป็นกลุ่มเปราะบาง ประมาณ 14 ล้านคนก่อน ด้วยงบประมาณปี 2567 โดยแจกเป็นเงินสด 10,000 บาท โอนเข้าบัญชีที่มีอยู่แล้ว และจะสามารถนำไปใช้ที่ไหนก็ได้ และไม่มีการจำกัดร้านค้าและชนิดสินค้า ตามเป้าหมายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ เมื่อ ครม.อนุมัติแล้ว คาดสามารถแจกเงินได้ทันทีภายในเดือนกันยายนนี้

ส่วนที่เหลือ กลุ่มคนที่ลงทะเบียนในระบบไปแล้ว และไม่ใช่กลุ่มเปราะบาง หลังผ่านเดือนกันยายนไปแล้ว จะแจกเป็นล็อตที่ 2 โดยใช้งบประมาณปี 2568 โดยจะแจก 5,000 บาทก่อน ถ้าระบบดิจิทัลทัน ก็แจกเป็นระบบดิจิทัล และส่วนที่เหลืออีก 5,000 บาท จ่ายภายในปี 67 หากรัฐบาลวางระบบดิจิทัลได้ทันอาจจะแจกเป็นเงินดิจิทัลวอลเล็ต แต่หากไม่ทันอาจจะแจกเป็นเงินสดเช่นกัน ส่วนอีก 5,000 บาท จะพยายามแจกเป็นดิจิทัลวอลเล็ต ในปี 2568

1 ปี ‘กระทรวงพาณิชย์’ ใต้บังเหียน ‘ภูมิธรรม เวชยชัย’ ช่วย ‘เพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย-สร้างโอกาส’ แก่ ‘คนตัวเล็ก’

ผ่านไปแล้ว 1 ปี กับบทบาทบนเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ของนายภูมิธรรม เวชยชัย ก่อนจะลุกไปครองเก้าอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายภูมิธรรม ก็ได้สร้างภาพจำไว้ได้ไม่น้อย 

แน่นอนว่า หากมองในภาพโดยผิวเผิน ก็อาจพบเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนในเรื่องของราคาสินค้ากันพอสมควร แต่หากได้พิจารณาถึงการแถลงผลงานครบรอบ 1 ปี ซึ่งถือเป็นภารกิจสุดท้าย ในฐานะเจ้ากระทรวงฯ ของ ‘ภูมิธรรม’ โดยมี 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการอย่าง นภินทร ศรีสรรพางค์ และ สุชาติ ชมกลิ่น คณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนถึง พาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศและทูตพาณิชย์ที่ร่วมรับฟัง จะพบว่า นโยบายในการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ที่ตั้งไว้ 7 ด้าน มีความคืบหน้าที่น่าสนใจพอสมควร ไม่ว่าจะเป็น…

1.ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส 2.บริหารให้เกิดความสมดุลระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร ผู้ประกอบการ 3.ทำงานเชิงรุกระหว่างพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ 4.แก้ไขข้อจำกัดของกฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายที่เก่าล้าสมัย 5.ร่วมขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต 6.เร่งผลักดันส่งออกจากติดลบให้เป็นบวก และ 7.ผลักดันการใช้ประโยชน์จาก FTA 

โดยผลงานทั้ง 7 ด้าน สามารถดูแลรากฐานของระบบเศรษฐกิจไทย ตั้งแต่เกษตรกร ที่เป็นคนฐานรากของประเทศ อีกทั้งยังสามารถดูแลประชาชนผู้บริโภคให้มีภาระค่าครองชีพลดลง ยิ่งไปกว่านั้น การดูแลผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยเพิ่มรายได้ ก็ดูจะได้รับความพึงพอใจต่อภาคผู้ประกอบการไม่น้อย ภายหลังจาก ‘ทีมพาณิชย์’ ซึ่งมีบทบาทบูรณาการการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ 9 คณะขับเคลื่อนทุกภารกิจให้เดินหน้าไปพร้อมกัน ได้แก่...  

1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเพื่อการพาณิชย์
2. ส่งเสริมและยกระดับ SMEs ไทย 
3. ส่งเสริมและขับเคลื่อนการค้าและเศรษฐกิจเชิงรุกไทย-จีน-อาเซียน 
4. ขับเคลื่อนการทำงานเพื่อบูรณาการตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์  
5. ขับเคลื่อนนโยบายโลจิสติกส์ทางการค้า 
6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Big data และอินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้า 
7. พัฒนากฎหมายกระทรวงพาณิชย์ 
8. พัฒนาการค้าตามระเบียบการค้าโลกใหม่ 
และ 9. สร้างการรับรู้และภาพลักษณ์กระทรวงพาณิชย์ 

นอกจากนี้ ยังเน้นการทำงานเชิงรุก โดยพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ต้องรู้จักสินค้า เข้าใจความต้องการตลาด เข้าถึงช่องทางการค้ายุคใหม่ บริหารจัดการประโยชน์ของทุกกลุ่มทุกภาคส่วนให้มีความสมดุล ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ และ ผู้บริโภค 

นี่คือภาพโดยรวม…

แต่ถ้าแยกย่อยลงไปตาม นโยบาย เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาส จะพบรายละเอียดที่ดูเป็นรูปธรรมอย่างมาก…

>> นโยบายเพิ่มรายได้ 
สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้นเกือบ 2 แสนล้านบาท จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพืชผลทางการเกษตร โดยพืชหลัก ได้แก่ ข้าว, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, มัน, ปาล์ม, ยางพารา / ช่วยเหลือเกษตรกรได้เกือบ 8 ล้านครัวเรือน / ดูแลปริมาณผลผลิตเกือบ 90 ล้านตัน / สร้างสถิติราคาซื้อขายข้าวเปลือกเจ้าได้สูงสุดในรอบ 20 ปี 

ส่วน พืชรอง ได้แก่ ผลไม้ พืช 3 หัว และผัก ช่วยเหลือเกษตรกรเกือบ 1.5 ล้านครัวเรือน ดูแลปริมาณผลผลิตกว่า 8 ล้านตัน สร้างสถิติราคาซื้อขายสับปะรด, กระเทียม, หอมแดง สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 

ขณะเดียวกัน ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ผู้ประกอบการชุมชน และ SME โดยผลักดันการค้า e-Commerce ทั้งในและต่างประเทศ เกิดมูลค่าการซื้อขาย 2,347.70 ล้านบาท อาทิ ทำ MOU กับ Rakuten ญี่ปุ่น เพื่อจำหน่ายสินค้าไทย / ร่วมมือกับ Amazon ขายออนไลน์ / นำสินค้าไทยขายบน Shopee มียอดขาย 71.44 ล้านบาท / เชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับตลาดต้องชม 251 แห่ง เพิ่มรายได้ 1,987 ล้านบาท / พัฒนาหมู่บ้านทำมาค้าขาย เพิ่มรายได้ 185 ล้านบาท / ผลักดันเพิ่มมูลค่าสินค้า GI สร้างรายได้ 71,000 ล้านบาทต่อปี / ใช้ร้านอาหาร Thai SELECT ในต่างประเทศเป็นโชว์รูม เพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการและผลักดัน Soft Power ทั้งอาหาร ดนตรี / เชื่อมโยงร้านอาหาร Thai SELECT กับการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ และเพิ่มรายได้ให้ร้านธงฟ้า / จัดไปรษณีย์@ธงฟ้า อำนวยความสะดวกผู้ค้าออนไลน์ และประชาชน ให้บริการ Drop Off ให้บริการรับพัสดุแล้วกว่า 1 แสนชิ้น 

นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมฟื้นฟูเศรษฐกิจ ผ่านการจัดตลาดพาณิชย์ทั่วประเทศ โดยประสานพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการรายเล็ก ในช่วง 1 ส.ค. - 30 ส.ค. จำนวน 318 ครั้ง มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 4,683 ราย สร้างรายได้ 373 ล้านบาท / ตั้งเป้าจัดตลาดพาณิชย์ 935 ครั้ง ในช่วง ส.ค.-พ.ย.67 คาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้เป็นจำนวนมาก และยังเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า อาทิ HoReCa 2024, THAIFEX - Anuga Asia 2024 และ STYLE Bangkok 2024 สร้างมูลค่าซื้อขายกว่า 1 แสนล้านบาท / จัด Thailand SME Synergy Expo 2024 สร้างมูลค่าการค้ากว่า 200 ล้านบาท 

>> นโยบายลดรายจ่าย 
จัดโครงการ ‘พาณิชย์สั่งลุย...ลดราคา’ ลดราคาสินค้าจำเป็น ช่วงเทศกาลสำคัญ ปีใหม่ ตรุษจีน กินเจ ก่อนเปิดภาคเรียน ลดสูงสุด 60-85% รวม 8 กิจกรรม ลดค่าครองชีพได้ 8,060 ล้านบาท และกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 13,400 ล้านบาท / จัด ‘โครงการธงฟ้าราคาประหยัด ลดค่าครองชีพประชาชน’ จำหน่ายสินค้าจำเป็นราคาต่ำกว่าท้องตลาด 20-40% รวม 1,134 ครั้ง ลดค่าครองชีพ 130 ล้านบาท / จัดจำหน่ายสินค้าผ่านรถโมบายในแหล่งชุมชน 450 จุด ลดค่าครองชีพ 122.09 ล้านบาท / จัดโครงการร้านอาหารธงฟ้า มีจำนวน 5,607 ร้าน ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนประมาณวันละ 2.63 ล้านบาท หรือ 960 ล้านบาท 

จัดพาณิชย์สั่งลุยราคาปุ๋ย ลดต้นทุนให้เกษตรกร 102 ล้านบาท ลดต้นทุนให้ร้านค้า ผู้ประกอบการ 14,000 ราย มูลค่า 53 ล้านบาท ด้วยการงดจัดเก็บค่าเช่าพื้นที่ในกระทรวง และขอความร่วมมือตลาดในสังกัด กทม.ไม่เก็บด้วย / งดการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการใช้เพลงที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ฟรี 3 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค.66 - มี.ค.67 และมอบส่วนลดค่าลิขสิทธิ์เพลง 50–55% ต่อเนื่องอีก 1 ปี ลดต้นทุนผู้ประกอบการ SME ที่ใช้งานเพลง 400,000 ราย มูลค่า 3,300 ล้านบาท และขอฝากกรมการค้ารวบรวมร้านค้า เพื่อเข้าสู่โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 

>> นโยบายสร้างโอกาส
สำหรับการขยายโอกาสทางการค้า ได้เดินหน้าเจาะตลาดหลัก โดยจีน นำเข้าผู้ประกอบการเข้าร่วมงาน CAEXPO สหรัฐฯ / นำเอกชนลงนาม MOU ซื้อขายข้าวและอาหาร ญี่ปุ่น / ผลักดันอาหาร ผลไม้ ผ้าไทย ผ่านซีรีส์วายในงาน Thai Festival Tokyo ฝรั่งเศส / นำเอกชนเข้าร่วมงาน Cannes Film Festival 2024 คาดมูลค่าเจรจาการค้ากว่า 11,000 ล้านบาท / ใช้แคมเปญ Think Thailand Next Leve ในการบุกตลาดอินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกาใต้ 

นอกจากนี้ ยังได้ผลักดันการค้าชายแดน และแก้ไขอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะการเจรจาเปิดด่าน เพื่อรองรับฤดูกาลผลไม้ไทย / การลงนาม FTA ไทย-ศรีลังกา ผลักดันการเจรจา FTA ไทย-EFTA ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2567 / เปิดเจรจา FTA ใหม่ อาทิ ไทย-เกาหลีใต้ ไทย-ภูฏาน และไทย-บังกลาเทศ / การรุกตลาดเมืองรอง โดยต่อยอด MOU ที่ลงนามไปแล้ว สร้างมูลค่าการค้ากว่า 5,500 ล้านบาท อาทิ ความร่วมมือกับมณฑลกานซู่ ปูซาน โคฟุ เป็นต้น

ทั้งนี้ จุดที่ชวนให้สนใจในกระทรวงพาณิชย์ชุดนี้ คือ การเพิ่มโอกาสทางการค้าผ่านกลยุทธ์ตลาดแนวใหม่ ยกตัวอย่าง การใช้ซีรีส์วาย ซีรีส์ยูริ ดึงมาย-อาโป ฟรีน-เบ็คกี้ เพื่อยกระดับสินค้าชุมชน อาทิ สมุนไพร สุราชุมชน ขนมขบเคี้ยว Tie-in เข้าสู่ตลาดโลกผ่านซีรีส์ / การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ฮ่องกง เวียดนาม ฝรั่งเศส เกิดการจับคู่ธุรกิจ 756 คู่ มูลค่า 4,102 ล้านบาท รวมถึงการใช้เครือข่าย KOL จีนไลฟ์สดขายสินค้าและบริการไทย เพื่อสร้างรายได้ให้คนตัวเล็ก ที่กำหนดวันจัดไว้ที่ 25-29 ก.ย.67 คาดการณ์มูลค่า 1,500 ล้านบาท 

ไม่เพียงเท่านี้ ยังได้จัดทำ MOU กับ Sinopec ด้วยการนำสินค้าไทยไปจำหน่ายใน Easy Joy ร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน คาดการณ์มูลค่า 1,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี / การเจรจาธุรกิจออนไลน์ (OBM) เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ฮาลาล สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น คาดการณ์มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท และยังทำงานเชิงรุกทูตพาณิชย์และพาณิชย์จังหวัด ขายกล้วยหอมเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น ขายลำไยเข้าสู่ตลาดจีน ขายมังคุดไปจีนและญี่ปุ่น และเปิดตลาดผ้าไทยในญี่ปุ่น เป็นต้น รวมไปถึงการช่วยสร้างโอกาสทางการค้า จากการใช้ประโยชน์จาก Big Data คิดค้า.com เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ มีสินค้าเกษตร 13 ชนิด เศรษฐกิจการค้ารายจังหวัด และเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น มีผู้ใช้งานกว่า 220,000 คน เฉลี่ย 22,000 คนต่อเดือน

ที่กล่าวมานี้ คือ รากฐานใหม่ ที่ถือเป็นการคิดแบบนอกกรอบ เพื่อสร้างสรรค์งานเศรษฐกิจไทยในเชิงรุก มุ่งเน้นเข้าไปเหลือ ‘คนตัวเล็ก’ ให้ได้ประโยชน์เสียมาก ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าทิศทางการทำงานของกระทรวงพาณิชย์แบบนี้ อาจจะดูเป็นเรื่องใหม่ในสายตาคนไทย แต่หากมันทัชใจตลาด โอกาสเก็บกินในระยะยาว ก็มีสูง...

🔍เช็กผลงาน ‘กระทรวงพาณิชย์’ ในรอบ 1 ปี มุ่ง ‘เพิ่มรายได้ - ลดรายจ่าย - สร้างโอกาส’ แก่ ‘เกษตรกร-ผู้ประกอบการไทย’ แก่ ‘ประชาชน-เกษตรกร-ผู้ประกอบการไทย’

1 ปี บนเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของ ‘นายภูมิธรรม เวชยชัย’ ก่อนจะลุกไปครองเก้าอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายภูมิธรรม ได้สร้างภาพจำไว้ให้คนไทยไม่น้อย โดยได้กำหนดนโยบายในการทำงานกับกระทรวงพาณิชย์ไว้ 7 ด้าน ได้แก่ 

1.ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส 
2.บริหารให้เกิดความสมดุลระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร ผู้ประกอบการ 
3.ทำงานเชิงรุกระหว่างพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ 
4.แก้ไขข้อจำกัดของกฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายที่เก่าล้าสมัย 
5.ร่วมขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต 
6.เร่งผลักดันส่งออกจากติดลบให้เป็นบวก 
7.ผลักดันการใช้ประโยชน์จาก FTA 

ซึ่งปรากฏผลการทำงานประสบความสำเร็จในทุกด้าน สามารถดูแลตั้งแต่เกษตรกร ที่เป็นคนฐานรากของประเทศ ดูแลประชาชนผู้บริโภคให้มีภาระค่าครองชีพลดลง และดูแลผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยเพิ่มรายได้

นอกจากนี้ ยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการ ‘ทีมพาณิชย์’ เพื่อบูรณาการการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ 9 คณะ ได้แก่ 

1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเพื่อการพาณิชย์ 
2.ส่งเสริมและยกระดับ SMEs ไทย 
3.ส่งเสริมและขับเคลื่อนการค้าและเศรษฐกิจเชิงรุกไทย-จีน-อาเซียน 
4.ขับเคลื่อนการทำงานเพื่อบูรณาการตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์  
5.ขับเคลื่อนนโยบายโลจิสติกส์ทางการค้า 
6.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Big data และอินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้า 
7.พัฒนากฎหมายกระทรวงพาณิชย์ 
8.พัฒนาการค้าตามระเบียบการค้าโลกใหม่ 
9.สร้างการรับรู้และภาพลักษณ์กระทรวงพาณิชย์ 

นอกจากนี้ยังเน้นการทำงานเชิงรุก โดยพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ต้องรู้จักสินค้า เข้าใจความต้องการตลาด เข้าถึงช่องทางการค้ายุคใหม่ บริหารจัดการประโยชน์ของทุกกลุ่มทุกภาคส่วนให้มีความสมดุล ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ และ ผู้บริโภค 

สำหรับนโยบายเพิ่มรายได้ สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้นเกือบ 2 แสนล้านบาท จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพืชผลทางการเกษตร โดยพืชหลัก ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มัน ปาล์ม ยางพารา ช่วยเหลือเกษตรกรเกือบ 8 ล้านครัวเรือน ดูแลปริมาณผลผลิตเกือบ 90 ล้านตัน สร้างสถิติราคาซื้อขายข้าวเปลือกเจ้าได้สูงสุดในรอบ 20 ปี พืชรอง ได้แก่ ผลไม้ พืช 3 หัว และผัก ช่วยเหลือเกษตรกรเกือบ 1.5 ล้านครัวเรือน ดูแลปริมาณผลผลิตกว่า 8 ล้านตัน สร้างสถิติราคาซื้อขายสับปะรด กระเทียม หอมแดง สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 

ขณะเดียวกัน ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ผู้ประกอบการชุมชน และ SME โดยผลักดันการค้า E-Commerce ทั้งในและต่างประเทศ เกิดมูลค่าการซื้อขาย 2,347.70 ล้านบาท อาทิ ทำ MOU กับ Rakuten ญี่ปุ่น เพื่อจำหน่ายสินค้าไทย ร่วมมือกับ Amazon ขายออนไลน์ นำสินค้าไทยขายบน Shopee มียอดขาย 71.44 ล้านบาท เชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับตลาดต้องชม 251 แห่ง เพิ่มรายได้ 1,987 ล้านบาท พัฒนาหมู่บ้านทำมาค้าขาย เพิ่มรายได้ 185 ล้านบาท ผลักดันเพิ่มมูลค่าสินค้า GI สร้างรายได้ 71,000 ล้านบาทต่อปี ใช้ร้านอาหาร Thai SELECT ในต่างประเทศเป็นโชว์รูม เพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการและผลักดัน Soft Power ทั้งอาหาร ดนตรี เชื่อมโยงร้านอาหาร Thai SELECT กับการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ และเพิ่มรายได้ให้ร้านธงฟ้า จัดไปรษณีย์@ธงฟ้า อำนวยความสะดวกผู้ค้าออนไลน์ และประชาชน ให้บริการ Drop Off ให้บริการรับพัสดุแล้วกว่า 1 แสนชิ้น 

จัดกิจกรรมฟื้นฟูเศรษฐกิจ ผ่านการจัดตลาดพาณิชย์ทั่วประเทศ โดยประสานพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการรายเล็ก ในช่วง 1 ส.ค.-30 ส.ค. จำนวน 318 ครั้ง มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 4,683 ราย สร้างรายได้ 373 ล้านบาท ตั้งเป้าจัดตลาดพาณิชย์ 935 ครั้ง ในช่วง ส.ค.-พ.ย.67 คาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้เป็นจำนวนมาก และยังเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า อาทิ HoReCa 2024, THAIFEX - Anuga Asia 2024 และ STYLE Bangkok 2024 สร้างมูลค่าซื้อขายกว่า 1 แสนล้านบาท จัด Thailand SME Synergy Expo 2024 สร้างมูลค่าการค้ากว่า 200 ล้านบาท 

ส่วนนโยบายลดรายจ่าย ได้จัดโครงการ ‘พาณิชย์สั่งลุย...ลดราคา’ ลดราคาสินค้าจำเป็น ช่วงเทศกาลสำคัญ ปีใหม่ ตรุษจีน กินเจ ก่อนเปิดภาคเรียน ลดสูงสุด 60-85% รวม 8 กิจกรรม ลดค่าครองชีพได้ 8,060 ล้านบาท และกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 13,400 ล้านบาท จัด ‘โครงการธงฟ้าราคาประหยัด ลดค่าครองชีพประชาชน’ จำหน่ายสินค้าจำเป็นราคาต่ำกว่าท้องตลาด 20-40% รวม 1,134 ครั้ง ลดค่าครองชีพ 130 ล้านบาท 

จัดจำหน่ายสินค้าผ่านรถโมบายในแหล่งชุมชน 450 จุด ลดค่าครองชีพ 122.09 ล้านบาท จัดโครงการร้านอาหารธงฟ้า มีจำนวน 5,607 ร้าน ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนประมาณวันละ 2.63 ล้านบาท หรือ 960 ล้านบาท จัดพาณิชย์สั่งลุยราคาปุ๋ย ลดต้นทุนให้เกษตรกร 102 ล้านบาท ลดต้นทุนให้ร้านค้า ผู้ประกอบการ 14,000 ราย มูลค่า 53 ล้านบาท ด้วยการงดจัดเก็บค่าเช่าพื้นที่ในกระทรวง และขอความร่วมมือตลาดในสังกัด กทม.ไม่เก็บด้วย งดการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการใช้เพลงที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ฟรี 3 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค.66-มี.ค.67 และมอบส่วนลดค่าลิขสิทธิ์เพลง 50–55% ต่อเนื่องอีก 1 ปี ลดต้นทุนผู้ประกอบการ SME ที่ใช้งานเพลง 400,000 ราย มูลค่า 3,300 ล้านบาท และขอฝากกรมการค้ารวบรวมร้านค้า เพื่อเข้าสู่โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 

สำหรับการขยายโอกาสทางการค้า ได้เดินหน้าเจาะตลาดหลัก โดยจีน นำเข้าผู้ประกอบการเข้าร่วมงาน CAEXPO สหรัฐฯ นำเอกชนลงนาม MOU ซื้อขายข้าวและอาหาร ญี่ปุ่น ผลักดันอาหาร ผลไม้ ผ้าไทย ซีรีส์วายในงาน Thai Festival Tokyo ฝรั่งเศส นำเอกชนเข้าร่วมงาน Cannes Film Festival 2024 คาดมูลค่าเจรจาการค้ากว่า 11,000 ล้านบาท ใช้แคมเปญ Think Thailand Next Leve ในการบุกตลาดอินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกาใต้ รวมทั้งผลักดันการค้าชายแดน และแก้ไขอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะการเจรจาเปิดด่าน เพื่อรองรับฤดูกาลผลไม้ไทย 

การลงนาม FTA ไทย-ศรีลังกา ผลักดันการเจรจา FTA ไทย-EFTA ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2567 เปิดเจรจา FTA ใหม่ อาทิ ไทย-เกาหลีใต้ ไทย-ภูฏาน และไทย-บังกลาเทศ การรุกตลาดเมืองรอง โดยต่อยอด MOU ที่ลงนามไปแล้ว สร้างมูลค่าการค้ากว่า 5,500 ล้านบาท อาทิ ความร่วมมือกับมณฑลกานซู่ ปูซาน โคฟุ โดยนายภูมิธรรม ได้ฝากให้ รมช.พาณิชย์ทั้งสองท่าน และปลัดกระทรวงพาณิชย์ สานงานต่อด้วย 

และยังได้เพิ่มโอกาสทางการค้าผ่านกลยุทธ์ตลาดแนวใหม่ โดยใช้ซีรีส์วาย ซีรีส์ยูริ ดึงมาย-อาโป ฟรีน-เบ็คกี้ ยกระดับสินค้าชุมชน อาทิ สมุนไพร สุราชุมชน ขนมขบเคี้ยว Tie-in เข้าสู่ตลาดโลกผ่านซีรีส์ และนำเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ฮ่องกง เวียดนาม ฝรั่งเศส เกิดการจับคู่ธุรกิจ 756 คู่ มูลค่า 4,102 ล้านบาท ใช้เครือข่าย KOL จีนไลฟ์สดขายสินค้าและบริการไทย เพื่อสร้างรายได้ให้คนตัวเล็ก กำหนดจัดวันที่ 25-29 ก.ย.67 คาดการณ์มูลค่า 1,500 ล้านบาท 

และได้จัดทำ MOU กับ Sinopec นำสินค้าไทยจำหน่ายใน Easy Joy ร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน คาดการณ์มูลค่า 1,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี การเจรจาธุรกิจออนไลน์ (OBM) เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ฮาลาล สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น คาดการณ์มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท และยังทำงานเชิงรุกทูตพาณิชย์และพาณิชย์จังหวัด ขายกล้วยหอมเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น ขายลำไยเข้าสู่ตลาดจีน ขายมังคุดไปจีนและญี่ปุ่น และเปิดตลาดผ้าไทยในญี่ปุ่น เป็นต้น รวมไปถึงการช่วยสร้างโอกาสทางการค้า จากการใช้ประโยชน์จาก Big Data คิดค้า.com เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ มีสินค้าเกษตร 13 ชนิด เศรษฐกิจการค้ารายจังหวัด และเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น มีผู้ใช้งานกว่า 220,000 คน เฉลี่ย 22,000 คนต่อเดือน

สำรวจ 'กลาโหม' ยุค 'บิ๊กอ้วน-บิ๊กเล็ก' สมดุลอำนาจ 'นายใหญ่-เจ้าสัว-บิ๊กแดง'

(18 ก.ย. 67) เป็นไปได้มากว่า ขณะที่ท่านผู้อ่านกำลังอ่าน 'เลียบการเมือง' อยู่นี้...บัญชีรายชื่อการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปี 2567 อาจจะประกาศเผยแพร่เป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนภูมิธรรมแล้วก็ได้...เพราะภูมิธรรม เวชยชัย 'บิ๊กอ้วน' รมว.กลาโหม ได้ตกลงใจ ลงนามแล้วเสนอนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ให้ลงนามเพื่อกราบบังคมทูลฯ ตั้งแต่ 17 ก.ย.

ทุกอย่างเป็นไปตามโผที่ 'บิ๊กอ้วน' หารือกับอีก 6 เสือกลาโหมตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. และ 16 ก.ย. โดยเฉพาะโผแต่งตั้ง 'แม่ทัพน้ำ' หรือ ผบ.ทร. ที่พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผบ.ทร.คนปัจจุบัน ท่านยืนยันตีลังกายันว่า ต้องเป็น พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ 'บิ๊กแมว’ ที่ปรึกษาพิเศษ ทร. ซึ่งแม้ไม่มีกฎหมายห้าม แต่ถือว่าแหวกม่านประเพณี หลักนิยมที่ปกติ ผบ.เหล่าทัพ จะขึ้นมาจาก 5 ฉลามเสือเป็นส่วนใหญ่...

เช่นเดียวกันกับ ผบ.ทบ.คนใหม่...ก็เป็นไปตามที่ผบ.ทบ.คนปัจจุบัน (บิ๊กต่อ-พล.อ.เจริญชัย หินเธาว์) เสนอ คือ พล.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ 'บิ๊กปู' เสธ.ทบ.แห่งเตรียมทหารบก (ตท.) รุ่น 26 ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งถึงปี 2570...เท่าเทอมรัฐบาลอุ๊งอิ๊งที่เหลือ...

จะว่าไปฝ่ายเมืองกระทรวงกลาโหมรอบนี้ จะเรียกว่า 'ลงตัวแบบธรรมะจัดสรร' หรือ 'นาย(ทุน)ใหญ่ จัดสรร' ก็น่าจะพูดได้...รมว.เป็น 'บิ๊กอ้วน' สายตรงนายใหญ่ทักษิณ...ส่วน รมช. คือ 'บิ๊กเล็ก' (พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์) โควตาพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ว่ากันว่า...นาย(ทุน)ใหญ่รุ่นใหม่รูปหล่อหนุนช่วยอยู่...

'บิ๊กเล็ก' เป็นน้องเลิฟคนหนึ่งของลุงตู่ เคยเป็นเลขาธิการสมช.ผ่านงานใหญ่มาแล้วหลายงาน...และต้องขีดเส้นใต้สามเส้นว่า เป็นเพื่อน ตท.รุ่น 20 รุ่นเดียวกับ 'บิ๊กแดง' พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีตผบ.ทบ./อดีตรองเลขาธิการพระราชวัง...ที่เพิ่งพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เพราะลาออกจากราชการ...

เป็น 'บิ๊กแดง' คนเดียวกับที่ไปปฏิบัติการภารกิจพิเศษ 'ลังกาวี' เมื่อ 5 พ.ค. 2566

'บิ๊กเล็ก' จะเอาใครมาเป็นเลขาฯ เป็นทีมงาน หรือ 'บิ๊กแดง' จะแอบหนุนช่วย Back up เพื่อนเลิฟอย่างไรไม่เป็นที่เปิดเผย...แต่สำหรับ 'บิ๊กอ้วน' นั้นเลือกเอานายทหาร ตท.10 เพื่อนเลิฟนายใหญ่อย่าง 'บิ๊กหมี' พล.อ.ไตรศักดิ์ อินทรรัศมี มาเป็นเลขานุการรมว.และได้จัดสตาฟทีมงานทั้งที่เป็นเพื่อนนายใหญ่และนายทหารรุ่นใหม่ นักวิชาการด้านความมั่นคงมาช่วยงานอีกเพียบ...

ฟังการให้สัมภาษณ์ต่างกรรมต่างวาระเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร เรื่องการบ้าน-ภารกิจในกระทรวงกลาโหมแล้ว ก็พอจะกล่าวได้ว่า 'สหายใหญ่' ภูมิธรรมนั้นไม่ธรรมดา...รู้โจทย์ รู้ทิศทางลม ในยุคผสมผสานอำนาจและการข้ามขั้วเปลี่ยนผ่าน แบบพิสดาร โอนลี่ไทยแลนด์...

ที่บางฝ่ายตั้งโจทย์ด้วยความห่วงกังวล...นายใหญ่ถูกกองทัพรัฐประหารมา 2 ครั้ง เมื่อปี 2549 และ 2557 วันนี้เป็นโอกาสทองที่นายใหญ่...สหายใหญ่จะได้เวลาเอาคืนหรือสอนสั่งนั้น...อาจจะ 'เยอะ' ไปหน่อย...ต้องไม่ลืมว่าบ้านเมืองเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ กองทัพกับสถาบันนั้นยากจะแยกออกจากกัน...อย่างน้อย 'บิ๊กแดง' ที่สังเกตการณ์อยู่ คงไม่ปล่อยทุกอย่างเลยธง...

อนึ่ง สายข่าวรายงานมาว่า...เมื่อ 17 ก.ย. วันที่ 'นายอิ๊งค์', 'บิ๊กอ้วน' และคณะยกทีมกันไปร่วมงานนักศึกษา วปอ.66 แถลงผลงานที่สถาบันป้องกันประเทศนั้น ตอนท้ายของงาน 'ขุนศึกโต' พล.ต.ดร.อลงกรณ์ แสงทอง นักทอล์กลายพราง ขึ้นเวทีไปทอล์กตบท้าย ทำเอาใครหลายคนแอบสะดุ้งลึก ๆ เพราะตบท้ายด้วยบทกลอนพระองค์ดำ...ความว่า...

"ถ้ามึงรักภักดี พลีต่อชาติ
มึงจะคลาดแคล้วภัย ใดใดสิ้น
ถ้ามึงชั่วเลวร้าย ขายชาติกิน
มึงจะสิ้นชีพม้วย ด้วยดาบกู"


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top