Wednesday, 23 April 2025
ภาคใต้

‘ฝรั่งหนุ่ม’ โชว์ลีลาทำ 'แกงไตปลา' อย่างพิถีพิถัน พร้อมบอก!! เป็นเมนู 'ยอดเยี่ยม' ไม่ใช่ยอดแย่

(5 เม.ย. 67) หลังจากเว็บไซต์ให้ข้อมูลด้านอาหารทั่วโลกชื่อว่า ‘TasteAtlas’ ที่มักจัดอันดับอาหารยอดเยี่ยม-ยอดแย่ในประเภทต่าง ๆ ได้จัดอันดับอาหารยอดแย่ที่สุดในโลก โดยเมนู ‘แกงไตปลา’ ของประเทศไทย ถูกจัดเป็นอาหารยอดแย่อันดับที่ 1 นั้น 

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก พาทำ พาทาน ที่มีผู้ติดตามกว่า 3.3 ล้านคน ก็ได้พาทำเมนู ‘แกงไตปลา’ จากฝีมือฝรั่งหนุ่มอย่างพิถีพิถัน พร้อมระบุแคปชันว่า " แกงไตปลายอดเยี่ยมไม่ใช่ยอดแย่ Excellent Kaeng tai pla (Thai Fish Entrails Sour Curry) #saveแกงไตปลา #แกงไตปลา " 

ท่ามกลางเหล่าชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็น

‘ธนกร’ ชี้ ภาคใต้มีความโดดเด่น เรื่องการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ชู!! ซอฟต์พาวเวอร์ เชิงวัฒนธรรม อัตลักษณ์ สร้างรายได้ให้ประเทศ

(26 พ.ค.67) นายธนกร วังบุญคงชนะ  อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ  สส.แบบบัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงกรณีที่นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นำคณะลงมาเปิดเวทีที่จ.สงขลาแล้วบอกว่า เศรษฐกิจภาคใต้ต่ำกว่าภาคอื่น ว่าในฐานะคนใต้มองว่า การที่นายชัยธวัช จะมาพูดเปรียบเทียบภาคใต้กับภาคอื่นก็ไม่ถูกแล้ว เพราะจุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละภาค   มีความแตกต่างกัน เอามาเปรียบกันไม่ได้ โดยต้องยอมรับว่า ภาคใต้มีความโดดเด่นเรื่องจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทางทะเล มากกว่าภาคอื่น จึงเป็นเครื่องยนต์หลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคใต้มาตลอด และรัฐบาลก็มีการสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อัตลักษณ์ พื้นถิ่นที่เรียกว่าซอฟต์พาวเวอร์มากขึ้น รวมถึงตัวเลขรายได้ของเกษตร และด้านแรงงานก็ขยายตัวขึ้น ไม่ใช่มีแค่ตัวเลขการท่องเที่ยวที่เพิ่มอย่างเดียว ตามที่นายชัยธวัชและพรรคก้าวไกลพูด  

ทั้งนี้ขออ้างอิง การแถลงของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ได้แถลง ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาส 2/2567 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ว่าภาคบริการท่องเที่ยว ขยายตัวต่อเนื่อง
จากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวในหลายสัญชาติ ทั้งจีน มาเลเซีย ยุโรป จำนวนเที่ยวบินเพิ่มขึ้น โดยอานิสงส์มาจากมาตรการฟรีวีซ่า ภาคตลาดแรงงาน ปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามภาคท่องเที่ยวที่ขยายตัว จากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยว

ขณะเดียวกันรายได้เกษตรกร กลับมาขยายตัวจากรายได้ยางพาราตามราคายางที่ขยายตัวมากขึ้นเนื่องจากผลผลิตที่ออกน้อยกว่าปกติ เพราะมีการระบาดของโรคใบร่วง และสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปกติ ส่งผลต่อ ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกจากการผลิตยางพาราแปรรูปโดยเฉพาะยางผสมที่หดตัวตามคำสั่งซื้อของจีนที่ชะลอในช่วงราคายางสูง รวมถึงน้ำมันปาล์มดิบลดลงตามวัตถุดิบและอากาศที่ร้อนจัดสภาวะแล้ง ซึ่งก็มีปัจจัยแวดล้อมทั้งประเทศคู่ค้าและสภาพอากาศที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

“ที่นายชัยธวัช  บอกว่า ภาคใต้ไม่มีอย่างอื่นโตเลย นอกจากการท่องเที่ยว ในฐานะคนใต้ คิดว่าเป็นการพูดเกินจริงและด้อยค่าภาคใต้มากเกินไป แม้ส่วนอื่นจะไม่ได้โตมากเท่าที่คาดการณ์ก็ตาม ซึ่งมาจากหลายปัจจัย ประเทศคู่ค้าและสภาพอากาศ ซึ่งเมื่อดูตัวเลขเศรษฐกิจภาพรวมของภาคใต้ก็ถือว่าโตต่อเนื่อง และเมื่อมาวิเคราะห์การสรุปในเวทีที่นายชัยธวัชและพรรคก้าวไกลพูดที่สงขลา มีเจตนาต้องการปฏิรูปโครงสร้างทั้งระบบ จึงขอถามว่า โครงสร้างที่พรรคก้าวไกลพูดนั้นหมายถึงอะไร ทั้งเป็นเรื่องจัดการโครงสร้างที่ดินใหม่ การกระจายอำนาจและอื่นๆ ทั้งหมดนี้ เป็นการด้อยค่าไม่พอ ยังมีเจตนาอื่นแอบแฝงด้วยหรือไม่ มองชัดว่าต้องการสร้างประเด็นเพื่อหวังผลทางการเมือง” นายธนกร กล่าว

‘สส.รวมไทยสร้างชาติ’ วอน!! รัฐช่วยเหลือเกษตรกร ‘สวนทุเรียน’ ภาคใต้ หลังเผชิญปัญหาภัยแล้ง เพราะหากเสียหายต้องปลูกใหม่นาน 7-8 ปี

(20 มิ.ย.67) นายวิชัย สุดสวาสดิ์ สส. จังหวัดชุมพร เขต 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ร่วมอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ว่า ก่อนอื่นขอชื่นชมการจัดสรรงบประมาณไปสู่กระทรวงต่าง ๆ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน แต่ทั้งนี้ ตนอยากจะย้ำเตือนในเรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศ โดยเฉพาะในโซนภาคใต้ พื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างทุเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ทว่าเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดดังกล่าวต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก

แต่ทั้งนี้ ต้องขอชื่นชม ท่านนายกรัฐมนตรี ที่ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรชาวสวนทุเรียน แต่อย่างไรก็ดี ขอเรียนไปถึงท่านรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้ช่วยจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่

นายวิชัย กล่าวด้วยว่า ในพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร มีการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี เพราะถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากที่สุด ซึ่งจากข้อมูลการส่งออกทุเรียนของจังหวัดชุมพรในปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่า มีสูงถึง 223,140 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 37,200 ล้านบาท สูงกว่าพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ และยังมีส่วนช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนต่าง ๆ ทั้งการจ่ายค่าแรงงาน ค่าปุ๋ย และอุปกรณ์ทางการเกษตรต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องยอมรับว่า ทุเรียนนั้นเป็นพืชที่ต้องการน้ำในการหล่อเลี้ยง หากในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ย่อมทำให้ได้รับความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เพราะฉะนั้น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องลงมาดูแลและแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนทุเรียน อย่าปล่อยให้ทุเรียนของเขาได้รับความเสียหาย แล้วต้องกลับมาเริ่มต้นการปลูกใหม่อีก 7 - 8  ปี ถึงจะได้รับผลผลิตอีกครั้ง 

“จากการเก็บข้อมูลและลงพื้นที่พบพี่น้องเกษตรกร ได้รับเสียงสะท้อนมาว่า ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง เผชิญปัญหาภัยแล้งมาตั้งแต่ปี 2566 ที่รุนแรงต่อเนื่องประมาณ 5 - 6 เดือน แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาจากนั้นในปี 2567 ก็มีปัญหาอีก 4 - 5 เดือน และผมเชื่อว่าในปี 2568 ปัญหาเหล่านี้ก็จะกลับมาอีกเช่นเคย ดังนั้น จึงอยากจะฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยเฉพาะกระทรวงหลัก ๆ อย่าง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่รับผิดชอบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ให้ช่วยเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน ด้วยการเจียดเงินงบประมาณ 2,000 - 3,000 ล้านบาท จากงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องชาวสวนทุเรียน ซึ่งไม่เพียงแค่จังหวัดชุมพรและภาคใต้เท่านั้น แต่รวมไปถึงชาวสวนทุเรียนในภาคตะวันออก ที่รอการช่วยเหลืออยู่เช่นกัน”

นายวิชัย กล่าวย้ำว่า อยากจะขอให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ช่วยไปศึกษาและช่วยหาแนวทางในเรื่องการนำน้ำจากใต้ดินขึ้นมาใช้ให้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกร และขอให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องบูรณาการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในโซนที่มีปัญหาเรื่องภัยแล้งทั่วประเทศอย่างเร่งด่วน

‘กฟผ.’ พร้อมรับมือแหล่งก๊าซฯ JDA-A18 หยุดจ่ายก๊าซฯ 16 วัน มั่นใจ!! ไม่กระทบผู้ใช้ไฟฟ้าภาคใต้ เตรียมมาตรการรับมือไว้ 5 ด้าน

(27 ก.ค.67) กฟผ. เตรียมมาตรการ 5 ด้าน พร้อมรับมือการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA-A18) เพื่อซ่อมบำรุงประจำปี ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม – 13 สิงหาคม 2567 ยืนยันไม่ส่งผลต่อการใช้ไฟฟ้าภาคใต้ พร้อมขอความร่วมมือทุกภาคส่วนในพื้นที่ภาคใต้ร่วมประหยัดพลังงานในช่วงเวลา 18.00-21.30 น.

นายณัฐวุฒิ ผลประเสริฐ รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า แหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือ JDA-A18 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีกำหนดซ่อมบำรุงรักษาประจำปี ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม – 13 สิงหาคม 2567 รวม 16 วัน ส่งผลให้ไม่สามารถส่งจ่ายก๊าซฯ ให้กับโรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม กฟผ. ได้วางแผนมาตรการรองรับ 5 ด้าน เพื่อไม่ให้กระทบต่อการใช้ไฟฟ้าของประชาชนในภาพรวม ประกอบด้วย

• ด้านเชื้อเพลิง สำรองปริมาณน้ำมันดีเซลที่โรงไฟฟ้าจะนะและน้ำมันเตาที่โรงไฟฟ้ากระบี่ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในช่วงเวลาหยุดจ่ายก๊าซฯ รวมทั้งมีแผนรองรับหากการซ่อมบำรุงล่าช้ากว่ากำหนด

• ด้านระบบผลิต เตรียมโรงไฟฟ้าจะนะให้สามารถเดินเครื่องด้วยน้ำมันดีเซล พร้อมประสานโรงไฟฟ้าอื่น ๆ ในภาคใต้ให้มีความพร้อมเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า และสามารถรับไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน 

• ด้านระบบส่ง ตรวจสอบสายส่งเชื่อมโยงจากภาคกลางมายังภาคใต้ สายส่งไฟฟ้าและอุปกรณ์สำคัญในพื้นที่ให้พร้อมใช้งาน รวมถึงงดการทำงานบำรุงรักษาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง

• ด้านบุคลากร จัดเตรียมทีมงานเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

• ด้านผู้ใช้ไฟฟ้า กฟผ. ขอความร่วมมือจากภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน ร่วมกันประหยัดพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม – 13 สิงหาคม 2567 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลา 18.00-21.30 น. ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้

“กฟผ. พร้อมดำเนินการตามมาตรการรองรับการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA-A18 อย่างเต็มที่ และจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าระบบไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้จะมีความมั่นคงและเพียงพอ ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชน” นายณัฐวุฒิ ผลประเสริฐ ได้กล่าวย้ำในตอนท้าย 

สงขลา-กงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดสงขลาร่วมเสวนาความก้าวหน้าในความ สัมพันธ์ ไทย-จีน ในภาคใต้

เมื่อวานนี้ (6 ก.ย.67) ที่ห้องรับรองบ้านพัก กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำ จ.สงขลา นางอู่ ตงเหมย กงสุลใหญ่สาธารณประชาชนจีนประจำจังหวัดสงขลา ได้เชิญนายไชยยงค๋ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวัฒิสภา จ.สงขลา ร่วมเสวนาถึงความก้าวหน้าของมิตรภาพไทย-จีน ในโอกาสคครบรอบ 30 ปี ของการต่อตั้ง สำนักงานกงสุลประจำจังหวัดสงขลา โดยนางอู๋ ตงเหมย กล่าวว่า 

สถานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1994 รวมเวลาเกือบ 30 ปีแล้ว การก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาได้สร้างสะพานแห่งใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมีอระหว่างจีนและภาคใต้ของไทย และแสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนที่ใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างจีนและไทย ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ 30 ปีอาจเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ 30 ปีที่ผ่านมาเป็น 30 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของประเทศจีน และเป็น 30 ปีแห่งความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ของมิตรภาพจีน-ไทย ผมขอใช้โอกาสพิเศษในวาระครบรอบ 30 ปีของการสถาปนานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาเพื่อย้อนประวัติอันน่าตื่นเต้นและเป็นแรงบันดาลใจของพวกเราร่วมกัน 30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วของจีน

30 ปีที่แล้ว GDP ของจีนมีมูลค่า 600,000 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ และให้หลัง คือปี 2023 GDP ของจีนมีมูลค่ามากกว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 18% ของเศรษฐกิจโลก ในปี 1994 เศรษฐจีนอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก มาในปี 2010 จีนได้กลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และเป็นประเทศอุดสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีอุตสาหกรรมครบทุกประเภทตามการแบ่งประเภทอุตสาหกรรมของสหประชาชาติ โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตที่ทรงพลังที่สุด และมีการพัฒนาขีดความสามารถด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว

เศรษฐกิจของจีนมีขนาดมหึมา การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีคุณภาพสูงของเศรษฐกิจจีนย่อมเป็นแรงผลักดันสาคัญสาหรับการเติมโดของเศรษฐกิจโลกอย่างแน่นอน ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้ขยายการเปิดกว้างสู่โลกภายนอกและยกระดับการเปิดกว้างอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นสัญลักษณ์ที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของจีน ปัจจุบัน จีนเป็นคู่ค้าหลักของประเทศและภูมิภาคต่างๆ มากกว่า 140 ประเทศท้าโลก และเป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่อันดับสองของโลก นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางหรือ Belt and Road Initiative เมื่อปี 2013 จีนได้ดึงดูดประเทศต่างๆ มากกว่า 150 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 30 องค์กรเข้าร่วม ซึ่งโครงการ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะระดับนานาชาติที่ได้รับความนิยมและเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งจะส่งแรงขับเคลื่อนใหม่ๆ ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่องจีนยินดีแบ่งปันการพัฒนาของตนเองเพื่อมอบโอกาสใหม่ ๆ ให้กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก 'เค้ก' ของความร่วมมือแบบ win-win ชาติที่หอมหวาน จีนยินดีทำงานร่วมกับมิตรประเทศรวมทั้งประเทศไทยเพื่อสร้าง 'เค้ก' ที่ใหญ่ขึ้นและดีขึ้น และแบ่งปันประโยชน์จากกพัฒนาของจีน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนมีส่วนร่วมในการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเฉลี่ยปีละกว่า 30% ในปี 2023 ท่ามกลางเศรษฐกิจโลก.ที่ฟื้นตัวอย่างยากลำบากและเผชิญความไม่แม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นของอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก เศรษฐกิจจีนมีส่วนสนับสนนการเต็มโดของเศรษฐกิจโลกถึง 32% และกลายเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกอีกครั้ง

30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทยอย่างครอบคลุม จีน-ไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่เชื่อมต่อกันด้วยภูเขาและแม่น้ำ เป็นญาติที่ดีด้วยสายเลือด และเป็นหุ้นส่วนที่ดีที่มีอนาคตร่วมกัน ตั้งแต่ 'แถลงการณ์ร่วม' ปี 2001 ที่รัฐบาลจีนและไทยบรรลุฉันทามติในการส่งเสริมความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกัน จนถึงปี2012 ที่ทั้งสองประเทศได้เริ่มต้นความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน และปี 2022 ที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เยือนประเทศไทยและร่วมกับผู้นำรัฐบาลไทยในการสร้างเป้าหมายยุคใหม่ของ 'ประชาดิมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทย' จนถึงปี 2023 ที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินเยือนประเทศจีน และได้แลกเปลี่ยนเชิงลึกกับผู้นำจีนเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างสองประเทศ และบรรลุฉันทามติอย่างกว้างขวาง 

ทำให้ทั้งสองประเทศมีความไว้วางใจทางการเมืองต่อกันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผู้นำระดับสูงของทั้งสองประเทศมีการเยือนระหว่างกันเหมือนเครือญาติ ผู้นำจีนหลายคนเคยมาเยือนประเทศไทย ราชวงศ์ไทย ผู้นำรัฐบาล รัฐสภา และผู้นำกองทัพของไทยก็ได้เยือนจีนหลายครั้งเช่นเดียวกัน ความสัมพันธ์จีน-ไทยรักษาโมเมนตัมการพัฒนาที่มั่นคงและแข็งแรงมาโดยดลอด และกลายเป็นต้นแบบของการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองและพัฒนาร่วมกัน

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ขนาดการค้าระหว่างจีนและไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จีนกลายเป็นคู่คำรายใหญ่ที่สุดของไทย เป็นแหล่งเงินทุนต่างประเทศที่สำคัญที่สุด เป็นประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สำคัญที่สุด และเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของไทย ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา ปริมาณการค้าจีน-ไทยทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ประเทศไทยเป็นฐานสำคัญของโครงการ 'หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง' ที่มีคุณภาพสูง ภายใต้กรอบของ 'หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง' การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังจีนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2023 การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังจีนมีมูลค่าร่วม 11,262 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 42% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้น 6.19% เมื่อเทียบเป็นรายปีการส่งออกทุเรียนไทยไปยังจีนคิดเป็น 70% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย 

ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนปีนี้ไทยส่งออกทุเรียนสดไปยังจีนถึง 225,000 ตัน ธุรกิจจีนมีการลงทุนในไทยอย่างแข็งขัน ในปี2023 การลงทุนโดยตรงของจีนในประเทศไทยมีมูลค่า 4,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 109% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีส่วนช่วยในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการจ้างงานของไทยอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนะไทยมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ประเทศไทยเป็นหนึ่งใงในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีน ในปี 2023 มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาเยือนประเทศไทย 3.52 ล้านคน สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้ไทยกว่า 196,700 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมปีนี้ จีนและไทยได้เข้าสู่ 'ยุคปลอดวีซ่า' จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งจีนมาไทยและไท่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้ มีนักท่องเที่ยวจีนประเทศไทย 2.352 ล้านคน ซึ่งกว่าชาติอื่น ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว วันที่ 1 มีนาคม มีนักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 3 เท่า เพิ่มขึ้นม60% เมื่อเทียบกับปี 2019 ในช่วงก่อนโควิด นักศึกษาจีนยังคงศึกษาต่างชาติกลุ่มหลักในรั้วมหาวิทยาลัยไทย ในภาคการศึกษาของปีการศึกษา 2023 มีนักศึกษาจีนในสถาบันอุดมศึกษาของ21,906 คน คิดเป็น 60% ของนักศึกษาต่างชาติทั้งหมดในประเทศไทย

30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงความมีชีวิตชีวาของความร่วมมือระหว่างจีนกับภาคใต้ของไทย ภาคใต้ของไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ จีนมีตลาดขนาดใหญ่และมีฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง ทั้งสองฝ่ายมีส่วนส่งเสริมระหว่างกันอย่างมากในด้านเศรษฐกิจ การสงอองออกเนื่อง ในปี 2023 ไทยส่งออกยางพาราทั้งสิ้น 4.267 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 2.057 ล้านต้นส่งออกไปจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยางที่ผลิตในภาคใต้ ในปี 2023 ประเทศไทยสงออกทเรียนไปยังจีนจำนวน 945,000 ต้นเฉพาะจังหวัดชุมพรเพียงจังหวัดเดียวก็ส่งออกทเรียนไปยังจีนถึง 400,000 ตัน ผลไม้อื่น ๆ จากภาคใต้ เช่น มะพร้าว สับปะรด กล้วยมะม่วง ฯลฯ ก็เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีนเช่นกัน การลงทุนและการสร้างโรงงานของบริษัทจีนในพื้นที่ภาคใต้ของไทยได้ช่วยแก้ปัญหาการดำรงชีพของคนท้องถิ่นจำนวนมาก เช่น การจ้างงาน การกำจัดขยะและแหล่งจ่ายไฟฟ้า เป็นต้น 

อีกทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคใต้ของไทย การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและภาคใต้ของไทยด่าเนินไปอย่างต่อเนื่อง ชาวใต้มีความสนใจในภาษาและวัฒนธรรมจีนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนจีนในภายได้ได้ผลิตทูดสันถวไมตรีระหว่างจีน-ไทยจำนวนมาก ภาคใต้อุดมไปด้วยทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ภูเก็ดสมย และหลีเป๊ะเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวจีน ในสื่อสังคมออนไลน์ของจีน มีนักท่องเที่ยวจีนจำนวนนับไม่ถ้วนได้แบ่งปันความทรงจำดีๆ ขณะไปท่องเที่ยวในสถานที่เหล่านี้ 30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงมิตรภาพจีน-ไทยที่เรียกว่า 'ไทยจีนใช่อื่นใกล พี่น้องกัน' 

ซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง คนจีนและไทยมีมิตรภาพอันยาวนานและมีความใกล้ชิดเหมือนครอบครัวเดียวกันนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ประชาชนทั้งสองประเทศได้ร่วมทุกร่วมสุขกัน ช่วยเหลือเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ร่วมกันเอาชนะภัยพิบัติทางธรรมชาติ ร่วมกันตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ทางการเงิน และร่วมกันส่งเสริมการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ เราจะไม่มีวันลืมว่าเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ครั้งแรกในปี 2019 รัฐบาลและประชาชนทุกสาขาอาชีพในไทย รวมถึงประชาชนในภาคใต้ ต่างมีความห่วงใยกับความปลอดภัยของประชาชนในเมืองอู่ฮั่น และได้จัดกิจกรรม 'อู่ฮั่นสู้ๆ' 

โดยร่วมกันบริจาคเงินและสิ่งของให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ติดอยู่ในประเทศไทยและรักษาผู้ป่วยชาวจีนที่คิดเชื้อในประเทศไทยโดยทันทีในทำนองเดียวกัน หลังจากเกิดการแพร่ระบาดในประเทศไทย ฝ่ายจีนก็ได้จัดหาอุปกรณ์ป้องกัน แบ่งปันประสบการณ์ในการรับมือ และจัดหาวัคขืนให้กับประเทศไทยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนเกิดเรื่องที่น่าประทับใจครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งสองฝ่ายได้ใช้การปฏิบัติจริงอธิบายถึงมิตรภาพอันลึกซึ้งสมกับคำกล่าวที่ว่า 'จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน' ตั้งแต่ข้าพเจ้าเข้ารับตำแหน่งที่สงขลา ข้าพเจ้ามักจะไปเยี่ยมสถานที่ต่างๆในเขตรับผิดชอบ ได้พบปะพุดคุยกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น นักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเล และนักศึกษา ได้รู้จักเพื่อนมากมาย ในทุกพื้นที่เข้าจะได้สัมผัสถึงความกระตือรือร้นอย่างมากของผู้นำท้องถิ่นและระชาชนภาคใต้ต่อความปรารถนาในการสร้างความร่วมมือกัมจีน 

นับตั้งแต่ก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่ประจ่าสงขลา เพื่อนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ได้ให้การสนับสนุนเรามากมายอย่างประเป็นค่ามิใต้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุลใหญ่จะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันหลายครั้งแต่มิตรภาพระหว่างเราไม่เคยเปลี่ยน และยังคงสัมผัสได้ถึงมิตรภาพอันลึกซึ้งที่ทุกท่านมอบให้เราเสมอมา ข้าพเจ้าขอใช้โอกาสนี้ เป็นของเจ้าหน้าที่ทุกคนของสถานกงสุลใหญ่ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจต่อประชาชนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ของประเทศไทยที่ห่วงใยและสนับสนุนการดำเนินงานของสถานกงสุลใหญ่มาโดยตลอดเมื่อย้อนมองความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของความร่วมร่วมมือจีน-ไทยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา 

เรามีความมั่นใจเต็มเปี่ยมต่ต่ออนาคดข้างหน้า จีนกำลังพัฒนา ความสัมพันธ์จีน-ไทยกำลังเผชิญกับโอกาสครั้งสาคัญในประวัติศาสตร์ ความร่วมมือระหว่างจีนกับภาคใต้ของไทยมีอนาคตที่สดใสนี้ถือเป็นวาระครบรอบ 75 ปีของการสถาปนาสาธารณรัฐปรจีน และเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีหน้าจะเป็นวาระครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย บนจุดเริ่มต้นครั้งใหม่ทางประวัติศาสดร์นี้ สถานกงสุลใหญ่จีนประจ่าสงขลายินดีทำงานร่วมกับเพื่อนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ของไทย เพื่อดำเนินการตามฉันทามติที่สำคัญของผู้นำผู้น่าทั้งสองประเทศ และมุ่งมันที่จะเร่งสร้างชุมชนที่มีอนาคดร่วมกันระหว่างจีนไทยที่มีความมั่นคง รุ่งเรือง และยังยืนมากขึ้น โปรดจับมือกันต่อไป ร่วมกันต่อสู้เพื่อส่งเสริมมิตรภาพอันดีระหว่างจีน-ไทย ส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างจีนและภาคใต้ของไทย

‘หมอสุภัทร’ ปธ.ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์แรง!! งดเข้าร้านดังชุมพร เหตุมีป้ายสนับสนุนแลนด์บริดจ์

(30 ต.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสะบ้าย้อย จ.สงขลา และประธานชมรมแพทย์ชนบท ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึง การขึ้นป้ายสนับสนุนโครงการแลนด์บริดจ์ ว่า..

ปิดบัญชีร้านที่จะแวะทานแถวชุมพรอีกร้าน 
“งดเข้าห้องอาหารคุณสาหร่ายที่เปิดมายาวนาน“ 
จนกว่าป้ายข้างๆ จะเอาออก แล้วค่อยคิดทบทวนใหม่
ชีวิตต้องเลือกข้าง ไม่มีเป็นกลาง เป็นกลางคือ ignorance

ทำความรู้จักแลนด์บริดจ์โครงการเชื่อมโยง 2 ฝั่งทะเลไทย ใช้ประโยชน์จากทำเล ลุ้น!! สร้างอุตสาหกรรมใหม่ให้ภาคใต้

(31 ต.ค. 67) จากข่าววานนี้ที่ทาง นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสะบ้าย้อย จ.สงขลา และประธานชมรมแพทย์ชนบท ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึง วิจารณ์การขึ้นป้ายสนับสนุนโครงการแลนด์บริดจ์ นั้น

ในวันนี้ THE STATES TIMES จะพาทุกคนมารู้จักโครงการแลนด์บริดจ์(Land Bridge)กัน สำหรับโครงการนี้มีชื่อเต็มว่า โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน

อธิบายอย่างเข้าใจง่ายโครงการนี้จะประกอบไปด้วย 
1.ท่าเรือน้ำลึก 2 ท่าเรือ ตั้งอยู่ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามันอย่างละหนึ่งท่าเรือ เพื่อรับส่งของจากเรือต่าง ๆ
2.ทางรถไฟ มอเตอร์เวย์ เชื่อมระหว่าง 2 ท่าเรือ เพื่อให้การขนส่งสินค้าจากท่าเรือทั้งสองดำเนินการได้โดยง่ายไร้รอยต่อ หรือ Seamless 

โดยเป้าหมายของโครงการนี้คือชิงส่วนแบ่งการตลาดจากท่าเรือแถว ๆ ช่องแคบมะละกาที่มีปริมาณเรือเป็นจำนวนมาก และต้องใช้ระยะเวลาจำนวนหนึ่งในการเดินทางอ้อมช่องแคบมะละกา 

นอกจากโครงสร้างพื้นฐานแล้วสิ่งที่จะเป็นอาวุธสำคัญของโครงการแลนด์บริดจ์ คือ กฎหมาย SEC ที่ใช้โมเดลเดียวกับ EEC เพื่อกระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรมหลังอ่าว 

ด้วยอาวุธชิ้นนี้ผู้ที่ดำเนินการโครงการจึงมีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะประสบความสำเร็จ นอกจากนี้เอกชนผู้ที่จะร่วมลงทุนในโครงการนี้จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ เป็นบริษัทเรือเดินทะเล 

ดังนั้นอย่างน้อยที่สุด ลูกค้าที่จะมาจะมาจากบริษัทผู้ร่วมทุนนั้นเอง 

ทุก ๆ ครั้งที่พูดถึงโครงการนี้ จะนึกถึงตัวอย่างหนึ่งตลอดมา คือ เราเป็นคนจนคนหนึ่งแต่โชคดีมีที่ดินติดรถไฟฟ้า บางคนอาจจะอยากขายที่ดินหาเงินใช้ บางคนอาจจะปล่อยเช่า หรือบางคนอาจจะร่วมลงทุนกับผู้ที่สนใจใช้ที่ดินทำประโยชน์ 

โครงการแลนด์บริดจ์ก็ไม่ต่างกันมากนัก คือ การใช้ประโยชน์จากทำเลเพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งหากย้อนไปในประวัติศาสตร์บริเวณปลายด้ามขวานแห่งนี้เคยทรงอิทธิพลในภูมิภาคด้วยความที่เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนสินค้า วัฒนธรรมระหว่างตะวันออกและตะวันตก

และครั้งนี้โครงการแลนด์บริดจ์จะนำสถานะนั้นกลับมาอีกครั้งได้หรือไม่ โปรดติดตามตอนต่อไป

‘รวมไทยสร้างชาติ’ ระดมทรัพยากรช่วยเหลือปชช. ที่ประสบภัยน้ำท่วม เผย!! พร้อมเคียงข้าง ให้กำลังใจ เพื่อผ่านพ้น วิกฤตอุทกภัย ในครั้งนี้

(30 พ.ย. 67) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต 4 ในฐานะโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ เปิดเผยว่า 

จากสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่หลายจังหวัดในภาคใต้นั้น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนเป็นอย่างยิ่ง และได้กำชับให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรครวมไทยสร้างชาติ รวมถึงอดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกของพรรครวมไทยสร้างชาติ ให้เร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อน้ำท่วม ซึ่งได้มีการปฏิบัติการในพื้นที่ เช่น

นายนิติศักดิ์ ธรรมเพชร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพัทลุง เขต 2 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ลงพื้นที่มอบของใช้จำเป็นให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม

นายศาสตรา ศรีปาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา เขต 2 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ดำเนินการตั้งโรงครัวกลางเพื่อมอบอาหารและน้ำดื่มแก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

รวมถึงนายวัชระ ยาวอหะซัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส เขต 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ลงพื้นที่มอบสิ่งของจำเป็น พร้อมกับประสานหน่วยงานเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างเต็มที่

นอกจากนี้ทั้งนายพีระพันธุ์ และนายเอกนัฏ ยังได้กำชับหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรมให้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง เช่น มอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ สิ่งของถุงยังชีพ เป็นต้น

ทั้งนี้ พลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการตั้งศูนย์ประสานงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหน่วยงานแกนกลางที่บูรณาการทั้งหมดในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุกภัยอย่างเร่งด่วน

พรรครวมไทยสร้างชาติ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการให้กำลังใจ และพร้อมเคียงข้างประชาชนผู้ประสบอุทกภัยให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตที่ยากลำบากนี้ไปได้ในเร็ววัน นายอัครเดช กล่าวทิ้งท้าย

‘นิพนธ์’ จับมือ!! พันธมิตร เดินหน้าแจกอาหาร 5,000 กล่อง เล็ง!! เปิดครัวเพิ่มอีก 1 จุดในพื้นที่ อ.เมืองสงขลา

(30 พ.ย. 67) ที่ วัดโคกสมานคุณ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เริ่มแล้วเป็นวันที่สองกับโครงการ ‘เนชั่นปันน้ำใจช่วยภัยน้ำท่วม’ โดยมูลนิธิเนชั่น ร่วมกับ เครือข่ายช่วยเหลือประชาชนภาคใต้และภาคเอกชน ปักหมุดช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จัดตั้งโรงครัวอาสา ปรุงอาหารแจกจ่ายให้กับผู้ประสบอุทกภัย ณ โคกสมานคุณ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

โดยเมื่อเวลา 10.00 น. สามารถผลิตอาหารกล่องแจกจ่ายแล้วกว่า 2,500 กล่อง และช่วงเย็น จะผลิตอีก 2,500 กล่องให้ได้ตามเป้าวันละ 5,000 กล่อง โดยจะส่งถึงมือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่กระจายทั่วทุกพื้นที่  ซึ่งขณะนี้เราได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรที่ดีเช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ สนับสนุนเนื้อไก่สดรวม  1,300 กิโลกรัม และไข่ไก่รวม 15,000 ฟอง โดยมีคุณจอมกิตติ  ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส และผู้บริหารสูงสุด ด้านบริหารกิจการสัมพันธ์  เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นผู้แทนส่งมอบ นอกจากนี้ยังมี บริษัทสยามอินเตอร์ฟู้ด จำกัด ,บริษัททีพีไอโพลีนจำกัด , บริษัทสมิหลาโคลสโตเรจ จำกัด 

ขณะเดียวกันนายนิพนธ์  บุญญามณี ตัวแทนพันธมิตร เปิดเผยว่า วันนี้เราได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรที่ดีเพิ่มขึ้นทั้งน้ำดื่ม และ บริจาคเป็นจำนวนเงินมา และในวันนี้ก็ได้รับเกียรติจาก คุณจอมกิตติ  ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส และผู้บริหารสูงสุด ด้านบริหารกิจการสัมพันธ์  เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) มามอบไก่สดเพิ่มอีก 300 กิโลกรัม และไข่ไก่อีก 3,000 ฟองด้วยตัวเองและวันนี้เราจะเปิดครัวเพิ่มอีก 1 จุด ในอำเภอเมืองสงขลา หลังจากนั้นก็จะประเมินว่าแจกเป็นถุงยังชีพให้กับชุมชนด้านในที่ได้รับความเดือดร้อนแต่ออกมาไม่ได้ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเป็นวันพรุ่งนี้ (1 ธ.ค.) 

ทั้งนี้ โรงครัววัดโคกสมานคุณจะเปิดทำอาหารกล่องแจกจ่ายวันละ 2 มื้อในเวลา 10.00 น. และเวลา 17.00 น.และจะเปิดโรงครัวเพิ่มอีก 1 จุดในพื้นที่อ.เมืองสงขลาโดยจะเริ่มแจกเป็นมื้อแรกในเย็นวันนี้ (30 พ.ย. 67)  โดยจะดำเนินการไปจนกว่าสถานการณ์

สำหรับภาครัฐบาลยังไม่เห็นอะไรเป็นเรื่องเป็นราว บรรดาคณะรัฐมนตรี ยังคงปักหลักประชุม ครม.สัญจร ภาคเหนือเป็นวันที่ 2 แล้ว อนุทิน ชาญวีระกูล รมว.มหาดไทย กลับบอกว่า น้ำท่วมภาคใต้ ไม่น่าห่วงเท่าภาคเหนือ ภาคใต้กลไกรัฐยังรับมือได้ ทั้งนายอนุทิน และนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.กระทรวงทรัพย์ฯ ลงไปสงขลา เพียงเพื่อไปร่วมงานวันเกิด สมยศ พลายด้วง แห่งพรรคประชาธิปัตย์ คนร่วมงานเป็นหมื่นคน แกงวัว แกงแพะ นับ 50 ตัว ตั้งโต๊ะ 1000 โต๊ะ มีดนตรี 3-4 วง รัฐมนตรีทั้งสองใช้เวลาเพียงน้อยนิดไปเยี่ยมชาวบ้าน ตามที่เดชดิศม์ ขาวทอง รมช.สาธารณสุข วางกำหนดการให้ไปเยี่ยมชาวบ้านย่านควนเนียง ซึ่งน้ำท่วมน้อย จะนะ เทพา สะบ้าย้อย นาทวี ท่วมหนัก แต่ไม่ได้ไปรีบกลับ บินต่อไปประชุม ครม.สัญจรที่เชียงใหม่

‘นายกฯ’ เตรียม!! ลงใต้ 6 ธ.ค. นี้ เพื่อช่วยเหลือชาว ‘สงขลา – ปัตตานี’

(1 ธ.ค. 67) หลังเกิดกระแสดรามาในโซเชียลว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ลงพื้นที่ไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมชายแดนภาคใต้ แต่กลับเดินกับครอบครัวอยู่ที่เชียงใหม่-เชียงราย ซึ่งเป็นช่วงที่มีการประชุม ครม.สัญจร ล่าสุด มีรายงานว่า นายกฯ มีกำหนดการเตรียมลงพื้นที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสงขลา และจังหวัดปัตตานี เพื่อเยี่ยมให้กำลังใจติดตามสถานการณ์น้ำ และเร่งรัดการเยียวยา และฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในสัปดาห์หน้า ซึ่งในวันจันทร์ที่ 2 ธ.ค.จะมีการประชุม ศปช.เพื่อวางกำหนดการ และจุดที่จะลงไปติดตามตรวจเยี่ยม โดยวางไว้เบื้องต้นว่านายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่ในวันศุกร์ที่ 6 ธ.ค.นี้

นายกฯ ได้สั่งการไปยัง นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ ให้ประสานหน่วยงานต่างๆ เพื่อเร่งรัดให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย โดยเฉพาะจุดที่ขาดแคลนเครื่องมือ และได้ประสานกระทรวงกลาโหมให้ทหารเข้าไปช่วยเหลือประชาชน โดยต้องการให้เร่งรัดขั้นตอนการเยียวยาให้เกิดความรวดเร็ว ไม่ให้ประชาชนต้องรอนาน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ตั้งใจจะลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ตั้งแต่เกิดน้ำท่วมในช่วงแรกแล้ว แต่ติดภารกิจการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่วางกำหนดการไว้ก่อนหน้าแล้ว และหากไปในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมหนัก จะเป็นภาระแก่เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปช่วยเหลือประชาชนต้องมาคอยต้อนรับ โดยตลอดช่วงที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วม นายกฯได้ติดตามและสั่งการนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมกองทัพ ลงไปช่วยประชาชนอย่างเต็มที่ ล่าสุดรัฐบาลได้มีการสั่งเบิกงบภัยพิบัติให้กับพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเร่งช่วยเหลือประชาชน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top