Tuesday, 29 April 2025
พระเจ้าตาก

6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ‘พระเจ้าตาก’ รบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น กู้เอกราชสำเร็จหลังเสียกรุงศรีอยุธยา 7 เดือน

วันนี้เมื่อ 255 ปีก่อน เป็นหนึ่งวันสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รบชนะพม่าและฆ่าสุดกี้แม่ทัพพม่าตาย ถือเป็นการกู้เอกราชคืนจากพม่าได้สำเร็จ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 

ภายหลังจาก เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน 2310 เวลาประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

หลังจากนั้น เจ้าตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรเกิดความเกรงกลัวต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดี ภายหลังกลับจากตราดมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผนปฏิบัติการรบเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธและยุทธภัณฑ์ภายในเวลา 3 เดือน พร้อมกับฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ

14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 ‘พระเจ้าตาก’ เปิดยุทธการ ‘ทุบหม้อข้าว’ ก่อนนำทัพบุกยึด ‘เมืองจันทบูร’

วันนี้เมื่อ 256 ปีก่อน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สั่งทุบหม้อข้าวก่อนบุกตีเมืองจันทบูร นับเป็นยุทธการที่ลือลั่นจวบจนถึงทุกวันนี้

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2310 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยกทัพ บุกยึดเมืองจันทบูร โดยก่อนเข้าตีเมือง ได้ปลุกขวัญกำลังใจเหล่าทหารด้วยการ ‘ทุบหม้อข้าว’ หมายจะได้กินข้าวเช้าในเมืองจันทบูร หากตีเอาเมืองไม่ได้ ก็ให้ตายด้วยกันเสียให้หมด ถือว่าเป็นกลศึกที่ปลุกขวัญกำลังใจแก่ทหารกล้าเป็นอย่างมาก และเป็นยุทธวิธีอันลือลั่นมาจนถึงทุกวันนี้

ภายหลังเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน เจ้าตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การยึดเมืองจันทบูรเป็นที่มั่นเพื่อรวบรวมกำลังพลกลับมาสู้ แต่ทว่าเจ้าเมืองจันทบูรไม่ยอมสวามิภักดิ์ เจ้าตากต้องการยึดเมืองจันทบูรไว้เป็นที่มั่นเพื่อรวบรวมกำลังมาตีพม่า จึงสั่งทหารทุกคนว่า

“เราจะตีเมืองจันทบูรในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเสร็จแล้ว ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ ก็จะให้ได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว”

ครั้นถึง วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 เวลา 19.00 น. เจ้าตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยและจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน เมื่อเวลา 03.00 น. เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณพร้อมกับบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน ส่วนเจ้าตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมืองจนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารเจ้าตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบูรก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมืองบันทายมาศ เจ้าตากตีเมืองจันทบูรได้ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

หลังจากนั้น เจ้าตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรเกิดความเกรงกลัวต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดี ที่ปากน้ำเมืองตราดมีเรือสำเภาจีนมาทอดทุ่นอยู่หลายลำ เจ้าตากได้เรียกนายเรือมาพบ แต่พวกจีนนายเรือขัดขืนต่อสู้ เจ้าตากจึงนำกองเรือไปล้อมสำเภาจีนเหล่านั้น ได้ทำการต่อสู้กันอยู่ประมาณครึ่งวันเจ้าตากก็ยึดสำเภาจีนไว้ได้หมด ได้ทรัพย์สินสิ่งของมาเป็นจำนวนมาก

แผนการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา เจ้าตากได้เดินทางกลับจากตราดมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบูร เพื่อวางแผนปฏิบัติการรบเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธและยุทธภัณฑ์ภายในเวลา 3 เดือน พร้อมกับฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ

เมื่อสิ้นฤดูมรสุมในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2310 เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบูรเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี เมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาเข้า ยึดค่ายโพธิ์สามต้นปราบพม่าจนราบคาบ สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 13.00 น. ใช้เวลา 7 เดือนหลังจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยา

ปปร.26 สถาบันพระปกเกล้า บินลัดฟ้าศึกษาเมืองเศรษฐกิจนครซัวเถา-ย้อนรอยต้นตระกูล 'แซ่แต้' ของพระเจ้าตาก

คณะหลักสูตร ประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้ บริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 26 นำโดย…ดร.วิกร ภูวพัชร์ ประธานรุ่น ปปร.26 พร้อมด้วย นายสมชาย ศุภสัญญา กรรมการรุ่น และรองปธ.สภา วัฒนธรรมไทยจีน นำคณะนักศึกษาหลักสูตร ปปร.26 ศึกษาดูงานที่นครซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยเชื้อสายจีนและ สมาคมคนจีนโพ้นทะเลของนครซัวเถา

ทั้งนี้ได้มีผู้แทนจากนครซัวเถา ให้การต้อนรับ และอธิบายถึงประวัตินครซัวเถา หรือซานโถว (汕头) เป็นเมืองท่าชายฝั่งตะวันออกของจีน ตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ในสมัยราชวงศ์ซ้อง นครซัวเถาเคยเป็นเมืองท่าของเมืองถัวเจียง ในปี พ.ศ. 2106 (ค.ศ. 1563) นครซัวเถาเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเฉิงไห่ หรือเถ่งไฮ่ (ภาษาแต้จิ๋ว) ในเมืองเฉาโจวหรือเมืองแต้จิ๋วในปัจจุบัน 

ในอดีตนครซัวเถาเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ เมื่อเริ่มมีการขยายตัวของเมืองและเป็นท่าเรือในการคมนาคม เริ่มมีร้านค้ากิจการต่างๆ จนต่อมาถูกยกระดับฐานะขึ้นเป็นเมืองท่านานาชาติ ในศตวรรษที่ 18 ก่อนจะกลายมาเป็น 1 ใน 4 เมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนในปัจจุบัน

นอกจากศึกษาดูงานที่ทำการนครซัวเถาแล้ว ได้ดูงานที่เมืองแต้จิ๋ว และเยี่ยมชม สุสานพระเจ้าตากสินมหาราช

สำหรับที่เถ่งไฮ่ ซัวเถา เป็นบ้านเกิดบิดาของพระเจ้าตากสินมหาราช คนจีนแต้จิ๋วในยุคนั้น จึงภูมิใจและรักพระเจ้าตากสินดังเช่นคนไทย ชื่อจีนของพระเจ้าตากสินมีชื่อว่า แต่อ๊วง ตระกูลของพระเจ้าตากสินจึงมีแซ่ว่า ”แต้”
ที่เมืองนี้มีหลุมฝังศพของพระเจ้าตากสิน แม้ว่าจะเรียกว่าเป็นหลุมศพ แต่เป็นเพียงที่ฝังเสื้อผ้าของท่านเท่านั้น สุสานแห่งนี้จึงมีความหมายต่อใจของคน ในเถ่งไฮ่ เพราะอุตส่าห์ส่งเสื้อผ้าของท่านข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากไทย เพื่อมาสร้างหลุมศพที่นี่ ก็แสดงให้เห็นว่าคนจีนในไทยให้ความสำคัญกับพระเจ้าตากสินมาก

ดร.วิกร ภูวพัชร์ กล่าวถึงการศึกษาดูงานครั้งนี้ว่า เป็นโอกาสที่คณะนักศึกษาหลักสูตร ปปร.26 ได้ศึกษาประวัติศาสตร์และการเจริญเติบโตวิวัฒนาการของ นครซัวเถา เมื่อครั้งในอดีตเคยเป็นพื้นที่ที่ยากจน อีกทั้งเป็นแหล่งกำเนิดคนไทยเชื้อสายจีน ที่อพยพไปอยู่ในประเทศไทยเมื่อราว 100 ปีก่อน พร้อมทั้งเยี่ยมชมโรงงานผลิตพลาสติกตัวต่อที่ทันสมัยควบคุมด้วยระบบโรบอตและเอไอ ที่ใหญ่ อันดับต้นๆของจีน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top