Monday, 21 April 2025
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

26 ตุลาคม วันครบรอบ 5 ปี พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ 9

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 

โดยวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นวันถวายพระเพลิง คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ และเนื่องในวาระครบรอบ 1 ปี กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร(ศก.) ดำเนินการจัดกิจกรรมรำลึก “พระสถิตในดวงใจตราบนิรันดร์” ในโอกาสครบ 5 ปี พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ต.ค. – 2 พ.ย. 2561 

28 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นวัน ‘พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส’ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วันนี้ เมื่อ 73 ปีก่อน เป็นวันพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (พระยศในขณะนั้น)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง กำหนดให้วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นวันประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อใกล้ถึงเวลาพระฤกษ์ เวลา 09.30 น. หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ทรงนำหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ไปยังวังสระปทุม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ลงนามในสมุดทะเบียนสมรส ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชสักขี 2 คน คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี, พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมลงนามด้วย เช่นเดียวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระราชปิตุลา

เมื่อสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จออก ณ ชั้น 2 ของพระตำหนักแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ฯ ทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียนเครื่องราชสักการะ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์แก่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ตามโบราณราชประเพณี พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และบุคคลที่ได้รับเชิญมาร่วมในพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ ถวายของขวัญ ในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานของที่ระลึกเป็นหีบบุหรี่เงินขนาดเล็ก ประดับอักษรพระนามาภิไธยย่อ ภ.อ. และ ส.ก

วันที่ 30 เมษายน ของทุกปี เป็นวัน ‘คุ้มครองผู้บริโภคไทย’ รำลึกถึงวันตรา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค

30 เมษายน ของทุกปี กำหนดเป็นวันคุ้มครองผู้บริโภค น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ในปี พ.ศ. 2522 

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้เป็น วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2522 ถือได้ว่าผู้ได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้โดยตรง คือประชาชนในฐานะผู้บริโภค

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค 5 ประการ ดังนี้

20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ เปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันนี้เมื่อ 56 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเป็นทางการ และทรงปลูกต้นกาลพฤกษ์ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย 

ในครั้งนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมอบพระบรมราโชวาทเนื่องในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่า

"...การตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้นอีกแห่งหนึ่งนั้น เป็นคุณอย่างยิ่ง เพราะทำให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีแก่การพัฒนา ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นอย่างยิ่ง ความสำเร็จในการตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเป็นความสำเร็จที่ทุกคนควรจะยินดี..."

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอุดมศึกษาสถานแห่งแรก ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม้กำเนิดของมหาวิทยาลัยจะมีแนวความคิดย้อนหลังไปได้ถึงก่อน สงครามโลกครั้งที่สอง แต่การเตรียมการก่อสร้างอย่างจริงจัง กระทำกันในรัฐบาล ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะที่เริ่ม พัฒนาภูมิภาคส่วนนี้ของประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2505 การลงมือก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2507 โดยมีมติจัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเกษตรศาสตร์ขึ้นที่บ้านสีฐาน จังหวัดขอนแก่น และเสนอชื่อสถาบันนี้ว่า มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Khon Kaen Institute of Technology มีชื่อย่อ K.I.T. โดยมีสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ

ต่อมาในปีพ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อ เป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติ ‘มหาวิทยาลัยขอนแก่น’ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาของมหาวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 

มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์รวมทางความคิด สติปัญญาของสังคม และเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภูมิภาค ตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินดินลูกคลื่นสีแดง มีชื่อเรียกว่า 'มอดินแดง' บนพื้นที่ประมาณ 5,500 ไร่ นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และหน่วยงานเทียบเท่าคณะอีกจำนวนมาก

26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ห้วงเวลาแห่งความทรงจำ!! ครบรอบ 7 ปี พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ 9 

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 

โดยวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นวันถวายพระเพลิง ทางคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ประชาชนร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน

20 ธันวาคม 2510 ในหลวง ร.9 เสด็จฯ เปิด ม.ขอนแก่น มหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคอีสาน

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2510 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเป็นทางการ และทรงปลูกต้นกาลพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ในโอกาสนี้ พระองค์ทรงมีพระบรมราโชวาทว่า "...การตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้นอีกแห่งหนึ่งนั้น เป็นคุณอย่างยิ่ง เพราะทำให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก ความสำเร็จในการตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเป็นความสำเร็จที่ทุกคนควรยินดี..."

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถือเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งแรก แม้แนวคิดในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยจะเริ่มขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แต่การเตรียมการจริงจังก็เกิดขึ้นในรัฐบาลพลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อปี พ.ศ. 2505 และเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2507 โดยมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเกษตรศาสตร์ที่บ้านสีฐาน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น 'มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ' หรือ 'Khon Kaen Institute of Technology' (K.I.T.) ภายใต้การดูแลของสภาการศึกษาแห่งชาติ

ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นคือรูปองค์พระธาตุเต็มองค์ประดิษฐานบนขอนไม้แก่น สลักชื่อมหาวิทยาลัย โดยมีเทวดาอัญเชิญมิ่งมงคลสองข้าง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นมงคล ส่วนพื้นหลังแบ่งเป็น 3 ช่อง เพื่อแสดงถึงคุณธรรม 3 ประการ ได้แก่ วิทยา (ความรู้ดี), จริยา (ความประพฤติดี), และปัญญา (ความฉลาดที่เกิดจากการเรียนรู้และคิด)

การเลือกพระธาตุพนมเป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น เป็นการแสดงถึงการเคารพในพระธาตุพนม ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญของชาวไทยและลาว และมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางทางความคิดและสติปัญญาของสังคม รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น 'มหาวิทยาลัยขอนแก่น' และในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 พระราชบัญญัติการก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510

มหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 5,500 ไร่ บริเวณมอดินแดง ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินดินลูกคลื่นสีแดง โดยมีโรงพยาบาลศรีนครินทร์และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ให้บริการการศึกษาครบครันทุกสาขาวิชาและการดูแลทางการแพทย์ที่ทันสมัยในภาคอีสาน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top