
เริ่มจากร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดที่เข้าสู่รัฐสภา เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างส.ส. และส.ว. ได้เสนอมาตอนนั้นในร่างมาตรา 29 มันไม่มีคำว่า 'กัญชา' อยู่ตั้งแต่ร่างมาแล้ว ทั้งๆ ที่กัญชาประเภท 5 เป็นยาเสพติดที่ถูกให้ความสำคัญมาตลอด ในพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ
ต่อมารัฐสภาได้ทำการพิจารณาร่างประมวลกฎหมาย ยาเสพติด ซึ่งเสนอโดยรัฐบาล
ในมาตรา 29 ประเภท 5 มันไม่มีคำว่า 'กัญชา' อยู่ ซึ่งมีคำว่าพืชฝิ่น กับเห็ดขี้ควาย 2 อย่างเท่านั้น ซึ่งเมื่อก่อนตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษปี 2522 ประเภท 5 มันมีคำว่ากัญชา ยาฝิ่น กระท่อม แล้วก็ถอดกระท่อมออกเหลือ 2 อย่าง
นายศุภชัย ใจสมุทร เฝ้าเกาะติด มาตรา 29 มาตลอด มีคนเสนอว่า ควรจะต้องมีคำว่ากัญชาด้วยไหม ในการประชุม นายศุภชัย ใจสมุทร เข้าร่วมประชุมด้วย บอกว่า ไม่ มันไม่มาตั้งแต่แรก นายศุภชัยเป็นรองประธาน ในเวลานั้น บอกว่าไม่ต้องมีคำว่ากัญชา นี่คือที่มาทั้งหมด
>>พฤศจิกายน 2564
-รัฐสภาทำการพิจารณาแล้วเสร็จ จึงมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ มีผลบังคับใช้หลังจากนั้นอีก 30 วัน
>>8 ธันวาคม 2564
-จุดเริ่มต้นของการปลดล็อกกัญชา
-ประมวลกฎหมายยาเสพติด มีผลใช้บังคับ โดยการลงมติเห็นชอบ พร้อมทั้ง ส.ส. สว. ทั้งฝ่ายค้าน ทั้งฝ่ายรัฐบาล ดังนั้นกัญชาไม่ได้เป็นยาเสพติดนับตั้งแต่วันที่ 8/12/2564 จนถึงปัจจุบัน
>>มกราคม 2565
-คณะกรรมการ ป.ป.ส.ได้มีการจัดประชุม คือตามกฎหมายมาตรา 29 กำหนดว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบเรื่องนี้ ให้ประกาศระบุประเภทของยาเสพติดแต่ละประเภท
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอต่อที่ประชุม คณะกรรมการป.ป.ส. ว่าสิ่งที่เป็นยาเสพติด คือ 1 คือ พืชฝิ่น 2 คือเห็ดขี้ควาย 3 คือสารสกัดจากกัญชา มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (tetrahydrocannabinol – THC) เกิน 0.2 % ที่ยังเป็นยาเสพติด
-พรรคภูมิใจไทย ขอให้มีการประกาศบังคับใช้ โดยมีการนับไปอีก 120 วัน ก็คือวันที่ 8 มิถุนายน 2565
-นายศุภชัย เสนอ จะต้องมีกฎหมายพ.ร.บ. กัญชา กัญชง มาอีกฉบับหนึ่ง
-ที่ประชุมมอบให้พรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีฉบับร่างอยู่แล้ว นำฉบับร่างพ.ร.บของพรรคภูมิใจไทย ที่เกี่ยวกับการทำเรื่องกัญชาเสรีทางการแพทย์นั้นมายื่น เพื่อให้ทันภายใน 120 วัน โดย อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้ไปยื่นต่อ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาเองโดยตรง
-นายชวน หลีกภัย ประธานสภา พิจารณาบรรจุเข้ามาเป็นร่างพระราชบัญญัติต่อไปได้ และนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติรับรองให้ทันทีทันใด
>>9 มิถุนายน 2565
-วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา 25 คน และทำการพิจารณากันจนแล้วเสร็จ ผ่านไป 19 วันมีการประชุมรัฐสภาอีกครั้ง ปรากฏว่า มีการเสนอเข้าที่ประชุมแล้ว การเปิดเสรีกัญชานั้นได้ถูกตีตก จากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไทย พลังประชารัฐ ก้าวไกล และพรรคประชาชาติ ไม่ยอมให้กฎหมายผ่านมติการประชุม
-พ.ร.บ.กัญชา กัญชง เข้าสู่วาระที่ 2 มีส.ส.จากพรรค ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย ก้าวไกล ประชาชาติ ยืนยันจะเอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติด จน ณวันนี้สภาปิด พ.ร.บ.กัญชา ก็ค้างในสภา พรรคภูมิใจไทย เดินหน้าต่อ เพื่อจะทำกัญชาทางการแพทย์ตั้งแต่หาเสียง และเศรษฐกิจ จะไม่เอานันทนาการ พรรคภูมิใจไทย จะเอากัญชาทางการแพทย์เท่านั้น แต่โดนบิดเบือนจากพรรคการเมืองตรงข้ามพรรคภูมิใจไทย
>>10 มิถุนายน 2565
-อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมวิชาการ “มหกรรมกัญชา 360 องศา ปลดล็อกกัญชา ประชาชนได้อะไร” พร้อมแจกต้นกล้ากัญชา 1 พันต้น ณ จังหวัดบุรีรัมย์
>>16 มิถุนายน 2565
-กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ สธ. มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มิ.ย 2565 เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4, 44, 45(3), 45(4) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 กำหนดให้กัญชา หรือสารสกัดกัญชา เป็นสมุนไพรควบคุม
>>18 มิถุนายน 2565
-อนุทิน ชาญวีรกูล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย แจง ประกาศ สธ. กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม มีผลตามกฎหมายแล้ว
การขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กว่า 1 ปี ในช่วงแรกเน้นให้ประชาชนเข้าถึงยากัญชาทางการแพทย์ ที่ได้มาตรฐานจากสถานพยาบาลใกล้บ้านกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ