Tuesday, 22 April 2025
ประเสริฐจันทรรวงทอง

‘เพื่อไทย’ ซัด 8 ปี รัฐบาลประยุทธ์ล้มเหลว ทำการเมืองพัง - ศก.เหลว - ไร้คำตอบส่วนต่างวัคซีน

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย อภิปรายถึงปัญหาการบริหารราชการแผ่นดินและการปฏิรูปประเทศว่า 8 ปีที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์บริหารประเทศล้มเหลว สร้างวิกฤตการเมือง นำพาแต่หายนะทางเศรษฐกิจ จนประชาชนเดือดร้อนกันถ้วนหน้า พร้อมตั้งคำถาม ‘ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่พลเอกประยุทธ์จะลาออก-ยุบสภาคืนอำนาจให้แก่ประชาชน?’

>> เศรษฐกิจพัง ประชาธิปไตยหาย: ขโมยอำนาจไป แต่บริหารบ้านเมืองไม่เป็น 
จากการที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารบ้านเมืองด้วยอำนาจจากปลายกระบอกปืน ก่อนจะประกอบร่างสร้างอำนาจตนเองด้วยการออกแบบรัฐธรรมนูญ 2560 จนนำมาสู่การสั่งสมอำนาจ ผ่านสมาชิกวุฒิสภาและองค์กรอิสระได้สำเร็จนั้น สะท้อนได้ว่ารัฐธรรมนูญไทยปัจจุบันนั้นกำลังขัดแย้งกับประชาธิปไตยสากลอย่างชัดเจน 

นั่นจึงหมายความว่า ประชาชนคนไทยต้องทุกข์ทนกับวิกฤตการเมืองมาตลอดตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศบ้านเมือง โดยประเสริฐระบุว่า “ในยุครัฐธรรมนูญ 2560 ของพลเอกประยุทธ์ถือเป็นครั้งแรกที่พรรคการเมืองทำสัญญากับประชาชนผ่านนโยบายหาเสียง แต่เมื่อได้อำนาจแล้วกลับไม่ทำตามสัญญา ไม่ว่าจะเป็น สัญญาให้ค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาท, เด็กจบใหม่ ป.ตรี ขั้นต่ำ 20,000 บาท อาชีวะ ขั้นต่ำ 18,000 บาท หรือ ลดภาษีให้กับบุคคลธรรมดา 10%” 

8 ปีที่ผ่านมา การบริหารเศรษฐกิจของประเทศก็มีแต่ตกต่ำและถดถอยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วงวิกฤตโควิด-19 ขณะที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์มุ่งทำคือ มีแต่ก่อหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหนี้สาธารณะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ยอดหนี้สาธารณะก็ใกล้ชนกับเพดานที่กำหนดไว้ ดังนั้น วิธีแก้ของพลเอกประยุทธ์จึงเป็นการขยายสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีให้สูงขึ้นแทน ซึ่งผลที่ตามมาคือ หนี้ครัวเรือนและหนี้ต่อหัวของประชากรสูงขึ้นตามไปด้วย 

โดยเฉพาะสัดส่วนความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจน โดยตัวเลขจากกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ระบุว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งสูงที่สุดในโลก กล่าวคือคนรวยเพียง 10% ถือครองทรัพย์สินมากถึง 77% 

“ตั้งแต่ที่ท่านเข้ามาบริหารประเทศเศรษฐกิจของประเทศก็ทรุดต่ำลงเรื่อยๆ ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนคนรวยสูงขึ้นโดยลำดับ กลุ่มทุนขนาดใหญ่นับวันจะรวยขึ้น แต่ประชาชนระดับฐานรากกลับจนลงทุกวัน เมื่อมาเจอปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ยิ่งทำให้เศรษฐกิจดิ่งเหวลงไปอีก ท่านไม่มีมาตรการหรือวิธีการใด ที่จะกอบกู้ระบบเศรษฐกิจให้กลับคืนมาได้เลย เพราะต้นตอของปัญหาของเรื่องนี้คือ การเอาผู้นำทหารที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจมาเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ” ประเสริฐกล่าว

‘พท.’ แซะ!! มอเตอร์เวย์ ‘บางปะอิน-โคราช’ ล่าช้า โว!! ถ้าได้เป็นรัฐบาล สร้างเสร็จภายใน 6 เดือน

(9 ก.พ. 66) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย และ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า การทำงานในสภาฯ ในปัจจุบันไปต่อไม่ได้แล้ว สภาฯ ล่มทุกสัปดาห์ แสดงให้เห็นว่าพรรครัฐบาล โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่เคยให้ความสำคัญกับการประชุมสภาฯ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้มาจากการเป็น ส.ส. จึงไม่รับรู้ความเดือดร้อนของประชาชน จะมาร่วมประชุมสภาฯ ก็ต่อเมื่อรัฐบาลหรือตัวเองได้ประโยชน์ หากเป็นความเดือดร้อนของประชาชนจะไม่ให้ความสำคัญ ดูได้จากการตอบกระทู้หรือการชี้แจงในสภาฯ จะให้รัฐมนตรีคนอื่นมาตอบแทน ปัจจุบันไม่มีรัฐมนตรีมาตอบกระทู้แล้ว เพราะเป็นช่วงปลายรัฐบาล รัฐมนตรีจึงให้ความสำคัญกับการย้ายพรรค เปลี่ยนขั้วการเมือง หรือ ลงพื้นที่หาเสียงมากกว่าการแก้ปัญหาให้ประชาชน

นายประเสริฐกล่าวว่า พรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญกับ การประชุมสภาฯ มาตลอด เนื่องมาจากรัฐธรรมนูญบังคับให้ นำปัญหาของพี่น้องประชาชนต้องมาพูดคุยในที่ประชุมสภาฯ เพื่อให้รัฐบาลรับไปแก้ไข ดังนั้นการประชุมสภาฯ จึงมีความสำคัญหรือแม้แต่การพิจารณา กฎหมายสำคัญ ที่เป็นประโยชน์กับประชาชน รัฐบาลยังไม่ให้ความร่วมมือ แล้วอย่างนี้จะไปต่อได้อย่างไร หากเป็นรัฐบาลอื่นคงยุบสภาฯ ไปแล้ว

“พรรคเพื่อไทย หลังจากเปิดตัวผู้สมัครครบทั้ง 400 เขตเลือกตั้ง เดือนมีนาคมเป็นต้นไป พรรคเตรียมจัดทัพใหญ่เดินสายปราศรัย เพื่อพูดเรื่องนโยบายของพรรคกับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ พรรคมีความพร้อมมากในการเลือกตั้งที่จะมาถึง มั่นใจว่าจะสามารถแลนสไลด์ได้ทั้งประเทศอย่างแน่นอน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับประชาชน ขอยืนยันว่า จนถึงเวลานี้ พรรคเพื่อไทยไม่มีการดีลกับพรรคการเมืองอื่นอย่างแน่นอน ทุกอย่าง จะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งหากประชาชนให้โอกาส พรรคพร้อมที่จะพลิกโฉมประเทศไทยอย่างแน่นอน” นายประเสริฐ กล่าว

‘รมว.ดีอีเอส’ เล็งดัน ‘Digital Nomad Visa’ ขับเคลื่อนศก. หวังดึงดูดกลุ่มแรงงาน ขยายการรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัล

(17 ก.ย. 66) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผย หลังการลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับประชาชน ร่วมกับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยได้รับข้อมูลจากคนในท้องถิ่นว่า ปัจจุบันมีกลุ่มบุคคลที่หาเลี้ยงชีพด้วยธุรกิจออนไลน์ (Digital Nomad) ที่ทำงานในจังหวัดเชียงใหม่มากกว่า 5-6 พันคน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่จำนวนมาก จึงขอให้นายกรัฐมนตรี สนับสนุนให้มีการขยายตัวกลุ่ม Digital Nomad เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและสร้างแรงจูงใจในการเข้ามาทำงาน ซึ่งทางนายกรัฐมนตรีได้รับปากว่าจะรีบพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว

นายประเสริฐ กล่าวว่า Digital Nomad Visa จะเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจ และสามารถขยายผล ในวงกว้างให้กับจังหวัดอื่น ๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยทางดีอีเอสจะเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบาย Digital Nomad หรือ ‘Remote Worker’ โดยเฉพาะด้านดิจิทัลเทคโนโลยี ในการดึงดูดแรงงานขั้นสูง และกำลังคนดิจิทัลสาขาขาดแคลน

“ทั้งนี้ จะทำการดึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Top 600 ระดับโลกก่อน และเชื่อว่ามาตรการนี้ จะส่งผลประโยชน์กับทางจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทยโดยรวมอย่างแน่นอน” รมว.ดีอีเอส กล่าว

‘ประเสริฐ’ คุมเข้มข้อมูลรั่วไหล เผย ‘สคส.’ สั่งปรับเอกชน ‘7 ล้าน’ ปล่อยข้อมูลส่วนตัวประชาชนหลุดถึงมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์

วันที่ 21 สิงหาคม 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) แถลงความคืบหน้าการป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อมูลรั่วไหลภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไปกระทำความผิดกฎหมายที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) กระทรวงดีอีว่า คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ คณะที่ 2 ที่รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและอื่นๆ ได้มีคำสั่งปรับบริษัทเอกชนรายใหญ่ของประเทศที่มีการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ที่ปล่อยให้ข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากรั่วไหลไปยังแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยไม่มีมาตรการควบคุมดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามที่ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด รวมถึงบริษัทดังกล่าวไม่มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) และละเลยไม่แจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่รั่วไหลให้แก่สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทราบภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด  โดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ คณะที่ 2 ได้มีคำสั่งลงโทษปรับทางการปกครองบริษัทดังกล่าวในอัตราสูงสุดรวมจำนวนทั้งสิ้น 7 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) บริษัทที่ถูกร้องเรียนได้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าจำนวนมากกว่า 1 แสนราย  และใช้ข้อมูลดังกล่าวในการประกอบธุรกิจหลักของบริษัท แต่กลับไม่มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่กฎหมายกำหนด จึงทำให้เมื่อเกิดข้อมูลรั่วไหล บริษัทดังกล่าวไม่สามารถเยียวยาแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งเป็นกรณีดำเนินการที่ขัดต่อมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

2) ผู้ถูกร้องเรียนดังกล่าวไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด ทำให้ข้อมูลรั่วไหลจากบริษัทดังกล่าวไปยังกลุ่มมิจฉาชีพคือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อมาตรา 37(1) แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

3) เมื่อเกิดเหตุข้อร้องเรียนจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการแก้ไข และแจ้งเหตุให้สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลล่าช้า ทำให้ไม่สามารถเยียวยาได้ อันเป็นความผิดตามมาตรา    37 (4) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

นายประเสริฐ กล่าวว่า นอกจากนี้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ คณะที่ 2 ยังมีคำสั่งให้บริษัทผู้ถูกร้องเรียนปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยที่ป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลอีก รวมทั้งได้มีคำสั่งกำชับให้บริษัทผู้ถูกร้องเรียนดำเนินการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมถึงเพิ่มเติมมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ทันสมัย กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงมาตรการแก้ไขดังกล่าวภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับคำสั่ง

“คำสั่งลงโทษปรับทางการปกครองดังกล่าว เป็นคำสั่งลงโทษปรับทางการปกครองฉบับแรกกับบริษัท เอกชนรายใหญ่ โดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ คณะที่ 2 ตั้งแต่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปหรือ GDPR” นายประเสริฐ กล่าวย้ำ 

นายประเสริฐ กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง DE ได้แถลงเพิ่มเติมว่าคำสั่งปรับดังกล่าวต้องการคุ้มครองประชาชนจากปัญหากรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์และข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลที่เป็นปัญหาหลักของประเทศในตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา รวมถึงเป็นการแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชนที่มีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ให้ต้องดำเนินการแจ้งสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด โดยคำสั่งปรับทางการปกครองฉบับนี้จะใช้เป็นมาตรฐาน และบรรทัดฐานในการพิจารณาเรื่องข้อมูลรั่วไหลในภาครัฐ และภาคเอกชน ที่มีการร้องเรียนเข้าที่สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่อไป และผลจากการปรับครั้งนี้จะทำให้ภาครัฐและภาคเอกชนตื่นตัวในเรื่องการเคร่งครัดและปฎิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ให้มากขึ้น รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการในการป้องปรามอาชญากรรมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เกิดขึ้น จากการนำเอาข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนที่มีอยู่มากในปัจจุบันไปใช้โดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้มาตรการดังกล่าวยังช่วยในการเยียวยาบรรเทาความเสียหายให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลจากเหตุดังกล่าวข้างต้น และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทางออนไลน์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มากขึ้น

‘รองนายกฯ ประเสริฐ’ เปิดเวทีรับฟังความเห็นร่าง ‘นวัตกรรมการลดอุบัติเหตุ’ เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมเพื่อความปลอดภัย สร้างระบบป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน 

(16 ต.ค.67) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในการเปิดเวที Kick Off ชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นร่าง ‘นวัตกรรมการลดอุบัติเหตุ’ ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการศึกษาแนวทางความปลอดภัย ป้องกัน และลดอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างยั่งยืน (คศป.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุทาง ถนนแบบองค์รวม และกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องขับเคลื่อน อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในช่วงปกติและเทศกาลสำคัญ จากเหตุการณ์ของคณะครูและนักเรียนที่เดินทาง มาทัศนศึกษาจากจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็รู้สึกเสียใจทั้งในฐานะผู้นำประเทศ ไม่ต่างจากทุกคนที่เห็นภาพข่าวในวันนั้น

นายประเสริฐ กล่าวว่า การศึกษาแนวทางและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยเป็นวาระร่วมของประเทศในขณะนี้ สังคมจับตามองควรมีการกำหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์ แนวทางการแก้ไขปัญหา และมาตรฐานความปลอดภัย โดยกำหนดให้มีโครงสร้างการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อบูรณาการจัดทำแผนสนับสนุนการ จัดอบรมให้ความรู้รวมถึงด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยมีโครงสร้างการที่เน้นการมีส่วนร่วมของ หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ ผู้ประกอบการ เป็นต้น 

นายประเสริฐ กล่าวว่า นอกจากนี้ควรส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านความปลอดภัยเชิงป้องกันในการเดินทาง และเสริมสร้างให้เกิดระบบบริหารจัดการถนน อัจฉริยะที่เป็นต้นแบบ และเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ พร้อมทั้งพัฒนาให้เกิดระบบฐานข้อมูล เชื่อมต่อการ บูรณาการบนระบบฐานข้อมูล และตรวจสอบสมรรถนะ คน ยานพาหนะ และกฎหมายจราจร ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงควรบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญและเอาจริงเอาจังเรื่องความปลอดภัยสูงสุดทุกรูปแบบ ประการสุดท้าย หากคณะกรรมการชุดนี้ได้สรุปและรวบรวมข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น จนเกิดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเรียบร้อย แล้วกระผมในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาและมีข้อสั่งการต่อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปสู่ปฏิบัติต่อไป 

การจัดเวทีแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ , นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข , ดร.วัลลภ สุวรรณดี ประธานอนุกรรมการด้านวิชาการฯ , นายสมชาย สุดเสนาะ ประธานอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบปฏิบัติการฯ , อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร, อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , สภาเด็กและเยาวชน , ผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะ , ผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้าง , พนักงานรับส่งผ่านแอพพลิเคชั่น , คณะกรรมการศึกษาแนวทางการส่งเสริมความปลอดภัย ป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างยั่งยืน พร้อมหน่วยงาน องค์กร และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวนกว่า 700 คน โดยจะมีการสรุปผลเพื่อ จัดทำร่าง ‘นวัตกรรมการลดอุบัติเหตุ’ ฉบับสมบูรณ์ต่อไป

‘รองนายกฯประเสริฐ’ ชี้ AI เครื่องมือสำคัญขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเติบโต ปลุกทุกฝ่ายร่วมกันยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศ 

เมื่อวานนี้ (25 ต.ค.67) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานในพิธีเปิดและปาฐกถาพิเศษ 'แนวรบประเทศไทยยุค AI 'New Business to New Economy' วิสัยทัศน์จากผู้นำองค์กรชั้นนำ' ในงานสัมมนาเชิงกลยุทธ์ Battle Strategy 'เศรษฐกิจยุค AI โอกาสของไทยและความเสี่ยง The AI Economy: Opportunity and Threat for Thailand' ซึ่งจัดโดยบริษัท เอสซีบี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน)  หรือ เอสซีบี เอกซ์ (SCBX) และพันธมิตรชั้นนำว่า  งานสัมมนานี้เป็นเวทีสำคัญยิ่งในการระดมสมองจากผู้นำหลากหลายภาคส่วน เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางและวางรากฐานอันมั่นคงให้กับประเทศไทย  ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งยวดต่อเศรษฐกิจและสังคมโลก  โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่  เทคโนโลยี AI ได้เข้ามา Disrupt  ทุกอุตสาหกรรม  ธุรกิจ  และวิถีชีวิตของผู้คน  การปรับตัวให้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง

"AI กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 ภาคส่วนหลัก  ได้แก่ ภาคการผลิต การนำ AI มาประยุกต์ใช้ในภาคการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ลดต้นทุน และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ภาคการดูแลสุขภาพ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งนำมาซึ่งความท้าทายด้านการดูแลสุขภาพ AI จะมีบทบาทสำคัญในการยกระดับระบบการดูแลสุขภาพของประเทศ  ด้วยเทคโนโลยีการวินิจฉัยโรคด้วย AI การแพทย์ทางไกล และการรักษาแบบเฉพาะบุคคล  ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ แม่นยำ และรวดเร็ว ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และภาคการเกษตร  ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม  มีประชากรจำนวนมากประกอบอาชีพเกษตรกร  AI จะเข้ามาช่วยพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศ  เพิ่มผลผลิต  และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร  ด้วยเทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำ  การตรวจสอบพืชผลด้วย AI  และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน" นายประเสริฐ กล่าว 

ด้านนายชาญชัย สงวนวงศ์ ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นธุรกิจ ระบุว่า การจัดเวทีสัมมนานี้ ถือเป็นการจัดขึ้นเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุมมองด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในปีนี้ประเทศไทยและทั่วโลกเผชิญกับความท้าทาย เกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของโลกอย่างรวดเร็ว และกำลังกลายเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม การเงินการลงทุน การแพทย์สาธารณสุข หรือแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวัน AI ได้เริ่มเข้ามามีบทบาท และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ยกระดับความสะดวกสบาย และสร้างสรรค์นวัตกรรมล้ำสมัยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

สำหรับประเทศไทย การมาถึงของยุค AI นับเป็นทั้งโอกาสอันมหาศาลและความท้าทายที่ต้องเตรียมพร้อมรับมือ โอกาสในการนำ AI มาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ และแก้ไขปัญหาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัวให้เท่าทันต่อวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

ขณะที่ นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน)  ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ขององค์กรในประเด็น ‘AI-first Organization’  โดยมองว่า ในยุคปัจจุบัน AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกองค์กร ไม่เว้นแม้แต่ ‘สถานบันการเงิน’ ใช้ AI ในหลายด้านทั้งการทำความเข้าใจ การวิเคระห์ความสามารถในการขอสินเชื่อของลูกค้า และเมื่อเทคโนโลยีมาถึงจุดที่พัฒนาขีดความสามารถ SCBx ก็มีการนำมาใช้ในหลากหลายด้าน อาทิ การให้ AI เข้าไปตรวจบัญชีตามสามารถ ก็ทำให้ลดต้นทุนขององค์กร ทั้งในเรื่องของบุคลากร และเวลาในการทำงาน อีกทั้งมีความแม่นยำ และรวดเร็วมากขึ้น 

ส่วนการพัฒนาบุคลากรที่ถูก AI เข้ามา Disrupt  ในระบบการทำงาน  SCBx ได้ให้พัฒนากว่า 20,000 คนได้เรียนรู้การใช้ AI ในการทำงานภายในองค์กร ภายใต้แนวคิดที่ว่า ‘ทุกคนมีโอกาสที่จะอยู่กับ AI แทนที่จะกลัวและซ่อนงานไว้ ไม่เช่นนั้นงานขององค์กรก็ขยับไม่’

นอกจากนี้ กิจกรรมภายในงาน ยังสัมภาษณ์พิเศษ ผู้บริหารระดับสูงจาก Google Cloud ประเทศไทย และ Microsoft (ประเทศไทย) ร่วมเสวนาในหัวข้อ ‘AI Cloud: The Key to Unlocking Future Achievements’ และ ‘ความพร้อมของธุรกิจไทยกับ AI Opportunity’ เพื่อเปิดมุมมองของบริษัทไอทีชั้นนำของโลกถึงศักยภาพของเทคโนโลยีคลาวด์ AI และโอกาสของธุรกิจไทย

รวมถึงมุมมองจาก นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม บรรยายพิเศษในหัวข้อ ‘Intelligent Economics: Leveraging AI Amid Climate Challenges’ ซึ่งนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ AI ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน ‘คาร์บอนเครดิต’

'รองนายกฯ ประเสริฐ' รับหนังสือสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า วอนรัฐบาลแก้ไขแก้กฎหมาย ลดความขัดแย้ง รัฐ-ประชาชน ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

(29 พ.ย.67) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วยนายทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และผู้เกี่ยวข้อง ได้เดินทางมารับฟังข้อเรียกร้องของกลุ่มสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า ซึ่งรวมตัวชุมนุมกว่าหลายพันคน บริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

นายประเสริฐ ยืนยันการรับทราบปัญหาและรับหลักการของสมัชชาคนอยู่กับป่าและพี่น้องประชาชน เพื่อนำเรียนต่อนายกรัฐมนตรี และจะนำสู่กระบวนการขั้นตอนการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมต่อไป ภายใต้บังคับกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการดำเนินการตามบันทึกนี้ จึงได้ลงนามบัณทึกไว้

โดยการประชุม ครม.สัญจรครั้งนี้นอกจากจะมุ่งเน้นการพัฒนาภาคเหนือแล้ว ยังเป็นเวทีสำคัญในการรับฟังปัญหาจากประชาชนโดยตรง โดยข้อเรียกร้องจากกลุ่มสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้ยื่นหนังสือร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) โครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562  พ.ศ. 2567 และร่าง พ.ร.ฎ.โครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 รวม 2 ฉบับ จะส่งผลกระทบกับประชาชนที่มีที่ทำกินและอยู่อาศัยในพื้นที่อนุรักษ์ จำนวน 462,444 ครัวเรือน หรือ 1,849,792 คน และจะส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างรัฐกับชุมชนคนอยู่ในป่ามากยิ่งขึ้น

สำหรับข้อเสนอของสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่าที่ยื่นต่อรัฐบาลมี 4 ประการ ดังนี้ 1.ขอให้ยุติการนำ พ.ร.ฎ.โครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ในอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.ฎ.โครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามมาตรา 121 แห่งพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ไปประกาศใช้กับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ จนกว่าจะมีการปรับแก้กฎหมาย 

2.ขอให้รัฐบาลจัดตั้งกลไกในรูปแบบที่เป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงานจัดเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 เป็นรายอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทุกๆ พื้นที่ี เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ ภายในระยะเวลา 60 วัน

3.ขอให้รัฐบาลและคณะรัฐมนตรีจะต้องเร่งเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562  โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทั้งนี้ให้นำเสนอร่างสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรี ภายใน 90 วัน ก่อนเสนอเข้าสภา 

4.ในระหว่างที่มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับ รัฐบาลจะต้องชะลอยับยั้งการเตรียมประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 23 แห่ง จนกว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับแล้วเสร็จ  เว้นแต่ในกรณีที่พื้นที่เตรียมการฯ นั้นดำเนินการกันขอบเขตชุมชน พื้นที่ทำกิน และพื้นที่ป่าชุมชนแล้วเสร็จ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

'ประเสริฐ' ผลักดันโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลคนไทย ลงระดับอำเภอ มุ่งสร้างไทยสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน

เมื่อวานนี้ (12 ธ.ค.67) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครั้งที่ 5/2567 ณ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ โดยมีนางปิยนุช วุฒิสอน รองปลัดกระทรวงดีอี และนายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุม  

นายประเสริฐกล่าวถึงวาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้ว่า คณะกรรมการได้อนุมัติโครงการ 'ส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้เพื่อขับเคลื่อนและยกระดับกำลังคนดิจิทัลระดับอำเภอ' โดยมุ่งเน้นให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่สามารถถ่ายทอดข้อมูลนวัตกรรมดิจิทัลใหม่ ๆ และให้ความช่วยเหลือด้านดิจิทัลแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

โครงการนี้ยังสนับสนุนการสร้างกลไกพัฒนาจังหวัดดิจิทัล (Digital Province) พร้อมยกระดับทุนมนุษย์ (Human Capital) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศ

'Digital GDP' ขยายตัว ร้อยละ 5.7 - 'การส่งออกดิจิทัล' ขยายตัวร้อยละ 17.2 'รองนายกฯ ประเสริฐ' ชี้ผลสำเร็จรัฐบาลให้ความสำคัญ ยกระดับดิจิทัลไทย เผยปี 2567 เศรษฐกิจดิจิทัลช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

(13 ธ.ค.67) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวระหว่างร่วมเวทีสัมมนาเพื่อเผยแพร่การดำเนินโครงการ 'Thailand Digital Economy 2024' ว่า ตัวเลขเศรษฐกิจดิจิทัล ปี 2567 นั้นได้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดย Broad Digital GDP (ราคาที่แท้จริง หรือ CVM) ประมาณการว่าขยายตัว 5.7 คิดเป็น  2.2 เท่า ของ GDP โดยรวมที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 (สศช. ประมาณการ) ในด้านการค้าต่างประเทศ คาดว่าการส่งออกสินค้าและบริการดิจิทัล (ราคาที่แท้จริง หรือ CVM) จะขยายตัวร้อยละ 17.2 คิดเป็น 2.8 เท่า ของการส่งออกสินค้าและบริการโดยรวมที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 (สศช. ประมาณการ) 

"รัฐบาลก่อนหน้าและรัฐบาลนายกแพทองธาร รวมทั้งผมเองในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านดิจิทัล รวมทั้งเร่งผลักดันภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ได้มีการส่งเสริมการลงทุนเรื่อง cloud services และ data centers ตลอดจนการลงทุนที่เกี่ยวข้องด้านดิจิทัล เชื่อว่าส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลขยายตัวอย่างดี ในปี 2567 สูงกว่าเศรษฐกิจโดยรวม กว่า 2 เท่าตัว" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี กล่าว

ด้านนายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ คณะกรรมการดีอี ได้สรุปประมาณการเศรษฐกิจดิจิทัลที่สำคัญ ในปี 2567 ดังนี้

1. เศรษฐกิจโดยรวม นั้น Broad Digital GDP (CVM) มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลแบบกว้าง มีมูลค่า 4.44 ล้านล้านบาท มีการขยายตัว ร้อยละ 5.7 จากปี 2566 และคิดเป็นการขยายตัว 2.2 เท่า ของการขยายตัวของ GDP โดยรวมที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประมาณการ) แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโต

2. ด้านการลงทุน โดยการลงทุนด้านดิจิทัลภาคเอกชน (CVM) มีการขยายตัวร้อยละ 2.8 จากปี 2566 ในขณะที่การลงทุนด้านดิจิทัลภาครัฐขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากปี 2566 ปัจจัยสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐ ที่ขยายตัวจากฐานที่ติดลบในปีก่อนหน้า

3. ด้านการบริโภคนั้นการบริโภคภาคเอกชนในอุตสาหกรรมดิจิทัลขยายตัวร้อยละ 5.6 สูงกว่าการขยายตัวของการบริโภคของประเทศที่เท่ากับร้อยละ 4.8 สำหรับการบริโภคภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 11.4 จากการเร่งการใช้จ่ายงบประมาณของประเทศ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สินค้าดิจิทัลเป็นสินค้าที่มีความต้องานบริโภคในระดับสูงทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน

4. ภาคการค้าและบริการในปี 2567 มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการอุตสาหกรรมดิจิทัล ขยายตัวร้อยละ 17.2 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 สอดคล้องกับทิศทางการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 6.1 จากเดิมที่ขยายตัว ร้อยละ 2.1 ในปีที่ผ่านมา ในด้านการนำเข้าสินค้าและบริการดิจิทัลขยายตัวร้อยละ 9.0 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปีที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการนำเข้าสินค้าและบริการของประเทศอุตสาหกรรมดิจิทัล จึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในการสร้างเม็ดเงินจากเงินตราต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยยังคงพึ่งพาสินค้าดิจิทัลทั้งที่เป็นสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นสุดท้าย ตลอดจนสื่อดิจิทัลคอนเทนต์จากต่างประเทศ จึงทำให้เมื่อการส่งออกสินค้าขยายตัวจะมีผลทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

5. ภาคการผลิต ซึ่งในปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศด้านดิจิทัลขยายตัวร้อยละ 5.71 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.75 ตามการขยายตัวของการผลิตในทุกหมวดอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ (+12.64%) และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (+10.00%) ตามลำดับ นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ที่มาของการเติบโต (Source of growth) พบว่า เกือบร้อยละ 80 ของการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศด้านดิจิทัลเป็นผลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (+1.90%) อุตสาหกรรมบริการดิจิทัล (+1.36%) และอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ (+1.27%) ตามลำดับ 

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมหมวดโทรคมนาคมมีผลต่อการเติบโตโดยรวมสูงเกือบ 1 ใน 3 ของการขยายตัวทั้งหมด โดยกิจกรรมการผลิตที่ขยายตัวสูงในปีนี้ ได้แก่ การผลิตเคเบิลเส้นใยนำแสง การขายส่งและการขายปลีกโทรศัพท์ และอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม โดยการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศด้านดิจิทัล (ราคาที่แท้จริง) และที่มาของการเติบโต

นายเวทางค์ กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในปี 2567 ขยายตัวได้ดี และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยการลงทุนและการบริโภคภาครัฐด้านดิจิทัล รวมทั้งการส่งออกสินค้าและบริการดิจิทัล เป็นปัจจัยหลักในการส่งเสริมการเติบโตด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย ในขณะที่การลงทุนด้านดิจิทัลภาคเอกชนยังไม่ขยายตัว และเชื่อว่าในปี 2568 และ 2569 การลงทุนด้านดิจิทัลภาคเอกชน จะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล และเศรษฐกิจโดยรวมอย่างมีนัยยะสำคัญอย่างแน่นอน

'รองนายกฯ ประเสริฐ' เผยผลสำเร็จ เข้าร่วมการประชุม WEF 2025 เดินหน้าเทคโนโลยีแห่งอนาคต ยกระดับเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัลไทย

(24 ม.ค.68) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) 2025 ร่วมกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะ ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในระหว่างวันที่ 20-24 มกราคม 2568 ว่า การประชุม WEF 2025 ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้ธีม 'Collaboration for the Intelligent Age' ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพผ่านการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศในยุคดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้นำทางการเมือง นักธุรกิจชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ และผู้มีวิสัยทัศน์จากทั่วโลกเข้าร่วม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหารือแนวทางการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning), และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ในช่วงวันที่ 21 – 22 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมหารือทวิภาคีกับ H.E. Abdullah AlSwaha รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศของซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ บริษัท Cisco Systems, AstraZeneca, Salesforce, META, Google และ AWS รวมทั้งได้มีการหารือกับ World Bank’s Global Director for Water ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

สำหรับประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีกับบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ (1) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายมิติ , (2) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย , (3) การยกระดับทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ , (4) ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ , (5) การพัฒนาระบบไอทีของหน่วยงานภาครัฐผ่านนโยบาย Cloud First Policy , (6) การส่งเสริมการลงทุนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล , (7) การส่งเสริม digital literacy ของหน่วยงานรัฐและของประชาชน , (8) การพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs ไทย รวมถึงการสนับสนุน digital startups ให้เข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ , (9) การส่งเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ของไทยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต , (10) การพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัล , (11) การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล , (12) แนวทางการทำงานเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ และ (13) มาตรฐานชุมชนและเครื่องมือความปลอดภัยในการใช้งานแพลตฟอร์ม

ขณะที่ในวันที่ 23 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ Meeting of the Jobs Champion ซึ่งเป็นการประชุมเสวนาผู้นำ (Leaders Dialogue Meeting) ที่มีผู้บริหารระดับสูงจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้นำระดับสูงจาก'รองนายกฯ ประเสริฐ' เผยผลสำเร็จ เข้าร่วมการประชุม WEF 2025 เดินหน้าเทคโนโลยีแห่งอนาคต ยกระดับเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัลไทย

วันที่ 24 มกราคม 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) 2025 ร่วมกับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะ ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในระหว่างวันที่ 20-24 มกราคม 2568 ว่า การประชุม WEF 2025 ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้ธีม 'Collaboration for the Intelligent Age' ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพผ่านการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศในยุคดิจิทัลที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้นำทางการเมือง นักธุรกิจชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ และผู้มีวิสัยทัศน์จากทั่วโลกเข้าร่วม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหารือแนวทางการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning), และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ในช่วงวันที่ 21 – 22 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมหารือทวิภาคีกับ H.E. Abdullah AlSwaha รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศของซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ บริษัท Cisco Systems, AstraZeneca, Salesforce, META, Google และ AWS รวมทั้งได้มีการหารือกับ World Bank’s Global Director for Water ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

สำหรับประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีกับบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ (1) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายมิติ , (2) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย , (3) การยกระดับทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ , (4) ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ , (5) การพัฒนาระบบไอทีของหน่วยงานภาครัฐผ่านนโยบาย Cloud First Policy , (6) การส่งเสริมการลงทุนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล , (7) การส่งเสริม digital literacy ของหน่วยงานรัฐและของประชาชน , (8) การพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs ไทย รวมถึงการสนับสนุน digital startups ให้เข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ , (9) การส่งเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ของไทยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต , (10) การพัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัล , (11) การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล , (12) แนวทางการทำงานเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ และ (13) มาตรฐานชุมชนและเครื่องมือความปลอดภัยในการใช้งานแพลตฟอร์ม

ขณะที่ในวันที่ 23 มกราคม 2568 กระทรวงดีอีได้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ Meeting of the Jobs Champion ซึ่งเป็นการประชุมเสวนาผู้นำ (Leaders Dialogue Meeting) ที่มีผู้บริหารระดับสูงจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้นำระดับสูงจากทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคประชาชน เข้าร่วมหารือประเด็นระดับโลกที่สำคัญ โดยมีการรายงานผลการวิจัยใหม่เรื่อง 'อนาคตของงาน' ที่กล่าวถึงผลกระทบของ AI ต่องานและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อทุกคน

นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมสำคัญ 'Thailand Reception' ซึ่งเป็นงานเลี้ยงต้อนรับอาหารกลางวัน ระหว่างผู้นำประเทศต่างๆ และนายกรัฐมนตรีประเทศไทย โดยมีการนำเสนออาหารไทยและการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และการต้อนรับอันอบอุ่นของประเทศไทย ในธีม Nourishing the Future for ALL เน้นเรื่องอาหารและศักยภาพของประเทศไทย โดยนำเสนอวัฒนธรรมและความเป็นไทย ผ่านอาหารไทย เพื่อส่งเสริม Soft Power และศักยภาพของประเทศไทยในฐานะ 'ครัวของโลก'

“สำหรับในวันที่ 24 มกราคม 2568 ผมจะเข้าร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA และการเสวนาของนายกรัฐมนตรี ในหัวข้อ 'Not Losing Sight of Soft Power' ที่จะกล่าวถึงการสร้างแรงกระเพื่อมในวัฒนธรรมสมัยนิยม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับการกระตุ้นโดยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งเข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ Country Strategy Dialogue on Thailand โดยท่านนายกจะกล่าวถึงจุดแข็งของประเทศไทยโดยรวม ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร การใช้เทคโนโลยีด้านเกษตร และการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” นายประเสริฐ กล่าว

ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคประชาชน เข้าร่วมหารือประเด็นระดับโลกที่สำคัญ โดยมีการรายงานผลการวิจัยใหม่เรื่อง 'อนาคตของงาน' ที่กล่าวถึงผลกระทบของ AI ต่องานและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อทุกคน

นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมสำคัญ 'Thailand Reception' ซึ่งเป็นงานเลี้ยงต้อนรับอาหารกลางวัน ระหว่างผู้นำประเทศต่างๆ และนายกรัฐมนตรีประเทศไทย โดยมีการนำเสนออาหารไทยและการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และการต้อนรับอันอบอุ่นของประเทศไทย ในธีม Nourishing the Future for ALL เน้นเรื่องอาหารและศักยภาพของประเทศไทย โดยนำเสนอวัฒนธรรมและความเป็นไทย ผ่านอาหารไทย เพื่อส่งเสริม Soft Power และศักยภาพของประเทศไทยในฐานะ “ครัวของโลก” 

“สำหรับในวันที่ 24 มกราคม 2568 ผมจะเข้าร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA และการเสวนาของนายกรัฐมนตรี ในหัวข้อ 'Not Losing Sight of Soft Power' ที่จะกล่าวถึงการสร้างแรงกระเพื่อมในวัฒนธรรมสมัยนิยม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับการกระตุ้นโดยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งเข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ Country Strategy Dialogue on Thailand โดยท่านนายกจะกล่าวถึงจุดแข็งของประเทศไทยโดยรวม ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร การใช้เทคโนโลยีด้านเกษตร และการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” นายประเสริฐ กล่าว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top