Wednesday, 23 April 2025
ประธานาธิบดีสหรัฐ

ชาวอเมริกันว่าไง?? หากสหรัฐมีประธานาธิบดีชื่อ...  ‘อีลอน มัสก์’

ถ้าจะพูดถึงคนดังในระดับโลก ที่ใครๆ ก็รู้จัก แถมยังมีอิทธิพลในการสร้างกระแสสังคม ที่ส่งผลต่อธุรกิจโลกด้วยแล้ว นาทีนี้ต้องยกให้ ‘อีลอน มัสก์’ ไอรอนแมนแห่งวงการเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนโลกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า ดาวเทียม ยานสำรวจอวกาศ หรือแม้แต่เงินดิจิทัล

แต่ถ้าเกิดอีลอน มัสก์ หันมาสนใจเรื่องงานการเมืองของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขึ้นมาหล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น?

ไอเดียนี้ เริ่มมีการพูดถึงในสังคมโซเชียลของสหรัฐฯ เมื่อเห็น อีลอน มัสก์ กระโดดเข้ามาร่วมวงกระแสสงครามรัสเซีย-ยูเครน กับเขาเหมือนกัน ด้วยการตอบรับคำขอของนาย มิคไคห์โล เฟโดรอฟ รองนายกรัฐมนตรียูเครน ที่ส่งข้อความตรงถึงอีลอน มัสก์ ให้ช่วยส่งดาวเทียม Starlink มาช่วยต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตในยูเครน เนื่องจากตอนนี้ทางรัสเซียได้โจมตีระบบสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศจนติดขัด ยังไม่นับทีมโจมตียังทางไซเบอร์ มาสร้างความปั่นป่วนในระบบเครือข่ายอีก 

ซึ่งอีลอน มัสก์ ก็ตอบตกลงไวเหมือนโกหก รีบส่งดาวเทียม Starlink มาช่วยเชื่อมสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ทันที และเตรียมจะขยายสถานีให้เพิ่มอีกถ้าต้องการ จนชาวเน็ตแซวว่า ยูเครนกล้าขอ อีลอน มัสก์ ก็กล้าให้ แถมจัดให้ไวกว่าโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เสียอีก 

และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรก ที่อีลอน มัสก์ แสดงบทบาท หรือความเห็นเกี่ยวกับการเมือง 

เมื่อไม่นานมานี้ อีลอน มัสก์ เคยสวนกลับทวิตของ โจ ไบเดน ที่ออกมากล่าวชมโรงงานผลิตรถยนต์ Ford ที่ได้ลงทุนขยายฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าถึง 1.1 หมื่นล้านเหรียญ ที่ช่วยสร้างงานให้ชาวอเมริกันทั่วประเทศถึง 10,000 ตำแหน่ง ส่วนทางค่าย GM ก็ทุ่มงบมหาศาลถึง 7 พันล้านเหรียญเพื่อผลิตรถไฟฟ้าเช่นกัน ที่สร้างงานเพิ่มอีก 4,000 ตำแหน่งในรัฐมิชิแกน 
 

'โพลมะกัน' ชี้!! 'แฮร์ริส' ยังเป็นรอง 'ทรัมป์' อยู่หลายขุม เพราะถูกมองเป็นเพียงภาพเงาสะท้อนไบเดน-ไร้บารมี

ข่าวใหญ่ที่สุดของวันนี้ หนีไม่พ้นการยอมสละตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครต ในการชิงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ 2024 ของ 'โจ ไบเดน' และขอส่งไม้ต่อให้กับ 'กมลา แฮร์ริส' รองประธานาธิบดีคู่หูของเขา ขึ้นไปแข่งขันกับ 'โดนัลด์ ทรัมป์' แทน  

ถึงจะเป็นข่าวดังทั่วโลก แต่ไม่ได้สร้างความประหลาดใจเท่าใดนัก หากได้ติดตามข่าวการเดินสายหาเสียง และปฏิบัติภารกิจในฐานะผู้นำสหรัฐฯ ของไบเดน ในปีที่ผ่านมาก็สามารถจับสัญญาณถึงความร่วงโรยสังขารของผู้นำวัย 81 ปีได้ และจากผลงานการดีเบตระหว่างเขา และ โดนัลด์ ทรัมป์ ล่าสุดที่ผ่านมา เป็นการตอกตะปูย้ำอย่างชัดเจนเป็นประจักษ์ว่า ไบเดนควรถอยให้คนรุ่นใหม่จะดีกว่า

โดย โจ ไบเดน ประกาศสนับสนุน กมลา แฮร์ริส ให้ขึ้นมาทำหน้าที่ตัวแทนพรรคเดโมแครตแทนที่เขาอย่างสุดกำลัง เพื่อหวังที่จะดึงคะแนนเสียงทั้งกลุ่มสตรี กลุ่มคนผิวสี กลุ่มชาวเอเชีย หรือแม้แต่กลุ่มผู้สนับสนุนไบเดนเดิม ด้วยการชูประเด็นที่จะสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ด้วยการเลือกประธานาธิบดีหญิงคนแรก และ ประธานาธิบดีผิวสีคนที่ 2 ให้กับสหรัฐฯ

แม้จะได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีในตำแหน่งคนปัจจุบัน แต่ กมลา แฮร์ริส ก็ยังไม่ถือว่าเป็นตัวแทนพรรคอย่างเป็นทางการ จนกว่าจะมีการลงมติโดยผู้แทนในการประชุมใหญ่ของพรรคเดโมแครตในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้เสียก่อน ที่ไม่รู้ว่าจะพลิกโผหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ในวันนี้คือ โพลมาแล้ว 

โดยสำนักโพล Decision Desk HQ (DDHQ) ร่วมกับสำนักข่าวสายการเมือง The Hill ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศ ว่าระหว่าง กมลา แฮร์ริส และ โดนัลด์ ทรัมป์ ใครนำ? ใครตาม? อย่างไร?

จากผลโพลจาก DDHQ ชี้ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ยังนำ กมลา แฮร์ริส ในสัดส่วน 47% ต่อ 45%  ซึ่งแทบไม่ต่างจากผลโพลล่าสุดระหว่างทรัมป์ และ ไบเดน เลย ที่ทรัมป์ ยังนำ ไบเดน ด้วยคะแนน 46% ต่อ 43.5%

นี่เป็นคะแนนสูงสุดที่ กมลา แฮร์ริส ทำได้ในเวลานี้ ที่ยังไม่ประกาศว่าใครจะมาเป็นคู่หูของเธอในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ แต่จากผลสำรวจล่าสุดพบว่า ถ้า โรเบิร์ต เคนเนดี จูเนียร์ กระโดดเข้าร่วมการแข่งขันอีกคนในฐานะผู้สมัครอิสระ จะยิ่งฉุดคะแนนของ กมลา แฮริส และทรัมป์ มีโอกาสนำผู้สมัครของเดโมแครตสูงถึง 6% เลยทีเดียว 

ส่วนโพลด้านคะแนนความนิยมส่วนตัวของกมลา แฮร์ริส ก็ดูยังน่าเป็นห่วง 

จากโพลสำรวจกว่า 102 สำนักพบว่าแฮร์ริสมีคะแนนความนิยมอยู่ที่  37.7% แต่คะแนนความไม่นิยมในตัวเธอกลับสูงกว่าเกือบเท่าตัวที่ 55.5% 

สก็อต แทรนเตอร์ ผู้อำนวยการสำนักโพล DDHQ กล่าวว่า ความนิยมในตัวแฮร์ริสนั้นเป็นเพียงภาพเงาสะท้อนตัวตนของไบเดน ซึ่งไม่เป็นผลดีกับเธอเท่าไหร่ เพราะ โจ ไบเดน ออกจากสนามแข่งด้วยภาพลักษณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก และ กมลา แฮร์ริส ก็ยังไม่มีบารมีเทียบเท่าไบเดน ซึ่งสิ่งที่ผู้ลงคะแนนเสียงอยากจะเห็นคือ เธอมีอะไรสดใหม่มานำเสนอให้กับชาวอเมริกันบ้าง

แต่ก็มีผลสำรวจของบางสำนักที่สนับสนุน กมลา แฮร์ริส ด้วยเช่นกัน อาทิ โพลของ Economist/YouGov ที่ชี้ว่า 8 ใน 10 ของชาวเดโมแครตสนับสนุน แฮร์ริส และมีโอกาสที่จะเอาชนะทรัมป์ได้ ในขณะที่โพลจากสำนักข่าว CBS และ CNN เผยว่า ทั้งไบเดน และ แฮริส ล้วนมีคะแนนตามหลังทรัมป์ แต่ แฮร์ริส มีส่วนต่างของคะแนนที่ตามหลังทรัมป์น้อยกว่าไบเดน และยังมีโอกาสได้เงินสนับสนุนหาเสียงมากกว่าผู้สมัครคนอื่น ๆ ของพรรค 

แต่เมื่อมองมาที่ฟากฝั่งของพรรครีพับลิกัน ต่างมองว่าโดนัลด์ ทรัมป์ ยังมีภาษีเหนือกว่า กมลา แฮร์ริส อยู่มาก และสามารถเอาชนะได้ง่ายกว่าแข่งกับไบเดนเสียอีก  

จุดเสียเปรียบของแฮร์ริส คือ เธอต้องแข่งกับ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ไม่ใช่คนเดิมเมื่อ 4 หรือ 8 ปีก่อน แต่เป็นนักการเมืองที่ผ่านสนามรบมาอย่างหนักหน่วงทั้งนิติสงคราม และ การลอบสังหารอย่างจริงจังมาแล้ว

นอกจากนี้ เธอยังต้องต่อสู้กับค่านิยมการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ และสีผิว ที่ยังฝังรากลึกในสังคมอเมริกัน ในขณะที่เธอมีเวลาเหลือเพียง 4 เดือนสำหรับแคมเปญหาเสียงที่ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ทั้งหมด 

ดังนั้น แฮร์ริส 2024 ไม่ใช่งานง่ายจริง ๆ 

เรื่อง: ยีนส์ อรุณรัตน์

‘นิวยอร์กไทม์’ เผย!! 'ทรัมป์-แฮร์ริส' คะแนนนิยมกินกันไม่ลงก่อนดีเบตรอบใหม่ ภายใต้มุมมองอเมริกันชนที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ 'จุดยืน-นโยบาย' ของ 'แฮร์ริส'

(9 ก.ย. 67) สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้มีการเปิดเผยผลสำรวจของ ‘นิวยอร์กไทม์’ (New York Times/ Siena College) พบว่า ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ผู้สมัครประธานาธิบดีจากพรรคริพับริพัน มีคะแนนนิยมนำ รองประธานาธิบดี ‘กมลา แฮร์ริส’ จากพรรคเดโมแครต 1 แต้ม อยู่ที่ 48% ต่อ 47% ซึ่งเป็นส่วนต่างที่ไม่มีนัยสำคัญภายใต้ค่าความผิดพลาดของโพลซึ่งอยู่ที่บวกลบไม่เกิน 3% นั่นหมายความว่าทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็มีโอกาสมากพอๆ กันที่จะชนะศึกเลือกตั้งในวันที่ 5 พ.ย. 67

แม้แคมเปญหาเสียงของ ทรัมป์ จะซวนเซไปบ้างหลังจากที่ประธานาธิบดี ‘โจ ไบเดน’ ประกาศถอนตัว และส่ง ‘กมลา แฮร์ริส’ ขึ้นมาเป็นผู้ท้าชิงพรรคเดโมแครตแทนเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่ผลสำรวจล่าสุดของหลายสำนักบ่งชี้ตรงกันว่ากลุ่มประชากรที่เป็นฐานเสียงหลักของ ทรัมป์ ยังคงเหนียวแน่นเหมือนเดิม

โพลฉบับนี้ยังพบด้วยว่า ชาวอเมริกันผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางส่วนยังไม่ค่อยเข้าใจจุดยืนและนโยบายต่างๆ ของแฮร์ริสเท่าไหร่นัก ขณะที่ความเข้าใจของพวกเขาต่อทรัมป์ นั้น ‘ชัดเจน’ อยู่แล้ว โดย 28% ยอมรับว่ายังต้องการข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครของเดโมแครตมากกว่านี้ แต่มีเพียง 9% ที่รู้สึกแบบเดียวกันกับทรัมป์

จากตัวเลขที่ออกมาทำให้เห็นได้ว่า ศึกดีเบตนัดแรกระหว่าง ทรัมป์ กับ แฮร์ริส ในวันพรุ่งนี้ (10 ก.ย. 67) อาจจะเป็นอีกหนึ่งจุดพลิกผันที่สำคัญของศึกการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

โดย ‘แฮร์ริส’ จะได้มีโอกาสแจกแจงนโยบายต่างๆ ของเธอให้ชาวอเมริกันเข้าใจมากยิ่งขึ้นระหว่างที่ประชันวิสัยทัศน์กับ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นเวลา 90 นาที และเนื่องจากคะแนนนิยมของทั้งคู่สูสีกันอย่างยิ่ง ศึกดีเบตครั้งนี้จึงอาจสร้างแรงกระเพื่อมอย่างมีนัยสำคัญหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผลงานออกมาได้ดีกว่า

นับตั้งแต่ แฮร์ริส ก้าวเข้ามาถือตั๋วผู้แทนพรรคเดโมแครต เธอก็ตระเวนเดินสายพบปะประชาชนอย่างแข็งขัน แต่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการแสดงวิสัยทัศน์แบบ ‘อ่านบท’ ที่เตรียมเอาไว้แล้ว และยังให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวต่างๆ น้อยมากด้วย

ผลสำรวจครั้งนี้ออกมาคล้ายคลึงกับโพลของ ‘New York Times/ Siena College’ เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ที่พบว่า ทรัมป์ มีคะแนนนำแฮร์ริส อยู่ 1 แต้มเช่นกัน

สำหรับผลโพลใน 7 รัฐสมรภูมิสำคัญที่คาดว่าจะเป็นตัวตัดสินผลเลือกตั้งในวันที่ 5 พ.ย. 67 ก็พบว่าผู้สมัครทั้ง 2 รายยังคงมีคะแนนนิยมตีคู่สูสีกันอย่างมาก

ย้อนมอง GDP สหรัฐฯ ภายใต้ 10 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

ใกล้ถึงกำหนดวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เข้าไปทุกขณะ ซึ่งในครั้งนี้เป็นการแข่งกันระหว่าง ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ จากรีพับลิกัน และ ‘กมลา แฮร์ริส’ จากเดโมแครต ใครจะเป็นฝ่ายได้ชัยชนะอีกไม่กี่วันคงได้รู้กัน แต่วันนี้ลองไปย้อนดูผลงานของอดีตผู้นำสหรัฐฯ 10 คน ก่อนหน้านี้ ว่าเศรษฐกิจแต่ช่วงของสหรัฐฯ นั้นเติบโตหรือถดถอยอย่างไรบ้าง

โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะเลือกตั้ง โกยคะแนนแตะ 270 ผงาดปธน.คนที่ 47

(6 พ.ย. 67) นายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 กำลังจะกลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนต่อไปถัดจากนายโจ ไบเดน โดยผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการระบุว่า นายทรัมป์จากรีพับลิกันชนะเลือกตั้งด้วยคะแนน Electoral College 266 เสียง มีชัยเหนือนางกมลา แฮร์ริส คู่แข่งจากพรรคเดโมแครตที่ได้คะแนน 194

แม้ว่าผลการประกาศคะแนนรัฐสวิสสเตตทั้ง 7 รัฐจะยังไม่ครบ แต่ก็มีโอกาสสูงที่ทรัมป์จะคว้าชัย หลังพรรครีพับลิกันยึดครองรัฐที่เป็นสมรภูมิรบอย่างเพนซิลเวเนีย นอร์ทแคโรไลนา และจอร์เจีย และครองตำแหน่งนำในอีก 4 รัฐ ซึ่งทำให้นางแฮร์ริสโอกาสริบหรี่จะตีคะแนนขึ้นนำได้

นายทรัมป์ได้ขึ้นเวทีที่ศูนย์ประชุมเมืองปาล์มบีช รัฐฟลอริด้า ประกาศชัยชนะเหนือพรรคแดโมแครต ซึ่งถือเป็นการกลับมาอย่างน่าทึ่งทางการเมือง 4 ปีหลังจากที่เขาออกจากทำเนียบขาว

ทรัมป์ได้รับเสียงเชียร์จากผู้สนับสนุนในงานเลี้ยงฉลองการเลือกตั้งที่ Palm Beach Convention Center ในฟลอริดา โดยมีครอบครัวและ JD Vance เพื่อนร่วมทีมของเขาขึ้นเวทีร่วมด้วย

ทรัมป์กล่าวที่ Palm Beach County Convention Center ว่า "ผมกลับมาแล้ว ... อเมริกาได้มอบอำนาจที่ไม่เคยมีมาก่อนและทรงพลังให้กับเรา"

เปิดประวัติ ว่าที่ประธานาธิบดี ‘Donald Trump’ ชีวิตส่วนตัว!! ในมุมที่ไม่มีใครเคยรู้

(9 พ.ย. 67) 10 ข้อเท็จจริงที่ใครอาจจะไม่รู้เกี่ยวกับว่าที่ประธานาธิบดี Donald Trump

1. ชื่อเล่นวัยเด็ก : ในวัยเด็ก โดนัลด์ ทรัมป์ มีชื่อเล่นว่า ‘ดอนนี่; แม้ในปัจจุบันเขาจะไม่ค่อยถูกใครเรียกด้วยชื่อนี้แล้วก็ตาม 

2. ดาวบนฮอลลีวูดวอล์คออฟเฟม : บทบาทของเขาในรายการ The Apprentice และ Celebrity Apprentice ทำให้เขาเป็นที่รู้จักและทำให้ภาพลักษณ์ของเขาที่ดูเป็นนักธุรกิจที่เก่งกาจ จนทำให้ทรัมป์ได้รับดาวบนฮอลลีวูดวอล์คออฟเฟมในปี 2007 จากบทบาทในรายการ แต่ดาวของเขามักถูกทำลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี นอกจากนั้นแล้วทรัมป์เคยปรากฏตัวในภาพยนตร์และรายการทีวีหลายรายการในฐานะตัวเขาเอง การปรากฏตัวที่มีชื่อเสียงของเขารวมถึง Home Alone 2: Lost in New York, The Fresh Prince of Bel-Air, และ Sex and the City อีกด้วย

3. ทรัมป์และเกียรติยศในวงการมวยปล้ำ : ทรัมป์เคยปรากฏตัวใน WWE (เวิลด์เรสลิงเอนเตอร์เทนเมนต์) และขึ้นสังเวียนใน WrestleMania 23 ในปี 2007 เขา ‘ต่อสู้’ กับวินซ์ แม็กมาฮอน ซีอีโอของ WWE ในศึก ‘Battle of the Billionaires’ ซึ่งตัวแทนของทรัมป์เป็นผู้ชนะ ทำให้เขาโกนหัวแม็กมาฮอน

4. ความชอบในอาหารฟาสต์ฟู้ด : แม้จะมีความมั่งคั่ง แต่ทรัมป์กลับชอบรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด เช่น แมคโดนัลด์ เขาเคยบอกว่าเขาไว้ใจในอาหารเหล่านี้ เพราะมาตรฐานความสะอาดและความสม่ำเสมอของแบรนด์

5. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ : ทรัมป์ไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์เลยในชีวิต ซึ่งเป็นการให้เกียรติแก่เฟร็ด ทรัมป์ จูเนียร์ พี่ชายที่ต่อสู้กับการติดแอลกอฮอล์ก่อนที่จะเสียชีวิต

6. จบการศึกษาจากวอร์ตัน : ทรัมป์เรียนที่ Wharton School of Finance ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และจบการศึกษาในสาขาเศรษฐศาสตร์ โดยเขาย้ายไปที่นั่นหลังจากเรียนที่มหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮมเป็นเวลา 2 ปี เพราะ Wharton เป็นที่รู้จักในด้านชื่อเสียงที่แข็งแกร่งในหลักสูตรธุรกิจและการเงิน

7. ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีมายาวนานที่สุด : ทรัมป์เคยคิดจะลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ทศวรรษ 1980 หลังจากที่ใช้เวลาหลายสิบปีในการคิดสุดท้ายเขาลงสมัครอย่างเป็นทางการในปี 2016 และได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 และทรัมป์เคยเปลี่ยนพรรคการเมืองหลายครั้ง เขาเคยเป็นสมาชิกพรรคเดโมแครตในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เข้าร่วมพรรครีฟอร์มในปี 2000 แต่ถอนตัวออกไป และสุดท้ายเปลี่ยนมาอยู่กับพรรครีพับลิกันจนได้ลงสมัครและชนะการเลือกตั้งในปี 2016

8. ประธานาธิบดีคนแรกที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการทหารหรือการเมือง : ทรัมป์ทำลายสถิติด้วยการเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในด้านทหารหรือการเมืองมาก่อน โดยพื้นฐานของเขาคือการเป็นนักธุรกิจและสื่อบันเทิง

9. ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งสองครั้ง : ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งสองครั้ง สภาผู้แทนราษฎรถอดถอนเขาครั้งแรกในปี 2019 และอีกครั้งในปี 2021 ทั้งสองครั้ง แต่วุฒิสภายกฟ้องเขา ทำให้เขาสามารถดำรงตำแหน่งได้จนครบวาระ

10. ความฝันในการเป็นเจ้าของทีมฟุตบอล : ทรัมป์เคยพยายามเป็นเจ้าของทีม NFL โดยเขาเคยลงทุนในลีก USFL (ยูไนเต็ดสเตทฟุตบอลลีก) และหวังจะรวมลีกกับ NFL แต่ลีกดังกล่าวล้มเหลวก่อนที่จะเกิดขึ้น

สส.รีพับลิกัน ผุดไอเดียแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดัน 'ทรัมป์' นั่งประธานาธิบดีสมัยที่ 3

(24 ม.ค.68) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครีพับลิกันได้ยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 23 มกราคม เพื่อให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีในอนาคตสามารถดำรงตำแหน่งได้มากถึง 3 สมัย

ญัตติที่เสนอขึ้นมาเพียงไม่กี่วันหลังจากที่นายทรัมป์เข้ารับตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง โดยนายแอนดี้ โอเกิลส์ สส.พรรครีพับลิกันจากรัฐเทนเนสซี ซึ่งเป็นผู้เสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ได้กล่าวว่า นายทรัมป์ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการฟื้นฟูสหรัฐให้กลับมายิ่งใหญ่และควรได้รับโอกาสอีกครั้งเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ปัจจุบัน มาตราที่ 22 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐกำหนดให้ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกสามารถดำรงตำแหน่งได้สูงสุดเพียง 2 สมัย โดยระบุว่า "ไม่มีบุคคลใดจะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกินกว่า 2 ครั้ง" ในขณะที่การแก้ไขครั้งนี้จะเปลี่ยนเป็น "ไม่มีบุคคลใดจะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกินกว่า 3 ครั้ง"

นอกจากนี้ยังมีการเสนอการแก้ไขเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่เกิน 2 ปีในระหว่างที่บุคคลอื่นดำรงตำแหน่ง ซึ่งจะสามารถลงเลือกตั้งได้อีกเพียงครั้งเดียว

นายโอเกิลส์กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะช่วยให้สหรัฐสามารถรักษาผู้นำที่กล้าหาญไว้ในประเทศได้

มาตราที่ 22 ได้รับการเสนอในปี 2490 และมีการรับรองในปี 2494 เพื่อป้องกันไม่ให้ประธานาธิบดีคนใดดำรงตำแหน่งยาวเกินไป โดยอ้างอิงถึงอดีตประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ ผู้เป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งเกิน 2 สมัย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพรรครีพับลิกันจะมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร แต่จำนวนที่นั่งเพียงแค่ 3 ที่นั่งทำให้การผ่านญัตตินี้ยังมีความยากลำบาก และคาดว่าแนวทางนี้อาจไม่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคเดโมแครต

'บารัค โอบามา' หย่า 'มิเชล โอบามา' จบชีวิตคู่ 33 ปี โยงดาราสาว 'เจนนิเฟอร์ อนิสตัน' มือที่สาม

(24 ม.ค.68) ข่าวลือที่กำลังเป็นกระแสฮอตบนโลกโซเชียลของสหรัฐฯ กล่าวถึงการหย่าร้างของบารัค โอบามา อดีตประธานาธิบดีและมิเชล โอบามา อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง หลังจากที่ทั้งคู่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมา 33 ปี โดยข่าวลือเหล่านี้เริ่มต้นจากคำพูดของ 'เมแกน แมคเคน' นักจัดรายการวิทยุชื่อดังที่ออกมาเปิดเผยว่า ทั้งสองได้แยกกันอยู่และกลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันแล้ว นอกจากนี้ยังมีรายงานจากสื่อหลายแห่ง เช่น เดลิเมลล์ และ The Economic Times ที่เผยแพร่ข่าวว่า มิเชล โอบามา ไม่ได้เข้าร่วมงานพิธีสำคัญสองงานร่วมกับบารัค โอบามา ที่กรุงวอชิงตันดี.ซี. ซึ่งยิ่งทำให้ข่าวลือนี้มีมูลมากขึ้น

ข่าวลือที่ทำให้เรื่องนี้ยิ่งได้รับความสนใจคือการเชื่อมโยงชื่อของ 'เจนนิเฟอร์ อนิสตัน' นักแสดงสาวจากซีรีส์ดัง 'เฟรนดส์' กับบารัค โอบามา หลายแหล่งข่าวกล่าวว่า ทั้งสองกำลังคบหาดูใจกัน แม้ว่าอนิสตันจะออกมาปฏิเสธในรายการ Jimmy Kimmel Live และยืนยันว่าเป็นแค่เพื่อนกัน แต่ข่าวลือดังกล่าวยังคงสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

การคาดเดาเกี่ยวกับสถานะของทั้งสามคนทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นที่สังคมจับตามอง โดยมีการแสดงความเห็นจากนักข่าวชื่อดัง 'มีเกน เคลลี' ที่กล่าวว่า หากข่าวลือนี้เป็นความจริง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการการเมืองของพรรคเดโมแครตอย่างใหญ่หลวง 

ถึงแม้ว่าบารัค โอบามา และมิเชล โอบามาจะไม่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวลือนี้ แต่มีการพบเห็นทั้งสองปรากฏตัวพร้อมกันเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาที่ร้านอาหารในลอสแอนเจลิส ซึ่งยังคงเป็นที่จับตาของสาธารณชนทั่วโลก

‘ครูเดวิด’ ฉะยุคทรัมป์ เศรษฐีครองอเมริกาจะแย่ลง ‘อาจารย์อดัม’ ซัดเดือด!! ไบเดนนั่นแหละห่วย

(25 ม.ค. 68) ภายหลัง นายโดนัลด์ ทรัมป์ เข้าสาบานตนรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา ทั่วโลกก็ต่างจับตาถึงทิศทางการทำงานของทรัมป์โดยเฉพาะในเรื่องความร่วมมือและเศรษฐกิจ

ล่าสุด ครูเดวิด วิลเลี่ยม ติ๊กต็อกเกอร์ดัง ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ไทยมานาน ได้ออกมาเผยแพร่คลิปแสดงความคิดเห็นใจความตอนหนึ่งว่า อีลอน มัสก์ ไม่ได้เป็นคนดี สนใจแต่เงิน เขาไม่สนใจประชาธิปไตย ถามว่ารู้ได้ไง ถ้าคุณดูอย่างทวิตเตอร์จะเปลี่ยนเป็น x ทำไมไม่รู้ แต่ถ้ามีใครมาวิจารณ์เขา เขาจะเอาปิดบัญชีนั้นไปเลย แสดงว่าไม่สนใจเรื่อง Free Speech แล้วคนๆ นี้ที่เป็นเศรษฐีทำไมถึงได้เข้าไปพูดในงานที่โดนัล ทรัมป์ไปพูดได้ยังไง

ขณะเดียวกันนโยบายของทรัมป์ใช้งบประมาณมหาศาลเลยนะ งบประมาณของอเมริกาจึงต้องเพิ่มไม่ใช่ลดลง แล้วก่อนหน้านี้ทรัมป์ยังประกาศช่วงหาเสียงว่า เหตุผลที่ต้องทรัมป์เพราะจะขับไล่ต่างด้าวไปให้หมด และเก็บสิ่งดีๆ สำคัญไว้ให้คนอเมริกัน

นอกจากนี้คนรอบตัวทรัมป์มีแต่เศรษฐีมากกว่านักการเมืองเสียอีก นักการเมืองที่ถูกเลือกด้วยประชาชน แต่ทรัมป์เอาเจ้าของบริษัทรวยๆ ดังๆ ได้นั่งเก้าอี้พรีเมียม นั่นหมายความว่าเขาอยากจะบอกประชาชนว่าใครคือเจ้าของประเทศ คอยดูเลยนะว่า อเมริกาจะเลอะเทอะมาก คนจนจะจนลง คนรวยจะรวยมหาศาล

ต่อมา อาจารย์อดัม แบรดชอว์ ชาวอเมริกันผู้มีประสบการณ์การสอนในประเทศไทยกว่า 18 ปี และมีรายการสอนภาษาอังกฤษในโทรทัศน์ทางหลาย ๆ ช่อง ได้แชร์คลิปดังกล่าวและระบุว่า

“ถุย!! เดวิดไม่ใช่ตัวแทนชาวเมกันหรอก มีแต่แขวะเมกาและอวยประเทศไทย ผมเองก็รักประเทศไทยมาก ๆ เหมือนกัน แต่ไม่ได้แปลว่าต้องมาบอกว่าเมกาแย่อย่างนี้อย่างนั้น ขณะเดียวกัน ผมเข้าใจเจตนาของเดวิดคืออยากเรียกยอดวิวด้วยการพูดในสิ่งที่เค้าคิดว่าคนไทยอยากจะฟัง

แต่ผมว่าคนไทยส่วนใหญ่ทราบดีว่าไบเดนนั่นแหละห่วยแตกมาก ไม่ได้ทำห่าอะไรใน 4 ปีที่ผ่านมานอกจากปิดปากทุกคนที่ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับนโยบายชัตดาวน์และที่มาของโควิด ถามหน่อยในช่วงของไบเดนอัตราเงินเฟ้อเป็นยังไงบ้าง ? แล้วอัตราดอกเบี้ยล่ะ”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top