Wednesday, 23 April 2025
ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

“ดอน” เผยศบค.อนุมัติ 5 ประเทศเข้าไทย เหตุ ดูรายละเอียด ระบุ อย่ากังวล พร้อมเผยไร้ปัญหา อาเซียนไม่เชิญเมียนมาประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ชี้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน“ดอน” เผยศบค.อนุมัติ 5 ประเทศเข้าไทย เหตุ ดูรายละเอียด ระบุ อย่ากังวล พร้อมเผยไร้ปัญหา อาเซียนไม่เ

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงแผนการเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย.นี้ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการวางเอาไว้จะให้เข้ามา 10 ประเทศแต่เวลานี้ศบค.อนุมัติเพียง 5 ประเทศนั้น ว่า ศบค.จะเป็นผู้พิจารณารายชื่อแต่ละประเทศที่จะให้เข้ามาโดยที่ไม่ต้องกักตัวเอง ส่วนที่ศบค.เพิ่งอนุมัติ 5 ประเทศนั้น เพราะเขาต้องการดูรายละเอียดมากขึ้นเท่านั้นเอง อย่าไปกังวลอะไรมากเลย โดยเป็นเรื่องหนึ่งที่ศบค.ดูแลอยู่

 

บทสรุป 3 การประชุมต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียน ‘สุดยอดผู้นำอาเซียน - G20 - APEC’

ตลอด 2 สัปดาห์ที่สายตาของคนทั่วโลกได้เฝ้าติดตาม 3 การประชุมต่อเนื่องที่เกิดขึ้น ณ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…

- การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
- การประชุมเขตเศรษฐกิจ G-20 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
- และ การประชุมสุดยอดความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC ณ กรุงเทพมหานคร

การประชุมทั้ง 3 ถือเป็นการประชุมระดับผู้นำครั้งใหญ่รอบสุดท้ายก่อนจบปี 2022

แม้การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน จะยังไม่ได้มีมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมในการบริหารจัดการกับปัญหาทางการเมืองภายในของประเทศเมียนมา หากแต่ก็มีข่าวน่ายินดี ที่ผู้นำอาเซียนมีฉันทามติที่จะเริ่มต้นกระบวนการรับ ประเทศติมอร์ตะวันออก เข้าเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน ลำดับที่ 11 ถึงแม้ว่ากระบวนการจนกว่า ติมอร์ตะวันออก จะสามารถเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์ยังคงต้องใช้เวลา แต่อย่างน้อยที่สุด กระบวนการก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และนั่นเป็นหลักประกันว่า ประชาคมอาเซียน ยังคงเดินหน้าต่อไปอย่างเข้มแข็งในห้วงเวลาที่ดุลอำนาจทั้งภายในประเทศสมาชิก ในภูมิภาค และในเวทีโลกกำลังเปลี่ยนแปลง

ต่อมาการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) ถึงแม้จะไม่สามารถแสวงหาแถลงการณ์ร่วมได้ เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างประเทศคู่กรณีหลากมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติการเมือง-ความมั่นคง ต่อกรณียูเครน และมิติเศรษฐกิจ รวมทั้งการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจในรูปแบบที่ผู้นำหลากหลายประเทศมีความห่วงกังวล ท่ามกลางสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยี แต่อย่างน้อยที่สุด เวที EAS ก็เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้นำของมหาอำนาจที่ทรงอิทธิพลทางความมั่นคง การเมือง และเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้เปิดใจพูดคุยกัน 

ไม่ว่าจะเป็น Sergey Lavrov รมต.ต่างประเทศของรัสเซีย ที่ได้เปิดใจวิพากษ์สหรัฐฯ ที่ดำเนินนโยบายในการสร้างภาพลบให้กับจีน และรัสเซียในมิติเศรษฐกิจ ในขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐ Joe Biden ก็ได้แสดงข้อห่วงกังวลต่อจีนในมิติที่ต้องการขยายอิทธิพลเข้าครอบงำอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น Fumio Kishida ที่ก็รับลูกนำไปขยายผลต่อ 

แต่เวทีนี้ก็ยังเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีจีน Li Keqiang ได้อธิบายเจตจำนงของจีนในการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน และเคารพซึ่งกันและกัน ทั้งหมดแม้จะเป็นความขัดแย้ง ไม่สามารถสรุปผลและออกแถลงการณ์ร่วมได้ แต่ก็วางอยู่บนหลักการที่ไม่นำไปสู่ความรุนแรง หากยังสามารถนำพาผลของการเปิดใจเหล่านี้ไปสู่บรรยากาศที่ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นในการประชุมอีก 2 ประชุมที่ต่อเนื่องตามมา

บรรยากาศที่ผ่อนคลายหลังผ่านศึกการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ และหลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 20 ทำให้ทั้ง 2 ผู้นำมหาอำนาจแห่งโลก ประธานาธิบดี Joe Biden และ ประธานาธิบดี Xi Jinping สามารถหารือกันได้ในการประชุมทวิภาคีต่อเนื่องยาวนานถึง 3 ชั่วโมง 8 นาที และหลังจากที่ได้แสดงความไม่พอใจต่อกันไปแล้วจากเวที EAS การประชุม 2 ฝ่ายก็ทำให้ทั้งโลกมั่นใจได้ว่า ถึงแม้ทั้ง 2 ฝ่ายจะยังคงเป็นคู่แข่งขัน และยังคงต่อสู้กันต่อไปในทางยุทธศาสตร์ แต่อย่างน้อยที่สุดทั้ง 2 มหาอำนาจก็ได้ขีดเส้นแดงในประเด็นที่แต่ละฝ่ายไม่สามารถยินยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งล่วงละเมิดได้ และทั้ง 2 ฝ่ายก็ยอมรับ รวมทั้งยังจะเปิดช่องทางในการสื่อสารระหว่างกันให้มากกว่านี้ 

การประชุม G-20 แม้จะมีประเด็นหลักในการเดินหน้าสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสาธารณสุขหลังการระบาดของโควิด-19 การเตรียมความพร้อมสมาชิกสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และการเดินหน้าสู่การใช้พลังงานทางเลือก สำหรับ 1 เขตเศรษฐกิจ นั่นคือ สหภาพยุโรป และ 19 ประเทศสมาชิก แต่ด้วยสถานการณ์ความรุนแรงระหว่างรัสเซีย และพันธมิตร NATO ซึ่งปะทุในสนามรบยูเครน ทำให้ประเด็นการเมืองความมั่นคง ถูกดึงขึ้นมาเป็นประเด็นหลักของการประชุม (ยิ่งเมื่อมีสถานการณ์ขีปนาวุธจากระบบป้องกันภัยทางอากาศ ตกลงในพื้นที่ของประเทศโปแลนด์ก็ยิ่งสร้างความตึงเครียดให้กับการประชุมมากยิ่งขึ้น) 

แน่นอนว่า เมื่อผู้นำระดับโลกมารวมตัวกันมากขนาดนี้ คงปฏิเสธความรับผิดชอบในการที่จะไม่พูดถึงประเด็นความมั่นคงและประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองจนทำให้ผู้คนในยูเครนบาดเจ็บล้มตายไม่ได้ นั่นจึงนำไปสู่การประชุมทางไกลที่อนุญาตให้ประธานาธิบดี Volodymyr Zelenskyy เข้ามานำเสนอแผนการสร้างสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้จะทำให้ฝ่ายรัสเซียไม่พอใจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางกลับก่อนที่จะสิ้นสุดการประชุม G-20 แต่ผู้นำ G-20 ก็ยังคงสามารถออกปฏิญญาบาหลี ที่ประณามการรุกรานอำนาจอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนได้ แม้จะไม่มีคำว่า War และ Russia ในเอกสารก็ตาม

ความสำเร็จในการเจรจาพูดคุยเรื่องการเมือง ความมั่นคงจากเวที G-20 ทำให้ผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจที่มาประชุมกันต่อใน กรุงเทพมหานคร ในการประชุม APEC มีความตั้งใจที่จะเน้นการหารือมาที่ประเด็นเศรษฐกิจ ความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาปากท้อง ของประชากรกว่า 2 พันล้านคน จากเขตเศรษฐกิจที่ครอบคลุมกว่า 2 ใน 3 ของมูลค่าเศรษฐกิจของโลกได้อย่างไม่ต้องห่วงกังวล และนั่นทำให้ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2022 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการประชุม เขตเศรษฐกิจทั้ง 21 เขต จึงสามารถมีแถลงการณ์ร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ทั้งใน 3 มิติ นั่นคือ...

‘อุ๊งอิ๊ง’ พาไทยผงาด ในเวทีประชุม ‘สุดยอดผู้นำอาเซียน’ ลั่น!! พร้อมเป็นเจ้าภาพ จัดประชุมแก้ปัญหา ในเมียนมา

(12 ต.ค. 67) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ ‘เสียงจากใจ…ไทยคู่ฟ้า’ ทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย  สรุปภาพรวมภารกิจของน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการเดินทางเยือนสปป.ลาว ในช่วงระหว่างวันที่ 8-11 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่า ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และกำลังจะมีสมาชิกใหม่คือ ติมอร์เลสเต การเดินทางครั้งนี้ มีส่วนราชการ นักธุรกิจไปร่วม การประชุมเพื่อรวมประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวม700ล้านคน จะทำให้มีพลังและอำนาจต่อรอง โดยการประชุมได้พูดคุยกรอบร่วมมือด้านต่างๆ ทั้งยาเสพติด แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และค้ามนุษย์ น้ำท่วม หมอกควัน PM2.5 โดยในวันแรกเป็นการเยือนสปป.ลาว ในฐานะแขกของสปป.ลาว อย่างเป็นทางการ ได้รับการต้อนรับจากนายกรัฐมนตรีลาว และผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลลาวอย่างสมเกียรติ และที่ประชุมหารือปัญหาสำคัญของประเทศไทย-ลาว ที่ได้ร่วมกันจับมือแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ ปัญหาหมอกควันและยาเสพติดระหว่างชาติ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาแม่น้ำโขงเพื่อป้องกันอุทกภัยระหว่างกันในอนาคต

จากนั้นในวันที่ 9-11 ต.ค.นายกฯได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 44-45 และการประชุมอื่น รวมทั้งการพบปะผู้นำแต่ละชาติที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้นกว่า20การประชุม อาทิ การประชุมแบบเต็มคณะ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนอกจากนี้ยังมีการประชุมครั้งที่ 45 ซึ่งเป็นการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนสมัชชารัฐสภาอาเซียน ซึ่งผลของการประชุมเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจาอย่างยิ่ง การประชถมอาเซียนบวกสาม

นายจิรายุ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีความหลากหลาย อาทิการประชุมสุดยอดอาเซียน - จีน ครั้งที่ 27 และการประชุมสุดยอดอาเซียน - เกาหลีใต้ ครั้งที่ 25 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 35 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน กับเกาหลีใต้และการประชุมสุดยอดอาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 27 และการประชุมสุดยอดอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่ 21 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 19  นอกจากนี้นายกฯ ของไทย ได้หารือทวิภาคีเพื่อแนะนำตัว และสร้างความคุ้นเคยกับผู้นำ 12 ประเทศ ได้แก่ บรูไนฯ กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดา รวมทั้ง  รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯและนาย Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร WEF ที่เชิญนายกรัฐมนตรีไปร่วมการประชุม WEF ที่ดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี2568 รวมถึงพูดคุยกับนายกฯแคนาดา 

นายจิรายุ กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ ถือว่าประเทศไทย ประสบความสำเร็จในการนำเสนอและผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน รวมทั้งการส่งเสริมความเชื่อมโยง ซึ่งนายกฯ ได้หยิบยกเรื่องการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินระหว่างกัน และการขยายระยะเวลาการยกเว้นวีซ่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน 

ส่วนในหลายเวทีการประชุมและการหารือกับประเทศต่าง ๆ ไทยและประเทศคู่เจรจา ยังตอบรับที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อรับมือปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะการลักลอบค้ายาเสพติด และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การรับมือภัยพิบัติ การบริหารจัดการน้ำ และการแก้ไขปัญหาหมอกควันและ PM2.5 รวมทั้งการรับมือ การเปลี่ยนแปลง สภาพอากาศจากทั้งประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจา และจะเป็นประโยชน์การส่งเสริมการกินดีอยู่ดี และความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน 

ขณะที่นายกฯกล่าวในเวทีอาเซียนวันสุดท้ายของการประชุมว่า จะส่งเสริมสันติภาพ ในภูมิภาคนี้ซึ่งในส่วนของเมียนมา ไทยเสนอตัวเป็นสถานที่จัดการประชุมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในเดือนธันวาคมปีนี้ เพื่อส่งเสริมความพยายามของอาเซียนในการช่วยกันแก้ไขปัญหาในเมียนมาโดยสันติด้วย 

นายจิรายุ กล่าวสรุปว่าการประชุมทั้ง 4 วันครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงามสื่อมวลชนต่างชาติ และประเทศคู่เจรจาให้ความสำคัญกับประเทศไทย และได้นำปัญหาและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน มาพูดคุยกันจนเป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่ การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของแต่ละประเทศต่อไป โดย โดยในปีหน้าประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซียนครั้งที่ 46 ต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top