Wednesday, 3 July 2024
น้ำมันแพง

‘โฆษกปชป.’ ป้อง ‘จุรินทร์’ ซัด ‘กรณ์’ อย่าโบ้ยทุกเรื่องให้ ‘ก.พาณิชย์’

‘โฆษกปชป.’ ป้อง ‘จุรินทร์’ ซัด ‘กรณ์’ เคยเป็น รมต.มาก่อนต้องรู้ดี หากใช้อำนาจตามอำเภอใจไม่รอดสักราย อย่าพูดเพื่อหวังผลทางการเมือง ทำให้ประชาธิปัตย์เสียหาย

(23 มิ.ย.65) นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ระบุถึงของแพง โดยพุ่งเป้ามาที่กระทรวงพาณิชย์ ว่า... 

ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่ ทุกคนทำงานโดยยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง ถ้าถามกันแบบตรงไปตรงมาไม่มีนัยยะทางการเมือง เชื่อว่าประชาชนรู้ว่าในหลายเรื่องไม่ได้เป็นอำนาจเต็มของกระทรวงพาณิชย์ เช่นเรื่องราคาน้ำมัน ทุกคนที่เกี่ยวข้องก็หาทางช่วย หากมองกันด้วยความอคติต่อกระทรวงพาณิชย์ก็จะพยายามโยนมาที่กระทรวงพาณิชย์ 

ทั้งนี้ต้องย้ำว่าไม่ใช่จะปัดความรับผิดชอบหรือโยนกันไปมา แต่เรื่องราคาน้ำมันมีทั้งกฎหมายเฉพาะและคำสั่งเฉพาะของนายกรัฐมนตรีกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงพลังงาน 

และ ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ระบุอำนาจเฉพาะไว้ชัด ในเรื่องการคำนวณราคาและกำหนดราคา ณ หน้าโรงกลั่น ราคาส่ง-ปลีก ในเรื่องราคาคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ต้องเป็นผู้ที่กำหนด เพราะมีหลายเรื่องที่ต้องพิจารณา ไม่ใช่อยู่ ๆ กระทรวงพาณิชย์จะไปกำหนดควบคุมราคาเสียเอง และ กบง.รมว.พลังงานเป็นประธานจะทำอย่างไร จะมีไว้ทำไม กระทรวงพาณิชย์จะทำตามอำเภอใจไม่ได้ แต่มีสิ่งใดที่อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่พร้อมทำอย่างเต็มที่อยู่แล้ว

ทำไม? น้ำมันในไทยถึง ‘แพง’

เคยสงสัยไหม ทำไมราคา ‘น้ำมัน’ ในไทยถึง ‘แพง’ วันนี้ THE STATES TIMES มีคำตอบ!!

เหตุที่ทำให้น้ำมันในไทยมีราคาแพง มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ค่าขนส่ง ภาษีต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศเรียกเก็บ และ ค่าการกลั่น นั่นเอง

ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่ ‘ไทย’ ที่เจอปัญหาน้ำมันแพง แต่หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกก็เจอปัญหานี้เช่นกัน อีกทั้งประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน จึงไม่อาจเลี่ยงความผันผวนในตลาดโลก ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ยากจะควบคุม

'ชาวมาเลเซีย' โอด!! 'เบนซิน-ดีเซล' เตรียมขึ้นราคาแบบไร้ปรานี คาด!! ต้องใช้ SPR เป็นคำตอบสุดท้าย แก้ไขปัญหาราคาน้ำมันพุ่ง

ตั้งแต่จันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2024 ที่ผ่านมา รัฐบาลมาเลเซียได้ตัดสินใจลดการอุดหนุนน้ำมันดีเซล ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันลอยตัวเป็นอัตราตลาดที่ 3.35 ริงกิต (26.50 บาท) ต่อลิตร จากราคาเดิม 2.15 ริงกิต (17 บาท) ต่อลิตร หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 55 

ในวันที่ 9 มิถุนายน รัฐบาลมาเลเซียได้การประกาศเหตุผลในการตัดสินใจลดการอุดหนุนน้ำมันดีเซล โดย ‘ดาโต๊ะ เสรี อามีร์ ฮัมซาห์ อาซิซาน’ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า “มาเลเซียจะไม่ยอมสูญเสียเงินปีละหลายพันล้านริงกิตจากการลักลอบขายน้ำมันออกนอกประเทศต่อไปอีก และจะเป็นการดีกว่าถ้าเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวมาเลเซียและเพื่อการพัฒนาประเทศมาเลเซียของเรา”

โดยวันที่ 24 พฤษภาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังผู้นี้กล่าวว่าการอุดหนุนน้ำมันดีเซลทำให้ประเทศต้องเสียเงินกว่า 1 พันล้านริงกิต (7.9 พันล้านบาท) ต่อเดือน ในขณะที่ความสูญเสียจากการรั่วไหลจากการลักลอบส่งออกอยู่ที่ราววันละ 4.5 ล้านริงกิต ในปี 2023 มีการใช้เงินอุดหนุนน้ำมันดีเซลถึง 1.45 หมื่นล้านริงกิต (1.15แสนล้านบาท) ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียคาดว่าจะสามารถประหยัดเงินงบประมาณได้ประมาณปีละ 4 พันล้านริงกิต

สำหรับมาตรการช่วยเหลือโดยกระทรวงการคลังจะแจกเงินสด 200 ริงกิต สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ตลอดจนเกษตรกร ขณะเดียวกันยังคงให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ค้าที่ใช้รถเพื่อการพาณิชย์ที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งประกอบด้วยรถขนส่งสาธารณะ 10 ประเภท และรถขนส่งสินค้า 23 ประเภท ธุรกิจเหล่านี้รวมถึงผู้ให้บริการรถโดยสารและรถแท็กซี่ภายใต้ระบบควบคุมดีเซลแบบอุดหนุน (the Subsidised Diesel Control System) : SKDS 1.0 และ SKDS 2.0

ภายใต้ SKDS 2.0 ผู้ใช้ยานพาหนะเพื่อการขนส่งที่มีสิทธิ์ได้รับบัตรฟลีทการ์ด ซึ่งเป็นบัตรสำหรับน้ำมันดีเซลที่ได้รับการอุดหนุนเพื่อใช้ที่ปั๊มน้ำมัน แทนที่จะจ่ายเงินสดหรือใช้บัตรเครดิต/เดบิต และต้องจ่าย 2.15 ริงกิตมาเลเซีย (17 บาท)ต่อลิตร ในขณะที่ SKDS 1.0 ซึ่งมุ่งเป้าไปที่รถโรงเรียน, รถด่วน, รถพยาบาล และรถดับเพลิง มีราคาต่ำกว่าอยู่ที่ 1.88 ริงกิต (14.85 บาท) ต่อลิตร และมาตรการต่อไปคือการเลิกอุดหนุนน้ำเบนซิน (RON95) ซึ่งราคาอยู่ที่ 2.05 ริงกิต (15.97 บาท) ต่อลิตร เทียบกับน้ำมันเบนซิน 95 ในประเทศไทยที่ราคาลิตรละ 37.35 บาท

แต่ราคาน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงยังคงอยู่ที่ 1.65 ริงกิต (13 บาท) ต่อลิตร และราคาน้ำมันดีเซลในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักยังคงอยู่ที่ 2.15 ริงกิต (17 บาท) ต่อลิตร เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ที่นั่นใช้น้ำมันดีเซล ไม่เหมือนในฝั่งที่เป็นคาบสมุทรมาเลเซีย ด้วยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล จึงทำให้มีการลักลอบส่งน้ำมันออกเป็นจำนวนมาก ทั้งด้านไทย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยรัฐบาลมาเลเซียใช้งบในการอุดหนุนราคาน้ำมันปีละหลายหมื่นล้านบาท แต่ในขณะที่ไทยเราใช้เงินจากกองทุนน้ำมันในการอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นเงินที่คิดจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินไปอุดหนุนราคาน้ำมันเช่นเดียวกับที่รัฐบาลมาเลเซียเคยปฏิบัติมาจนพึ่งจะมายกเลิก

กองทุนน้ำมันจะมีเงินกองทุนมากหรือน้อยหรือติดลบนั้นขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกสูงขึ้น เงินกองทุนน้ำมันก็จะถูกใช้เพื่ออุดหนุนราคาน้ำมันไม่ให้สูงขึ้นตามไปด้วย 

ปัจจุบันกองทุนน้ำมันถูกใช้อุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลโดยเก็บจากน้ำมันเบนซิน เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกสูง จึงต้องชดเชยราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซ LPG ด้วยเป็นน้ำมันและก๊าซเชื้อเพลิงเศรษฐกิจ หากไม่ได้รับการอุดหนุนก็จะมีราคาแพงส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ และเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงกองทุนน้ำมันก็จะไม่มีภาระที่จะต้องอุดหนุนชดเชย เงินที่ถูกเก็บเข้ากองทุนน้ำมันก็จะกลับมาเพิ่มขึ้น 

ทั้งนี้หลาย ๆ ประเทศในอาเซียนต่างก็พยายามที่จะยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยตั้งกองทุนน้ำมันเพื่อทำหน้าที่แทนเพื่อไม่ให้กระทบต่อเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อนำไปใช้ในกิจการอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติแทน

แต่การใช้กองทุนน้ำมันจะสามารถแก้ปัญหาได้ในเวลาที่จำกัด หากปัญหาที่เกิดขึ้นต้องยืดเยื้อต่อเนื่องยาวนานเกินไป กองทุนน้ำมันก็จะตกอยู่ในสภาพต้องจ่ายเงินออกเรื่อย ๆ จนต้องติดลบมหาศาลเช่นที่ไทยเราเป็นอยู่ในขณะนี้ 

แต่ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เร่งผลักดันเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดระบบ SPR : Strategic Petroleum Reserve หรือ การสำรองเชื้อเพลิงปิโตรเลียมทางยุทธศาสตร์ เพื่อเข้ามามีบทบาททำหน้าแทนที่กองทุนน้ำมันมากขึ้น ด้วยในอนาคตเมื่อรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานเป็นผู้ถือครองปริมาณน้ำมันมากที่สุดในประเทศจนเพียงพอสำหรับการใช้งานในประเทศได้ถึง 50-90 วันแล้ว รัฐบาลย่อมสามารถนำปริมาณสำรองเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศได้ 

เพราะที่ผ่านมาปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจากวิกฤตเชื้อเพลิงมีการใช้ ‘เงิน’ จาก ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ เพื่อแก้ไขปัญหา แต่ความเป็นจริงแล้วในยามเกิดวิกฤตน้ำมัน ‘เงิน’ ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องหรือเหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหา เพราะต้องใช้ ‘เงิน’ มากขึ้นในการซื้อน้ำมัน หรือบางสถานการณ์แม้จะมี ‘เงิน’ แต่อาจไม่สามารถหาซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง หรือซื้อแล้วก็ไม่สามารถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงมายังประเทศไทยได้ 

ดังนั้นการมีระบบ SPR ด้วยการถือครอง ‘น้ำเชื้อเพลิงสำรอง’ โดยรัฐที่มากพอสำหรับการใช้งาน 50-90 วัน ซึ่งนานพอจนกระทั่งวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงได้เบาคลายลดลงต่างหากจึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top