Monday, 21 April 2025
ธรรมะ

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม 2566 : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ทำดีได้ความดี ทำชั่วได้ความชั่ว
ทำเหตุให้เกิดทุกข์ ก็ได้ความทุกข์
ทำเหตุให้เกิดสุข ก็ได้ความสุข
ทำเหตุให้เกิดความเสื่อม เราก็ได้ความเสื่อม
ทำเหตุให้เกิดความเจริญ เราก็ได้ความเจริญ
เราหนีจากผลที่เราทำไว้ไม่ได้

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2566 : หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร

การเป็นคนดี...
ไม่ใช่อยู่ที่ความหล่อ หรือ สวย
มิใช่อยู่ที่ความร่ำรวย หรือ ยากจน
แต่อยู่ที่การฝึกตนให้เป็นคนมีศีลธรรม

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2566 : หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม

ลองสังเกตดูนะว่า...
“คนที่ล้มเหลว”
มักเป็นประเภท “น้ำเต็มแก้ว”
ไม่เคยฟังใคร...
มีเหตุผลแก้ตัวให้ตนเองเสมอ
และที่สำคัญ ...
มักจะโยน “ความผิด” ให้คนอื่นเสมอ

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 : สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

อยู่ให้เขาเบาใจ
ยามจากไปให้เขาอาลัยถึง
ไม่ใช่อยู่ให้เขาหนักใจ
จากไปให้เขาไล่ส่ง

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2566

อายุมากขึ้น เราก็ใกล้ศพมากขึ้น
จากเดิมวัยเด็ก ไปงานศพนั่งไหนก็ได้
พอโตมา เจ้าภาพเรียกไปนั่งหน้าเรื่อย ๆ
จนในที่สุดก็ระดับเป็นเจ้าภาพ
พอใกล้มากขึ้นนั่งนานขึ้น
บ่อยเข้าเราก็เมื่อย พอเมื่อยถึงจุดหนึ่ง
เราก็เปลี่ยนจากนั่ง...มาเป็นนอนเอง

แด่...พุทธศาสนิกชน สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพระคติธรรม  เนื่องในวันมาฆบูชา 6 มี.ค.2566

(5 มี.ค. 66) เพจสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช โพสต์ข้อความระบุว่า เนื่องในวันมาฆบูชา 6 มีนาคม 2566 เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม ความว่า…

“ดิถีมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ดิถีเช่นนี้ชวนให้พุทธบริษัททุกหมู่เหล่ารำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประทานแก่พระอรหันตสาวก 1,250 รูป ซึ่งล้วนอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ ดิถีเพ็ญเดือน 3 อย่างไรก็ดี หากปีใดเป็นปีอธิกมาส วันมาฆบูชาจะตรงกับดิถีเพ็ญเดือน 4 ดังเช่นที่เกิดขึ้นในปีนี้

สารัตถะประการหนึ่งในโอวาทปาติโมกข์นั้นคือ การไม่ทำบาปทั้งปวง อันเป็นหัวใจพระศาสนาประการต้นที่พุทธบริษัททั่วหน้า พึงยึดถือเป็นหลักประพฤติให้ได้ ก่อนจะก้าวไปสู่การบำเพ็ญความความดีและการชำระใจให้บริสุทธิ์ บาปทั้งปวงตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ประมวลอยู่ในอกุศลกรรมบถ 10 ประการ จำแนกเป็น กายกรรม 3 กล่าวคือการฆ่า การเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ และการประพฤติผิดในกาม วจีกรรม 4 กล่าวคือ คำโกหก คำส่อเสียด คำหยาบคาย คำเพ้อเจ้อ และ มโนกรรม กล่าวคือ การเพ่งเล็งอยากได้ของเขา การคิดปองร้ายผู้อื่น และความเห็นผิด ครั้นเมื่อได้กระทำกรรมใดกรรมหนึ่งในอกุศลกรรมบถ 10 จึงถูกจัดว่าเป็นบาป

พุทธศาสนิกชนจึงมีหน้าที่ลด ละ และเลิกการกระทำบาปทั้งปวงแม้เล็กน้อย ซึ่งล้วนให้ผลเป็นความทุกข์ทำให้จิตใจเสื่อมคุณภาพ ยังอุปนิสัยให้กลายเป็นคนถนัดทำชั่ว จนท่วมท้นไปด้วยบาป ดั่งพระพุทธพจน์ที่ว่า

อุทพินฺทุนิปาเตน                 อุทกุมฺโภปิ  ปูรติ

อาปูรติ  พาโล  ปาปสฺส        โถกํ  โถกํปิ  อาจินํ.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top