Monday, 21 April 2025
ฉนวนกาซา

‘อียิปต์’ แสดงเจตนารมณ์!! นำเสนอ ฟื้นฟู ‘ฉนวนกาซา’ เพื่อให้!! ‘ชาวปาเลสไตน์’ ยังคงอยู่ในบ้านเกิดของตน

(12 ก.พ. 68) เฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ โพสต์ข้อความระบุว่า ....

แถลงการณ์ที่เบาโหวงจาก #รัฐบาลอียิปต์ ในเรื่อง #ฉนวนกาซา 

ล่าสุด: คำชี้แจงจากกระทรวงการต่างประเทศของอียิปต์

อียิปต์แสดงเจตนารมณ์ที่จะนำเสนอวิสัยทัศน์การฟื้นฟูฉนวนกาซาเพื่อให้ชาวปาเลสไตน์ยังคงอยู่ในบ้านเกิดของตน

อียิปต์แสดงความปรารถนาที่จะร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐฯ นำโดยประธานาธิบดีทรัมป์ เพื่อบรรลุสันติภาพที่ครอบคลุมและยุติธรรมในภูมิภาคโดยบรรลุ
ข้อตกลงที่ยุติธรรมสำหรับชาวปาเลสไตน์ที่ยึดมั่นในสิทธิของประชาชนในภูมิภาค

ในบริบทนี้ อียิปต์ยืนยันความตั้งใจที่จะนำเสนอวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมสำหรับการก่อสร้างฉนวนกาซาขึ้นใหม่ในลักษณะที่จะรับรองว่าชาวปาเลสไตน์ยังคงอยู่ในบ้านเกิดของตน และสอดคล้องกับสิทธิอันชอบธรรมและถูกต้องตามกฎหมายของพวกเขา

อียิปต์เน้นย้ำว่าวิสัยทัศน์ใดๆ ที่ต้องการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์ จะต้องคำนึงถึงความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดอันตรายต่อสันติภาพในภูมิภาค ขณะเดียวกันก็ต้องแก้ไขที่สาเหตุหลักของความขัดแย้งด้วยการยุติการยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ของอิสราเอลและดำเนินการตามแนวทางสองรัฐซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่เสถียรภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างประชาชนในภูมิภาค

ทรัมป์ใช้ AI สร้างภาพ 'กาซาในฝัน' เมืองตากอากาศหรูภายใต้อิทธิพลอเมริกา

(28 ก.พ. 68) ทีมงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างภาพอนาคตของฉนวนกาซา ตามแนวคิดของทรัมป์ที่ต้องการเปลี่ยนพื้นที่ขัดแย้งแห่งนี้ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดหรูริมทะเล  

ในวิดีโอ 'กาซาในฝัน' ฉนวนกาซาปรากฏเป็นเมืองตากอากาศที่เต็มไปด้วยรีสอร์ตหรู ตึกระฟ้า และชายหาดสวยงาม พร้อมด้วยรูปปั้นขนาดใหญ่ของทรัมป์ตั้งตระหง่านอยู่กลางเมือง ภาพยังแสดงให้เห็นอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของทรัมป์ โปรยธนบัตรไปทั่ว เพื่อสื่อถึงโอกาสทางเศรษฐกิจของฉนวนกาซาในอนาคต  

หนึ่งในภาพที่อาจสร้างความไม่พอใจให้กับชาวปาเลสไตน์ คือภาพของทรัมป์นอนอาบแดดข้างนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองผู้นำ  

อย่างไรก็ตาม ชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับชมคลิปต่างแสดงความคิดเห็นว่า ฉนวนกาซาสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้โดยไม่จำเป็นต้องขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านเกิดของตน ตามที่ทรัมป์เคยเสนอให้พวกเขาย้ายไปอยู่ในอียิปต์หรือจอร์แดน พวกเขายังมองว่า แม้ฉนวนกาซาในฝันของทรัมป์จะดูหรูหราและทันสมัยคล้ายกับนครดูไบ แต่การพัฒนาเช่นนี้ควรเกิดขึ้นโดยที่ประชากรเจ้าของพื้นที่ยังคงมีสิทธิ์อาศัยอยู่ในดินแดนของตนเอง

‘ก.ต่างประเทศ’ แถลงการณ์!! แสดงความผิดหวังต่อการใช้กำลังใน ‘ฉนวนกาซา’ เรียกร้อง!! ให้มีการปล่อยตัวประกัน ส่งคืนร่าง ‘ชาวไทย’ ที่เสียชีวิต กลับประเทศ

(22 มี.ค. 68) ‘กระทรวงการต่างประเทศ’ ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า ...

แถลงการณ์: ประเทศไทยขอแสดงความผิดหวังยิ่งต่อการกลับมาใช้กำลังในฉนวนกาซา

ประเทศไทยรู้สึกห่วงกังวลและผิดหวังอย่างยิ่งต่อการกลับมาสู่การสู้รบในฉนวนกาซา ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2568 อันส่งผลกระทบให้พลเรือนผู้บริสุทธิ์จำนวนมากเสียชีวิตและบาดเจ็บ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคได้รับความเสียหายอย่างหนัก 

ประเทศไทยร้องขอให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นสูงสุด ยุติการสู้รบ และกลับสู่การเจรจาเพื่อปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิงและปล่อยตัวประกัน รวมทั้งอำนวยการขนส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเข้าสู่ฉนวนกาซา เพื่อทำให้มั่นใจว่าภูมิภาคตะวันออกกลางจะมีเสถียรภาพและความมั่นคงที่ยั่งยืน

ประเทศไทยเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวประกันทุกคนที่เหลืออยู่ในฉนวนกาซาโดยเร็วที่สุด ซึ่งรวมถึงชาวไทย 1 คน และการส่งคืนร่างตัวประกันชาวไทยที่เสียชีวิต 2 ร่างกลับประเทศไทย

Statement: Thailand Is Profoundly Disappointed at the Return to Hostilities in the Gaza Strip

Thailand is profoundly concerned about and disappointed at the return to hostilities in the Gaza Strip since 18 March 2025, resulting in heavy casualty of innocent civilians, injuries, and severe damage to critical infrastructure and public utilities.

Thailand urges all sides to exercise utmost restraint, cease the hostilities and resume negotiations to implement the ceasefire and hostage agreement, as well as facilitate humanitarian assistance into the Gaza Strip to ensure stability and security in the Middle East. 

Thailand calls for the release of the remaining hostages in the Gaza Strip soonest, including one Thai national, and the retrieval of bodies of two Thai nationals.

‘จีน-มาเลเซีย’ ประกาศจุดยืนร่วมหนุนอาเซียนเป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก ย้ำจุดยืนปาเลสไตน์-ค้านย้ายถิ่นกาซา หวังฟื้นฟูสันติภาพในเอเชียและตะวันออกกลาง

(17 เม.ย. 68) จีนและมาเลเซียออกแถลงการณ์ร่วมกัน ระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำจีน โดยแสดงจุดยืนสนับสนุนความเป็นแกนกลางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) พร้อมยืนยันความร่วมมือระดับทวิภาคีในหลายด้าน ท่ามกลางภูมิทัศน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก

แถลงการณ์ร่วมที่เผยแพร่ในวันเดียวกันระบุว่า จีนและมาเลเซียเห็นพ้องที่จะส่งเสริมกลไกความร่วมมือที่นำโดยอาเซียน เพื่อสร้างสถาปัตยกรรมระดับภูมิภาคที่เปิดกว้าง ครอบคลุม และตั้งอยู่บนพื้นฐานของสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาร่วมกัน โดยเน้นการสร้าง “บ้านที่สงบสุข ปลอดภัย เจริญรุ่งเรือง สวยงาม และเป็นมิตร”

ทั้งสองประเทศยังเน้นย้ำเป้าหมายในการยกระดับความสัมพันธ์จีน-อาเซียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของปักกิ่งในการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในแถลงการณ์ มาเลเซียยังได้ สนับสนุนการเป็นเจ้าภาพของจีนในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC) ปี 2026 รวมถึงแสดงการสนับสนุนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของจีนในการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งถือเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก

นอกจากความร่วมมือด้านภูมิภาคแล้ว แถลงการณ์ร่วมยังสะท้อนจุดยืนของจีนและมาเลเซียในประเด็นระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสถานการณ์ในฉนวนกาซา ซึ่งกำลังเผชิญวิกฤตมนุษยธรรมอย่างรุนแรง

จีนและมาเลเซียร่วมกันคัดค้านการบังคับให้ประชาชนในกาซาย้ายถิ่นฐาน และย้ำว่า “กาซาเป็นของประชาชนชาวปาเลสไตน์ และเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้จากดินแดนปาเลสไตน์” ทั้งสองประเทศยังยึดมั่นในหลักการ “ชาวปาเลสไตน์ปกครองปาเลสไตน์” ในฐานะหลักการสำคัญสำหรับการบริหารฉนวนกาซาในยุคหลังความขัดแย้ง

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบ “สองรัฐ” (Two-State Solution) ที่เรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์อิสระซึ่งดำรงอยู่ร่วมกับรัฐอิสราเอลอย่างสันติ และสนับสนุนให้ ปาเลสไตน์ได้รับสถานะสมาชิกเต็มรูปแบบขององค์การสหประชาชาติ (UN)

การเยือนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของจีนในการกระชับความสัมพันธ์กับมาเลเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนยุทธศาสตร์สำคัญในภูมิภาค และเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีบทบาทสำคัญในเวทีระหว่างประเทศ

ทั้งสองประเทศได้หารือถึงความร่วมมือในหลายมิติ ตั้งแต่การค้า การลงทุน การพัฒนาที่ยั่งยืน ความมั่นคงทางพลังงาน ไปจนถึงความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการศึกษา โดยคาดว่าในอนาคตอันใกล้ ความร่วมมือต่างๆ ที่หารือกันในครั้งนี้จะได้รับการผลักดันเป็นรูปธรรมมากขึ้นภายใต้แผนยุทธศาสตร์ทวิภาคี


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top