Tuesday, 22 April 2025
คุ้มครองผู้บริโภค

‘ชัยวุฒิ’ ชี้ MOU ป้องโกง จุดเปลี่ยนซื้อขายออนไลน์ ยกระดับมาตรฐาน ทำลายล้างสินค้าไม่ตรงปก

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในการเป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการในตลาดออนไลน์ว่า…

ตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการในตลาดออนไลน์ระหว่างองค์กรผู้บริโภค หน่วยงานส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์ และหน่วยงานรัฐที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค

ในวันนี้ กระทรวงดิจิทัลและเศรษฐกิจเพื่อสังคม มีพันธกิจที่จะเสนอแผนและนโยบายระดับชาติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย โดยหนึ่งในหน่วยงานสังกัดของเรา คือ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ. (Electronic Transactions Development Agency : ETDA) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ มีภารกิจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าทันกับสถานการณ์โลก โดย ETDA จะมีภารกิจหลัก 3 ด้าน คือ... 

1.) กำกับดูแลธุรกิจบริการดิจิทัลเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสังคมดิจิทัล 

2.) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 

และ 3.) ร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างบูรณาการและเชื่อมโยง

วันที่ 30 เมษายน ของทุกปี เป็นวัน ‘คุ้มครองผู้บริโภคไทย’ รำลึกถึงวันตรา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค

30 เมษายน ของทุกปี กำหนดเป็นวันคุ้มครองผู้บริโภค น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ในปี พ.ศ. 2522 

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้เป็น วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2522 ถือได้ว่าผู้ได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้โดยตรง คือประชาชนในฐานะผู้บริโภค

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค 5 ประการ ดังนี้

‘รมว.ปุ้ย’ ลุย ‘สมอ.สัญจร’ ให้ความรู้ ‘มาตรฐาน’ แก่ผู้ประกอบการราชบุรี ชี้!! ช่วยเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ เสริมศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า

(13 พ.ค. 67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน ในพิธีเปิดการสัมมนาภายใต้กิจกรรม ‘สมอ. สัญจร’ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 ณ จังหวัดราชบุรี ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทุกระดับนำมาตรฐานไปใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าระหว่างประเทศที่นำมาตรฐานมาเป็นมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ และคุ้มครองผู้บริโภค ‘กิจกรรม สมอ. สัญจร’ ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ลงพื้นที่มาให้ความรู้ด้านการมาตรฐานแก่ผู้ประกอบการทุกระดับ ทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SMEs และผู้ผลิตชุมชนในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้มีความรู้ด้านการมาตรฐานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อการแข่งขันทางการค้าได้ 

“จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีสถานประกอบการหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งการผลิตไฟฟ้า การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ปูนซิเมนต์และคอนกรีต อาหาร พลาสติก สิ่งทอ เครื่องเคลือบดินเผา เป็นต้น มีโรงงานอุตสาหกรรม 1,181 แห่ง และยังเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในพื้นที่ คือ นิคมอุตสาหกรรมราชบุรี ซึ่งถือเป็นพื้นที่เป้าหมายของกระทรวงอุตสาหกรรมในการส่งเสริมและพัฒนา และจากฐานข้อมูลพบว่าจังหวัดราชบุรีมีผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) แล้ว จำนวน 76 ราย 161 ฉบับ มาตรฐานอุตสาหกรรม เอส (มอก.เอส) จำนวน 4 ราย 5 ฉบับ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จำนวน 81 ราย 121 ฉบับ นับว่าเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพทางอุตสาหกรรมอย่างยิ่ง” รัฐมนตรีพิมพ์ภัทราฯ  กล่าว

ด้าน นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดกิจกรรม สมอ. สัญจร ในครั้งนี้ เป็นการบูรณาการภารกิจของ สมอ. ทั้งในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการทุกระดับ ตลอดจนส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความรู้ด้านการมาตรฐานที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยการจัดสัมมนาให้ความรู้ด้านการมาตรฐานเกี่ยวกับการลดโลกร้อน เช่น ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) และการใช้ปูนซิเมนต์ไฮโดรลิคแทนปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ เพื่อลดโลกร้อน 

นอกจากนี้ ยังให้ความรู้ด้านการมาตรฐานแก่เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีความรู้ด้านการมาตรฐาน ตระหนักถึงความสำคัญ สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน และเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเครือข่ายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของ สมอ. ให้ครอบคลุมและทั่วถึงในทุกพื้นที่ รวมทั้งให้ความรู้แก่ผู้ผลิตชุมชน ในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ผลิตชุมชนในเขตจังหวัดราชบุรีและใกล้เคียง ตลอดจนจัดให้มีพิธีมอบใบรับรองให้แก่ผู้ผลิตชุมชน SMEs และผู้ประกอบการอุตสาหกรรม รวมจำนวน 30 ราย รวมทั้ง จัดทีมออกตรวจร้านจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดราชบุรี เพื่อกำกับดูแลการจำหน่ายสินค้าที่ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าที่มีมาตรฐานได้อย่างปลอดภัย

ถอดบทเรียนจากต่างประเทศ อาจารย์นิติศาสตร์ มธ. แนะ 5 แนวทาง ออกกฎหมายคุม ‘อินฟลูเอนเซอร์’

(17 ต.ค. 67) ผศ.ดร.เอมผกา เตชะอภัยคุณ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลกับทีมข่าวสภาผู้บริโภค ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอินฟลูเอนเซอร์เยอะมาก เนื่องจากเป็นประเทศที่ใช้สื่อออนไลน์อย่างแพร่หลาย เพราะฉะนั้นการใช้อินฟลูเอนเซอร์จึงเป็นการตลาดที่เข้าถึงคนไทยได้ง่าย และรวดเร็ว รวมถึงคอนเทนต์ที่มีความหลากหลาย และเกินจริง ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นข่าวว่าอินฟลูเอนเซอร์ได้นําแนวคิดหรือความเชื่อบางอย่างที่หมิ่นเหม่ เช่น การลงทุนในการพนันออนไลน์ การดูแลสุขภาพแบบผิด ๆ การชวนลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ หรือเรื่องความเชื่อทางศาสนา

เมื่อถามถึงกฎหมายที่จะเข้ามาควบคุม ผศ.ดร.เอมผกา ได้ยกตัวอย่างกฎหมายควบคุมอินฟลูเอนเซอร์จากในหลายประเทศ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับประเทศไทย โดยถูกแบ่งออกเป็น 5 แนวทาง

แนวทางที่ 1 ‘ให้ข้อมูลว่าเป็นการโฆษณา’ เป็นกฎหมายบังคับว่าอินฟลูเอนเซอร์ต้องแจ้งให้ชัดว่ารีวิวนั้นเป็นโฆษณา ซึ่งกลไกนี้จะถูกระบุอยู่ในกฎหมายทั้งในประเทศแถบเอเชียและยุโรป เช่น เกาหลีใต้ อินเดีย นิวซีแลนด์ แคนาดา โดยใส่แฮชแท็กระบุชัดเจนว่าเป็นโฆษณาไว้ตั้งแต่ต้นโพสต์หรือต้นคลิปวิดีโอ เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่ารีวิวนั้นเป็นการโฆษณา

แนวทางที่ 2 ‘เปรียบอินฟลูเอนเซอร์ คือผู้ประกอบธุรกิจ’ หลายประเทศมองว่าอินฟลูเอนเซอร์ คือผู้ประกอบธุรกิจ เพราะว่าอินฟลูเอนเซอร์ ทำคอนเทนต์แลกกับยอดวิวซึ่งยอดวิวก็นำมาสู่รายได้ เท่ากับเป็นผู้ประกอบธุรกิจ และในเชิงผู้ประกอบธุรกิจจะอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมาบังคับใช้

แนวทางที่ 3 ‘เปิดเผยข้อมูล’ ต้องมีการเปิดเผยตัวตนที่ชัดเจน ที่สามารถเจาะจงไปได้ว่าคนนี้คือใคร เช่น นอร์เวย์ ออกกฎหมายกำหนดให้อินฟลูเอนเซอร์ต้องแจ้งรายละเอียดภาพบุคคลที่ใช้สำหรับการขายและโฆษณาสินค้าบนโซเชียลมีเดียต่อหน่วยงานรัฐ

แนวทางที่ 4 ‘ควบคุมเนื้อหา’ เป็นกลไกที่มองถึงการควบคุมเนื้อหาที่มีความอ่อนไหว หรือข้อมูลที่อาจผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ เช่น ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำหนดให้อินฟลูเอนเซอร์ ต้องจดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาสื่อแห่งชาติ (NMC) เพื่อป้องกันการโฆษณาที่ ผิดกฎหมาย และการให้ข้อมูลที่ผิดพลาดหรืออันตรายต่อสาธารณะ

“ต้องบอกก่อนว่า ไม่ใช่ว่าเป็นอินฟลูเอนเซอร์แล้วต้องขอใบอนุญาต แต่จะเป็นเฉพาะคอนเทนต์เท่านั้นที่ต้องขอใบอนุญาต เช่น การเงินการธนาคาร การทำเสริมความงาม การรักษาโรค ต้องเป็นคนเฉพาะกลุ่มนี้เท่านั้นที่จะพูดได้ เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะพูดเรื่องรักษาโรคได้ แต่ต้องเป็นหมอจริง ๆ เท่านั้น” ผศ.ดร.เอมผกากล่าว

แนวทางที่ 5 ‘ทำแนวทางหรือข้อแนะนำ’ ไม่ใช่การบังคับใช้กฎหมาย แต่เป็นการทำคู่มือแนะนำอินฟลูเอนเซอร์ สำหรับบางประเทศที่ยังไม่รู้ว่าจะออกกฎหมายรูปแบบไหน โดยทำเป็นคู่มือแนะนำไปก่อนว่าสิ่งไหนทำได้หรือไม่ได้ ให้เรียนรู้ ตระหนัก จากกฎหมายที่มีในปัจจุบัน

แม้ว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎระเบียบสำหรับกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์อย่างชัดเจน จะมีเพียงกฎหมายควบคุม เช่น พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และพ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 รวมทั้งอยู่ระหว่างพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …. ที่มีความพยายามปรับปรุงการกำกับดูแลการนำเสนอข้อมูลให้เท่าทันสื่อปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีร่าง พ.ร.บ.อาหาร ฉบับสภาผู้บริโภค ที่เพิ่มกำหนดนิยาม ให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร ซึ่งครอบคลุมถึงพรีเซนเตอร์ ที่ทำการโฆษณาอาหาร จะต้องรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาด้วย

อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยจะขยายการกำกับดูแลให้ครอบคลุมกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์อาจต้องทบทวนการกำหนดนิยามของสื่อออนไลน์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงแนวทางการกำกับดูแลที่สอดคล้องกับการผลิตเนื้อหา อาจต้องศึกษาจากตัวอย่างของกฎหมายและมาตรการของต่างประเทศเพิ่มเติม เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทสังคมไทยต่อไป

สำหรับแนวทางที่ทำได้ในประเทศไทย ผศ.ดร.เอมผกาให้ข้อเสนอว่า “แนวทางที่สามารถทำได้ในเลยน่าจะเป็น การเปิดเผยว่าคอนเทนต์นี้คือการโฆษณา เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจ รวมถึงการตีความว่าอินฟลูเอนเซอร์เป็นผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้รับผิดบางอย่างที่กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคนั้นมีกลไกบังคับใช้สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ระมัดระวังในการรับโฆษณาสินค้ามากยิ่งขึ้น ส่วนการควบคุมเนื้อหาอาจารย์มองว่าเป็นแนวทางที่ดีเพื่อป้องกันข้อมูลข่าวปลอม แต่อาจขัดต่อบริบทสังคมไทย เรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น ถือว่าเป็นความท้าทายในการควบคุมเนื้อหาและการรักษาสิทธิแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้โซเชียลมีเดีย”

สบส. นำทีมเครือข่ายประชาสัมพันธ์ดูงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพและระบบสุขภาพภาคประชาชน

เมื่อวันที่ (25 ก.พ. 68) ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลายบาง จังหวัดนนทบุรี และ Chersery Home กรุงเทพมหานคร นายแพทย์อดิสรณ์ วรรธนะศักดิ์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นประธานนำเครือข่ายประชาสัมพันธ์ศึกษาดูงานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพและระบบสุขภาพภาคประชาชน ทั้งนี้ มีเครือข่ายประชาสัมพันธ์กรม สบส. จำนวน 9 เครือข่ายเข้าร่วมศึกษาดูงานฯ ประกอบไปด้วยเครือข่ายประชาสัมพันธ์ภายในกรมฯ จำนวน 4 เครือข่าย และเครือข่ายสื่อมวลชน จำนวน 5 เครือข่าย ประกอบด้วย 1) สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย นางสาวชุติพันธ์ุ ลิมปะพันธุ์ นายกสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (สวทท.) มอบหมายให้ นางสาวจินตนา ชูชาติ , นางสาวสุพิชญาณ์ สุธาคำ กรรมการ/ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสวัสดิการฯ เป็นผู้แทน 2) สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย 3) สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ 4) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และ 5) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายประชาสัมพันธ์ในการสื่อสารภารกิจกรม สบส. ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและเลือกใช้บริการสุขภาพได้อย่างถูกต้อง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top