Sunday, 11 May 2025
ความรุนแรงในครอบครัว

‘ต่าย ชุติมา’ โผล่คอมเมนต์ให้กำลังใจ ‘พิธา’ หลังพูดถึงปมความรุนแรงในครอบครัว

ต่าย ชุติมา โผล่คอมเมนต์ พิธา พูดถึงปมความรุนแรงในครอบครัว แฟนๆ แห่ส่งกำลังใจ

(21 เม.ย. 66) จากกรณี ‘ทิม’ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตสามีนักแสดงสาว ‘ต่าย’ ชุติมา ให้สัมภาษณ์กับสื่อตอนหนึ่ง ถึงเรื่องความรุนแรงในครอบครัว โดยยืนยันไม่เคยมีความรุนแรงในครอบครัว ตนต้องคิดถึงสิทธิสตรี สิทธิครอบครัว สิทธิเด็ก และสิทธินักการเมือง แต่ทุกคนก็เคยเป็นตัวร้ายในเรื่องเล่าของคนอื่นทั้งนั้น

ปรากฏว่า ต่าย ชุติมา อดีตภรรยาได้เข้าไปคอมเมนต์ในข่าวดังกล่าวว่า…

สุภาษิตว่าไว้ ‘รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี’ แต่หาก ‘ตี’ เกินกว่าเหตุ เสี่ยงนอนคุกยาวๆ

ความรัก ความใส่ใจ และความห่วงใย ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาบันครอบครัว แต่หากให้ความรัก ความใส่ใจ และความห่วงใย ‘มากจนเกินไป’ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา ‘ความรุนแรง’ ในครอบครัวได้

การอบรมสั่งสอนลูก หรือบุคคลในครอบครัว หากเกินขอบเขต ถึงขนาดการทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจ จนเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง ผู้กระทำอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย (หลายคนคิดว่าทำได้ ไร้ความผิด)

คราวนี้จะต้องมาทำความเข้าใจในคำว่าความรุนแรงในครอบครัวเสียก่อน 

ความรุนแรงในครอบครัว หมายถึง ความรุนแรงที่พ่อ แม่ กระทำต่อลูก หรือสามีกระทำต่อภรรยา ไม่ว่าจะเกิดขึ้นทั้งที่มีผลกระทบต่อร่างกาย หรือจิตใจ

บุคคลในครอบครัว หมายถึง สามี ภรรยา บุตร อดีตสามี/ภรรยา หรือญาติที่พักอาศัยอยู่ภายในครอบครัวเดียวกัน

หากฝ่าฝืน ผู้ที่กระทำความรุนแรงอาจมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 

ในระหว่างพิจารณาคดี ศาลอาจจะมีคำสั่งใด ๆ เพื่อกำหนดมาตรการและเหตุบรรเทาทุกข์ ให้ผู้กระทำหยุดการกระทำรุนแรงดังกล่าวต่อไปอีก หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้กระทำความรุนแรง อาจถูกให้ใช้วิธีฟื้นฟู บำรุงรักษา หรือคุมความประพฤติ ห้ามใช้ความรุนแรงในครอบครัวซ้ำอีก

หากภายหลังผู้กระทำความรุนแรง และบุคคลในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ อาจตกลงยอมความกัน ซึ่งหากสามารถทำข้อตกลงและอยู่ร่วมกันต่อไปได้ อาจมีการถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้องได้ และถือเป็นความผิดอันยอมความได้

เนื่องจากความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว เป็นเรื่องละเอียดอ่อน กฎหมายจึงกำหนด วิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง มีขั้นตอนแตกต่างจากคดีอาญาทั่วไป เพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ไข ความรุนแรงในครอบครัว และเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

‘ยูนิเซฟ’ เผยวิกฤตของ ‘เด็กเล็ก’ เกือบ 400 ล้านคนทั่วโลก ต้องเผชิญความรุนแรงทาง ‘ร่างกาย-วาจา’ ในครอบครัว

เมื่อวานนี้ (12 มิ.ย. 67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การประมาณการใหม่จากกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ (UNICEF) ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร (11 มิ.ย.) เนื่องในโอกาสการฉลองวันแห่งการเล่นสากล (International Day of Play) ครั้งแรก เปิดเผยว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เกือบ 400 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของเด็กกลุ่มอายุนี้ทั่วโลก ต้องทนเผชิญความรุนแรงทางจิตใจหรือการลงโทษทางร่างกายจากที่บ้านเป็นประจำ โดยในจำนวนนี้มีเด็กราว 330 ล้านคนถูกลงโทษด้วยวิธีทางร่างกาย

ด้าน แคทเธอรีน รัสเซลล์ คณะกรรมการผู้บริหารของยูนิเซฟ กล่าวว่า เมื่อเด็กเผชิญความรุนแรงทางร่างกายหรือทางวาจาจากที่บ้าน หรือเมื่อไม่ได้รับการดูแลทางสังคมและทางอารมณ์จากบุคคลอันเป็นที่รัก การกระทำเหล่านี้เป็นบ่อนทำลายความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและพัฒนาการของพวกเขาได้ พร้อมเสริมว่าการเอาใจใส่และการเลี้ยงดูอย่างสนุกสนานสามารถสร้างความสุขและยังช่วยให้เด็ก ๆ รู้สึกปลอดภัย ได้เรียนรู้ สร้างทักษะ และสำรวจโลกรอบ ๆ ตัวของพวกเขา

รายงานระบุว่า บรรทัดฐานทางสังคมอันตรายที่สนับสนุนวิธีการเลี้ยงดูบุตรโดยใช้ความรุนแรงยังคงมีอยู่ทั่วโลก โดยพบว่าแม่และผู้ดูแลหลักมากกว่า 1 ใน 4 มองว่าการลงโทษทางร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเลี้ยงดูและสั่งสอนเด็กอย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ ยูนิเซฟเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มความพยายามและการลงทุนด้านการคุ้มครอง โดยการเสริมสร้างกรอบกฎหมายและนโยบายที่ยับยั้งและยุติความรุนแรงที่บ้านที่มีต่อเด็กทุกรูปแบบผ่านการขยายโครงการการเลี้ยงดูแบบอิงหลักฐานที่ส่งเสริมแนวทางเชิงบวก สนุกสนาน และป้องกันความรุนแรงในครอบครัว ตลอดจนการเรียนรู้อย่างคุ้มค่าผ่านการขยายการเข้าถึงพื้นที่การเรียนรู้และการเล่นให้กับเด็ก ๆ เพื่อรับรองว่าเด็กทุกคนสามารถเติบโตขึ้นมาด้วยความรู้สึกปลอดภัยและรู้สึกว่าตนเป็นที่รัก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top