Tuesday, 22 April 2025
ครู

โฆษกรัฐบาล เปิดรายละเอียด แก้หนี้ 8 กลุ่ม รวม ครู-ตร. ย้ำคำ นายกฯ '65 ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้โพสต์ผ่านเพจ "ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Cha-o-cha" ย้ำความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ผลักดันให้ปี 2565 นี้ เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน” ให้สำเร็จให้ได้  ซึ่งนายกรัฐมนตรียอมรับว่า วิกฤตโควิด-19 ซ้ำเติมให้ปัญหา"ปัญหาหนี้สินครัวเรือน"  มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่ นายกรัฐมนตรีจะเดินหน้าทุกวิถีทาง เพื่อช่วยบรรเทาภาระและความเดือดร้อนของทุกกลุ่มลูกหนี้  ล่าสุดได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 21 ธันวาคม 64  ผลักดันร่างพ.ร.บ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....   เข้าสู่รัฐสภาพิจารณา  โดยหวังจะได้รับความร่วมมือสมาชิกรัฐสภา ผ่านร่าง พ.ร.บ. โดยเร็ว ซึ่งจะส่งผลต่อการแก้หนี้นักเรียน นักศึกษาและผู้คำ้ประกันกว่า 5 ล้านคน

นายธนกร กล่าวว่า ความก้าวหน้าของคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรีฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  เป็นประธาน ในการดำเนินการตามข้อสั่งการของพล.อ. ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ครอบคลุม 8 กลุ่มหนี้ ได้แก่ 

1) การแก้ปัญหาหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  (กยศ.)  ปฏิรูปรูปแบบการชำระหนี้ อาทิ การปรับปรุงรูปแบบการจ่ายชำระหนี้คืน จาก “รายปี” เป็น “รายเดือน” เป็นชำระคืนค่างวดแบบเฉลี่ย “เท่ากันทุกเดือน” ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระจาก 15 ปี เป็น 25 ปี  การเริ่มชำระหนี้ ให้ผูกกับ “การมีงานทำ” ปรับปรุงลำดับการตัดชำระหนี้ โดยนำไปตัด “เงินต้น” ก่อน แล้วจึงนำมาตัด “ดอกเบี้ย”  ปรับลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เหลือ 2% ต่อปี ยกเลิกผู้ค้ำประกันตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2564 เป็นต้น

2) การกำหนดให้การไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นวาระของประเทศ ผ่านกลไกธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินของรัฐ โดย ธปท. จะออกประกาศเรื่อง “การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างยั่งยืน” เพื่อช่วยให้ SFIs สามารถปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้โดยไม่มีข้อกังวลเกี่ยวกับการถูกลงโทษตามกฎหมาย  ประกาศของ ธปท. และข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

3) การแก้ปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์  เช่น การประกาศกรอบอัตราค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ที่ช่วยคุ้มครองลูกหนี้ ไม่ให้ถูกเรียกเก็บเงินในการทวงถามหนี้เกินความจำเป็น  โดยอัตราค่าทวงถามหนี้กรณีทั่วไปรวมจำนำทะเบียน ให้คิดไม่เกิน 50 บาทต่อรอบการทวงถามกรณีค้างชำระ 1 งวด และคิดไม่เกิน 100 บาทต่อรอบการทวงถาม กรณีค้างชำระมากกว่า 1 งวด   คิดอัตราค่าทวงถามหนี้สำหรับปฏิบัติการลงพื้นที่ติดตามถามหนี้ สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ไม่เกิน 400 บาทต่อรอบการทวงถาม  กำหนดค่างวดที่ถึงกำหนดชำระที่ต่ำกว่า 1,000 บาท ไม่ให้มีการเก็บค่าทวงถามหนี้ 

4) การแก้ปัญหาหนี้สินข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการครูและข้าราชการตำรวจ อาทิ การยุบยอดหนี้โดยใช้ทรัพย์สินและรายได้ในอนาคตของครู   การปรับดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลงเหลือไม่เกิน 5% เพื่อให้สอดคล้องกับสินเชื่อหักเงินเดือนข้าราชการที่มีความเสี่ยงต่ำ   การปรับลดค่าธรรมเนียมทำประกันชีวิตและการค้ำประกันโดยบุคคลที่ไม่จำเป็น การยกระดับระบบการตัดเงินเดือนของข้าราชการให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากขึ้น 

การแก้ไขปัญหาหนี้ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ขอความร่วมมือไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจเพื่อช่วยเหลือข้าราชการที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในการพักชำระหนี้เงินต้น การปรับลดอัตราการถือหุ้นรายเดือน การจัดทำโครงการปล่อยเงินกู้ระยะสั้นดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับสมาชิกในครอบครัว และการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับสมาชิกที่มีหนี้เงินกู้

หน่วยงานต้นสังกัดเร่งปรับปรุงและยกระดับระบบการตัดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ อาทิ กำหนดยอดเงินที่ข้าราชการสามารถกู้ได้โดยไม่เกินศักยภาพในการชำระคืนจากเงินเดือน กำหนดกติกาว่าหลังหักชำระหนี้ ข้าราชการต้องเหลือเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 30% เพื่อป้องกันการกู้ยืมนอกระบบ  

 5) การปรับลดและทบทวนโครงสร้างและเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม และการออกมาตรการคุ้มครองสิทธิ์ของลูกหนี้ ล่าสุดกระทรวงการคลังได้ปรับลดเพดานเงินกู้สินเชื่อ PICO Finance ลงจาก 36% เหลือ 33% สำหรับลูกหนี้ที่วางหลักประกัน  ล่าสุด  16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ธปท. ได้ออกมาตรการแก้ไขหนี้สินระยะยาวเพิ่มเติม ด้วยการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ (Refinance) และการรวมหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19  สามารถนำหลักประกันของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการช่วยลดภาระดอกเบี้ยและค่างวดในระยะยาว นอกจากนี้  ธปท. ลดข้อจำกัดการทำ   รีไฟแนนซ์ (Refinance) หนี้ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของสถาบันการเงินในการรวมหนี้ให้กับลูกหนี้ควบคู่ไปด้วย 

6) การแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มีการจัดตั้ง “คลินิกแก้หนี้” เพื่อเป็น platform กลางในการแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ปกติมักมีเจ้าหนี้หลายราย ที่ผ่านมาช่วยเหลือแก้หนี้หลายหมื่นบัญชี    ธปท. ยังจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์  ได้ช่วยประชาชนรายย่อยมากกว่าสองแสนราย  

‘ครูเป็ด’ ให้ข้อคิด ‘ฟืนเปียก’ จุดไม่ติดก็ต้องทิ้ง แล้วเก็บไม้ขีดจุดฟืนที่พร้อมลุกโชนเป็นไฟดีกว่า

กลายเป็นอีกกระแสบนโลกโซเชียล หลังจากคุณครูท่านหนึ่งได้ออกมาตัดพ้อถึงความเป็นครูที่นักเรียนไม่แม้แต่เคารพ พร้อมเผยภาพให้เห็นข้อความหยาบคายจากเด็กนักเรียนที่ไม่พอใจ เดินตรงไปเขียนกระดานดำว่า ‘ควาย’ หลังถูกครูผู้สอนยึดโทรศัพท์มือถือกลางห้องขณะเรียน พร้อมเนื้อหาระบุว่า…

เมื่อเข้าห้องสอน บอกให้เก็บโทรศัพท์ เริ่มเข้าเนื้อหา ก็บอกให้เก็บโทรศัพท์ ทบทวนเนื้อหา ก็บอกให้เก็บโทรศัพท์ รอบที่ 3 ฉันเดินเข้าไปยึดโทรศัพท์ และบอกให้มาสอบเพื่อแลกเอาโทรศัพท์คืน (คะแนนไม่มีสักช่อง) นักเรียนลุกขึ้นยืนและเดินผ่านหน้าดิฉัน เดินผ่านดิฉันขณะสอนอยู่ เพื่อนนั่งฟังอยู่ และเดินไปทางกระดานดำ หยิบชอล์กขึ้นมาเขียน แล้วเดินกลับไป

ตอนส่งงานเอางานที่จดไม่ครบ ไม่เสร็จมาส่ง ดิฉันบอกว่า งานไม่ครบนะ อุตส่าห์เอาสมุดเพื่อนที่ครบมาเปิดให้ดู แต่นักเรียนไม่ดู เอื้อมมือมาหยิบโทรศัพท์และเดินสะพายกระเป๋าออกไป ม.1 ขนาดนี้ ต่อไปขนาดไหน #ครูไม่มีสิทธิดุเด็ก #ครูไม่มีสิทธิตีเด็ก #ครูไม่มีสิทธิแสดงกริยาท่าทางไม่เหมาะสมหรือรุนแรงกับเด็ก #ครูต้องเป็นผู้มีสติละวางอารมณ์ให้ได้ #ครูต้องไม่พูดจารุนแรงกับเด็ก #ครูต้องมีจรรยาบรรณ #ใช่ค่ะครูต้องเป็นผู้รู้ผู้เบิกบาน #แต่ฉันก็เป็นคนผู้หนึ่งที่มีความโลภโกรธหลงมีจิตใจเช่นกัน” 

นับตั้งแต่เรื่องราวดังกล่าวถูกแชร์ก็มีคนแห่เข้ามาให้กำลังใจคุณครูกันอย่างล้นหลาม หนึ่งในนั้น คือ นายมนต์ชีพ ศิวะสินางกูร หรือ ‘ครูเป็ด’ สมาชิกพรรคสร้างอนาคตไทย ที่ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในฐานะที่เป็นครูเหมือนกัน โดยระบุว่า... 

ตำราบนแผ่นฟิล์ม 'To Sir, with Love แด่คุณครู, ด้วยดวงใจ' แก่น ‘คุรุ’ ช่วย 'ว่าที่ครู' ถ่องแท้ก่อนสอนสั่งลูกศิษย์

สำหรับการอธิบายความเป็น 'ครู' แล้ว ภาพยนตร์เรื่อง 'แด่คุณครู, ด้วยดวงใจ' (To Sir, with Love) นั้นเหมาะสมอย่างยิ่ง พอเหมาะและสมควร ครบถ้วนด้วยเนื้อหา อารมณ์ ศิลปะการถ่ายทอด อย่างปราศจากกาลเวลาข้องเกี่ยว - อกาลิโก

To Sir, with Love ถูกสร้างและออกฉายตั้งแต่ ค.ศ. 1967 โดยเล่าย้อนถึงช่วงกลางทศวรรษ 1960 เมื่อ 'มาร์ค แธกเกอร์เรย์' (Mark Thackeray) ชายอพยพจากอาณานิคมบริติชเกียนา ไปแสวงหาโชคบนแผ่นดินอังกฤษ ด้วยกระเป๋าเสื้อผ้าติดตัวเพียงใบเดียว พร้อมปริญญาบัตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต โดยต้องเดินเตะฝุ่นหางานนานถึงปีครึ่ง จนสุดท้ายเขาต้องหันรับงานสอนในโรงเรียนมัธยมเทศบาล 'นอร์ทคีย์' (North Quay) ชั่วคราว เพื่อรับรายได้ประทังชีพ

บท ‘มาร์ค แธกเกอร์เรย์’ แสดงโดย ‘ซิดนีย์ พอยติเยร์’ (Sidney Poitier)

เนื้อหาภาพยนตร์ชี้ว่ายุคสมัยนั้น “ช่างตกต่ำ มีความเหลื่อมล้ำสูง ทั้งแง่มุมเศรษฐกิจ และชาติพันธุ์”

ครูแธกเกอร์เรย์ต้องผจญกับความไร้ระเบียบจากเหล่าบรรดาอสูรวัยรุ่นที่พ่อแม่ฝากความหวัง (หรือเพียงดันหลังเข้าโรงเรียน) ด้วยคิดว่าลูกตนคงจะห่างไกลสิ่งแวดล้อมมลพิษรอบถิ่นที่อยู่ แต่ด้วยข้อจำกัดทางงบประมาณของสถานศึกษา กับอนาคตซึ่งตัวเด็กเองยังมองไม่เห็น พล็อตเรื่องเช่นนี้ ภาพยนตร์ ‘แด่คุณครู, ด้วยดวงใจ’ ถึงขึ้นหิ้งดราม่าฐานะตำนาน (7.6 IMDB) ตลอดกาล

สิ่งน่าชื่นชมที่สุด คือ การแสดงของ ‘Sidney Poitier’ ดาราผิวสีคนแรกที่พิชิตรางวัลนักแสดงนำยอดเยี่ยมจาก 'อะคาเดมี่ อวอร์ดส' (ออสการ์) ผู้ถูกนิยามว่าเป็น ‘กาวใจ’ ระหว่างรอยต่ออันอึดอัดขัดแย้งระหว่างนักแสดง ‘ผิวสี’ และนายทุน ‘ผิวขาว’ ณ ยุคเตาะแตะ ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูด

คือ 'พอยติเยร์' ที่ 'หลุยส์ กอสเส็ตต์ จูเนียร์' บิดาของเหล่าเจ้าพ่อย่านเซาท์ไซต์ (อีกที) นักแสดงรุ่นเก๋า กับ 'แดนเซล วอชิงตัน' ดาราทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของวงการ ยกย่องเขาราวเทวรูปบูชา ด้วยประโยค "ข้าพเจ้าจักเดินตามท่านทุกฝีก้าวขอรับ - I'll Follow Your Footstep, Sir." เดียวกัน

พี่ น้อง ลูกหลาน ต่างเคารพเขาเสมือน 'ครู'

ฉากน่าประทับใจจากหนัง (ภาค 1 หรือ 2 ไม่แน่ใจ - ผู้เขียน) คือตอนที่ครูมาร์คพานักเรียนวัยห้าวออกเผชิญโลกภายนอก (คล้ายๆ การเรียนรู้นอกห้อง หรือเชยๆ ก็ทัศนศึกษา) ละแวกโรงเรียนหลังทัวร์พิพิธภัณฑ์ ท่านเรียกประชุมกลุ่มตรงริมฟุตปาธ แล้วให้โจทย์นักเรียนหนุ่มผิวขาวหัวโจกของห้องเดินไปทักหญิงสูงวัยถือร่มรีรอข้ามถนน

‘บิ๊กตู่’ พอใจ ศธ. เร่งแก้ปัญหาหนี้ครู ผนึก 13 หน่วยงาน แก้หนี้เป็นรูปธรรม - ลดเหลื่อมล้ำ

(26 ม.ค. 66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนเป็นวาระสำคัญ 

ทั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์พอใจกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้เร่งขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยล่าสุดนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ‘การดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา’ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับหน่วยงานและสถาบันการเงิน 12 แห่ง เพื่อต่อยอด ‘โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย’ และ ‘มหกรรมการเงินเพื่อครูไทย’ ที่มีการช่วยเหลือและปรับโครงสร้างหนี้ให้ครูที่เข้าร่วมโครงการไปแล้วกว่า 10,300 ล้านบาท รวมไปถึงการเจรจาลดดอกเบี้ยกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศ  

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ความร่วมมือของ 13 หน่วยงานในครั้งนี้ เป็นการบูรณาการและประสานความร่วมมือ เพื่อจัดกิจกรรมตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา และมีบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินครูอย่างยั่งยืน โดยดึงจุดแข็งของแต่ละหน่วยงานเข้าช่วยเหลือจัดการแก้ไขหนี้และการอบรมความรู้ปลูกฝังวินัยการเงิน พร้อมทั้งให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ สำหรับการชำระหนี้ การกู้ยืม การออม และการลงทุน เพื่อช่วยเหลือให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

‘เยอรมัน’ ขาดแคลน ‘ครู’ อย่างหนัก จนต้องลดคลาส ทำ นร.เกรดร่วง หลังคนหนุ่ม-สาวหันเมินอาชีพนี้ เหตุค่าตอบแทนต่ำ สวนทางภาระงาน

‘นักการศึกษาเยอรมัน’ จี้!! รัฐบาลแก้ปัญหาขาดแคลนครูอย่างหนักทั่วประเทศด่วน โดยชี้ข้อมูลจากผลสอบวิชาคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และการอ่านของนักเรียนระดับเกรด 9 ในเยอรมันร่วงลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดครูในโรงเรียน

‘รีเบคก้า’ ครูโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในฮัมบูร์ก ผู้มีประสบการณ์สอนในวิชาภาษาอังกฤษ และ ประวัติศาสตร์มานานกว่า 30 ปี เปิดเผยข้อมูลผ่านสื่อเยอรมันว่า โดยทั่วไปแล้ว วิชาภาษาเยอรมัน, อังกฤษ และ คณิตศาสตร์ ถือเป็นวิชาหลักที่ต้องเน้นเป็นอันดับแรก แต่เมื่อครูขาดแคลน ทำให้โรงเรียนจำเป็นต้องงดคลาสวิชาอื่นๆ เพื่อเทครูมาสอนวิชาหลักก่อน ซึ่งหลายครั้งที่ชั้นเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของเธอต้องถูกยกเลิกไปเป็นเดือนก็มี

โดย ครูรีเบคก้า เล่าว่า ปัญหาการขาดแคลนครูมีมานานแล้ว แม้ว่าทางโรงเรียนพยายามประกาศรับสมัครครูมาตลอด แต่ก็ยังได้จำนวนครูมาไม่พอ และยังทำให้ครูที่ยังเหลืออยู่ต้องแบกรับภาระการสอนที่เพิ่มมากขึ้นจนป่วยจากการทำงานหนัก

ปัญหานี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่โรงเรียนของครูรีเบคก้า แต่เป็นปัญหาของโรงเรียนทั่วเยอรมัน จนหลายโรงเรียนต้องลดทอนหลักสูตรให้สั้นลง บางโรงเรียนเปิดการสอนได้แค่ 4 วันต่อสัปดาห์ ที่ไม่ใช่เหตุผลเรื่อง Work life balance แต่เพราะไม่มีครูมาสอน

สื่อเยอรมันชี้ว่า โรงเรียนในเยอรมันอาจขาดแคลนครูหลายหมื่นตำแหน่ง และเนื่องจากการกำหนดรูปแบบหลักสูตร และสวัสดิการครู อยู่ในอำนาจของรัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละ 16 แคว้น ที่มีความแตกต่างหลากหลาย ก็ยิ่งทำให้การจัดการหาผู้สอนมีความยากขึ้นไปอีก

ด้านรัฐมนตรีศึกษาธิการของรัฐบาลกลาง และหน่วยงานของแต่ละแคว้น พยายามหาแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหา ซึ่งได้ประเมินว่าทั่วประเทศน่าจะขาดแคลนครูอยู่ประมาณ 14,000 ตำแหน่ง

แต่ทว่า นักเศรษฐศาสตร์, นักวิชาการด้านการศึกษา และ กลุ่มสหภาพแรงงานครูออกมาค้านว่ารัฐบาลประเมินตัวเลขต่ำเกินไป ไม่สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงทั้งในปัจจุบัน และ อนาคต

หากประเมินจากตัวเลขนักเรียนในโรงเรียนของปีนี้ (2023) ที่มีอยู่ประมาณ 830,000 คน บางส่วนมาจากกลุ่มชาวต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในเยอรมันมากขึ้น จึงคาดการณ์ได้ว่าอัตราเด็กเกิดใหม่ในเยอรมันน่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอีก 20 ปีข้างหน้า ในขณะที่เยอรมัน จำนวนครูกลับลดลงเรื่อยๆ ทุกปี หากรัฐบาลไม่เร่งแก้ป้ญหาในวันนี้ คาดว่าในปี 2035 เยอรมันอาจขาดแคลนครูมากกว่า 56,000 ตำแหน่ง

ในขณะที่เยอรมันกำหนดให้ครูต้องจบวุฒิขั้นต่ำปริญญาตรีที่ตรงสาย แต่เพราะปัญหาการขาดแคลนครู ทำให้รัฐบาลเยอรมันอนุโลมให้ผู้ที่จบสาขาอื่นๆ ที่เข้าอบรมหลักสูตรด้านการสอนฉบับเร่งรัดสามารถบรรจุเป็นครูได้ แต่ก็เหมือนเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกที่คัน เนื่องจากผลสำรวจพบว่า หนุ่มสาวรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจอาชีพครูกันแล้ว

เหตุผลเพราะว่า อาชีพครูในความคิดของหนุ่ม-สาวยุคนี้ถูกมองว่าเป็นงานหนัก ค่าตอบแทนน้อย รับผิดชอบสูง มีชั่วโมงการทำงานยาวนาน แม้รัฐบาลจะกำหนดให้ครูมีชั่วโมงการสอนเฉลี่ย 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่มักพบว่าสอนเกินเกณฑ์มาตรฐานไปไกลมาก ถึง 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มิหนำซ้ำ หน่วยงานด้านการศึกษาของรัฐเสนอแนะให้เพิ่มชั่วโมงการเรียนของนักเรียน ยืดอายุวัยเกษียณของครู เพิ่มจำนวนนักเรียนในชั้น และคาดหวังเทคนิคการสอนที่หลากหลาย

ด้วยอุปสรรคหลายปัจจัยจนปวดใจ เลยทำให้เยอรมันหาครูมาสอนได้ยาก และครูหลายคนเลือกที่จะรับงานสอนแบบ Part-time มากกว่าทำงานแบบประจำเต็มเวลา เพราะมีความยืดหยุ่นในชั่วโมงการสอนได้มากกว่า

ร่ายยาวมาถึงตรงนี้ เราจึงเข้าใจ และเห็นภาพของวิกฤติครูในเยอรมัน และปัญหาที่ครูสาวรีเบคก้ากำลังเผชิญอยู่ ว่าทำไมครูในเยอรมันถึงขาดแคลน และต้องทำงานหนัก ทำไมบางโรงเรียนในเยอรมันถึงไม่สามารถเปิดสอนได้เต็ม 5 วันต่อสัปดาห์ และต้องตัดวิชาเสริม เน้นสอนแต่วิชาหลัก จนส่งผลเสียต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนโดยรวมของนักเรียนเยอรมันไปในที่สุด

ชาวเน็ตสุดงง!! เด็กเกเรทำร้ายร่างกายนักเรียน แต่ครูนิ่งเฉย ไม่ตักเตือนหรือสั่งสอน

เมื่อวานนี้ (2 ก.ย. 67) เพจอีซ้อขยี้ข่าว3 ได้มีการโพสต์คลิปวิดีโอเผยพฤติกรรมของเด็กคนหนึ่งทำร้ายเด็กนักเรียนในระหว่างที่ครูกำลังสอน ทั้งที่มีวิดีโอถ่ายเห็นชัดเจนแต่กลับไม่มีการว่ากล่าวตักเตือนใด ๆ จากครูผู้สอนหรือคนที่กำลังถ่ายคลิปอยู่ โดยในคลิปดังกล่าวได้มีการระบุข้อความว่า

"ถ้าเราเป็นครูจะจัดการเรื่องนี้ยังไง? กรณีนี้ครูไม่เห็นเลยหรือ?"

โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในห้องเรียนซึ่งคาดว่าเป็นชั้นระดับอนุบาล จะมีเด็กคนหนึ่งแต่งตัวไม่เหมือนเพื่อน ใส่ชุดอยู่บ้านทำตัววุ่นวายภายในห้องเรียน ซึ่งมีเด็กนักเรียนนั่งอยู่กันเต็มห้อง ก่อนที่เด็กเสื้อแดงจะคลานมาหาเด็กนักเรียนคนหนึ่ง จากนั้นต่อยเข้าไปที่ท้องและใบหน้าของเด็กนักเรียน จากนั้นไม่นานเดินไปข้างหลังเด็กนักเรียนคนเดิมและต่อยเตะที่กลางหลัง หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าเด็กนักเรียนในห้องต่างผวาเมื่อเด็กเสื้อแดงคลานผ่าน ซึ่งคาดว่าเด็กนิสัยไม่ดีรายนี้คงมีพฤติกรรมเช่นนี้บ่อย

แต่ต้องแปลกใจมากยิ่งขึ้นเมื่อในห้องเรียนดังกล่าวมีครูอยู่ถึง 2 คน คาดว่าน่าจะเห็นเหตุการณ์ทั้งหมดแต่กลับไม่เข้าห้ามปรามหรือสั่งสอนเด็กชายเสื้อสีแดงเลย นอกจากนี้ ผู้ที่บันทึกวิดีโอซึ่งเห็นเหตุการณ์ชัดเจนก็ปล่อยให้เหตุการณ์ดำเนินไปโดยไม่มีการทำอะไรทั้งสิ้น

ทั้งนี้ มีชาวเน็ตเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมของครูในห้องเรียนเป็นจำนวนมากที่ปล่อยปละละเลยเหตุการณ์ดังกล่าว บ้างก็คาดว่าเด็กเกเรรายนี้อาจจะเป็นลูกหลานของคุณครูก็ได้

ข่าวดี MOU สกสค.-ธอส.จัดใหญ่ ปรับลดดอกเบี้ยพัฒนาคุณภาพชีวิตครู จากร้อยละ 6-7 บาท/ปี เหลือ 1.71 บาท/ปี

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จัดแชมเปญใหญ่ โครงการสวัสดิการเพื่อลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ปรับลดดอกเบี้ย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากอัตราร้อยละ  6-7 บาทต่อปี เหลือเพียง 1.71 บาทต่อปี

ที่ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการ สกสค. ดร.พีระพันธ์ เหมะรัต เลขาธิการ สำนักงาน สกสค. และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยนายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ในการร่วมกันให้บริการทางวิชาการด้านการบริหาร หรือวางแผนทางการเงินและการออม 

เพื่อการมีบ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางการเงิน อาทิ เงินฝาก สินเชื่อ เพื่อส่งเสริมสวัสดิการและลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ คณะที่ปรึกษา รมว.กระทรวงศึกษาธิการ และโฆษกประจำกระทรวงศึกษาธิการ นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา และผู้บริหารจากทั้ง 2 หน่วยงาน ร่วมพิธี

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. ได้หารือกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ จนมีความเห็นและแนวทางร่วมกันในการจัดสวัสดิการการออม สวัสดิการผู้เกษียณอายุ และแก้ไขปัญหาหนี้สินด้วยการลดดอกเบี้ยสูงจากอัตราร้อยละ  6 - 7  บาทต่อปี เหลือ 1.71 บาทต่อปี เพื่อให้ครูมีเงินได้รายเดือนเหลือมากขึ้น จนมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษา จะได้มีสวัสดิการ รวมทั้งมีบริการผลิตภัณฑ์ด้านการเงินต่างๆ ทั้งด้านการออมและสินเชื่อที่มีคุณภาพเป็นทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ครอบครัวครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่งผลให้สามารถพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของครูและนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น

นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า สกสค. และ ธอส. ร่วมมือกันให้บริการทางวิชาการด้านการบริหารหรือวางแผนทางการเงิน และการออมเพื่อการมีบ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาทางการเงินและกฎหมายแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา 

ซึ่งมีภาระผูกพันกับสถาบันการเงินอื่น และมีความประสงค์ปรับโครงสร้างหนี้กับทางธนาคาร และความร่วมมือในการการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางการเงิน อาทิ เงินฝาก สินเชื่อเพื่อส่งเสริมสวัสดิการและลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย

1)โครงการโรงเรียนการเงิน เงินฝากประจำสะสมทรัพย์ 24 เดือน เพื่อส่งเสริมการออมอย่างยั่งยืน สม่ำเสมอ ในวงเงินตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 25,000 บาทต่อเดือน ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1.7% ต่อปี เมื่อฝากครบ 24 เดือนติดต่อกันจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มอีก 1% ตั้งแต่ต้น, 

2) โครงการสวัสดิการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา Refinance In เพื่อลดค่าครองชีพจากอัตราดอกเบี้ยสูง 6 – 7 % เหลือ 1.71 % โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงินอื่นมา Refinance ปรับโครงสร้างหนี้กับ ธอส. ซึ่งจะทำให้มีรายได้ต่อเดือนคงเหลือเพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และ 3) โครงการสวัสดิการเกษียณสุขสำราญ Reverse Mortgage ให้ผู้เกษียณได้มีรายได้เพิ่มเป็นการช่วยเหลือค่าครองชีพ โดยให้ผู้เกษียณแล้วอายุระหว่าง 60 – 75 ปี ที่มีบ้านปลอดภาระจำนอง ได้เข้าโครงการกู้เงินในอัตราครึ่งหนึ่งของราคาประเมินทรัพย์สินแต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท รับเงินกู้เป็นรายเดือนโดยไม่ชำระดอกเบี้ยได้ถึงอายุ 85 ปี”

ด้าน ดร. พีระพันธ์  เหมะรัต เลขาธิการ สำนักงาน สกสค. กล่าวว่า “ทั้ง 3 โครงการข้างต้นจะเป็นการลดภาระและแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ที่ Line OA : สกสค. 'ศูนย์ปรึกษาทางการเงิน' ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ขณะที่ พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรงศึกษาธิการมีนโยบาย 'เรียนดี มีความสุข' เพื่อลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถพัฒนาการศึกษาของชาติให้บรรลุเป้าหมาย  การจัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูเป็นภารกิจสำคัญอย่างหนึ่ง ที่กระทรวงศึกษาธิการต้องขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมีสำนักงานคณะกรรมการ สกสค. เป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ ดังนั้นการลงนามความร่วมมือ MOU ระหว่าง สกสค. กับ ธอส. จัดใหญ่ลดดอกเบี้ยเหลือ 1.71 บาทต่อปี จึงถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตครู และบุคลากรให้ดีขึ้น ที่จะเป็นการหนุนเสริมให้การพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอน และการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น

อนาคตแรงงานสั่นคลอน AI แทนที่หมอ-ครูใน 10 ปี เปลี่ยนโลกของการทำงาน และมนุษย์อาจไม่ใช่ตัวเลือกหลักอีกต่อไป

(28 มี.ค. 68) บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์และมหาเศรษฐีนักลงทุนด้านเทคโนโลยี ออกมาเตือนว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อาจเข้ามาแทนที่อาชีพสำคัญ เช่น แพทย์และครู ภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี ส่งผลให้มนุษย์อาจ “ไม่จำเป็น” สำหรับหลายอาชีพที่เคยต้องใช้แรงงานคน

เกตส์ชี้ว่า การพัฒนา AI กำลังเข้าสู่จุดที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ วินิจฉัยโรค แนะนำวิธีรักษา ได้อย่างแม่นยำโดยไม่ต้องพึ่งพาแพทย์มนุษย์ เช่น AI ช่วยอ่านผลเอกซเรย์, วิเคราะห์อาการของผู้ป่วย, และให้คำแนะนำด้านต่าง ๆ

ส่วนในวงการศึกษา AI อาจทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน ที่สามารถปรับหลักสูตรให้เหมาะกับนักเรียนแต่ละคนแบบเรียลไทม์ ทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้สอน เป็นเพียงผู้ดูแลและให้คำแนะนำแทน

นอกจากนี้ เกตส์ระบุอีกว่า แม้ AI จะสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ในหลายด้าน แต่จะยังไม่สามารถแทนที่ทุกอาชีพได้ทั้งหมด โดยเฉพาะงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจเชิงศีลธรรม และการมีปฏิสัมพันธ์ทางอารมณ์

อย่างไรก็ตาม อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานเอกสาร งานวิเคราะห์ข้อมูล หรืองานที่ใช้ตรรกะ มีโอกาสสูงที่จะถูก AI เข้ามาแทนที่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งอาจทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตลาดแรงงาน และต้องมีการปรับตัวอย่างเร่งด่วน

ทั้งนี้ เกตส์ยอมรับว่า AI เป็นดาบสองคม หากใช้ในทางที่ถูกต้อง มันสามารถช่วยให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น เข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่แม่นยำขึ้น ลดภาระครู เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง แต่ถ้าไม่เตรียมตัวรับมือ AI อาจสร้างปัญหาด้านการว่างงาน และเพิ่มช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มที่ปรับตัวได้กับกลุ่มที่ปรับตัวไม่ได้

“โลกต้องเตรียมรับมือกับยุคที่ AI จะเปลี่ยนโฉมทุกอุตสาหกรรม” เกตส์กล่าว พร้อมแนะนำให้ภาครัฐและภาคธุรกิจ ปรับปรุงระบบการศึกษา และพัฒนาทักษะแรงงานให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

แม้ว่า AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายเชื่อว่า มนุษย์ยังคงมีจุดแข็งที่ AI ไม่สามารถแทนที่ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจเชิงจริยธรรม และปฏิสัมพันธ์ทางอารมณ์

อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญคือโลกต้องปรับตัวให้ทันกับ AI และหาทางใช้มันเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาอุตสาหกรรม แทนที่จะมองว่าเป็นภัยคุกคาม ซึ่งคำเตือนของบิล เกตส์ ได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับวงการเทคโนโลยีและตลาดแรงงานทั่วโลก หลายฝ่ายเริ่มตั้งคำถามว่า มนุษย์จะยังคงมีบทบาทสำคัญในโลกอนาคต หรือ AI จะเป็นผู้ควบคุมแทน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top