Tuesday, 22 April 2025
คณะวิศวกรรมศาสตร์

'เด็กวิศวะฯ มธ.' โวย!! แต่ง 'ไปรเวท' เข้าสอบถูกขวาง ซัดคณะลิดรอนสิทธิ แบบนี้ประเทศถึงไม่เจริญสักที

เมื่อวานนี้ (26 ก.ย. 65) ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Kao Ambavat นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความระบุว่า...

เช้ามาก็เอาเลย กรรมการคุมสอบจะไม่ให้เพื่อนกูเข้าสอบเพราะเพื่อนกู “แต่งชุดสุภาพ” ซึ่งเป็นการแต่งกายสอบที่ถูกต้องตามข้อบังคับวินัยปี 64 และพรบ.มธ. ปี 58 ซึ่งวินิจฉัยโดยกองนิติการของมหาลัยไปแล้ว

เช้านี้คณะบ้าเป็นพิเศษกว่าการสอบที่ผ่านมา ปกติตอนที่กูและเพื่อนใส่ไปรเวทมาสอบรอบก่อน คณะจะเตือนบ้าง หรือให้เขียนบันทึกข้อความบ้างก่อนสอบ แต่รอบนี้มีการให้เซ็นเอกสาร “ใบอนุญาตเข้าห้องสองเนื่องจากไม่ได้แต่งกายด้วยชุดนักศึกษา” โดยอ้างประกาศคณะวิศวะ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549

การออกประกาศของคณะใดๆ ก็ตามก่อนปี 2558 สิ้นสภาพ ไม่ว่าจะใช้อำนาจจากระเบียบสอบปี 49 ข้อบังคับวินัยปี 47 หรือพรบ.มธ.ปี 31 กฎหมายมั้งหมดจะสิ้นสภาพ ตามมาตรา 3 พรบ.มธ. ปี 58 ดังนั้นการไม่ให้เข้าห้องสอบการให้เซ็นเอกสารใด ๆ ก็ตามของคณะ เข้าข่ายเป็น “คำสั่งทางปกครองที่มิชอบด้วยกฎหมาย”

‘มจธ.’ ให้การสนับสนุน ทุนการศึกษา ‘น้องช่อฟ้า’ ย้ำเจตนา ต้องไม่มีนักศึกษาผู้ใดออกไป เพราะไม่มีค่าเล่าเรียน

ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตามที่ปรากฏเป็นข่าวสื่อมวลชนกรณีน้องช่อฟ้า สอบติด 5 มหาวิทยาลัยชื่อดัง ตัดสินใจเลือกเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า แต่คุณพ่อไม่มีเงินส่งลูกเรียนนั้น

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยกลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา ได้ทราบเรื่องและประสานไปยังน้องช่อฟ้าในทันทีเพื่อสอบถามรายละเอียด และได้ตรวจสอบในระบบฐานข้อมูนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแล้ว ทราบว่าน้องช่อฟ้าได้ยืนยันสิทธิ์เป็นนักศึกษาเข้าศึกษาต่อที่ภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ 
มจธ. พร้อมให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง มีกลไก ในการสนับสนุนทุนการศึกษาที่เหมาะสมกับนักศึกษาทุกคนและติดตามการศึกษาของนักศึกษาจนกระทั่งสำเร็จการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยที่จะไม่มีนักศึกษาผู้ใดต้องออกไปเพราะไม่มีค่าเล่าเรียน และขอใช้โอกาสนี้ขอบคุณประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ที่ได้ร่วมกันช่วยเหลือครอบครัวของนักศึกษา

ทั้งนี้ หากนักศึกษาเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือพบเห็นเพื่อนที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถประสานเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา โทร. 0-24708097-8, 0-24708107 อีเมล [email protected]

‘SIR’ เผย ผลจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัย ในระดับนานาชาติ ชี้!! ‘วิศวกรรมโยธา พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง’ ครองอันดับ 1

(25 พ.ค. 67) ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง เผยผลจากจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมโยธาและโครงสร้าง จาก SCImago Institutions Rankings (SIR) อยู่ในอันดับ 1 ในปี 2567 ซึ่งโดดเด่นด้านวิศวกรรมโยธาและโครงสร้าง ที่เด็กอยากเข้าเรียนมากที่สุด

รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ปัจจุบันเนื่องจากสถานการณ์ที่ประเทศประสบปัญหาทางด้านการก่อสร้างที่เปลี่ยนไป ทางภาควิชาวิศวกรรมโยธาจึงได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาหลักสูตรจากหลักสูตรวิศวกรรมการก่อสร้างเป็นหลักสูตรวิศวกรรมโยธา และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘ภาควิชาวิศวกรรมโยธา’

จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเนื้อหาหลักจะเป็นการคำนวณ การวิเคราะห์ การออกแบบ และด้านการบริหารการก่อสร้าง รวมทั้ง มีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ทั้งในด้านอุปกรณ์การเรียน การสอน การวิจัย ทําให้บัณฑิตที่จบการศึกษา เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างดี

รศ.ดร.ชลิดา อู่ตะเภา หัวหน้าภาควิชาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ภาควิชาได้ดําเนินการจัดการเรียนการสอน และการวิจัยในด้านวิศวกรรมโยธาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถผลิตวิศวกรโยธาที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการก่อสร้าง การบริหาร สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์และออกแบบคํานวณ การพัฒนาด้านวัสดุ เทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัย โดยมีแขนงวิชาในหลักสูตร ประกอบด้วย วิศวกรรมชลศาสตร์, การสํารวจ, การบริหารงานก่อสร้าง, วิศวกรรมการขนส่งและจราจร, วิศวกรรมแหล่งนํ้า, วิศวกรรมโครงสร้าง, คอนกรีตเสริมเหล็ก, ไม้และเหล็ก นอกจากนี้ยังได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก ภาคอุตสาหกรรม โดยเราสอนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติอย่างเข้มข้นดังนั้นบัณฑิตที่จบไปจึงสามารถทำงานได้ทันที

วิศวกรรมโยธา เป็นงานที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งรอบตัว ทั้งการก่อสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ ซึ่งทักษะสำคัญเบื้องต้น ผู้เรียนต้องคำนวณได้ระดับหนึ่ง รู้เรื่องกฎหมาย หรือพ.ร.บ.เกี่ยวกับการก่อสร้าง การทำงานอยู่ในกรอบและกฎระเบียบ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้คนที่เกี่ยวข้องล้วนให้ความไว้วางใจให้ดูแลความปลอดภัย การทำงานจึงต้องอดทนได้ทุกสภาพแวดล้อม ทั้งอากาศและฝนตก และอาจจะมีความเสี่ยงระหว่างการทำงาน

โดย SCImago Institutions Rankings (SIR) เป็นหน่วยงานการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งดำเนินการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยทั่วโลก 7,533 แห่งทั่วโลก ซึ่งจะไม่ได้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับรวมสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล สถาบันวิจัย เป็นต้น ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยรวมทั้งสถาบันวิจัยในแง่ของความสามารถในการเผยแพร่ผลงานวิชาการทุกประเภทของสถาบัน หรือมหาวิทยาลัยบนฐานข้อมูล

วิศวะ ม.เกษตร ลัดฟ้าสู่ประเทศญี่ปุ่น แชร์ความรู้สู้กับภัยพิบัติด้านน้ำ-ภูมิอากาศ

(16 ต.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเฟซบุ๊กแฟนเพจของ ‘คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์’ ได้เผยแพร่การศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่นของภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ว่า

ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ได้นำนิสิตภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ระดับปริญญาตรีจำนวน 3 คน และระดับปริญญาโท จำนวน 4 คน เดินทางไปร่วมโครงการ Sakura Science แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติด้านน้ำ ณ มหาวิทยาลัย Chuo กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 6-12 ตุลาคม 2567

กิจกรรมภายในโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย การระดมสมองร่วมกันระหว่างนิสิตภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำกับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Chuo เรื่องแผนการลดผลกระทบและปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทั้งสองประเทศร่วมกัน รวมทั้งการเข้าร่วมการจำลองสถานการณ์การเกิดสึนามิ (Tsunami) การใช้ Virtual Reality (VR) เพื่อจำลองการหนีภัยจากเหตุการณ์สึนามิ จัดขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมชายฝั่งและทะเล 

การจำลองสถานการณ์แผ่นดินไหวระดับเดียวกันกับที่เกิดขึ้นทางฝั่งตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น เมื่อต้นปี 2567 จัดขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมแผ่นดินไหว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย Chuo 

การเข้าศึกษาดูงานอุโมงค์เก็บกักน้ำชั่วคราวเพื่อบรรเทาน้ำท่วม โครงข่ายประตูระบายน้ำและผันน้ำบริเวณอ่าวโตเกียว รวมถึงงานพัฒนาระบบประปาของแห่งมหานครโตเกียว 

ที่มา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top