Tuesday, 22 April 2025
การไฟฟ้านครหลวง

‘MEA’ ชี้แจง ไม่มีนโยบายปิดถนน 24 ชั่วโมง ยัน!! ทำการก่อสร้างฯ แค่ช่วง 4 ทุ่ม - ตี 5 เท่านั้น

(5 พ.ย. 65) MEA ไม่มีนโยบายปิดถนน 24 ชั่วโมง จะมีแต่เพียงการก่อสร้างในช่วงเวลา 22.00 น. ถึง 05.00 น. ของทุกวันเพื่อหลีกเลี่ยงการส่งผลกระทบต่อการจราจรให้น้อยที่สุด

จากกรณีการนำเสนอข่าวในประเด็น ‘ข้อร้องเรียน ชาวบ้านเดือดร้อนจากการปิดถนน 24 ชั่วโมง เพื่อทำสายไฟฟ้าใต้ดิน บริเวณอุโมงค์ลอดถนน รัชดา-ราชพฤกษ์’ นั้น

MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ขอชี้แจงว่า โครงการก่อสร้างของ MEA ในครั้งนี้ คือ โครงการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ที่ดำเนินการก่อสร้างพร้อมกับอุโมงค์ลอดถนน รัชดา-ราชพฤกษ์ ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการชะลอการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินเอาไว้เพื่อเร่งการก่อสร้างอุโมงค์ให้แล้วเสร็จ ต่อมาเมื่ออุโมงค์ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ส่งผลให้พื้นที่การดำเนินงานก่อสร้างในส่วนของ MEA มีจำกัด ซึ่งผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการดังกล่าวได้ลงพื้นที่สอบถามความเห็นของประชาชนในเรื่องการปิดถนนเพื่อจะดำเนินการได้แล้วเสร็จโดยเร็ว

‘MEA’ เปิดศูนย์ปฏิบัติการคุมระบบไฟฟ้าแบบบูรณาการ เสริมความมั่นคง-เตรียมรับมือเหตุฉุกเฉิน ช่วง ‘APEC 2022’

MEA เปิดศูนย์ปฏิบัติการควบคุมระบบไฟฟ้า บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมต่าง ๆ เตรียมความพร้อมและเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าสถานการณ์ฉุกเฉินในระดับสูงสุด ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับการประชุม APEC 2022

วันนี้ (14 พ.ย. 65) นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง เป็นประธานเปิดศูนย์ปฏิบัติการควบคุมระบบไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง รองรับการประชุม APEC 2022 ระหว่างวันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน 2565 พร้อมบูรณาการหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อให้เกิดความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในระดับสูงสุด ณ อาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ คลองเตย

สำหรับศูนย์ปฏิบัติการแห่งนี้ จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการประสานงานระหว่างศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยระบบ SCADA/EMS/DMS ทั้ง 2 แห่ง สถานีไฟฟ้า 22 สถานี รวมถึงการไฟฟ้านครหลวงทั้ง 18 เขต และสถานที่สำคัญ 26 แห่ง รองรับการจัดประชุม APEC 2022 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และหอประชุมกองทัพเรือ เป็นต้น 

โดยมีการเชื่อมโยงกับระบบปฏิบัติการ Field Force Management หรือ FFM กับระบบแผนที่ GIS เพื่อใช้ในสถานการณ์เข้าตรวจสอบจุดเกิดเหตุ ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วและแม่นยำ พร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในรูปแบบต่าง ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง ตามแผนรับมือเหตุวิกฤตของ MEA

เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางระบบไฟฟ้าสูงสุดในการจัดงาน APEC 2022 ครั้งนี้ MEA ยังได้ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมต่าง ๆ ช่วยการเตรียมความพร้อมในด้านระบบไฟฟ้า ได้แก่ การใช้เทคโนโลยี Acoustic Camera และ Thermovision สแกนตรวจเสียงในคลื่นความถี่สูง และตรวจจับความร้อนของอุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้ Drone ตรวจสอบระบบสายส่งไฟฟ้า ใช้เทคโนโลยีการตรวจจับความผิดปกติในระบบไฟฟ้า เช่น Partial Discharge Power Transformer รวมถึงการตรวจสอบอุโมงค์ไฟฟ้าใต้ดิน 230 kV ติดตั้ง Battery UPS และ Generator อีกทั้ง ระดมเจ้าหน้าที่ MEA กว่า 700 คน ประจำสถานีไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องทุกสถานี จัดเจ้าหน้าที่ประจำห้องไฟฟ้าของโรงแรมที่พักทุกแห่ง พร้อมรถปฏิบัติงานกว่า 250 คัน พร้อมด้วย ทีม MEA Ready Rider ซึ่งเป็นชุดเคลื่อนที่เร็วที่ปฏิบัติภารกิจแก้ไขไฟฟ้าขัดข้องเร่งด่วน โดยทั้งหมดนี้ จะกระจายตำแหน่งการดูแลตามจุดต่าง ๆ ให้สามารถรองรับได้ในทุกสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง

'กฟน.' เตือน!! 'ยกเลิก-เปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า' หลังย้ายบ้าน อาจเจอบิลค้างชำระค่าไฟของผู้อยู่อาศัยรายใหม่ได้

MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ในฐานะหน่วยงานให้บริการด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ เตือนผู้ใช้ไฟฟ้าเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า หากมีการเปลี่ยนเจ้าของสถานที่ ควรยกเลิก หรือเปลี่ยนชื่อเจ้าของเครื่องวัดฯ เพื่อป้องกันการรับผิดชอบหนี้ค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ณ สถานที่ใช้ไฟฟ้านั้น เนื่องจากในปัจจุบัน มีประชาชนบางส่วนที่ย้ายสถานที่อยู่อาศัย แต่ไม่ได้ยกเลิก หรือเปลี่ยนชื่อเจ้าของเครื่องวัดฯ ให้เป็นเจ้าของรายใหม่ ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิม แม้จะย้ายที่อยู่ไปแล้ว แต่ก็อาจได้รับผลกระทบจากการค้างชำระค่าไฟฟ้าของผู้อยู่อาศัยรายใหม่ได้ ซึ่ง MEA ไม่สามารถดำเนินธุรกรรมการยกเลิก หรือเปลี่ยนชื่อเจ้าของเครื่องวัดฯ แทนผู้ใช้ไฟฟ้าได้ 

ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความประสงค์จะรับบริการดังกล่าว สามารถติดต่อได้ผ่าน 2 ช่องทาง คือ ที่ทำการไฟฟ้านครหลวงเขตต่าง ๆ หรือ ช่องทางออนไลน์ ผ่านบริการ MEASY (https://eservice.mea.or.th/measy) โดยในกรณียกเลิกชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถใช้เอกสารหลักฐานของผู้เป็นเจ้าของเครื่องวัดฯ และกรณีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของเครื่องวัดฯ สามารถใช้เอกสารหลักฐานของเจ้าของรายใหม่ ซึ่งทั้ง 2 กรณี ใช้เอกสารหลักฐาน ดังนี้

1 บัตรประจำตัวประชาชน (กรณีบุคคลธรรมดา) หรือ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
2 เอกสารแสดงความเกี่ยวพันกับสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น ทะเบียนบ้าน หนังสือให้เลขบ้าน หรือหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือโฉนดที่ดิน ที่มีชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นเจ้าของ (กรณีผู้ดำเนินการ ไม่มีชื่อเป็นผู้ใช้ไฟฟ้า)
3 หนังสือมอบอำนาจพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีมอบอำนาจ)

‘ครม.’ เคาะลดค่าไฟอีก 4 เดือน ‘กฟน.’ แนะ เช็กยอด พ.ค. หากชำระบิลแล้วจะคืนส่วนลดให้ในเดือนถัดไป

(19 พ.ค. 66) จากสถานการณ์ราคาพลังงานที่ได้รับผลกระทบจากราคาไฟฟ้า ตามที่ ครม. เสนอโดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าต่อเนื่อง 4 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ค. – ส.ค. 2566 แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน และส่วนลดค่าไฟฟ้า (เพิ่มเติม) สำหรับงวดเดือน พ.ค. 2566 จำนวน 150 บาทต่อราย ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ทั้งนี้กำหนดให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น

นายอนุชา กล่าวว่า การไฟฟ้านครหลวง (MEA) แจ้งว่า สำหรับใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือน พ.ค. 2566 ที่จดหน่วยและส่งใบแจ้งค่าไฟฟ้าในวันที่ 14 – 17 พ.ค. 2566 ที่ยังไม่มีส่วนลด MEA จะปรับปรุงในระบบรับชำระเงินค่าไฟฟ้า โดยผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบยอดเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน พ.ค. 2566 ที่มีการปรับปรุงแล้วได้ที่แอปพลิเคชัน MEA Smart life หรือที่ทำการ MEA ทั้ง 18 เขต หากผู้ใช้ไฟฟ้าที่ชำระค่าไฟฟ้าแล้ว MEA จะคืนเงินส่วนลดดังกล่าวให้ในเดือนถัดไป ทั้งนี้ ใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนพ.ค. 2566 จะเป็นการจดหน่วยในวันใดวันหนึ่งระหว่างวันที่ 14 พ.ค. — 13 มิ.ย. 2566

นายอนุชา กล่าวต่อว่า ตามที่มีประชาชนได้รับข้อความแอบอ้างหน่วยงาน MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง เพื่อหลอกเก็บเงินค่าบริการต่าง ๆ นอกสถานที่ทำการ MEA รวมถึงเพื่อล่อลวงให้รับบริการผ่านระบบออนไลน์ หรือคลิกลิงก์ต่าง ๆ จนมีความเสี่ยงทำให้เหยื่อเสียทรัพย์สินนั้น MEA มีความห่วงใยต่อกรณีดังกล่าว

โดยได้แจ้งวิธีสังเกต SMS ของ MEA ที่ถูกต้อง ขอให้ประชาชนสังเกตบริเวณชื่อบุคคลผู้ส่ง โดยจะต้องระบุชื่อเป็น ‘MEA’ เท่านั้น หากพบชื่อผู้ส่งเป็นตัวเลขเบอร์โทรศัพท์ หรือตัวอักษรที่ไม่ใช่การสะกดตามคำว่า ‘MEA’ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อความดังกล่าว ทั้งนี้ MEA ยืนยันว่าจะไม่ส่ง SMS ให้กับบุคคลทั่วไป ยกเว้นเป็นผู้ที่กำลังติดต่อธุรกรรมกับ MEA หรือรับบริการ MEA e-Bill อยู่เท่านั้น

นายอนุชา กล่าวด้วยว่า สำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของการใช้งาน Line ของ MEA ประชาชนสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการดูความถูกต้องของชื่อ Line ต้องระบุเป็น “MEA Connect” โดยระบุชื่อ Line id เป็น @meathailand และด้านหน้าชื่อต้องมีสัญลักษณ์โล่สีเขียว ซึ่งแสดงถึงสถานะที่เป็นทางการ

ส่วนกรณีเว็บไซต์ MEA นั้น ประชาชนสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการดูความถูกต้องของชื่อเว็บไซต์ ซึ่งต้องระบุเป็น https://www.mea.or.th รวมถึง MEA ยืนยันว่า ปัจจุบัน MEA ไม่มีนโยบายให้พนักงาน หรือตัวแทนพนักงาน รับชำระค่าไฟฟ้า หรือค่าบริการใด ๆ นอกสถานที่ทำการของ MEA อีกด้วย

นายอนุชา กล่าวว่า MEA ขอให้ประชาชนระมัดระวังการรับข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารในสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และทำให้ประชาชนเกิดความสับสนได้ ซึ่งประชาชนสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสามารถสอบถามข้อมูลค่าไฟฟ้าได้ที่ช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของ MEA ได้แก่ Facebook: การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line : @meathailand, Twitter : @mea_news, และ MEA Call Center โทร 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

‘MEA-PEA’ ขานรับ!! ‘ก.มหาดไทย’ ค้างค่าไฟ 3 เดือน ‘ไม่ตัดไฟ-ถอดมิเตอร์’

(9 พ.ย.66) การไฟฟ้านครหลวง (MEA) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) สนองนโยบายกระทรวงมหาดไทย เห็นชอบให้ลดภาระและบรรเทาค่าใช้จ่ายแก่กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 บาทต่อเดือน สามารถค้างค่าไฟได้ในจำนวนเดือนที่มากขึ้น เพื่อเป็นการบรรเทาภาระประชาชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้...

สำหรับเงื่อนไข ค้างค่าไฟ 3 เดือน นโยบายกระทรวงมหาดไทย ช่วยแบ่งเบาภาระประชาชน ได้แก่...

- เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่มีค่าไฟฟ้าไม่เกิน 300 บาทต่อเดือน
- MEA และ PEA ขยายระยะเวลางดจ่ายกระแสไฟฟ้า เป็นไม่เกิน 3 เดือน
- เริ่มต้นโครงการ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2566 - พฤศจิกายน 2567

ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าของ PEA สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 1129 PEA Contact Center ตลอด 24 ชั่วโมง และผู้ใช้ไฟฟ้าของ MEA ได้ที่ช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้แก่ Facebook: การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line: MEA Connect (@MEAthailand) สัญลักษณ์โล่สีเขียวนำหน้าชื่อบัญชีทางการ X: @mea_news และศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 

'กองทัพอากาศ' ผนึกกำลังการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ร่วมฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย จังหวัดเชียงใหม่ 

กองทัพอากาศผนึกกำลังกับการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ในการจัดหาเครื่องมือทำความสะอาดช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวานนี้ (10 ต.ค.67) พลอากาศเอก ชัยนาท ผลกิจ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานรับมอบเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง จำนวน 10 เครื่อง จาก นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ซึ่งจะนำไปใช้ฉีด ล้าง ทำความสะอาด และล้างดินโคลน คราบน้ำ ฟื้นฟูบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในห้วงที่ผ่านมา โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และคณะผู้บริหารการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ร่วมในพิธี ณ ห้องรับรองบริพัตร กองบัญชาการกองทัพอากาศ

ในการนี้ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้มอบเกียรติบัตร พร้อมประดับเครื่องหมายความสามารถกิจการพลเรือนและการประชาสัมพันธ์กองทัพอากาศเป็นกิตติมศักดิ์ ให้แก่นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และคณะผู้บริหารในฐานะที่ได้สนับสนุนกิจการของกองทัพอากาศในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน

กองทัพอากาศมุ่งมั่นที่จะใช้ขีดความสามารถทั้งด้านกําลังพล อากาศยาน และยุทโธปกรณ์ ร่วมกับเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ในการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยด้วยความรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์

หม้อแปลงต้านทานน้ำ สูง 3 เมตร IoT 'การไฟฟ้านครหลวง - เจริญชัย' เทคโนโลยี ล้ำสมัยผลิตภัณฑ์รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติไทย อันดับ 1 ( NiA ) เสริมสร้าง ทัศนียภาพ และความปลอดภัย อุทกภัย ,อัคคีภัย ความมั่นคงระบบไฟฟ้า ให้กับ กรุงเทพมหานคร

(4 ธ.ค.67) นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ต้อนรับคณะผู้บริหารการไฟฟ้านครหลวง (งานระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน) ที่ให้เกียรติเยี่ยมชมหม้อแปลง ใต้น้ำโลว์คาร์บอน (Submersible Transformer Low Carbon) เทคโนโลยีชั้นนำ ผลิตภัณฑ์รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติอันดับ 1 ( NiA ) “ด้านประหยัดพลังงาน อนุรักษ์พลังงาน เสริมสร้างความมั่งคง ระบบไฟฟ้า เทคโนโลยีแบบ IoT”  

ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ทำการทดสอบการต้านทานน้ำสูง 3 เมตร ตามมาตรฐานสากล IEEE Std C57. 12.24-2009 ให้ทางคณะผู้บริหารการไฟฟ้านครหลวงได้เห็นการทดสอบเพื่อให้เกิดความั่นใจในผลิตภัณฑ์ก่อนติดตั้งจริงในโครงการติดตั้งทดลองใช้งานหม้อแปลงจำหน่ายชนิดใต้น้ำในบ่อพักสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง 

โดยหม้อแปลงดังกล่าวผ่านการทดสอบและติดตั้งใช้งานจริงเป็นระยะเวลานานกว่า 3 ปี การันตีด้วยรางวัลนวัตกรรม หม้อแปลงใต้น้ำมีประโยชน์ต่อสังคมและประชาชน แก้ไขปัญหาความเสี่ยงด้านอัคคีภัย, ความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุต่อประชาชนและพนักงาน, ส่งเสริมการท่องเที่ยว (ค้าขาย), รองรับการเติมโตทางเศรษฐกิจ, ทัศนียภาพสวยงาม, ระบบไฟฟ้ามั่นคงเสถียรภาพ, ลดค่าใช้จ่ายการตัดต้นไม้, ลดคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถเพิ่มพื้นที่การปลูกต้นไม้, ติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย, เสริมสร้าง Smart city ระบบสายใต้ดินให้พลังงานมั่นคงและยั่งยืนร่วมถึงส่งผลดีต่อคนที่เดินทางเท้า ฟุตบาท เนื่องจากไม่มีสิ่งกีดขวางและยังเป็นมาตรฐานสากล 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top