Thursday, 24 April 2025
กรีฑา

เปิดประวัติ ‘เทพบิว ภูริพล’ แชมป์โลกนักวิ่ง 100 เมตรชาย วัย 17 ปี ผู้ที่จะมาสร้างตำนานให้วงการกรีฑาไทย ในศึกเอเชียนเกมส์ 2022

เมื่อไม่นานนี้ ‘เทพบิว ภูริพล บุญสอน’ ถือเป็นอีกหนึ่งขวัญใจของคนไทย หลังจากที่สร้างประวัติศาสตร์ กลายเป็นนักกีฬาที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก 100 เมตรชาย ด้วยวัยต่ำกว่า 18 ปี เมื่อปีที่ผ่านมา หลังจากทำผลงานในการแข่งขันกรีฑาเยาวชนชิงแชมป์โลก และเวลานี้จะลงแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2022 เป็นครั้งแรก

เปิดประวัติของ ‘ภูริพล บุญสอน’ ก่อนที่จะมาเป็น ‘เทพบิว’ แบบทุกวันนี้

นายภูริพล บุญสอน ชื่อเล่น ‘บิว’ เกิดวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2549 ปัจจุบันอายุ 17 ปี สูง 183 เซนติเมตร น้ำหนัก 70 กิโลกรัม เริ่มต้นวิ่งตั้งแต่อายุได้เพียง 8 ขวบเท่านั้น โดยปัจจุบันศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ก้าวสำคัญที่ทำให้กลายเป็น ‘เทพบิว’ คือในการลงเล่นในนามทีมชาติไทยการแข่งขันซีเกมส์ 2022 ที่ประเทศเวียดนามที่ผ่านมา และสามารถคว้าเหรีญญทองได้ถึง 3 เหรียญทอง (100 ม., 200 ม. และ 4x100 ) ที่สำคัญ สหพันธ์กรีฑาโลกยังยกสถิติการวิ่ง 200 ม. ที่ ‘บิว ภูริพล’ ทำเวลาเอาไว้ 20.37 วินาที ในซีเกมส์ครั้งที่ 31  นี้ว่าเป็นสถิติที่ยอดเยี่ยม

โดยสถิติดังกล่าวถือเป็นสถิติที่ดีกว่า 2 ลมกรดชื่อดัง อย่าง ‘ยูเซน โบลต์’ และ ‘เอร์ริยอน เจ ไนต์ตัน’ ในช่วงอายุเดียวกัน ซึ่งสถิติดังกล่าวยังเป็นการทำลายสถิติซีเกมส์รอบ 23 ปี ของ ‘เหรียญชัย สีหะวงษ์’ รุ่นพี่ตำนานทีมชาติไทยลงได้สำเร็จด้วย

สำหรับ ‘บิว ภูริพล บุญสอน’ สร้างชื่อมาจากกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 47 ที่จังหวัดศรีสะเกษ หลังคว้าเหรียญทอง พร้อมทำลายสถิติประเทศไทยที่อยู่มายาวนานกว่า 20 ปี ในการ วิ่ง 100 ม. และ 200 ม.เมื่อเดือนมีนาคม 2565

ในซีเกมส์ 2021 กัมพูชา ในประเภทวิ่งระยะสั้น 100, 200 เมตรชาย และผลัด 4×100 เมตร  สามารถพาตัวเองและทีมคว้าเหรียญทองมาได้ถึง 3 เหรียญ โดยในการวิ่ง 100 เมตร  ทำเวลา 10.44 วินาที  ส่งผลให้ ‘เทพบิว’ ภูริพล สร้างประวัติศาสตร์เป็นนักกรีฑาระยะสปริ้นต์ (ระยะสั้น) ที่คว้าคนเดียว 3 เหรียญทอง ในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งเดียว น่าเสียดายที่ซีเกมส์ ครั้งล่าสุด ที่กัมพูชา เทพบิวได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อกระตุก ระหว่างแข่งหมดสิทธิ์ป้องกันแชมป์

ส่วนในการแข่งขัน กรีฑาเยาวชนชิงแชมป์โลก 2022 วิ่ง 100 เมตรชาย เทพบิวนั้นวิ่งเข้าเส้นชัยด้วยเวลา 10.09 วินาที เข้าเป็นอันดับ 1 ของฮีต พร้อมกับทำลายสถิติประเทศไทยของตัวเองที่ทำไว้ 10.19 วินาที ส่วนในรอบชิงชนะเลิศ บิว ภูริพล บุญสอน วิ่งเข้าเส้นชัย ด้วยเวลา 10.12 วินาที คว้าอันดับที่ 4 ของการแข่งขัน กรีฑาเยาวชนชิงแชมป์โลก 2022 รุ่นอายุไม่กิน 20 ปี

โดยหลังหายจากอาการบาดเจ็บซีเกมส์ ที่กัมพูชา ‘เทพบิว’ สามารถคว้าเหรียญทอง 4x100 ชิงแชมป์เอเชีย ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกรกฎาคม ด้วยเวลา

38.55 วินาที พร้อมทำลายสถิติกรีฑาชิงแชมป์เอเชียที่ไทยเป็นเจ้าของสถิติ โดยเคยทำเอาไว้ 38.72 วินาที ในศึกกรีฑาเอเชีย 2019 ที่กาตาร์ และทำลายสถิติประเทศไทย 38.56 วินาที

ขณะที่ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2022 ซึ่งเป็นเอเชียนเกมส์ ครั้งแรกในชีวิต ‘เทพบิว’ จะลงแข่งขันทั้งหมด 3 รายการคือ 100 เมตร, 200 เมตร และ 4×100 เมตร

‘ณัยณพ’ มั่นใจ!! ‘กรีฑาไทย’ เตรียมสร้างชื่อ ศึก ‘เอเชียนพาราเกมส์’ ด้าน ‘โค้ชสุพรต’ เผย ‘ทีมวีลแชร์เรสซิ่ง’ ฟิตเต็มร้อย พร้อมสู้เพื่อชาติ

(1 ต.ค. 66) ร.ท.ณัยณพ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย เชื่อมั่นว่านักกรีฑาพาราไทย ทั้งประเภทแขน-ขา และ ‘วีลแชร์เรซซิ่ง’ จะสร้างผลงานได้ดีในการแข่งขัน ‘เอเชียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 4’ ระหว่างวันที่ 22-28 ตุลาคม 2566 ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมา

‘ร.ท.ณัยณพ ภิรมย์ภักดี’ ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย กล่าวหลังเดินทางไปดูการฝึกซ้อมของนักกรีฑาพาราไทยว่า “ขณะนี้นักกีฬาของเรามีความพร้อม รวมถึงมีการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้มั่นใจว่านักกีฬากรีฑาของเราจะสร้างผลงานได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของความสำเร็จ และสถิติที่นักกีฬาจะทำได้ สิ่งสำคัญคือการทำสถิติให้ดีหากเราทำได้ตามเป้าหมายเชื่อว่าเราจะสามารถประสบความสำเร็จรายการนี้ เพื่อการต่อยอดไปสู่พาราลิมปิกเกมส์ในปีหน้าซึ่งเป้าหมายใหญ่ของพวกเรา”

โดย ‘นายสุพรต เพ็งพุ่ม’ หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมวีลแชร์เรสซิ่งทีมชาติไทย กล่าวว่า สำหรับความพร้อมของทีมวีลแชร์เรสซิ่งทีมชาติไทยในเวลานี้ถือว่ามีความพร้อมแบบเต็มที่แล้วหลังจากที่เรามีการเก็บตัวมาอย่างต่อเนื่อง และนักกีฬาของเราได้ออกไปแข่งขันรายการระดับนานาชาติมาอย่างต่อเนื่องทำให้ทุกคนมีความพร้อมและมีความมั่นใจเพื่อลงทำศึกรายการนี้

“ส่วนนักกีฬาหน้าใหม่นั้นก็จะมีนักกีฬาวีลแชร์หญิงซึ่งในครั้งนี้เราหวังจะเป็นรายการที่สร้างเสริมประสบการณ์เพื่อการต่อยอดไปสู่อนาคต เพราะการได้แข่งขันกับนักกีฬาระดับโลกที่มีประสบการณ์สูงก็ทำให้เขามีพัฒนาการที่สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งครั้งเป็นโอกาสที่ดีที่นักกีฬาหน้าใหม่จะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์อย่างเต็มที่” 

ด้าน ‘พนม พุดซา’ โค้ชกีฬากรีฑาพาราไทย เปิดเผยว่า สำหรับทีมกรีฑาพาราไทยมีความพร้อม เพราะมีการเก็บตัวฝึกซ้อมมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่จบศึกอาเซียนพาราเกมส์ ซึ่งนักกีฬาหลายคนก็มีผลงานที่ดีขึ้น ทำให้มีความมั่นใจมากขึ้นและกระหายที่จะไปแข่งขันในเอเชียนพาราเกมส์ครั้งนี้แบบเต็มที่

“ส่วนความหวังของเราในครั้งนี้คงจะเป็นประเภทลู่ วิ่งระยะสั้น อย่าง 200 ม.หญิง อย่าง ‘อุ้ม ศศิราวรรณ อินทโชติ’ ซึ่งเพิ่งไปคว้าเหรียญทองแดง เวิลด์ พารา แอธเลติกส์ แชมเปี้ยนชิป” กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มาได้เขาก็มีความมั่นใจมากขึ้น แต่เราก็ไม่ได้ตั้งเป้าหมายไว้สูง เพราะเราหวังว่าเพียงแค่ให้เขาทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่เท่านั้นเพื่อให้เป็นการกดดันนักกีฬา”

“ส่วนประเภทในประเภทลาน อยากให้โฟกัสเพียงแค่การทำสถิติของตนเองให้ดี และหากนักกีฬาทุกคนทำได้แบบที่ฝึกซ้อมเราก็มีโอกาสที่จะคว้าเหรียญรางวัลได้ ซึ่งนักกีฬาทุกคนมุ่งมั่นที่ทำผลงานให้ดีเพื่อคว้าเหรียญรางวัลมาฝากพี่น้องชาวไทยให้ได้ สุดท้ายอยากขอกำลังใจจากคนไทยช่วยเป็นกำลังใจให้นักกีฬาทุกคนด้วยและเราจะทำหน้าที่อย่างเต็มที่เช่นกัน”

สำหรับนักกีฬาพาราไทยรวมถึงเจ้าหน้าที่ทีมทั้งหมด 491 คน จะลงชิงชัยใน ‘เอเชียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 4’ ทั้งสิ้น 22 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย ยิงธนู, กรีฑา, แบดมินตัน, บอคเซีย, เรือแคนู, หมากรุก, จักรยาน, ฟุตบอล 5 คน, หมากล้อม, โกลบอล, ยูโด, ลอนโบวล์ส, ยกน้ำหนัก, เรือพาย, ยิงปืน, วอลเลย์บอลนั่ง, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, เทควันโด, วีลแชร์บาสเกตบอล, วีลแชร์ฟันดาบ และวีลแชร์เทนนิส

ทั้งนี้ ผลงานทัพนักกีฬาพาราไทยในการแข่งขัน ‘เอเชียนพาราเกมส์ 2018’ ครั้งที่ผ่านมา ที่ประเทศอินโดนีเซีย ทำผลงาน 23 เหรียญทอง 32 เหรียญเงิน 50 เหรียญทองแดง จบการแข่งขันในอับดับที่ 7

‘หนุ่มจาเมกา’ วัย 16 ปี ทำลายสถิติ ‘ยูเซน โบลต์’ ชายผู้วิ่งเร็วที่สุดในโลก หลังวิ่งเข้าเส้นชัยการแข่งขัน 400 ม. เร็วกว่าตำนานของชาติ 0.07 วินาที

เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 67 เพจเฟซบุ๊ก The Sporting News Thailand ได้โพสต์ข้อความ 'นิคอีคอย แบรมเวลล์' หนุ่มวัย 16 ปี จากจาเมกา ทำลายสถิติวิ่ง 400 เมตร ของ 'ยูเซน โบลต์' โดยระบุว่า…

ย้อนกลับไปในปี 2002 ยูเซน โบลต์ ในวัย 16 ปี สร้างชื่อกระฉ่อนโลก ด้วยการวิ่งเข้าเส้นชัยในการแข่งขันประเภท 400 เมตร ด้วยเวลาเพียง 47.33 วินาที และทำให้ ยูเซน โบลต์ ครองสถิติวิ่ง 400 เมตร เร็วที่สุดในรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี มาเป็นเวลา 2 ทศวรรษ

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดสถิติดังกล่าวของลมกรดระดับตำนานชาวจาเมกาได้ถูกทำลายลงเป็นที่เรียบร้อย ด้วยน้ำมือของรุ่นน้องร่วมชาติอย่าง นิคอีคอย แบรมเวลล์ ดาวรุ่งวัย 16 ปี

โดย นิคอีคอย แบรมเวลล์ ทำลายสถิติวิ่ง 400 เมตร ของ ยูเซน โบลต์ ลงได้ ในการแข่งขัน Carifta Games ครั้งที่ 51 ณ ประเทศ เกรนาดา ด้วยเวลา 47.26 วินาที ซึ่งเร็วกว่าตำนานของชาติ 0.07 วินาที และทำให้ตอนนี้ แบรมเวลล์ กลายเป็นเจ้าของสถิติ 400 เมตร รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี คนใหม่เป็นที่เรียบร้อย

สามารถชมคลิปการวิ่ง 400 เมตรของ นิคอีคอย แบรมเวลล์ ได้ที่นี่ : https://cutt.ly/6w85PTFn

หลังจบการแข่งขัน นิคอีคอย แบรมเวลล์ ได้กล่าวถึงความสำเร็จครั้งนี้เอาไว้ว่า “มันเป็นความรู้สึกที่วิเศษมากที่ได้ทำลายสถิติ, ตั้งแต่ซัมเมอร์ที่แล้ว ผมจับตาดูสถิตินี้ ดังนั้นมันจึงเป็นความรู้สึกที่ยอดเยี่ยมที่ได้มาที่นี่และได้รับมันมา”

แม้จะโดนทำลายได้หนึ่งสถิติ แต่ปัจจุบัน ยูเซน โบลต์ ยังถูกจารึกชื่อว่ามาเป็นมนุษย์ที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก หลังเข้าเส้นชัยเป็นที่หนึ่งในการแข่งขันวิ่ง 100 เมตรชาย ในการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกเมื่อปี 2009 ด้วยเวลาเพียง 9.58 วินาที และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีมนุษย์คนไหนทำได้แบบเขา

‘อุ้ม ศศิราวรรณ อินทโชติ’ เจ้าของเหรียญทองแดงคนแรก ของนักกรีฑาไทย จากเด็กสาวแขนพิการ ที่พูดน้อย เก็บตัว สู่ความภาคภูมิใจของคนไทย

(8 ก.ย. 67) เพจเฟซบุ๊ก ‘เสียงจากทหารเรือ’ ได้โพสต์ข้อความสุดซึ้งเกี่ยวกับ ‘อุ้ม ศศิราวรรณ อินทโชติ’ เจ้าของเหรียญทองแดงคนแรก ของนักกรีฑาไทย โดยได้ระบุว่า ...

ชีวิตดั่งเทพนิยายขีดเขียนบทให้เธอเดิน
เธอคือสาวงามแห่ง ‘ทุ่งนครลำดวน’
เธอคือ นักกรีฑาหญิงไทยคนแรก ที่คว้าเหรียญพาราลิมปิกมาครอง
จากเด็กสาวที่อยู่ในมุมใดมุมหนึ่งของห้องเรียน
เป็นเด็กที่เก็บตัว พูดน้อยด้วยความพิการแขน
วันนี้เธอทำสำเร็จแล้ว
เธอคือความภูมิใจของ ‘พ่อแม่’ วันที่เธอได้เหรียญครั้งแรกจากการแข่งขัน แม่เธอวิ่งเอาเหรียญไปโชว์ทั่วหมู่บ้าน
และวันนี้ เธอเป็นความภาคภูมิใจขคนไทย
ที่อยากจะบอกก้องโลกว่าภูมิใจและดีใจกับเธอเช่นเดียวกัน

สาวน้อยวัย 21 ปีจาก ‘แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒธรรม เลิศล้ำสามัคคี’ #ศรีสะเกษ สร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการกีฬาไทย โดยการคว้า ‘เหรียญทองแดง’ พาราลิมปิก ปารีส สำเร็จ ศศิราวรรณ อินทโชติ  

เธอมีหน้าตาที่สะสวย แต่เป็นคนพูดน้อยเก็บตัว และพิการแขนข้างหนึ่ง หรืออาจจะเรียกให้เข้ากับคนยุคนี้ว่า ‘introvert’ นั้นเอง ด้วยแววตาของ ‘คุณครู’ โรงเรียนศรีรัตนวิทยา ที่ศรีสะเกษ ของเธอเห็นว่านี่จะเป็นโอกาสให้เธอเป็นนักกีฬาสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัวได้ในอนาคตจึงแนะนำ

จากเด็กผู้หญิงที่เก็บตัวมาตลอด ลองเริ่มหัดวิ่งเธอใช้เวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น ขอย้ำว่าเพียง 6 เดือนเท่านั้น ก็สามารถติดธงชาติไทยที่น่าอกเป็นตัวแทนไปแข่งขันระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก ที่น่าภาคภูมิใจที่สุดเมื่อออกไปแข่งครั้งแรกที่ได้เหรียญรางวัลกลับมาทันที แต่ดูเหมือนคนที่ภูมิใจมากที่สุดน่าจะเป็น ‘คุณแม่’ ของเธอเสียมากกว่า แม่เธอเอาเหรียญรางวัลวิ่งไปโชว์ ‘คุณป้า’แถวบ้านไปทั่วเลย

ด้วยความสุดยอดของเธอก่อนมาแข่ง ‘พาราลิมปิก’ เธอสร้างบ้านหลังใหม่หลังงามให้พ่อแม่ของเธอสำเร็จ จากรายได้แห่งการวิ่ง

และแล้วรางวัลแห่งชัยชนะก็มาถึง อุ้ม ศศิราวรรณ อินทโชติ สร้างประวัติศาสตร์ คว้าเหรียญทองแดง พาราลิมปิก ในการแข่งขัน กรีฑา 200 เมตรหญิง คลาส T47 โดยเข้าเส้นชัยด้วยเวลา 25.20 วินาที ที่ สนาม สต๊าด เดอ ฟรองซ์ กรุงปารีส ฝรั่งเศส

เธอบอกหลังคว้าเหรียญสำเร็จว่า 

ดีใจมาก แต่ตอนแรกไม่คิดว่าจะได้เหรียญแค่เข้าชิงก็ดีใจสุดๆแล้ว ขอบคุณทางบ้านที่เป็นกำลังใจให้วันนี้หนูทำสำเร็จแล้ว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top