Tuesday, 22 April 2025
กมลรอดคล้าย

‘ดร.กมล’ ภท. เล็งต่อยอด ‘เรียนออนไลน์’ เน้นคุณภาพ-เท่าเทียม ผลักดัน จัดตั้ง ‘สถาบันพัฒนาฯ’ สร้างระบบการเรียน-สอนใหม่ ให้มีคุณภาพ

‘ดร.กมล รอดคล้าย’ ทีมการศึกษา ภท. เล็งต่อยอดเรียนออนไลน์ให้มีคุณภาพ เพื่อความเท่าเทียม สร้างระบบใหม่การจัดการสอน เปลี่ยนภาพจำของโรงเรียน นำพาคนไทยให้มีขีดความสามารถแข่งขันระดับโลก

(27 มี.ค.66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.กมล รอดคล้าย คณะทำงานยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา พรรคภูมิใจไทย กล่าวในรายการ ‘พรรคภูมิใจไทย พูดแล้วทำ’ เผยแพร่ทางเฟซบุ๊ก ยูทูป และ TikTok พรรคภูมิใจไทย ถึงนโยบาย 'การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ (Online)'

โดยระบุว่า พรรคภูมิใจไทย ได้เสนอนโยบายการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ไว้ตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อปี 2562 โดยมองว่าช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องของการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียม สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ทุกที่ ทุกเวลา มีค่าใช้จ่ายที่น้อยมาก และจะทำให้ระบบการศึกษาไทยสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีคุณภาพ ในช่วงที่ผ่านมา การศึกษาผ่านระบบออนไลน์ถือว่าประสบความสำเร็จมาก ตามที่พรรคภูมิใจไทยได้ประกาศนโยบายไว้

“ระบบนี้กำลังจะขับเคลื่อนต่อไปในอนาคต เราเตรียมการอีกอย่างน้อย 3-4 เรื่อง เช่น การจัดการเรียนการสอน หรือเรียนฟรีถึงระดับปริญญาตรี เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ระบบออนไลน์สามารถจัดการได้ ส่วนการฝึกงาน กิจกรรมกลุ่ม หรือห้องแลป (ห้องปฏิบัติการ) เด็กๆ หรือนักศึกษา ก็มาที่สถาบันได้เหมือนเดิม” ดร.กมล ระบุ

ดร.กมล กล่าวต่อว่า ทุกโรงเรียนในประเทศไทยซึ่งเรียนผ่านออนไซต์ (On-site) ปัจจุบัน เราสามารถสร้างระบบที่เรียกว่า เวอร์ช่วลสคูล (Virtual School) หรือออนไลน์สคูล (Online School) เป็นห้องที่ทำการเรียนการสอนได้ทุกแห่ง จุดเด่นก็คือเด็กๆ ไม่ว่าอยู่ในชนบทห่างไกล หรือโรงเรียนขนาดเล็ก จะได้เรียนกับครูเก่งๆ

นอกจากนี้ยังนำไปสู่อีก 2 ประเด็นหลักๆ ก็คือ เรากำลังจะส่งเสริมพัฒนาคุณภาพของครู ให้ครูสามารถได้รับรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากระบบออนไลน์ด้วย

โดยเมื่อครูสอนเสร็จ ก็จัดทำเป็นคลิปการเรียนการสอนของตัวเอง เพื่ออัปโหลดลงไปในระบบออนไลน์ เมื่อเด็กๆ คลิกเข้าไปชม ครูที่สอนก็จะได้รายได้ เป็นรายได้แบบเพย์-เพอร์-วิว (Pay Per View) หรือชำระเงินเพื่อการรับชม แต่การจ่ายเงินตรงนี้ เด็กไม่ได้เป็นผู้จ่าย รัฐจะเข้ามาเป็นผู้จ่ายแทน

‘ภูมิใจไทย’ ชู พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ หนุนการศึกษาตลอดชีวิต เล็งจัดตั้ง ‘ครูหมู่บ้าน’ 8 แสนคน ให้ความรู้-สอนทักษะแก่ชุมชน

‘ภูมิใจไทย’ ดัน พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ สำเร็จ หนุนจัดการศึกษาตลอดชีวิต-เพื่ออาชีพ-ตามอัธยาศัย เพิ่มบทบาทกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้สนับสนุน เปิดทางองค์กรอื่นเป็นผู้จัดการศึกษาเอง เพื่อสร้างคนตามความต้องการ พร้อมตั้งธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) เพื่อเทียบโอน-พักเรียน เล็งจัดตั้ง ‘ครูหมู่บ้าน’ จำนวน 800,000 คนทั่วประเทศ เป็นอาสาสมัครให้ความรู้กับชุมชน

(1 เม.ย.66) ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘พรรคภูมิใจไทย’ ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอในหัวข้อ ‘พลิกโฉมการศึกษาไทย ด้วย พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้’ โดย ดร.กมล รอดคล้าย คณะทำงานยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา พรรคภูมิใจไทย ได้กล่าวให้ข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ ไว้ว่า…

“โดยทั่วไปแล้ว การจัดการศึกษามีกรอบแนวทาง ซึ่งจะมีแผนการศึกษาแห่งชาติกำหนดทิศทางเนื้อหา สาระ และสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ไว้ แต่มันจะต้องมีกฎหมายหลักอีกตัวหนึ่ง ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนการจัดการศึกษา เรียกว่า ‘พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ’ แต่เนื่องจากว่า นับตั้งแต่นี้ต่อไป โลกของการเรียนรู้ได้ออกไปนอกห้องเรียนมากขึ้น ทุกคนสามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้ และยังมีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต นับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงวันสุดท้ายของชีวิต เพราะฉะนั้น จึงมีพระราชบัญญัติอีกฉบับหนึ่งเกิดขึ้น เรียกว่า ‘พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้’ ”

ดร.กมล ได้กล่าวต่อว่า “แม้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จะยังไม่ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา แต่พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งพรรคภูมิใจไทยเป็นพรรคหลักในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ เราได้ขับเคลื่อน พ.ร.บ ฉบับนี้จนประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ประมาณ 3-4 เรื่อง ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น

เรื่องที่ 1 รูปแบบการจัดการศึกษา ซึ่งเดิมทีใช้ระบบการจัดการศึกษาแบบตามคุณวุฒิ คือ เรียนประถมฯ มัธยมฯ ซึ่งการจัดการศึกษาตลอดชีวิต เราเรียกว่า ‘การศึกษาเพื่ออาชีพ’ สำหรับนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพต่าง ๆ และการจัดการการศึกษาเพื่อส่งเสริมความรู้ตามอัธยาศัย ตามความสนใจ รูปแบบการจัดการศึกษาในอนาคต จึงเปลี่ยนไปจากเดิม และไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เราสามารถเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ เข้าถึงการศึกษาหลักสูตรระยะสั้น รวมถึงสามารถที่จะไปเรียนต่อในต่างประเทศ ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้

ประการต่อไป คือ ผู้จัดการศึกษา ต้องไม่ใช่กระทรวงศึกษาธิการอย่างเดียว กระทรวงศึกษาธิการอาจทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาตามคุณวุฒิ แต่เราสามารถสนับสนุนให้ผู้อื่นจัดการศึกษาเพิ่มเติมได้ เช่น โรงงาน บริษัทใหญ่ ๆ หรือภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องการผู้ที่มีความชำนาญในอาชีพเฉพาะทาง เราสามารถที่จะให้งบในการซัพพอร์ตบางส่วน เพื่อให้หน่วงงานเหล่านั้นไปเป็นคนจัดการศึกษา และจากนั้น เด็กจึงนำวิชาที่เรียนมาเทียบโอนกับการศึกษาในระบบได้ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บไว้ในระบบที่เรียกว่า ‘ธนาคารหน่วยกิต’ หรือ ‘เครดิตแบงก์’ (Credit Bank) ซึ่งพรรคภูมิใจไทยเตรียมพร้อมที่จะจัดตั้ง ‘สถาบันพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิต’ ขึ้นในโอกาสต่อไป หากพรรคภูมิใจไทยได้เข้าไปเป็นรัฐบาล เราจะต้องพัฒนาส่งเสริมให้หน่วยงานมีพิพิธภัณฑ์ มีศูนย์วิทยาศาสตร์ มีศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มีห้องสมุด ทั้งหมดนี้ เป็นกระบวนการที่เราจะจัดการศึกษาให้กับทุกคน และเป็นการศึกษาตลอดชีวิต สามารถที่จะหยุดพักการเรียนเพื่อไปทำงานแล้วเก็บหน่วยกิตไว้ในธนาคารหน่วยกิต เพื่อให้สามารถกลับมาเรียนในโอกาสต่อไปได้”

สงขลา-สว.สงขลา 6 คน ร่วมจัดตั้งศูนย์ประสานงานภาครัฐ ภาคเอกชน การจัดกิจกรรม รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รับเรื่องร้องทุกข์ เตรียมเปิดเวทีสว.พบประชาชน 

เมื่อวันที่ (26 มิ.ย.67) วันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 13 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 107 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 

การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทยในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้วิธีการเลือกกันเองของประชาชนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในกลุ่มต่าง ๆ จำนวน 20 กลุ่ม โดยในส่วนของจังหวัดสงขลานั้น ได้รับการเลือกตั้งจำนวน 6 คน ประกอบด้วย นายกมล รอดคล้าย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สงขลา) 

จากกลุ่ม 3 กลุ่มการศึกษา นายยะโก๊ป หีมละ อาชีพเลี้ยง กุ้ง ประมง ทำสวน และเปิดบริษัทนำเข้า-ส่งออก (สงขลา) กลุ่ม 6 กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง นายโสภณ มะโนมะยา อดีตรองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสะเดา (สงขลา) กลุ่ม 10. กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตามข้อ 9 (ข้อ 9 กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางขนาดย่อม) นายพิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ อาชีพค้าขายและที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา 2562-2566 (สงขลา) กลุ่ม 16 กลุ่มศิลปวัฒนธรรม ดนตรีการแสดง บันเทิง นักกีฬา

นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย (สงขลา) กลุ่ม 18 กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม นายสมชาย เล่งหลัก อดีตผู้สมัคร สส. 2 สมัย ได้แก่ พลังประชารัฐ (2563) และภูมิใจไทย (2566) แต่สอบตก (สงขลา) กลุ่ม 19 กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สว.กลุ่ม 18 สื่อมวลชนสงขลา   กล่าวว่า จากการปฏิบัติงานในฐานะสมาชิกวุฒิสภา ได้มีการอภิปรายและเสนอแนะหน่วยงานภาครัฐในหลายประเด็น มีการนำเสนอข่าวอยู่ต่อเนื่องในการปฎิบัติหน้าที่ ให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ 

“แต่หลายคนสอบถามถึงความเคลื่อนไหว สว.คนอื่นๆ ในจังหวัดสงขลา ที่หลายคนไม่ทราบ เพราะแต่ละคนแต่ละกลุ่ม ก็ปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มตน เพื่อให้การดำเนินงาน สว.ทั้ง 6 คนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการทำงานบูรณาการร่วมกัน จึงได้มีมติร่วมกันจัดตั้ง”ศูนย์ประสานงานสมาชิกวุฒิสภา จ.สงขลา” ขึ้น”

พร้อมกับกล่าวว่า ศูนย์ดังกล่าว จะเป็นศูนย์ประสานการทำงาน การจัดกิจกรรม รับฟังความคิดเห็น รับเรื่องร้องทุกข์ และร่วมมือกันในการดูเเลรับใช้พี่น้องประชาชนชาวสงขลา 

นอกจากนั้นได้ร่วมพูดคุยถึงการเตรียมความพร้อมรับอุทกภัยของภาคใต้ฝั่งตะวันออก และจัดเวทีสว.พบประชาชนในเร็วๆ นี้อีกด้วย

ติดต่อ – สอบถาม : สนง.ศูนย์ประสานงานสว. ณ สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้เเห่งประเทศไทย ถ.ไทยอาคาร ต. หาดใหญ่ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา 90110 โทร.081 540 7357


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top