ประธานมูลนิธิสืบฯ โพสต์ข้อความ!! สร้างกระเช้าภูกระดึง ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม หนุน!! พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สร้างภูมินิเวศ รอบภูเขา ให้สวยงาม
(12 พ.ค. 68) นายศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...
อ่านโพสต์ของ ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ แล้วก็ชัดเจนว่า ด้วยเทคโนโลยีการสร้างในปัจจุบัน ตัวกระเช้าเอง ไม่ได้สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเท่าไหร่ ลำพังสร้างกระเช้าไม่ใช่ปัญหา
แต่ในแง่เศรษฐศาสตร์ ระบุว่า ตัวงบประมาณที่จะใช้สร้างและการดูแลรักษา ลำพังนักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวทั่วๆไปมันไม่เพียงพอที่จะให้คุ้มทุนได้เพราะ ตัวภูกระดึงเองเป็นสภานที่ท่องเที่ยวโดดเดี่ยวใครจะมาตรงนั้นคือจะมาภูกระดึงเท่านั้น ซึ่งพอขึ้นไปข้างบนมันไม่ได้มีอะไรที่จะรับการท่องเที่ยวให้คนมาเยอะแยะได้ และไม่มีอะไรดึงดูดให้คนขึ้นไปชมวิวแล้วกลับ เหมือนสถานที่ท่องเที่ยวหลายๆแห่งในต่างประเทศที่ให้ขึ้นไปดูวิว หรือไหว้พระ แบบเป็นนักท่องเที่ยวด่วนๆ อยู่ไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงก็กลับ มันไม่มีอะไรรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนั้นเลย ดังนั้น...
แต่มีการเพิ่มโครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติอะไรไม่รู้ไว้ข้างบนหลังแปด้วย แล้วก็คาดการณ์ให้มันคุ้มทุนว่าจะมีนักเรียนหรือใครก็ไม่รู้ขึ้นไปเพื่อเที่ยวศูนย์ที่ว่านี่แล้วก็กลับลงมา โดยที่พีคกว่านั้นคือศูนย์ที่ว่านี่ ค่าก่อสร้างก็ไม่ได้รวมอยู่ในงบโครงการกระเช้า เพราะถ้ารวมก็เจ๊งอีกอยู่ดี
คืออันนี้ชัดเจนว่าพยายามแต่งตัวเลขให้โครงการคุ้มทุน
เพราะลำพังตัวโครงการเองมันไม่คุ้มทุน ประเทศไทยไม่ได้ร่ำรวยขนาดจะสร้างโครงการที่ไม่จำเป็น ดูแลตัวเองไม่ได้ ต้องคอยเอางบมาเติม หรือต้องปล่อยพังเสียหาย ใช้การไม่ได้ เพราะไม่มีงบมาเติม
รอบนี้ได้ข่าวว่าจะศึกษาใหม่อีก ตามที่ได้ยินมาคือเสียเงินอีก 25 ล้าน มันมีอะไรเปลี่ยนไปหรือถึงจะต้องศึกษาใหม่? บางทีก็ไม่เข้าใจว่าประเทศนี้นึกอยากจะเสียเงินค่าศึกษาอะไรก็ศึกษา คิดโครงการบ้าบออะไรขึ้นมาก็ได้ ขุดโครงการอะไรขึ้นมาจากหลุมมาศึกษาใหม่เมื่อไหร่ก็ได้ คือแค่ค่าศึกษานี่ ถ้าเอาไปทำอย่างอื่น ก็ได้ตั้งเยอะแยะแล้ว...
อันนี้ ดร.นณณ์ โพสต์ไว้เมื่อวาน
https://www.facebook.com/share/p/1E8metZdp9/?mibextid=qi2Omg
ผมมาคิดต่อว่าถ้าเป็นแบบนั้น เราควรทำอะไรกับภูมินิเวศรอบภูเขาภูกระดึง
เอาเงินที่จะศึกษาเรื่องกระเช้า มาทำแผนพื้นที่วงแหวนรอบภูกระดึงว่า ควรพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอย่างไร
ปัจจุบันพื้นที่เกษตรโดยรอบ ยังเป็นพืชเชิงเดี่ยว แห้งแล้ง แต่ยังมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่เป็นต้นน้ำที่ค่อนข้างมีสภาพดี ถ้ามีการปรับการปลูกพืชให้เหมาะสม น่าจะทำให้พื้นที่รอบๆกลับมาสวยงาม และเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวแบบที่พักระยะยาว หรือรูปแบบที่เหมาะสมอื่นๆได้ หากมีการศึกษาทางวิชาการจริงๆ
นอกจากภูกระดึงแล้ว มีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆมากมายโดยรอบ หากจะพัฒนาความเชื่อมโยงถึงกัน
แล้วมามองว่า เที่ยวภูกระดึง กันหนักๆ ช่วงปลายฝนต้นหนาว ถึงก่อนแล้ง แต่ช่วงอื่นๆ ยังมีนักท่องเที่ยวมากระจายรายได้ในพื้นที่วงแหวนนี้ตลอดปี โดยไม่ต้องขึ้นภูกระดึงจะทำอย่างไร ??
ศึกษาเรื่องแบบนี้กันไว้ตรงไหนหรือเปล่าครับ
เผื่อชวน Nonn Panitvong มาช่วยอ่าน น่าจะสนุกดี