'ท่าอากาศยานเจิ้งโจว' แหล่งลงทุนแห่งอนาคต พร้อมเชื่อมต่อเศรษฐกิจโลก เสริมศักยภาพศูนย์กลางโลจิสติกส์ครบวงจร
(11 มี.ค. 68) เขตนำร่องทดลองเศรษฐกิจท่าอากาศยานเจิ้งโจว (Zhengzhou Airport Economic Comprehensive Experimental Zone) ซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลเหอหนาน กำลังก้าวขึ้นเป็น ศูนย์กลางธุรกิจและโลจิสติกส์ระดับโลก พร้อมต้อนรับพันธมิตรทางธุรกิจจากทั่วทุกมุมโลก ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เครือข่ายคมนาคมที่ครอบคลุม และคลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
เขตเศรษฐกิจแห่งนี้โดดเด่นด้วยระบบ 'การเชื่อมโยงท่าทั้ง 4' ได้แก่ ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ ศูนย์ขนส่งทางถนน และท่าเรือบก ทำให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์กับเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันสนามบินนานาชาติเจิ้งโจวซินเจิ้ง อยู่ที่ 40 อันดับแรกของโลกด้านปริมาณการขนส่งสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ และมีเส้นทางขนส่งสินค้าเชื่อมโยง 28 ประเทศ และ 62 เมืองทั่วโลก
นอกจากนี้ ศูนย์ท่าเรือบกนานาชาติเจิ้งโจว ซึ่งเป็นศูนย์กลางรถไฟขนส่งสินค้าจีน-ยุโรปแห่งเดียวในภาคกลางของจีน คาดว่าจะสามารถรองรับ รถไฟ 10,000 ขบวน และสินค้ากว่า 10 ล้านตัน ภายในปี 2578
โดยเขตนำร่องเศรษฐกิจแห่งนี้กำลังกลายเป็น ศูนย์กลางการผลิตระดับสูง โดยมีอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นำโดย Foxconn, xFusion และ Loongson, อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ ขับเคลื่อนโดย BYD, Skyworth และ Geely, อุตสาหกรรมชีวการแพทย์ มีศูนย์กลางที่ Zhongyuan Medical Science City
อีกทั้งโรงงานของ Foxconn ในเจิ้งโจวได้ผลิตสมาร์ตโฟนไปแล้วกว่า 1.2 พันล้านเครื่อง ทำให้กลายเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะที่ BYD ผลิตรถยนต์พลังงานใหม่ได้ถึง 545,000 คันในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 169.8%
ส่งผลให้เขตเศรษฐกิจแห่งนี้ยังพัฒนาไปสู่ เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมใหม่ เช่น ดาวเทียมอวกาศ การกักเก็บพลังงาน และปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยศูนย์การคำนวณอัจฉริยะที่ใหญ่ที่สุดในจีนตอนกลางกำลังจะเปิดดำเนินการเต็มรูปแบบภายในไตรมาสแรกของปีนี้
สำหรับในอนาคต เขตนำร่องเศรษฐกิจท่าอากาศยานเจิ้งโจวตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางใน 5 ด้าน ได้แก่ ศูนย์การผลิตขั้นสูง, ศูนย์โลจิสติกส์เพื่อธุรกิจ, ศูนย์นวัตกรรมและการประกอบการ, ศูนย์แฟชั่นเชิงสร้างสรรค์ และศูนย์พัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้วยศักยภาพและนโยบายสนับสนุนที่แข็งแกร่ง เขตเศรษฐกิจแห่งนี้จึงพร้อมเปิดรับ นักธุรกิจและนักลงทุนจากทั่วโลก ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ การเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ
ที่มา : ฝ่ายงานพรรคและมวลชน ประจำเขตนำร่องทดลองเศรษฐกิจท่าอากาศยานเจิ้งโจว