นักข่าวไทยในอังกฤษ ชี้!! หากบอสดิไอคอน โอนเงินหนี 8 พันล้านบาท เผย!! สามารถตามแกะรอยได้ เพราะสุดท้ายก็ต้องนำมาแลกเงินจริง

(20 ต.ค. 67) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Pui Vijitphan’ ซึ่งเป็นคนไทยที่ทำงานด้านสื่อมวลชนอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ได้โพสต์ข้อความในฐานะ ‘ผู้เสียหายโดยตรง’ จากกรณีดิไอคอน โดยได้ระบุว่า ...

‘เอก สายไหมต้องรอด’ แฉว่าพบความผิดปกติ ก่อนที่ บอสดิไอคอนคนสุดท้ายจะถูกจับ มีการโอนเงินหนี 8 พันล้านบาท หรือ 247,911,936 USDT 

ถ้าให้เรามอง ในรูปนี้จะเห็นการโอน USDT (Tether) ผ่านสองเครือข่ายบล็อกเชน คือ Ethereum (ETH) และ TRON แบบตรงๆ เลย ซึ่งแปลว่าการโอนเงินครั้งนี้มันเป็น wallet-to-wallet หรือพูดง่ายๆ คือ โยกเงินจากกระเป๋านึงไปอีกกระเป๋านึงโดยตรง ไม่ได้ผ่านเว็บแลกเปลี่ยนแบบที่เราคุ้นเคยทั่วไป เช่น ผ่าน Bitkub อะไรพวกนี้

1. สองรายการแรกเป็นการโอน USDT ที่ใช้เครือข่าย Ethereum ผ่านมาตรฐาน ERC-20 แบบตรงๆ บนบล็อกเชนของ ETH
2. สองรายการหลังเป็นการโอน USDT ผ่านเครือข่าย TRON ใช้มาตรฐาน TRC-20 ทำให้เห็นว่ามีการย้ายเงินไปบนบล็อกเชนของ TRON โดยตรง

ถ้าจะให้เราสรุปคร่าวๆ คือ การโอนแบบนี้บ่งบอกได้ว่า เจ้าของกระเป๋าน่าจะเป็นคนโยกเอง หรือไม่ก็มีกระเป๋าของตัวเองที่ควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นการโยกจากกระเป๋าประเภทซอฟต์แวร์อย่าง MetaMask หรือ Trust Wallet กระเป๋าฮาร์ดแวร์แบบ Ledger หรือ Trezor หรือแม้แต่กระเป๋าเก็บออฟไลน์แบบ Cold Storage ก็ได้ทั้งนั้น

ถ้าดูจากช่วงเวลาการโอนแล้ว ก็อาจจะโยกเงินหนีกันก่อนที่จะมีการดำเนินคดีหรือการจับกุม อย่างในกรณีของ The ICON Group

ถ้าถามว่าตำรวจจะตามรอยเงินจากกระเป๋าคริปโตได้มั้ย บอกเลยว่าทำได้ แต่ไม่ได้ง่ายขนาดนั้นนะ เพราะถึงแม้ว่าเราจะเห็นธุรกรรมทั้งหมดบนบล็อกเชนได้แบบเปิดเผย แต่กระเป๋าคริปโตมันไม่ได้บอกชื่อจริงใครตรงๆ ไง มันจะมีแค่ที่อยู่ (address) เป็นรหัสยาวๆ เท่านั้น ซึ่งทำให้ตามไปถึงตัวคนจริงๆ

อีกเรื่องที่ต้องพูดถึงคือการโอนเงินข้ามเครือข่าย (cross-chain) แบบโอนจาก Ethereum ไป TRON หรือเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งทำให้เส้นทางเงินดูซับซ้อนขึ้น เพราะเงินมันอาจจะถูกแปลงเป็นคริปโตเหรียญอื่น หรือโทเค็นอื่นระหว่างทาง พวกนี้จะทำให้การตามรอยยากขึ้นไปอีก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะตามไม่ได้ ถ้ามีเทคนิคและเครื่องมือที่ดี

ถึงจะซับซ้อนยังไง ถ้ามีจุดที่เงินไปแสดงตัวตนหรือลิงก์เข้ากับข้อมูลที่ระบุตัวคน (KYC) เช่น เบอร์โทร อีเมล หรือชื่อที่ใช้บนเว็บแลกเปลี่ยน ตำรวจก็มีโอกาสตามเจอจนได้ เพราะสุดท้ายแล้ว เงินต้องไปจบที่ไหนสักแห่งที่มีการแลกเป็นเงินจริง หรือเอามาใช้จริง

สรุปสั้นๆ ก็คือ ถ้าตำรวจจะตามจริงๆ ก็มีหนทาง แต่ต้องใช้เวลา ความพยายาม และข้อมูลมากหน่อย ที่สำคัญคือ ต้องเจอจุดเชื่อมที่ชี้ไปหาเจ้าของกระเป๋าที่แท้จริงให้ได้ก่อน ไม่งั้นก็คงจะตามเงินไปเรื่อยๆ แบบงงๆ ได้เหมือนกัน

#ที่เขียนยาวๆนี่ เพราะตรูเป็นผู้เสียหายโดยตรง แม้ไม่ได้โดนหลอกโดยตรง แต่เครือข่ายอีบอสมันมาเข้าทางคนใกล้ตัวให้หลงเชื่อ เจ็บใจมานานมากก และสะใจมากที่มีวันนี้ ที่ได้เห็น คุณบอสพอลเข้าคุก ค่ะ