'ธุรกิจจีน' โชว์!! เจาะฐานล่างปิรามิดไทย ใครบอกทำราคาถูกไม่ได้ จีนทำให้ดู สะท้อนอีกมุม!! แรงกระตุ้น Demand ไทยหนใหม่ อาจเกิดได้ใต้ลมหนุนจากทุนจีน

(13 ก.ค.67) 'โค้ชเป๊ก' ปุณยวีร์ จันทรขจร วิทยากรด้านการลงทุนชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Punyawe Chantarakajorn' ระบุว่า...

กระบวนท่าหมัดมวยจีนรอบนี้น่าสนใจมาก 

** ใครบอกทำราคาถูกไม่ได้ จีนทำให้ดู **
- ผู้ประกอบการไทยบอกลดราคาไม่ได้เเล้ว ธุรกิจจะไม่รอดเเล้ว แต่จีนทำให้ดูเลย --- Cost of Goods Sold สูงเหรอ เดี๋ยวไปกว้านซื้อวัตถุดิบมาให้  --- SG&A สูงเหรอเดี๋ยวเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย จ้างแรงงานราคาถูกเข้ามาเเทนคนไทยค่าตัวเเพงแถมงานไม่ค่อยเดิน --- ภาษีสูงเหรอ ไม่เป็นไรมีช่องทางกฎหมายให้เล่นได้ 

>>> ทุกบรรทัดที่เป็นต้นทุนจ่ายในการงบ P&L จีนจัดการได้หมด เพราะผู้ประกอบการเค้าไม่ได้มาเดี่ยวๆ ทื่อๆ แต่เค้ามาเป็นองคพายพ มาลุยทั้ง Eco-System 

** ดูด Supply เเล้วค่อยปั่นราคาเก็บกำไรทีหลัง ** 
- มันคือการเล่นกับ Demand-Supply เหมือนเกมที่เล่นกับล้งทุเรียน เริ่มการไปกว้านซื้อล้งเพื่อดูด Supply ให้มากที่สุดเเล้วลดราคาให้ต่ำกว่าตลาดก่อน ผู้ประกอบการเจ้าไหนทนไม่ได้ก็ขายล้งออกมา นายทุนก็รับซื้อเหมือนได้ Distress Asset 

>>> จากนั้นค่อยดึงเอาทรัพยากร ดึง Know-how ดึง Eco-System มาให้หมด เพราะวันไหนที่คุม Supply ได้เเล้ว Pricing Power จะกลับมาอยู่ในมือเอง มันคล้ายๆกับเกมหุ้นที่เจ้ามือทุบหุ้นเพื่อรวบ Float ก่อน เเล้วพอได้จำนวนครบเมื่อไหร่ ราคาเป้าหมายจบตามที่คุยกันไว้ที่สนามกอล์ฟ

 ** ผู้บริโภคชนะ (แต่อาจในระยะสั้น) **
- เอาแบบมองโลกในเเง่ร้ายหน่อย เมื่อสินค้าเเละบริการราคาถูกทั้งตลาด คนที่ชนะในช่วงแรกคือผู้บริโภค ลองนึกถึงอุตสาหกรรม Food Delivery ที่เน้นดึง User จนกว่าจะตายกันไปข้าง ! คนสั่งรู้สึกโชคดีได้กินชานมไข่มุกมาส่งถึงออฟฟิศถูกกว่าเดินไปซื้อหน้าร้านเองด้วยซ้ำ  

>>> But If you're not paying for the product, you are the product เพราะในระยะยาวเมื่อเราคุ้นชินกับแพลตฟอร์มนั้นติดจนเป็นนิสัยเเล้ว อำนาจการ "คุมตลาด" กลับไปที่แพลตฟอร์มทันที 

โจทย์ใหญ่ในระยะยาวคือ การที่ Business Landscape แต่ละอุตสาหกรรมของไทยจะโดนทุนจีนเข้ามาทดเเทนได้เรื่อยๆ เราไปกันไงต่อแบบนี้ เพราะผู้บริโภคไม่ช่วยนะ ฉันประหยัดเงินของฉัน ใครจะทำไม ! (และก็ไม่ใช่เรื่องผิดของเค้าเช่นกัน) 

** Price-Distortion กดให้ถูกได้ ก็ดึงให้แพงได้ **
- ราคาบ้านหรูชานเมืองตอนนี้ แทบจะเริ่มกันที่ 39 ล้านบาทต่อหลัง คนนั่งบีทีเอสไปทำงานในเมืองเกาหัวทุกวันแล้วคิดในใจว่า นี่กูต้องทำมาหากินอะไรวะ !!? ถึงจะซื้อบ้านหลังละหลายสิบล้านได้ (ว่าแล้วก็เฝแวะซื้อ MIXUE ก่อนเข้าออฟฟิศซะหน่อย ) /// แต่เศรษฐีจีนบอกสบายเทียบกับฮ่องกงแล้วถูกกว่าเยอะมาซื้อในไทยดีกว่า ส่งลูกมาเรียนอินเตอร์ได้ด้วย 

แถมเข้าทาง Developer ที่ไม่อยากขายคนไทยเท่าไหร่ มาร์จิ้นสู้ขายต่างชาติไม่ได้ กลายเป็นราคาบ้านดันพุ่งขึ้นจาก Demand ต่างชาติซะงั้น ราคามันก็เพี้ยนสิครับ ก็เลยไม่เเปลกว่าทำไม Home price to Income Ratio บ้านเรามันสูงนัก หรือมันเป็นสัญญาณบอกแล้วว่าชนชั้นกลางส่วนใหญ่เริ่มไม่มีปัญญาซื้อบ้านในตัวเมืองเเละชานเมืองเเล้วเรียบร้อย 

** เทรนด์ที่เลี่ยงได้ยาก ** 
- ยุทธศาสตร์ของจีนประกาศชัดอยู่เเล้วครับว่าจะโตด้วยการส่งออก เพราะ Demand ในประเทศมันวิกฤต !! วัยรุ่นตกงานเยอะแยะ สินทรัพย์คนมีเงินขึ้นมาหน่อยก็อยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังมีปัญหาอยู่ 

เพราะฉะนั้นไอ้เรื่อง Over-Capacity ในประเทศมันต้องแก้ด้วยการส่งไปนอกประเทศ เพื่อให้โลกทั้งใบช่วย Absorb สิ่งที่จีนผลิตได้ ซึ่งถ้าเอาตามตำรานะ จีนคือ Deflation Exporter ไปเเล้ว 

** ชนกับทั้งโลก ** 
- จีนส่ง TEMU แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ์ (บริษัทลูก PDD) ไปชนกับ AMAZON จีนส่ง SHEIN ไปชนกับแพลตฟอร์มขายเสื้อผ้าออนไลน์ทั้งโลก --- เพราะฉะนั้นไม่ใช่แค่รายย่อยครับ แต่จีนชนหมดไม่สนลูกใคร เพราะมันคือ Low Price Strategy มันคือกลยุทธ์ Affordability ที่จีนถนัดอยู่เเล้ว

** Agenda ระดับประเทศ ** 
- สมมติมองแค่ในอาเซียน เวียดนามปรับกลยุทธ์มาเป็นมิตรกับจีนในแบบนึง อินโดนีเซียก็เปิดหน้าชนกับจีนในเเบบนึง บ้านเราเองก็ต้องมีกลยุทธ์เเละกฎเกณฑ์ให้มันชัดๆ แบบนึง ส่วนประเทศลาวไปทำอีท่าไหนไม่รู้ ตอนนี้หนี้สาธารณะของประเทศถึง 3 ใน 4 มีจีนเป็นเจ้าหนี้ไปแล้วเรียบร้อย --- ไอ้การมายึดภาคธุรกิจนี่ว่าน่ากลัวแล้วนะ เจอ Debt Slave เเบบลาวเข้าไปนี่หนักเลย !! 

เเละถ้ามองเเบบไม่ Bias เกินไปนัก ...

ประเทศที่ขนเงินมาลงทุนในไทยสามประเทศหลักๆคือ ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และจีน ---- และในวันที่ Demand ในประเทศมัน Crash ไปแล้วจากหนี้ครัวเรือนในระดับสูง มันเลยเลี่ยงไม่ได้ที่ไทยเราต้องพึ่งพาเม็ดเงินจากต่างชาติด้วยการผ่อนปรนกฎเกณฑ์อะไรบางอย่างในทั้งสัดส่วนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ จนมาถึงการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ทางธุรกิจที่มันชัดเจน 

และมองในมุมผู้บริโภคมันคือ ราคาที่คนในฐานล่างของปิรามิดที่ถูกละเลยมานาน สามารถเข้าถึงได้ และถ้ามองแบบภาพสวยๆ มันคือ การลดความเหลื่อมล้ำของชนชั้นแรงงานที่ปัจจุบันค่าแรงวันนึงกินข้าวในห้างได้มื้อเดียว (ผมเห็น Articles นี้เเวบๆ เมื่อวานเเละเห็นด้วยอย่างมาก)

เราอาจต้องยอมรับแล้วครับว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้เป็น 'สัญญาณ' ให้เตรียมตัว ให้ปรับตัว เพราะจากนี้ไปการมีความได้เปรียบเป็น Economy of Scale อาจเป็น MOAT ในการทำธุรกิจที่เปราะบางที่สุดเพราะนักธุรกิจจีน 'ทำดี' และ 'ทำถึง' ถูกใจผู้บริโภคมากๆ 

"จง-ไท่-อี้-เจีย-ชิน" 
จีน-ไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน 

สิบปีจากนี้เราจะเป็นพี่น้องกันเเบบไหน
น่าสนใจในการติดตามครับ