'ชาวเน็ต' แหกหน้าหนุ่ม หลังโพสต์มั่วเรื่องรถไฟไทย ทั้งขนาดรางไม่เชื่อมจีน-มาเลย์ และ 'ทางคู่' ที่มิใช่ 'รางคู่'

(3 พ.ค. 67) จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'Chen Tai Shan' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า..."ไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่เลือกที่จะไม่ทำ….ประเทศไทยไม่ยอมทำรางรถไฟขนาดมาตรฐานที่สามารถเชื่อมกับโครงข่ายทั้งจีนและมาเลเซีย แต่ไปเอารางคู่แทน (ใช้เงินเยอะกว่าโครงข่ายแบบรถไฟความเร็วสูงด้วยนะ FYI)"

ก็ทำให้มีผู้สันทัดกรณีเข้ามาตอบคำถามเชิงความรู้แก่ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนดังกล่าว อาทิ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Wanwit Niampan ที่ได้โพสต์ข้อความตอบกลับไปว่า...

คุณไม่มีความเข้าใจเรื่อง Railway 101 เลย ขนาดทางรถไฟในโลกนี้มีมากกว่า 10 ขนาด แต่ขนาดที่มีจำนวน 'ต่อ กม. มากที่สุด' คือ 1.435 เพราะใช้เป็นเครือข่ายหลักในยุโรป และต่อมาประเทศที่มีการวางระบบโดยยุโรป และมีขนาดประเทศกว้างก็ถูกนำมาใช้ เช่น จีน, ออสเตรเลีย, เกาหลีใต้ ซึ่งทางกว้างขนาด 1.435 มีชื่อว่า European Standard Gauge แปลว่า 'ขนาดความกว้างมาตรฐานยุโรป' แต่ไม่ได้หมายความว่ามันคือ มาตรฐานโลก

กรณีรถไฟความเร็วสูง ทำไมไม่ใช้ 1.435?

ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ใช้รถไฟความเร็วสูงเชิงพาณิชย์ประเทศแรก ซึ่งญี่ปุ่นใช้ทางกว้าง 1.067 (ขนาดที่มีระยะทางเป็นอันดับ 3 ของโลก) และไม่สามารถทำความเร็วได้ ประกอบกับมีทางโค้งและทางภูเขาเยอะ จึงต้องตัดทางใหม่เพื่อ Shinkansen โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น จึงมีทางรถไฟทั้ง 1.067 และ 1.435

จากนั้นประเทศที่ผุดรถไฟความเร็วสูงมาใหม่ จึงยึดที่ 1.435 (รวมถึงยุโรปที่ใช้ 1.435 ไปเลย เพราะจะได้อัปเกรดทางเดิมได้โดยไม่ต้องสร้างเพิ่ม แต่รถจะวิ่งสูงสุดแค่ 210-230 บนทางเดิม)

สำหรับต้นทุน รถไฟความเร็วสูง 'สูงกว่ารถไฟทางคู่' ครับ มันคนละเทคโนโลยีกัน

ข้อต่อมา ทำไมต้องทำทางคู่

อันนี้แหละคือ โครงข่ายที่สมบูรณ์ที่สุดในการเข้าถึง 'พื้นที่เล็ก' แบบ INtercity รถไฟความเร็วสูงเป็นแค่ option ที่เสริมมาหลังจากที่โครงข่ายปกติมี capacity ที่สูง (เช่น โตเกียว-โอซาก้า ในยุคนั้นที่มี traffic สูงมาก และทางเดิมไม่พอกับปริมาณความต้องการ ประกอบกับมีการติดต่อกันระหว่างสองเมืองที่มีแบบตลอดแบบ Business ซึ่งกรณีนี้รถไฟความเร็วสูงมันได้ทำหน้าที่ 'เสมือนทางด่วน' ของรถยนต์ และทางรถไฟธรรมดามันคือ ทางหลวงระหว่างเมือง

ถ้าให้คุณเข้าใจง่ายที่สุด...
- รถไฟธรรมดา = ถนนหลวง
- รถไฟความเร็วสูง = ทางด่วน

ถนนหลวงที่มีแค่ 1 เลน มันจะขับคล่องไม่ได้ มันก็ต้องขยายเลน เพราะไม่ใช่ทุกเมืองที่ต้องใช้ทางด่วน ไม่ใช่ทุกปลายทางที่ต้องขึ้นทางด่วน

นอกจากนี้ ยังมีชาวเน็ตจำนวนมาก ที่ได้อ่านข้อความดังกล่าวของ 'Chen Tai Shan' ต่างก็คอมเมนต์ไปในทิศทางเดียวกันว่า "คนโพสต์ยังแยกไม่ออกระหว่างขนาดความกว้างของราง กับ การทำทางคู่ ไม่ใช่รางคู่ รถไฟมันใช้รางคู่อยู่แล้ว" / "เมื่อคนไม่มีความรู้ไปพูดมั่ว ๆ เรื่องรถไฟ" / "ก่อนมีความเห็นควรมีความรู้ก่อน"

ส่วนเจ้าตัว เมื่อถูกชาวเน็ตท้วงติง ก็ออกมาโพสต์ตอบว่า... "เข้าใจครับและขอบคุณสำหรับความรู้ที่ให้ทุกท่านทราบในที่นี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องของวิสัยทัศน์ผู้บริหารผมไม่ขอพูดอะไรต่อครับ"