‘เลขา สดช.’ ชู แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 3 มั่นใจ ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันด้านดิจิทัลของไทย

เลขาธิการ สดช. ร่วมเวทีสัมมนาการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ย้ำ ประเทศไทยต้องรักษาดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ไม่ให้ต่ำกว่าเดิม พร้อมเดินหน้าตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในระยะ 3 ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน หวังเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 66 นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ได้เข้าร่วมงานสัมมนาโครงการสัมมนาการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส), ศ.พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงผู้บริหารของกระทรวงฯ และหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

นายภุชพงค์ ได้กล่าวบนเวที ถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ตามแผนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580) ในระยะ 3 ระหว่างปี 2566-2570 โดยระบุว่า ขณะนี้ดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ทางด้านศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของไทยอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลก โดยเป้าหมายหลักคือการทำอันดับให้ดีขึ้น หรือ อย่างน้อยจะต้องไม่ลดจากอันดับเดิมที่เป็นอยู่

โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญ อย่างเช่น มูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจดิจิทัลมีสัดส่วนต่อจีดีพี (Digital Contribution to GOP) ในปี พ.ศ. 2570 ไม่น้อย ร้อยละ 30 และปี  พ.ศ. 2581 ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ขณะที่ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศใน
World Digltal Compettiveness Ranking ในปี พ.ศ. 2570 อยู่ใน 30 อันดับแรกของไลก หรืออยู่ใน 3 อันดับแรกของอาเซียน
และในปี พ.ศ. 2080 อยู่ใน 20 อันดับแรกของโลกหรืออยู่ใน 2 อันดับแรกของอาเซียน ส่วนในด้านสถานภาพการเข้าใจติจิล ( Digital Literacy) ของประชาชนคนไทย มากกว่า 30 คะแนน ในปี พ.ศ. 2570 และมากกว่า 85 คะแนน ในปี พ.ศ. 2580 

ทั้งนี้ การจะเดินไปถึงเป้าหมายดังกล่าว จะขับเคลื่อนไปตามกรอบการพัฒนาทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน, ด้านเศรษฐกิจ, ด้านรัฐบาลดิจิทัล, ด้านการพัฒนากำลังคน และด้านการสร้างความเชื่อมั่นโดยการพัฒนาระบบนิเวศด้านโครงสร้างด้านเทคโนโลยี

“เราต้องยอมรับว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันนั้น โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลนับว่ามีส่วนสำคัญอย่างสูง อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับประเทศในทุก ๆ ด้าน เพราะฉะนั้นเราจำเป็นจะต้องรักษาอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลในระดับนานาชาติ พร้อมกับพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศต่อไปให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุก ๆ ด้าน”

ขณะที่บรรยากาศภายในงานสัมมนา มีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากทั้งภายในสถานที่จัดงาน ณ ห้อง Auditorium ชั้น 2 อาคารสโมสร บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) รวมถึงการรับชมผ่านออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยังได้เยี่ยมชมบูธของกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) ซึ่งได้ให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนฯ และจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้ร่วมสนุกรับของที่ระลึกจากของกองทุนดีอี ทำให้บรรยากาศในงานสัมมนาตลอดทั้งวันเป็นไปด้วยความคึกคักอย่างมาก