เจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำท่าเรือแหลมฉบังเปิดตู้คอนเทนเนอร์ตกค้างกว่า 1,000 ตู้ นำร่องสินค้าจำนวน 4 ตู้ พบสิ่งต้องห้ามจากต่างประเทศเป็นเนื้อหมูอาจปนเปื้อนและปุ๋ยสารเคมีประเภทแมกนีเซียมซัลเฟต
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการโครงการการท่าเรือสีขาวตามนโยบายของ รชค.ตามโครงการท่าเรือสีขาวตามนโยบายของ รชค. อธิรัฐ ในฐานะกำกับดูแลการท่าเรือแห่งประเทศไทยพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศุลกากรนำโดยรองผู้บังคับการ ผู้กำกับนครบาล 3 และ มีเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย การท่าเรือแห่งประเทศไทย ตำรวจภาค 2 ทหารเรือ ศุลกากร ได้กำหนดขั้นตอนและหาข้อยุติ การตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ตกค้างและต้องสงสัย โดยที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ตกค้างกว่า 1,000 ตู้ ที่มีทั้งตู้คอนเทนเนอร์เก็บความเย็น ตู้สินค้าแห้ง และตู้สินค้าอันตราย
ตามที่คณะทำงานได้แจ้งไปจำนวนหกตู้ ศุลกากรแจ้งว่ามีการเปิดไปแล้วสองตู้เหลือสี่ตู้ยังไม่ได้เปิด อีกตู้แจ้งขอผ่อนผันยังเปิดไม่ได้และได้ทำการนำ 3 ตู้ รีเฟอร์ มาเปิดและเพิ่มอีกสองตู้ Dry ซึ่งตู้แรกที่เปิดเป็นกลุ่มปุ๋ยสารเคมีประเภทแมกนีเซียมซัลเฟต ตู้ที่สองที่เปิดสำแดงเป็นเศษพลาสติกเป็นการสำแดงผิดที่เจอเป็นเม็ดพลาสติก ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้า
ตู้ที่สามและตู้ที่ห้าเป็นเนื้อหมูสามชั้นมาจากประเทศเบลเยียมซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามโดยประเทศเบลเยียมถือว่าเนื้อหมูอาจปนเปื้อน และตู้ที่สี่เป็นตู้เนื้อหมูที่มาจากรัสเซีย ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามเช่นกัน โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำท่าเรือแหลมฉบัง ได้เข้าร่วมชี้แจงว่าภาคเอกชนเจ้าของตู้ตกค้างบางราย ยื่นขอขยายเวลาเพื่อส่งกลับประเทศต้นทาง บางตู้ตกค้างวางอยู่นานนับปี โดยไม่ได้ขยับหรือผ่านขั้นตอนใด ๆ อ้างว่าอยู่ในขั้นตอนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลายหน่วยงานต้องทำการตรวจสอบสินค้าที่รับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน
จึงเรียนเชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้สื่อมวลชน เป็นสักขีพยานในการเปิดตู้ตรวจสอบความโปร่งใสครั้งนี้ เนื่องจากมีข้อสงสัยว่าสินค้าภายในตู้คอนเทนเนอร์ที่ตกค้างนับ 1,000 ตู้ อาจเป็นสินค้าหลีกเลี่ยงภาษี และมีสิ่งผิดกฎหมาย และทั้งหมดนี้ก็ถึงเวลาต้องกวาดล้างทำความสะอาดท่าเรือให้เปนไปตามนโยบายของ รชค. และจะเฝ้าติดตามการทำงานของโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด