กดปุ่ม ‘วังจันทร์ วัลเลย์’ เริ่มเปิดใช้เฟสแรกแล้ว พร้อมเดินหน้าสู่การพลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย

EECi วังจันทร์ วัลเลย์ ศูนย์รวมนวัตกรรม แห่ง EEC เฟส 1 เสร็จแล้ว!!! สมเด็จพระเทพฯ เสด็จเปิด เอกชนเข้าใช้งาน พฤศจิกายน 65 นี้!!!

เพจโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure อัพเดท โครงการ EECi หรืออีกชื่อคือ ‘วังจันทร์ วัลเลย์’ โดยมี ปตท. เป็นแกนนำในการพัฒนาพื้นที่ EECi แห่งนี้ โดยระบุว่า

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 65 ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพฯ ทรงเสด็จมาเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ EECi ในพื้นที่วังจันทร์ วัลเลย์ ตามลิ้งค์นี้
https://fb.watch/g-gnbVJeMb/?mibextid=nJa2DX
คลิปประชาสัมพันธ์ EECi
https://youtu.be/9piHc3eis9E

โดยในพื้นที่ EECi วางแผนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการพัฒนา EEC ทั้งหมด 6 ด้านคือ
1. อุตสาหกรรมแบตเตอรี่และยานยนต์สมัยใหม่
2. อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
3. อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ
4. อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์
5. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ
6. อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย และองค์กรต่างๆ มากกว่า 60 องค์กร

ภายในพื้นที่ EECi ได้ออกแบบสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรม พร้อมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายให้แก้นักวิจัยและคนครอบครัว 
ขณะเดียวกัน ยังก่อสร้างอาคารและห้องทดลองในการพัฒนาสินค้า และนวัตกรรม เพื่อรองรับการพัฒนาในด้านต่างๆ จากนักวิจัยจากทั่วประเทศ และทั่วโลก

อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญในการวิจัย ทางด้านเคมีฟิสิกส์ คือ เครื่องกำเนิดแสงซิงโครตอน ซึ่งก่อสร้างเป็นเครื่องที่ 2 ของประเทศ หลังจากได้รับเครื่องบริจาคที่อยู่ ที่ มหาวิทยาลัยสุรานารี ซึ่งเครื่องนี้จะเป็นตัวดึงดูดนักวิจัยที่จะพัฒนาการวิจัยได้อีกมาก 

ปัจจุบัน มีการก่อสร้าง ในเฟส 1 เสร็จแล้วได้แก่

- อาคารสำนักงานใหญ่ EECi มีพื้นที่ 40,000 ตารางเมตร

- ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน 'Sustainable Manufacturing Center' หรือเอสเอ็มซี (SMC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนวัตกรรมหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทย เข้าสู่ความยั่งยืนโดยการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับเทคโนโลยีการผลิต ปัจจุบันได้เปิดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม สามารถใช้ประโยชน์ในรูปแบบการสาธิต การเรียนรู้และการทดลองปฏิบัติจริง รวมไปถึงกิจกรรมวิจัยเพื่อการสร้างนวัตกรรมได้

- ศูนย์นวัตกรรมกรรมการเกษตรของเมืองนวัตกรรมชีวภาพ (EECi BIOPOLIS) ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนภาคเกษตร สร้างดุลยภาพระหว่างการเพิ่มปริมาณผลผลิต กับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมชีวภัณฑ์ ยา อาหารเสริม เครื่องสำอางและวัสดุชีวภาพ โดยปี 2565 ได้ดำเนินการพัฒนาโรงเรือนปลูกพืชอัจฉริยะ ทดลองปลูกพืชสมุนไพรในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น อาทิ ฟ้าทะลายโจร, ใบบัวบก, ขมิ้นชัน และกระชายดำ

- สนามทดสอบเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle หรือ UAV) ซึ่งมีพื้นที่กว่า 6 ไร่

ในอนาคตจะมีแผนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนา อีก 4 เฟส ตลอดระยะเวลา 7 ปี ได้แก่

เฟส 2 ปี 2566
- โรงเรือนฟิโนมิกส์
- โรงงานแบตเตอรี่ทางเลือก เช่น แบตเตอรี่เกลือ และ semi solid battery ที่มีมหาวิทยาลัย และปตท. กำลังร่วมวิจัยและพัฒนากันอยู่

เฟส 3 ปี 2567
- โรงงานผลิตพืช
- โรงงานไบโอรีไฟเนอรี หรือแปรรูปและสกัด ผลผลิตทางชีวภาพ เพื่อการผลิตสินค้ามูลค่าสูง เช่น การทำ Bio Plastic 
- พื้นที่ทดสอบยานยนต์ไร้คนขับ ซึ่งจะมาสนับสนุนการพัฒนารถยนต์ของ ปตท.

เฟส 4 ปี 2568 
- สนามทดสอบดิจิตอล สำหรับยานยนต์อัตโนมัติ
- ระบบทดสอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่

เฟส 5 ปี 2573 
- เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน แห่งที่ 2 ของไทย ซึ่งมีขนาด 3GeV เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่างๆ

ซึ่งการพัฒนา EECi นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง 'New S Curve' ของไทย เพื่อจะยกระดับการพัฒนาประเทศ จากประเทศผู้รับจ้างผลิต สู่ประเทศผู้พัฒนาเทคโนโลยี


ที่มา : โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure