ไทม์ไลน์ ปรับโควิด-19 เป็น โรคประจำถิ่น

ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านโรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น โดยได้แบ่งระยะการดำเนินการเป็น 4 ระยะด้วยกัน ดังนี้

•ระยะที่ 1 เป็นระยะขาขึ้น คือระยะที่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น (12 มี.ค.-ต้น เม.ย.) เรียกว่า Combatting ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง จะมีมาตรการต่าง ๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง

•ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.) เรียกว่า Plateau คือ ระยะคงที่ คือการคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อย ๆ

•ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.) เรียกว่า Declining เป็นระยะที่มีการลดจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงให้เหลือ 1,000-2,000 คน

•ระยะ 4 ตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ระยะที่ออกจากการเป็นโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น