‘ชาญวิทย์’ เผย!! นัยแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พร้อมยกตัวอย่างหากไทยต้องหวนกลับคืน = ? 

นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

To return to ancient Absolute Monarchy time means การต้องกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั้น หมายถึงว่า... 

1.) กลับไปสู่ยุค ปลายสมัย ร. 5 คือ ประมาณ “การปฏิรูป” พ.ศ. 2435 ซึ่งเป็นยุคสูงสุดของพระราชอำนาจกษัตริย์ไทยเป็นครั้งแรก และเป็นการรวมอำนาจที่ศูนย์กลางที่องค์กษัตริย์อย่างไม่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นสมัยสุโขทัย ล้านนา อยุธยา ธนบุรี หรือต้นรัตนโกสินทร์ 

2.) แต่จะตกต่ำ เสื่อมทรามลงอย่างรวดเร็ว ในสมัย ร. 6 ที่เกิดการกบฏ/ปฏิวัติ ร.ศ. 130 หรือที่เรียกกันว่า “กบฏหมอเหล็ง” ของบรรดานายทหารหนุ่ม ๆ จากโรงเรียนนายร้อยทหารบก  

3.) และจะตกต่ำลงอีกในสมัย ร. 7 ที่เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนา 2475 โดยคณะราษฎร ที่นำโดยนายทหารบก ทหารเรือ ข้าราชการนักกฎหมาย และสามัญชนชาย จำนวนประมาณ 100 คน

4.) สรุประบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ Absolute monarchy ของ “สยาม” ที่จะต้องเปลี่ยนเป็น “ไทย” นั้นมีอายุเพียงจาก พ.ศ.2435 - 2475 คือ 40 ปีเท่านั้น อาจจะอายุสั้นที่สุดแห่งหนึ่งในโลกก็เป็นได้ 

5.) ใน “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม” หรือ “รัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม” ฉบับ 27 มิถุนา 2475 ที่ถูกสอดใส่คำว่า ชั่วคราว” ไว้นั้น จารึกไว้เป็นหลักฐานว่า “มาตรา 1 อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ครับ


ที่มา : https://www.facebook.com/646098952112944/posts/4649949631727836/