‘ค้อน - เคียว’ (Hammer & Sickle) สัญลักษณ์ของ ‘ลัทธิคอมมิวนิสต์’ ไม่ใช่ประชาธิปไตย!!
ได้เห็นกลุ่มเคลื่อนไหวที่อ้างว่าเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ทั้ง ๆ ที่บ้านเมืองก็มีอยู่ในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีการเลือกตั้งตัวแทนจนครบทุกระดับแล้ว จึงน่าสงสัยว่า บ้านนี้เมืองนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน ซ้ำร้ายกลุ่มเคลื่อนไหวที่อ้างว่าเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ยังกับเอาสัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” (Hammer & Sickle) อันเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่เป็นเผด็จการสังคมนิยมมาใช้เสียอีก ดังนั้นจึงมั่นใจว่า กลุ่มเคลื่อนไหวดังกล่าวคงแยกไม่ออกระหว่างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับแบบคอมมิวนิสต์เป็นแน่เชียว
ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องราวของสัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ขออธิบายเรื่องความต่างของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับแบบคอมมิวนิสต์ให้ทราบพอสังเขป โดยระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอธิบายง่าย ๆ คือ ระบอบการปกครองที่ประกอบด้วยอำนาจที่ใช้ในการดูแลจัดการกิจการของบ้านเมืองสามส่วนได้แก่ (1) บริหาร (2) นิติบัญญัติ และ (3) ตุลาการ
สำหรับระบอบประชาธิปไตยในบ้านเรา คือ มีการเลือกตั้งในส่วนของ (2) นิติบัญญัติเพื่อทำหน้าที่ออกกฎหมาย และเลือก (1) บริหารเพื่อบริหารจัดการบ้านเมือง ทั้งสองส่วนต่างมีอำนาจในการตรวจสอบและคานอำนาจหน้าที่กัน จากการที่ (2) นิติบัญญัติสามารถตรวจสอบด้วยการอภิปรายและลงมติ (1) บริหารในสภาได้ และ (1) บริหารก็สามารถใช้อำนาจในการยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้ง (2) นิติบัญญัติขึ้นมาใหม่ได้ ส่วน (3) ตุลาการทำหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ตามกฎหมายที่ออกโดย (2) นิติบัญญัติ โดย (1) บริหาร มีหน้าดูแล และบังคับใช้กฎหมาย ส่งตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดย (3) ตุลาการเป็นผู้พิจารณาตัดสินตามกฎหมาย และหาก (1) บริหาร และ (2) นิติบัญญัติ กระทำความผิด ก็จะเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรมโดย (3) ตุลาการ เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป
แต่กับระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ อำนาจที่ใช้ในการดูแลจัดการกิจการของบ้านเมืองสามส่วน ได้แก่ (1) บริหาร (2) นิติบัญญัติ และ (3) ตุลาการ ล้วนแล้วแต่มาจากพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งสมาชิกของพรรคฯ มาจากการคัดสรร ไม่ใช่การเลือกตั้ง ตามแต่คณะกรรมการของพรรคฯ ในระดับต่าง ๆ จะเห็นชอบ โดย (1) บริหารจะมาจากคณะกรรมการกลางของพรรคที่เรียกว่า โปลิตบูโร (Politburo) หมายถึง คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ (เช่น อดีตสหภาพโซเวียต โปลิตบูโรจะประกอบด้วยเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (The General Secretary of the Communist Party of the Soviet Union) และบุคคลสำคัญรองลงมา เช่น ประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี) อำนาจที่ใช้ในการดูแลจัดการกิจการของบ้านเมืองสามส่วน ได้แก่ (1) บริหาร (2) นิติบัญญัติ และ (3) ตุลาการ ล้วนแล้วแต่มาจากพรรคคอมมิวนิสต์ โดยที่ประชาชนไม่มีสิทธิ ไม่มีส่วนอะไรเลยในอำนาจดังกล่าว
สำหรับสัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” เป็นสัญลักษณ์หลักอย่างหนึ่งของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งมักใช้เพื่อเป็นเครื่องหมายของลัทธิคอมมิวนิสต์ พรรคคอมมิวนิสต์ หรือรัฐคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยปกติแล้วมักทำเป็นรูปค้อนและเคียวไขว้กัน เครื่องหมายทั้งสองอย่างนี้ คือ สัญลักษณ์บุคคลในชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นชาวนา (เกษตรกร) การนำสัญลักษณ์ทั้งสองอย่างมารวมกัน จึงหมายถึงเอกภาพของแรงงานในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม อันถือเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคมในระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” เป็นที่รู้จักกันดีจากการที่นำสัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ไปใช้ในธงชาติสหภาพโซเวียต ควบคู่ไปกับรูปดาวแดง และยังถูกนำไปใช้ในธงและตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ อีกจำนวนมาก โดย สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” เป็นสัญลักษณ์ที่มี Unicode : "☭"
Vladimir Lenin
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ซึ่งรัสเซียถอนตัวออกในปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917)) และระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย (สงครามปฏิวัติบอลเชวิก) สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ถูกใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้นในฐานะสัญลักษณ์ของแรงงานในสหภาพโซเวียต และเพื่อความสามัคคีของชนชั้นกรรมาชีพระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1917 Vladimir Lenin และ Anatoly Lunacharsky ได้จัดการแข่งขันเพื่อสร้างสัญลักษณ์ของสหภาพโซเวียต การออกแบบที่ชนะคือค้อนและเคียวบนยอดลูกโลกในแสงแดด ล้อมรอบด้วยเมล็ดธัญพืชและภายใต้ดาวห้าแฉก พร้อมคำจารึกว่า "ชนชั้นกรรมาชีพของโลก สามัคคี!" ในหกภาษา (รัสเซีย ยูเครน เบลารุส จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจัน) เดิมมีดาบเป็นจุดเด่นด้วย แต่ถูก Lenin คัดค้านอย่างรุนแรง ด้วยไม่ชอบในความหมายแฝงที่มีนัยรุนแรง นักออกแบบที่ชนะคือ Yevgeny Ivanovich Kamzolkin
ค้อนและเคียวบนยอดลูกโลกในแสงแดด ล้อมรอบด้วยเม็ดธัญพืชและภายใต้ดาวห้าแฉก พร้อมคำจารึกว่า "ชนชั้นกรรมาชีพของโลก สามัคคี!" ในหกภาษา (รัสเซีย ยูเครน เบลารุส จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจัน)
เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 คณะกรรมการบริหารกลางสมัยที่ 2 (CIK) ได้รับรองสัญลักษณ์นี้ ใน Daily Life in a Crumbling Empire : The Absorption of Russia into the World Economy โดย David Lempert นักสังคมวิทยา ได้ตั้งสมมติฐานว่า สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” เป็นการแทนที่ทางโลกสำหรับขบวนการคอมมิวนิสต์ทั่วโลกนำพาโดยขบวนการคอมมิวนิสต์ บางส่วนมีรูปแบบเฉพาะท้องถิ่น หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อสิ้นสุดสงครามเย็น สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ยังคงพบเห็นได้ทั่วไปในรัสเซียเอง และอดีตสาธารณรัฐโซเวียตอื่น ๆ ในประเทศอดีตคอมมิวนิสต์บางประเทศ เช่นเดียวกับในประเทศที่กฎหมายห้ามลัทธิคอมมิวนิสต์ ห้ามแสดงลัทธิคอมมิวนิสต์ สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ยังพบเห็นได้ทั่วไปในรัฐสังคมนิยมที่ประกาศตนเองในภายหลัง เช่น คิวบา จีน เวียดนาม ลาว และเกาหลีเหนือ
รัฐสังคมนิยมที่ประกาศตนว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เช่น คิวบา จีน เวียดนาม ลาว และเกาหลีเหนือ
สัญลักษณ์ของสหภาพโซเวียต ค้อนและเคียว ล้อมรอบด้วยเมล็ดธัญพืช และภายใต้ดาวห้าแฉก
การใช้งานสัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ปรากฏในตราแผ่นดินของสหภาพโซเวียต และปรากฏบนตราดาวแดงบนหมวกเครื่องแบบของเครื่องแบบกองทัพแดงและอื่น ๆ อีกมาก ในช่วงเวลาแห่งการสร้างสหภาพโซเวียต ค้อนและเคียว เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของพันธมิตร อันประกอบด้วย กรรมกรและชาวนา โดยค้อนเป็นสัญลักษณ์ดั้งเดิมของชนชั้นกรรมาชีพทางอุตสาหกรรมของรัสเซีย และเคียวเป็นสัญลักษณ์แต่ดั้งเดิมของชาวนา (เกษตรกร) รัสเซีย ความหมายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาขยายไปสู่สัญลักษณ์ที่ทั่วโลกรู้จักสำหรับลัทธิ Marxism พรรคคอมมิวนิสต์ หรือรัฐสังคมนิยม
ในปัจจุบัน Aeroflot สายการบินแห่งชาติของสหภาพโซเวียต (ปัจจุบันคือรัสเซีย) ยังคงใช้ค้อนและเคียวเป็นสัญลักษณ์ต่อ พรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองประเทศอยู่ในปัจจุบัน 3 ใน 5 พรรค ยังคงใช้ค้อนและเคียวเป็นสัญลักษณ์ประจำพรรค ได้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม และพรรคปฏิวัติประชาชนลาว ในประเทศลาวและเวียดนาม มักจะเห็นธงประจำพรรคสัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ประดับอยู่เคียงข้างกับธงประจำชาติ
ในปัจจุบัน Aeroflot สายการบินแห่งชาติของสหภาพโซเวียต (ปัจจุบันคือรัสเซีย) ยังคงใช้ค้อนและเคียวเป็นสัญลักษณ์
ในประเทศลาว มักจะเห็นธงประจำพรรคสัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ประดับอยู่เคียงข้างกับธงประจำชาติ
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งกรีซ
พรรคคอมมิวนิสต์หลายแห่งทั่วโลกก็ยังคงใช้สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” เช่นกัน เช่น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งกรีซ, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งชิลี, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งบราซิล, พรรค Purba Banglar Sarbahara บังกลาเทศ, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งศรีลังกา, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินเดีย (Marxist), พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินเดีย (Marxist - Leninist) ปลดปล่อย, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินเดีย, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินเดีย (ลัทธิเหมา), ศูนย์เอกภาพสังคมนิยมของอินเดีย (นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์), พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอียิปต์, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งปากีสถาน, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสเปน, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเดนมาร์ก, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งนอร์เวย์, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งโรมาเนีย, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเลบานอน, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งฟิลิปปินส์, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสวีเดน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งโปรตุเกส และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเม็กซิกัน ต่างใช้สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” บนดาวแดง สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” พร้อมกับดาวสีเหลืองถูกใช้โดยพรรคคอมมิวนิสต์ปฏิรูปซึ่งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์หลักในอิตาลี สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ถูกใช้โดยพรรคสังคมนิยมอิตาลีในอดีต, พรรคเอกภาพชนชั้นกรรมาชีพ (อิตาลี) และพรรคสังคมนิยมอิตาลีแห่งเอกภาพชนชั้นกรรมาชีพของอิตาลี พรรคประชาธิปไตยกรรมาชีพ และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอิตาลี ทุกฝ่ายแต่เดิมเคยเป็นผู้แทนในรัฐสภาอิตาลี
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอิตาลี (Italian Communist Party)
ธงแองโกลาแสดงส่วนของฟันเฟือง ไขว้ด้วยมีดแมเชเท (มีดยาว)
มีการออกแบบสัญลักษณ์จำนวนมาก ที่มีโครงสร้างและข้อความที่คล้ายคลึงกันกับต้นฉบับ ตัวอย่างเช่น ธงแองโกลาแสดงส่วนของฟันเฟือง ไขว้ด้วยมีดแมเชเท (มีดยาว) และสวมมงกุฎด้วยดาราสังคมนิยม ในขณะที่ธงชาติโมซัมบิกมี AK-47 ไขว้ด้วยจอบ ในตราของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหรัฐอเมริกา วงกลมประกอบด้วยฟันเฟืองครึ่งวงกลมและใบเคียวรูปครึ่งวงกลม ค้อนวางตรงเหนือด้ามเคียวโดยให้หัวค้อนอยู่ตรงกลางตราสัญลักษณ์ ตราสัญลักษณ์ ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งตุรกีประกอบด้วยล้อฟันเฟืองครึ่งล้อด้วยค้อนและมีดาวอยู่ด้านบน สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ในรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่
แปรง เคียว และค้อนของพรรคแรงงานแห่งเกาหลี พลั่ว คบเพลิงและปากกาขนนกที่ใช้ก่อนปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) โดยพรรคแรงงานอังกฤษ พลั่วและปืนไรเฟิล ใช้ในคอมมิวนิสต์แห่งแอลเบเนีย และค้อนและเข็มทิศของสัญลักษณ์และธงชาติของอดีตเยอรมันตะวันออก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหราชอาณาจักร (CPB) ใช้สัญลักษณ์ค้อนและนกพิราบ ออกแบบในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) โดย Michal Boncza มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำถึงความเชื่อมโยงของพรรคกับขบวนการสันติภาพ มักใช้ร่วมกับค้อนและเคียว และปรากฏอยู่ในสิ่งพิมพ์ของ CPB ทั้งหมด สมาชิกของ CPB บางคนชอบสัญลักษณ์หนึ่งมากกว่าสัญลักษณ์อื่น แม้ว่าการประชุมของพรรคในปี พ.ศ. 2537 ได้ยืนยันจุดยืนอย่างเป็นทางการของพรรคในการใช้สัญลักษณ์ “ค้อนและนกพิราบ” ในฐานะสัญลักษณ์ ในทำนองเดียวกันพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอิสราเอลใช้นกพิราบเหนือค้อนและเคียวเป็นสัญลักษณ์
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหราชอาณาจักร (CPB) ใช้สัญลักษณ์ค้อนและนกพิราบ
สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” จึงเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ประชาธิปไตย ถูกนำมาใช้ในบ้านเราอีกครั้ง เมื่อกลุ่มเคลื่อนไหวที่อ้างว่าเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ อันเป็นการแสดงถึงการไม่รู้และมีความไม่เข้าใจในความแตกต่างระหว่างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับแบบคอมมิวนิสต์ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วกลุ่มดังกล่าวจึงไม่น่าที่จะมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะนำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ให้เกิดขึ้นได้ในสังคม
แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ Blockdit : THE STATES TIMES
???? https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32