ศบค. เผย ตัวเลข ฉีดวัคซีนแล้ว 5.1 ล้านโดส ชี้ เมื่อฉีดวงกว้าง อาจพบอาการไม่พึงประสงค์ได้ ย้ำ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ลดการแพร่ระบาด
ที่ศบค. ทำเนียบรัฐบาล นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสรุปภาพรวมเรื่องการฉีดวัคซีนว่า เรื่องวัคซีนเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเป็นอย่างมาก นับจากที่มีการฉีดวัคซีนในวงกว้าง จึงทำให้โอกาสที่จะเจออาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ปรากฏขึ้นหรืออาจจะมีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ ดังนั้นต่อจากนี้จะมีการรายงานภาพรวมสัปดาห์ละครั้ง
นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า จากที่เราได้ฉีดวัคซีนกันไปตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ จำนวนวัคซีนที่จัดสรร ซิโนแวค 4,982,313 โดส อัตราเซเนก้า 1,774,180 โดส รวมทั้งสิ้นการจัดสรรวัคซีนสองชนิด 6,756,493 โดส ซึ่งถ้าแยกจำนวนการฉีดวัคซีนเพื่อแยกดูว่าในวงกว้างปูพรมในวันที่ 7-8 มิถุนายน ในส่วนของการฉีด วันนี้ที่เพิ่มขึ้นมา 472,128 โดส สะสมตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน เป็นจำนวน 888,975 โดส ดังนั้นจะเห็นว่าเราสามารถฉีดได้วันละเกินวันละ 400,000 โดส ทั้งนี้ยอดรวมของการฉีดมาตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์คือ 5,107,069 โดส
นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า การที่นำตัวเลขนี้มาหยามเนื่องจากเป็นประเด็นที่สำคัญเนื่องจากการฉีดในจำนวนมากๆ นี้เราต้องติดตามในเรื่องของความปลอดภัยจึงได้มีระบบการรายงานอาการไม่พึงประสงค์หลังจากการฉีดวัคซีน ซึ่งคำพูดที่ประชาชนหรือสื่อมวลชนมักใช้กันและเข้าใจง่ายบางครั้งจะพูดถึงคำว่า แพ้วัคซีน ผลข้างเคียง ซึ่งคำเหล่านี้ในทางวิชาการจะมีการแจกแจงแยกความหมายที่ชัดเจนเพราะว่ามีความสำคัญต่อการดูแล ประชาชนหลังการฉีดวัคซีนที่แตกต่างกัน
นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า ระบบเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ เราทำให้มีความไวถึงแม้จะเป็นอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่จะสามารถติดตาม รายงานมาได้ ก็จะรวบรวมไว้ แต่ถ้าอาการไม่รุนแรง สามารถหายได้เองก็ไม่จำเป็นจะต้องไปติดตามดูข้อมูลลึกๆ แต่ถ้าเข้าขายอาการที่รุนแรงหรือเสียชีวิต ก็จำเป็นที่จะต้องมาดูในรายละเอียดว่าสาเหตุการเสียชีวิต สาเหตุของอาการเหล่านั้นคืออะไร ในบางส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงอาจจะเป็นแค่ปฏิกิริยาของร่างกาย ซึ่งนั่นจะมีอีกคำหนึ่งที่ใช้กันคือผลข้างเคียง เป็นปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย วัคซีนก็เป็นสิ่งแปลกปลอมหนึ่งที่เข้าไปในร่างกายเพื่อวัตถุประสงค์จะไปก่อประโยชน์ในการกระตุ้นให้ร่างกายรู้จักว่าเวลาที่มีสารกระตุ้นแบบนี้ เป็นสารที่เราจำลองมาจากตัวเชื้อ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน เวลามีเชื้อโรคมาจริงๆ ภูมิคุ้มกันเหล่านี้จะเป็นเสมือนทหารคุ้มกัน ป้องกันที่จะไปต่อสู้เอาชนะ ทำให้ลดการเสียชีวิต ลดการป่วย ลดการติดเชื้อ ส่งผลไปถึงหยุดการแพร่กระจาย หรือลดการแพร่กระจาย ทำให้การแพร่ระบาดหยุดไปได้
นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า ในกรณีที่ปรากฏในสื่อที่เห็นชัด และผู้คนสนใจคือเรื่องของการเสียชีวิต ตามที่รายงานมาแล้วจำนวน 28 ราย ซึ่งต้องเรียนว่าไม่ใช่ว่าจะเป็นผลจากวัคซีน ตามหลักการของเราเมื่อมีเหตุรุนแรง จะต้องมีการหาสาเหตุให้ชัดเจน โดยระบบเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ในระดับพื้นที่จะมีการรวบรวมข้อมูล รายงานสถานการณ์ว่าเกิดเหตุอะไรบ้างในเบื้องต้นได้ในระดับจังหวัด โดยมีการจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญในระดับเขต เพราะเมื่อมีการฉีดวัคซีนในวงกว้างมากๆ หากมีอาการที่เข้าข่ายผู้เชี่ยวชาญก็ต้องดูสาเหตุว่าเป็นอย่างไร ดูความเชื่อมโยงเกี่ยวข้อง กลับวัคซีนหรือไม่ เพราะบางกรณีอาจจะเกี่ยวข้อง แต่บางกรณี อาจจะไม่เกี่ยวข้องจึงต้องให้เวลาในการเก็บข้อมูล ดังนั้นการจะรู้สาเหตุที่แท้จริง ที่ชัดเจนขอเรียนว่า ต้องมีกระบวนการที่ดูในเรื่องการดูแลรักษา การส่งตรวจในโรงพยาบาล การผ่าชันสูตรหลังเสียชีวิต สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมาก ซึ่งนอกจากดูรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ต้องผ่าชิ้นเนื้อ ส่งตรวจเพื่ออธิบายสาเหตุนั้นก็มีความสำคัญเช่นกัน
นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า ตัวอย่างกรณีของจังหวัดปทุมธานีจะเห็นว่ามีผู้เสียชีวิตหลังการฉีดวัคซีนแต่เมื่อมีการตรวจชนะสูตรแล้วพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุคนละเรื่องกับวัคซีน เพราะฉะนั้นกรณีเหล่านั้นเป็นการเสียชีวิต เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง แต่ไม่ได้เกี่ยวข้อง ไม่ได้เป็นสาเหตุ ที่มาจากวัคซีน ดังนั้น 28 รายที่รายงานเข้ามา 12 รายมีการสรุป สาเหตุชัดเจนแล้วว่าทุกรายมีสาเหตุของการเสียชีวิตที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวัคซีน ขอให้ประชาชนมั่นใจในความปลอดภัยของวัคซีน และจะติดตามเรื่องเหล่านี้มานำเสนอให้ทราบเป็นระยะ เพื่อให้เกิดความมั่นใจแล้วทุกคนได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนในวงกว้าง เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ และทำให้หยุดการระบาดได้ในที่สุด
นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า โดยทั่วไปโรคประจำตัว โดยรวมๆ แล้วฉีดได้เกือบทุกโรคหากในวันที่ฉีดมีสุขภาพแข็งแรงดีไม่ได้มีอาการอ่อนเพลียหรือไม่มีอาการกำเริบของโรค หลายคนอาจมีความกังวลใจแต่ถ้าได้ปรึกษากับแพทย์ประจำก็สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ ดังนั้นถ้าไม่ได้มีอาการกำเริบของโรค ควบคุมไม่ได้ ก็สามารถฉีดวัคซีนได้โดยที่ไม่ต้องเลื่อนวันนัด
นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า หลังฉีดวัคซีนแล้วหากมีอาการไมเกรน ปวดศีรษะก็ใช้การประเมินของตัวเองได้ ถ้าปวดเล็กน้อยอาจจะทานยาพาราเซตามอล แก้ปวดแล้วพักผ่อน ก็จะดีขึ้นแต่ถ้าดูไม่ดีขึ้น หรือปวดรุนแรงตั้งแต่ต้น หรือดูว่ามีความกังวลว่าอาจจะเป็นมาก ก็สามารถติดต่อแพทย์ได้โดยที่ไม่ควรจะรอ