ยโสธร - Kick off การป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกิน สร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกร
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 31 พ.ค.64 นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานเปิดการรณรงค์ Kick off การป้องกัน กำจัดโรคลัมปี สกิน ในโค กระบือ ที่ฟาร์มโคขุนหนองแหน ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม โดยมี นายสัตวแพทย์ชาติชาย ยิ้มเครือ ปศุสัตว์จังหวัดยโสธร นายสรวิศ สมพงษ์ นายอำเภอกุดชุม จ.ส.ต.พงษ์สถิตย์ อรอินทร์ ประชาสัมพันธ์จังหวัด ผู้แทนเกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายเทอดศักดิ์ สมภักดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน นายทรงศักดิ์ วงษ์สุพรรณ หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ นายดำรงศักดิ์ หงษ์ทะนี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ พร้อมเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ ในพื้นที่ ข้าร่วมงาน
นายสัตวแพทย์ชาติชาย ยิ้มเครือ ปศุสัตว์จังหวัดยโสธร กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อสร้างการรับรู้ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโรคลัมปี สกิน ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศ ให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค การจัดกิจกรรม ประกอบด้วย การปล่อยขบวนรถหน่วยพ่นยาฆ่าเชื้อโรคและพ่นยากำจัดแมลง ปล่อยขบวนรถหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ สร้างความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคลัมปี สกิน แก่เกษตรกรโดยงดการเคลื่อนย้ายสัตว์ และขอให้เป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรค พร้อมทั้งมอบสารกำจัดแมลง น้ำส้มควันไม้ ชุดเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แร่ธาตุก้อน วิตามิน บำรุงสุขภาพสัตว์ มอบหญ้าแห้งอาหารสัตว์
ทั้งนี้การเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดโรคในพื้นที่บ้านหนองแหน หมู่ 1 ,3, 7 ซึ่งมีเกษตรกรเลี้ยงสัตว์รวม 8 คอก โค 14 ตัว องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน ได้สนับสนุนพ่นยาไล่แมลงที่เป็นพาหนะนำชื้อโรคพร้อมปศุสัตว์อำเภอกุดชุม เร่งลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค
สำหรับโรคลัมปี สกิน เป็นโรคอุบัติใหม่พบในโค กระบือ เกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อโดยแมลงดูดเลือดเป็นพาหนะนำโรคและไม่ติดต่อสู่คน สัตย์ป่วยจะมีอาการไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร มีตุ่นนูนแข็งขึ้นตามลำตัว ต่อน้ำเหลือโต ขณะนี้มีการแพร่ระบาดทั่วประเทศ 41 จังหวัด ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบระบาดใน 17 จังหวัด โดยจังหวัดยโสธร พบารระบาดใน 9 อำเภอ 58 ตำบล เกษตรกรได้รับผลกระทบ 563 ราย ซึ่งมีสัตว์เลี้ยง รวม 160,236 ตัว มีสัตว์ป่วยรวม 875 ตัว ยังคงป่วย 768 ตัว และได้ประกาศเป็นเขตโรคระบาดชนิดลัมบีสกิน ในโค เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 เพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกในพื้นที่ ซึ่งจะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถกำจัดโรคลัมปี สกิน ให้หมดไปได้อย่างแน่นอน และขอให้เชื่อมั่นว่า โรคนี้ รักษาหาย เนื้อกินได้ ไม่ติดคน
ภาพ/ข่าว สมัย คำแก้ว ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดยโสธร