Wednesday, 15 May 2024
INFO

เปิด 20 อันดับ 'ชาติเอเชีย' ที่มีรายได้น้อยที่สุด

📍 เช็กลิสต์ 20 อันดับประเทศในเอเชียที่มีรายได้ต่ำที่สุด โดยอ้างอิงตามรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัว PPP (ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ)

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน (11 มี.ค. 67)

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 67 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 8 มี.ค. 67 และประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

ทั้งนี้สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING 

ส่องระดับรายได้ 11 ชาติอาเซียน ประเทศไทยอยู่กลุ่มไหน?

สิงคโปร์มี GNI (Gross National Income) หรือ รายได้ประชาชาติ โดยมีรายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุด และมีรายได้สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!!

ทั้งนี้ ธนาคารโลก ได้จัดหมวดหมู่เศรษฐกิจโลกออกเป็นสี่กลุ่มรายได้ ได้แก่ ต่ำ, กลางล่าง, กลางบน และสูง ซึ่งอัปเดตทุกปีในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยอิงตาม GNI ต่อหัวของปีก่อน คิดเป็นดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการจัดประเภทรายได้ของธนาคารโลกมีจุดมุ่งหมายเพื่อสะท้อนระดับการพัฒนาของประเทศ โดยอาศัย GNI ต่อหัวเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

จากผลการจัดประเภทรอบนี้ สิงคโปร์ และ บรูไน เป็นสองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีรายได้สูงที่สุด ในขณะที่มาเลเซีย, ไทย และอินโดนีเซียอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออยู่จะถูกจัดในกลุ่มรายได้ปานกลางตอนล่าง

สรุปสาระสำคัญ ประกาศกระทรวงพลังงาน ‘การแจ้งข้อมูลการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง’

น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชน และเป็นต้นทุนหลักของภาคธุรกิจในการประกอบกิจการ หากน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายภายในประเทศมีการค้ากำไรเกินสมควร มีปริมาณการจัดจำหน่ายไม่เพียงพอ หรือไม่ได้คุณภาพแล้ว จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งต่อประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศ 

รัฐจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายด้านการพลังงานให้เหมาะสมเพื่อเป็นหลักประกันให้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศมีราคาจำหน่ายที่ยุติธรรม มีปริมาณเพียงพอ และได้คุณภาพ แต่การที่รัฐจะสามารถกำหนดและดำเนินนโยบายด้านการพลังงานได้อย่างเหมาะสมนั้น จำเป็นที่รัฐจะต้องได้มาซึ่งข้อมูลราคาและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง 

กระทรวงพลังงานจึงจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการกำหนดนโยบายด้านการพลังงานของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศด้านเศรษฐกิจและความผาสุกของประชาชน

วันนี้ THE STATES TIMES ได้สรุปสาระสำคัญ ประกาศกระทรวงพลังงาน ‘การแจ้งข้อมูลการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง’ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 67 หวังสะท้อนต้นทุนแท้จริง และ ราคาที่ยุติธรรม จะมีข้อกำหนดอะไรบ้าง มาดูกัน…

ส่อง 10 ชาติเอเชีย ที่มี 'ทองคำ' สำรองมากที่สุด ประจำปี 2024

ในขณะที่ทองคำโลกราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สถานะการคลังของประเทศไทยก็ใช่ย่อย เพราะมีทองตุนไว้ มากกว่า 200 ตัน เพื่อเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
 

🔎ส่อง 6 ผลงาน ‘รมว.ท็อป’ แห่ง พม.

รมว.ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากพรรคชาติไทยพัฒนา ตลอดการเข้ารับตำแหน่งเจ้ากระทรวง พม. ภายใต้รัฐบาล ‘เศรษฐา 1’ ได้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนคนไทย ได้แก่

✨โครงการ 'ปฏิบัติการคนไทยไม่ไร้ที่พึ่ง' ช่วยเหลือคนไร้บ้าน พัฒนาครัวเรือนเปราะบางในภาวะวิกฤต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต โดยดำเนินงานเชิงรุกผ่านศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ตลอด 24 ชม.

✨เบี้ยเด็กแรกเกิดถ้วนหน้า ดูแลตั้งแต่เกิดจนถึง 6 ปี จำนวน 2,288,337 ราย รับเงินอุดหนุน 600 บาท และขยายจาก 6 เดือน ถึง 3 ปี มาเป็น 3 เดือนจนถึง 3 ปี

✨ปรับเบี้ยผู้สูงอายุโดยจ่ายแบบขั้นบันไดถ้วนหน้า เดือนละ 1,000 บาททุกคน เบี้ยคนพิการ 1,000 บาท (เดิม 800 บาท) ตอบแทน ผู้ช่วยฯ ชม.ละ 50 เป็น 100 บาท

✨สร้างบ้านมั่นคงเฟสใหม่ ได้แก่ 1.ชุมชนเพิ่มทรัพย์พัฒนา 2.น้อมเกล้า 3.ทรัพย์สินเก่าใต้ แนวคิด 'บ้านมั่นคงชุมชนเข้มแข็งใต้ร่มพระบารมี' บนที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

✨แถลงผ่าน Asia Pacific Population Conference (APPC) ครั้งที่ 7 เรื่องประชากรในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกรับมือสู่สังคมสูงวัยและช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง

✨สนับสนุนผู้พิการทางการได้ยิน ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเท่าเทียม ด้วยการบริการล่ามภาษามือทุกครั้งที่มีการถ่ายทอดข่าวสารจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

🔎เช็กลิสต์!! จำนวนเด็กเก่งจากโรงเรียนต่างๆ ที่สอบติด 'กำเนิดวิทย์' ประจำปี 2567

‘โรงเรียนกำเนิดวิทย์’ ประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.4) ปีการศึกษา 2567 จำนวน 72 คน โดยเป็นนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น แสงทองวิทยา สวนกุหลาบวิทยาลัย ระยองวิทยาคม 

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวมรายชื่อโรงเรียนของน้อง ๆ ทั้ง 72 คนมาแล้ว มาดูกันว่า น้อง ๆ จากโรงเรียนใดบ้าง ที่ผ่านคัดเลือกเข้าเรียนที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์ได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้วมาดูกัน…

มัดรวม!! 6 บิ๊กโปรเจกต์ ‘รมช.อนุชา นาคาศัย’ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

‘อนุชา นาคาศัย’ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากพรรครวมไทยสร้างชาติ มุ่ง ‘สาน-สร้าง’ งานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้แนวคิด ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้’ โดยมี 6 โปรเจกต์ใหญ่ ดังนี้ 

 📌ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคคณิตศาสตร์ บนพื้นที่ต้นแบบจังหวัดสุโขทัย ให้คำแนะนำติดตาม ให้ความช่วยเหลือ ระยะที่ 1 ผ่านกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง

 📌วางนโยบายขับเคลื่อนงานองค์การสะพานปลา (อสป.) กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมอาชีพประมง และเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืนในอาชีพ

📌สนับสนุนเกษตรกรให้ประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ นอกจากการเพาะปลูกพืชเพียงอย่างเดียว ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรดิน และพัฒนาแหล่งน้ำ

📌ส่งเสริมชาวนาด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในพื้นที่เขตชลประทานภาคกลาง เพื่อเพิ่มรายได้และปรับตัวจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

📌บริหารจัดการทรัพยากรดิน พัฒนาแหล่งน้ำ เช่น ธนาคารน้ำใต้ดิน เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้าน
การเกษตรมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงขึ้น ผ่าน 'ชัยนาทโมเดล'

📌แถลงการณ์ "พลิกโฉมระบบเกษตร และอาหารของประเทศไทยให้ยั่งยืน ยืดหยุ่น และเป็นธรรม" ต่อสมัชชาองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิค ครั้งที่ 37 ณ กรุงโคลัมโบ สารารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา

ส่องผลงาน 'รมว.ปุ้ย' คุมทิศทางอุตสาหกรรมไทย

'รมว.ปุ้ย พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล' จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ภายหลังเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อ 7 กันยายน 2566 ได้กำหนดนโยบายเร่งด่วน 3 เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพเป็นฟันเฟืองเศรษฐกิจใหม่สำหรับกระตุ้นรายได้ มวลรวมของประเทศ พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานใน 3 แกนหลัก คือ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม โดยแบ่งการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

>> กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เน้นบังคับใช้กฎหมาย กำกับดูแล และตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด รวมถึงพัฒนาระบบการรายงานด้านสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในระยะยาว

>>กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จัดงาน 'อุตสาหกรรมแฟร์เมืองใต้ 2023 นครศรีธรรมราช' เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคใต้ และส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจเขตพื้นที่ภาคใต้ (Southern Industrial Fair) ภายใต้แนวคิด 'ช้อป ชิม เที่ยวเพลิน เดินหลาด'

>>สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยดำเนินการตรวจสอบและยึดอายัดผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานอย่างเข้มงวด รวมทั้งสร้างเครือข่ายร้านจำหน่ายที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค 

นอกจากนี้ สมอ. ยังเร่งผลักดันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยกำหนดมาตรฐาน EV แล้วเสร็จ จำนวน 150 มาตรฐาน และอยู่ระหว่างกำหนดมาตรฐานเพิ่มเติมอีก 29 มาตรฐาน รวมทั้งกำหนดมาตรฐานเครื่องยนต์ เพื่อควบคุมการระบายมลพิษเป็น EURO 5 และ EURO 6

>>กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เร่งผลักดันโครงการเหมืองแร่โพแทช 3 โครงการ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตแร่โพแทชได้ภายใน 3 ปี โครงการเหมืองแร่โพแทชจะช่วยส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยโปแตสเซียมในประเทศ ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร นอกจากนี้ โครงการเหมืองแร่โพแทชยังจะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และกระจายรายได้สู่ชุมชน

>>สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สำคัญในช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นช่วยเหลือชาวไร่อ้อย สนับสนุนอุตสาหกรรมน้ำตาล และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เร่งจ่ายเงินตัดอ้อยสดฤดูการผลิตปีที่ผ่านมา กำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2565/2566 โดยมีราคาเฉลี่ยทั่วประเทศที่ 1,197.53 บาทต่อตัน กำหนดราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2566/2567 โดยมีราคาที่ 1,420 บาทต่อตัน และแจกพันธุ์อ้อยพันธุ์ดีให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยไปปลูกและขยายพันธุ์ จำนวน 900,000 ต้น

>>สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) มุ่งเน้นดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจตาม Mega Trend ของโลก การพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา และข้อมูลเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยด้านการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมนั้น สศอ. ได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 5 สาขา เพื่อเป็น New Growth Engine ในการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจ 

นอกจากนี้ สศอ. ยังได้จัดทำข้อเสนอการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาลและคณะกรรมการอุตสาหกรรมฮาลาลแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลให้เติบโตอย่างยั่งยืน 

>>การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มุ่งมั่นพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยเน้นพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park เพื่อเป็นนิคมอุตสาหกรรมต้นแบบในการพัฒนาเชิงนิเวศและนวัตกรรม 

นอกจากนี้ กนอ. ยังได้อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เพื่อรองรับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย New S-Curve ในอนาคต


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top