Wednesday, 3 July 2024
INFO

สิ่งที่เป็นเรื่องอันน่าจดจำสำหรับ “รัฐบาลลุงตู่”

รัฐบาลลุงตู่ยุบสภา และเตรียมเดินหน้าสู่การ #เลือกตั้ง66 สิ่งที่เป็นเรื่องอันน่าจดจำสำหรับ “รัฐบาลลุงตู่” ที่เชื่อเหลือเกินว่า คงมีคนพูดถึงกันไปอีกนาน นั่นคือ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบางคนเรียกสั้นๆ ว่า “บัตรลุงตู่”

โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มต้นขึ้นราวปี 2560 และอย่างที่ทราบกันว่า เป็นการช่วยเหลือเยียวยาคนไทย “ผู้มีรายได้น้อย” หรือคนยากคนจน ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า โครงการเปิดมาเพียงไม่กี่ปี ก็เกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาดใหญ่ทั่วโลก ไม่มากก็น้อย บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เข้าช่วยเหลือคนยากไร้ได้อย่างมากมาย

เปิดสถิติ 3 อันดับ กลุ่ม ส.ส. วินัยดี!! ที่เข้าประชุมสภาผู้แทนฯ...มากที่สุด!!

อันดับ 1 >> มีวันเข้าประชุม 269 วัน  
นายโกวิทย์ พวงงาม ส.ส.พรรคพลังท้องถิ่นไท
นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
นายประกอบ รัตนพันธ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
นางสาว วรรณวิภา ไม้สน ส.ส.พรรคก้าวไกล
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.พรรคก้าวไกล
นางสาวเบญจา แสงจันทร์ ส.ส.พรรคก้าวไกล
นายทวีศักดิ์ ทักษิณ ส.ส.พรรคก้าวไกล
นายองค์การ ชัยบุตร ส.ส.พรรคก้าวไกล
นายวิรัช พันธุมะผล ส.ส.พรรคภูมิใจไทย

อันดับ 2 >> มีวันเข้าประชุม 268 วัน 
นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย ส.ส.พรรคเพื่อไทย
นายภิญโญ นิโรจน์ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ
นายมนตรี ตั้งเจริญถาวร ส.ส.พรรคเพื่อไทย
นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ส.ส.พรรคเพื่อไทย
นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล
นายปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ ส.ส.พรรคก้าวไกล
พลตำรวจตรี สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.พรรคก้าวไกล
นางอาภรณ์ สาราคำ เพื่อไทย

ฝีมือ รปภ.คนเดิม!! รู้หรือไม่? ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมถึงร้อยละ 39.47

ภายหลังจาก ‘บิ๊กตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินหน้าผลักดันมาตรการเชิงรุก เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง 

ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ถือเป็นพัฒนาการสำคัญของไทยในเชิงของเศรษฐกิจใหม่ด้านยานยนต์ ขณะเดียวกันก็ช่วยพาประเทศเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคตอีกด้วย

เปิด 10 รายชื่อในดวงใจ ที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในศึกเลือกตั้ง 2566

19 มี.ค. 2566 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 1” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-8 มีนาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 1 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 38.20 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 15.75 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 15.65 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 9.45 ระบุว่า ยังหาคนที่ เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 5 ร้อยละ 5.10 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) อันดับ 6 ร้อยละ 4.45 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) อันดับ 7 ร้อยละ 2.35 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 8
ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) อันดับ 10 ร้อยละ 1.40 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) อันดับ 11 ร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และร้อยละ 3.35 

ระบุอื่น ๆ ได้แก่ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายเศรษฐา ทวีสิน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) 

เปิดไทม์ไลน์ เลือกตั้ง 66 หลัง ‘ยุบสภา’ แล้ว ไปยังไงต่อ

หลายคนใจจดใจจ่อ ตั้งตารอ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา เพื่อก้าวเข้าสู่โหมดเลือกตั้งอย่างเต็มตัว และหากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้ว จะมีขั้นตอนต่อไปอย่างไรบ้าง ไปดูไทม์ไลน์กันเลย

>> เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้ว ตามกฎหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะต้องกำหนดและประกาศ ‘วันเลือกตั้ง’ รวมถึงวันรับสมัคร ภายใน 5 วันหลังยุบสภา

>> จากนั้นจึงจะเปิดสมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลา 5 วัน และเมื่อปิดรับสมัครแล้ว นับต่อไปอีกไม่เกิน 7 วัน กกต. จะต้องประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งคาดว่าขั้นตอนเหล่านี้จะเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนมีนาคม – ต้นเดือนเมษายน 2566

>> ต่อมา กกต. จะต้องประกาศหน่วยเลือกตั้ง สถานที่ลงคะแนน และรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ประชาชนอย่างเราทราบก่อนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน

>> โดย กกต. จะส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน ให้เราตรวจสอบรายชื่อก่อนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน ซึ่งเราสามารถเช็กดูได้ว่า ชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทะเบียนบ้านของตนเองครบหรือไม่ มีชื่อใครขาดหรือเกินมารึเปล่า ถ้ามีชื่อใครขาดหรือเกินมา ก็จะมีเวลาทักท้วงแจ้งเพิ่ม-ถอนชื่อ ก่อนถึงวันเลือกตั้งได้ไม่น้อยกว่า 10 วัน

มัดรวม ‘ของดีเมืองไทย’ ที่ถูกใจ ‘เขมร’ จนต้อง ‘เคลม’

ช่วงที่ผ่านมานี้ กระแสกัมพูชานิยม ‘เคลม’ ของดีจากเมืองไทยทวีความรุนแรงมากขึ้น เริ่มจากเคลมว่า ลิซ่า BLACKPINK เป็นคนกัมพูชา โดยอ้างว่าการที่สาวลิซ่าเป็นคนบุรีรัมย์ เท่ากับมีเชื้อสายกัมพูชา 

คนต่อมาที่โดนหนักไม่แพ้กันก็คือ นักมวยชื่อดังของไทย ‘บัวขาว บัญชาเมฆ’ ที่เมื่อถูกเคลมว่าเป็นคนกัมพูชา ซึ่งเจ้าตัวก็ออกมาแก้ต่างทันควัน พร้อมระบุชัดว่าตนเป็นคนไทยเชื้อสายกูย ไม่ใช่กัมพูชาแน่นอน!!

ข้ามมาที่ศิลปวัฒนธรรมของไทย เช่น ‘โขนไทย’ ที่ถูกเคลมว่าเป็นของกัมพูชา จน UNESCO ต้องออกมาประกาศให้โขนทั้งสองประเทศขึ้นทะเบียนบัญชีมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ต่อมาเป็น ‘ชุดไทย’ ที่กัมพูชาเคลมว่าเป็น ‘ชุดประจำชาติ’ จนกลายเป็นการสร้างธุรกิจเช่าชุดถ่ายรูปเที่ยวตามโบราณสถานต่าง ๆ นอกจากชุดไทยแล้ว ‘ชุดนักเรียนของไทย’ ก็โดนเคลมเช่นกัน เนื่องจากมีไวรัลสวมชุดนักเรียนในโลกออนไลน์ เพื่อนบ้านเราก็เข้าร่วมด้วยโดยออกมาบอกว่า ‘ภูมิใจที่โลกสนใจวัฒนธรรมเขมร’ 

เท่านั้นยังไม่พอเทศกาลสุดฮิตของไทยอย่าง ‘เทศกาลสงกรานต์’ ก็ไม่รอดพ้น โดนเคลมว่าเป็นของกัมพูชา โดยทางกัมพูชายอมเปลี่ยนชื่อจาก ‘โจล-ชนัม-ทเม็ย’ มาเป็น ‘สงกรานต์’ ซะด้วย นอกจากนี้ยังออกมาบอกว่า ‘มวยไทย’ เป็นของกัมพูชา เพราะมีรากฐานมาจาก ‘กุน ขแมร์’

แม้จะเคลมมาเยอะ แต่ก็ยังไม่จบแต่เพียงเท่านั้น เพราะ ‘สถาปัตยกรรม’ ในไทยหลาย ๆ แห่งก็ถูกเคลมเป็นของกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็น ‘วัดโพธิ์’ ‘เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์’ หรือแม้กระทั่ง ‘พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท’ ก็โดนเช่นเดียวกัน

ข้ามมาทางฝั่งอาหารกันบ้าง สำหรับ ‘ข้าวเหนียวมะม่วง’ ที่มีกระแสฟีเวอร์โด่งดังไปทั่วโลก หลังจากแร็ปเปอร์ชาวไทยอย่าง ‘มิลลิ’ ได้นำไปโชว์ในการแสดงเวทีระดับโลก เพื่อนบ้านชาวกัมพูชาก็จัดการเคลมอย่างไว โดยบอกว่า ‘เป็นของหวานของกัมพูชา’

กระแสเรื่องของกินยังไม่จบง่าย ๆ เพราะมีดรามาร้อนระอุทันทีเมื่อท่านทูตอังกฤษประจำกัมพูชาออกมาโพสต์รูป ‘ขนมไทย’ แต่กลับเขียนแคปชันเป็น ‘ขนมเขมร’ โดยชาวกัมพูชาต่างก็ออกมายินดีและเคลมเป็นของตัวเองตามเคย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top