Wednesday, 3 July 2024
The States Times EconBiz Team

‘รมว.พาณิชย์’ เห็นชอบต่ออายุสินค้าควบคุม 4 รายการ คือ หน้ากากอนามัย ใยสังเคราะห์สำหรับผลิตหน้ากากอนามัย ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ และเศษกระดาษ เป็นสินค้าควบคุม

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ต่ออายุสินค้าควบคุม 4 รายการ คือ หน้ากากอนามัย ใยสังเคราะห์สำหรับใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ และเศษกระดาษและกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก เป็นสินค้าควบคุม เพราะจะสิ้นสุดระยะเวลาการควบคุมในวันที่ 3 ก.พ.64 โดยขั้นตอนต่อไปจะนำเสนอให้ที่ประชุม ครม. ในสัปดาห์หน้าอนุมัติ

สำหรับสาเหตุที่ต้องควบคุมหน้ากากอนามัย วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และเจลล้างมือ เนื่องจากยังมีการระบาดของโควิด-19 ทำให้ยังมีความต้องการสินค้าเหล่านี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในส่วนของหน้ากากอนามัยมี 3 ส่วน คือ 1. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตจากโรงงานในประเทศไทยที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ปัจจุบันมีอยู่ 30 กว่าโรงงาน จะคุมราคาขายปลีกไม่เกินชิ้นละ 2.50 บาทเช่นเดิม 2. หน้ากากอนามัยทางเลือก ซึ่งมีทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า จะคุมราคาโดยต้นทุนบวกค่าบริหารจัดการไม่เกิน 60% และ 3. หน้ากากผ้าไม่ควบคุม เพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนใช้หน้ากากผ้าในการป้องกันโควิด-19

ส่วนผลการดำเนินคดีช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 63 - 12 ม.ค. 64 มีผู้ร้องเรียนเข้ามาทั้งหมด 160 ราย ตรวจสอบแล้ว 129 ราย ดำเนินคดีไป 19 ราย ประกอบด้วย ไม่ปิดป้ายแสดงราคา 13 คดี ขายเกินราคา 6 คดี ที่เหลือเมื่อตรวจสอบแล้ว ไม่พบการกระทำความผิด และในจำนวนคดีที่ขายเกินราคา 6 คดีนั้น เป็นคดีที่กระทำความผิดบนออนไลน์ 2 คดี ส่วนที่เหลืออีก 31 คดี จะเร่งตรวจสอบต่อไป

หลังค่ายต้นสังกัด JYP ออกแถลงยืนยัน สมาชิกของวง GOT7 จะไม่เซ็นสัญญาต่อ เพื่อออกเดินทางตามเส้นทางของตัวเอง ทำให้หุ้น JYP ดิ่งฮวบลงเหว

จากกรณีที่สื่อดังหลายแห่ง ออกมาเปิดเผยว่า สมาชิกของวง GOT7 จะไม่เซ็นสัญญาต่อกับค่ายต้นสังกัด JYP ที่กำลังจะหมดสัญญาในช่วงสิ้นเดือนมกราคมนี้อีกต่อไป โดยแต่ละคนจะออกเดินทางในเส้นทางของตัวเอง ซึ่งหลังมีข่าวดังกล่าวออกมา ศิลปิน GOT7 ก็ได้ไปร่วมงานประกาศรางวัล Golden disc awards รับรางวัลร่วมกันเป็นครั้งสุดท้าย

.

โดยเมื่อวันนี้ 11 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา JYP Entertainment ได้ออกเเถลงอย่างเป็นทางการเเล้วว่า

.

สวัสดีนี่คือ JYP

JYP ได้ทำการพูดคุยกับสมาชิก ก่อนที่ GOT7 ในวันที่ 19 มกราคม เป็นผลให้ศิลปินตัดสินใจไม่ต่ออายุสัญญาภายใต้ข้อตกลง โดยต้องการทำสิ่งใหม่ๆในอนาคต

GOT7 มีส่วนร่วมในฐานะวงไอดอลระดับโลก เป็นตัวเเทนของ K-pop มาเป็นเวลา 7 ปีนับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2014

ทาง JYP ขอเเสดงความขอบคุณอย่างจริงใจต่อสมาชิกทั้ง 7 คนของ GOT7 เเละขอบคุณสำหรับการเติบโตของ K-pop และ JYP รวมถึง ‘I GOT7' ที่สนับสนุนกิจกรรมของ GOT7 ตั้งเเต่เดบิวต์

เเละในอนาคต ถึงเเม้ว่าความสัมพันธ์จะสิ้นสุดลง เเต่ JYP จะสนับสนุนผลงานในอนาคตของ GOT7 ด้วยความจริงใจ

ขอขอบคุณ.

.

หลังจากที่ทาง JYP Entertainment ได้ออกมาเเถลงอย่างเป็นทางการ เรื่องหมดสัญญาของ GOT7 ทั้งนี้ ในทวิตเตอร์ ได้มีการติดเเฮชเเท็ก #ลาแล้วเจวายพี ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 ของประเทศไทย พร้อมทั้งเเชร์หุ้นของ JYP ที่ตอนนี้ดิ่งลงเเบบฉุดไม่อยู่ นอกจากนี้เหล่าเเฟนคลับยังพร้อมใจกันอันฟอลโลช่องทางติดตามในทวิตเตอร์ หากตีมูลค่าความเสียหายเป็นเงินไทย พบว่า JYP เสียหายมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาทเลยทีเดียว

.

ล่าสุดมีรายงานว่า จินยอง ได้พูดคุยและตกลงที่จะเซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้วกับทางต้นสังกัดนักแสดง BH Entertainment ส่วนยูคยอม เตรียมที่จะเจรจาเซ็นสัญญากับทาง AOMG ค่ายเพลงของหนุ่มเจย์ปาร์ค ยองแจ ได้รับการติดต่อจาก Sublime Artist ด้านเจบี ในตอนนี้มีสังกัดเพลงฮิปฮอปหลายรายติดต่อเข้ามา ซึ่งเจ้าตัวกำลังพิจารณาค่ายที่เหมาะสมกับการทำกิจกรรมเดี่ยวของตนมากที่สุด ส่วนแจ็คสัน เดินหน้าทำกิจกรรมเดี่ยวอย่างเต็มที่กับสังกัดของเจ้าตัวอย่าง Team Wang และยังคงทำกิจกรรมต่อในเกาหลีผ่านทางสังกัดอื่น ด้านแบมแบม ลุยเดี่ยวทำกิจกรรมทั้งในไทยและเกาหลี ซึ่งการทำงานในเกาหลีในตอนนี้กำลังพูดคุยเรื่องเซ็นสัญญากับทาง MakeUs Entertainment ทางด้านพี่ใหญ่อย่าง มาร์ค เตรียมกลับบ้านเกิดในลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา เพื่อใช้เวลากับครอบครัว รวมถึงมีแผนจะเปิดช่อง Youtube และทำงานเพลงเดี่ยวในสหรัฐอเมริกา

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบนโยบายกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ แก้เกมโควิด-19 เสริมแกร่งให้เกษตรกร-ผู้ประกอบการ SME เน้นจับคู่ธุรกิจผ่านออนไลน์ พร้อมใช้ FTA ควบคู่ ชี้ช่วยเพิ่มยอดขายในตลาดต่างประเทศได้จริง

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ปรับกลยุทธ์การทำงาน ปี 2564 แก้เกมโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ โดยให้เน้นการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ สำหรับกิจกรรมฝึกอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อติดอาวุธให้กับกลุ่มเกษตรกร SMEs สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน พร้อมใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สามารถจับคู่ธุรกิจ เพิ่มยอดขาย และบุกตลาดต่างประเทศได้จริง

“ในช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร อาทิ สภาเกษตรกรแห่งชาติ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มสหกรณ์ มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดฝึกอบรม เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ กฎระเบียบและมาตรการทางการค้า รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดส่งออก และการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มยอดขายและโอกาสทางการตลาดให้กับเกษตรกร และ SME ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดที่ไทยมี FTA ด้วย ดังนั้น ในปีนี้จึงเน้นย้ำให้กรมฯ เพิ่มการนำเทคโนโลยีออนไลน์ มาเป็นตัวช่วยในการจัดกิจกรรม เพื่อให้เกษตรกร SME สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน สามารถเจาะตลาดต่างประเทศ และเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นแม้ในช่วงวิกฤติโควิด” นายวีรศักดิ์กล่าว

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เสริมว่า สำหรับโครงการสำคัญที่กรมฯ จะดำเนินการ ในปี 2564 และจะเพิ่มการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ในการจับคู่ธุรกิจ ตามนโยบายของ รมช.พาณิชย์ ได้แก่ โครงจัดทัพโคนมไทย บุกตลาดต่างประเทศด้วย FTA ซึ่งเน้นขยายตลาดส่งออกไปอาเซียนและจีน โครงการจับมือผู้ประกอบการใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ เพิ่มการส่งออกต่างประเทศด้วย FTA ร่วมกับ ศอ.บต. โครงการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรไทย ให้สามารถเพิ่มการส่งออก โดยใช้ประโยชน์จาก FTA ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โครงการพัฒนาความพร้อมทางการค้าสหกรณ์ไทยสู่โลกการค้าเสรี และโครงการยกระดับผู้ประกอบการไทยผ่านโลกการค้าเสรี ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีความตกลง FTA จำนวน 14 ฉบับ (รวม RCEP) กับ 18 ประเทศ ได้แก่ สมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง โดยในปี 2562 การค้าของไทยกับประเทศคู่ FTA 18 ประเทศ มีมูลค่ารวม 302,991 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2 ใน 3 (สัดส่วน 63% ของมูลค่าการค้าไทย กับโลก) โดยส่งออกไปประเทศคู่ FTA มูลค่า 150,933 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้ามูลค่า 152,639 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับในช่วงเดือน ม.ค. – พ.ย. 2563 การค้าของไทยกับประเทศคู่ FTA มีมูลค่า 250,721.76 ล้านเหรียญสหรัฐ

เป็นการส่งออกมูลค่า 128,221.19 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้ามูลค่า 122,500.57 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งประเทศคู่ FTA ที่เป็นคู่ค้าสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน จีน และญี่ปุ่น

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า วันนี้ (12 มกราคม 2564) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติรับทราบมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ระบาดรอบใหม่

ของสถาบันการเงินสมาชิกสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ(SFIs) ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง

โดยในส่วนของ ธอส. คณะกรรมการธนาคารมีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากโควิด-19 เพิ่มเติม 4 มาตรการ จากเดิมที่เคยออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ามาแล้ว 8 มาตรการในปี 2563 ดังนั้น ในครั้งนี้จึงถือเป็นมาตรการที่ 9-12 ผ่าน "โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564"

ด้วย 4 มาตรการลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) นานสูงสุด 6 เดือน ครอบคลุมทั้งลูกค้าที่เคยหรืออยู่ระหว่างใช้ "มาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)" และ "โครงการ ธอส. ช่วยคนไทย ร่วมสร้างชาติ" รวมถึงลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการฯ ทั้งลูกค้ารายย่อยและกลุ่ม SMEs ที่มีสถานะปกติ หรือสถานะ NPL ประกอบด้วย

มาตรการที่ 9 สำหรับลูกค้าที่เคยเข้าร่วมหรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส.ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ เข้าร่วมมาตรการระยะแรกผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 15 - 29 มกราคม 2564

มาตรการที่ 10 สำหรับลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรก ผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม - 26 กุมภาพันธ์ 2564

มาตรการที่ 11 สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรก ผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 26 กุมภาพันธ์ 2564

มาตรการที่ 12 สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต แบ่งเป็น

1.) ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนหรือไม่เกินมิถุนายน 2564

หรือ 2.) พักชำระหนี้ถึงมิถุนายน 2564 ในกรณีที่ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ไม่เพียงพอในการชำระหนี้ ยื่นคำขอเข้ามาตรการระยะแรกได้ที่สาขาทั่วประเทศภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564

ทั้งนี้ ลูกค้าที่ต้องการลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ 9-11 ระยะแรก ต้องดาวน์โหลดหลักฐานยืนยันว่ามีผลกระทบทางรายได้ผ่านทาง Application : GHB ALL ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น ส่วนดอกเบี้ยประจำงวดที่ตัดชำระไม่หมดในขณะที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ ธนาคารจะเปิดให้ลูกค้าทยอยผ่อนชำระได้จนถึง ก่อนวันที่ลูกค้าจะครบกำหนดตามสัญญาเงินกู้ หรือก่อนปิดบัญชีเงินกู้

สำหรับลูกค้าของธนาคารที่ในปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการที่ธนาคารกำหนด และยังมีปัญหาด้านรายได้ทำให้ ไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามปกติ ธนาคารพร้อมพิจารณาขยายความช่วยเหลือในรูปแบบการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้เป็นรายกรณีต่อไป

ส่วนกรณีที่หน่วยงานที่มีสวัสดิการเงินกู้กับธนาคารได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้หน่วยงานมีหนังสือแจ้งมายังธนาคารเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่พนักงานที่กู้เงินกับธนาคารต่อไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท. ได้ประสานกับทุกสถาบันการเงิน ทั้งธนาคารพาณิชย์ แบงก์รัฐ และนอนแบงก์ พิจารณาขยายระยะเวลาช่วยลูกหนี้รายย่อย ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19

รอบใหม่ ไปถึง 30 มิ.ย.64 จากเดิมครบกำหนด 31 ธ.ค.63 โดยสามารถขอรับความช่วยเหลือทั้งทางคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารแต่ละแห่ง หรือ โทร 1213 ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท.

สำหรับการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ขยายไปถึง 30 มิ.ย.64 ประกอบไปด้วย บัตรเครดิต แปลงเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 12% ต่อปี , สินเชื่อบุคคล บัตรกดเงินสด เป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด ดอกเบี้ยไม่เกิน 22% , สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ลดค่างวดอย่างน้อย 30% คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 22% , สินเชื่อรถยนต์ พักหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 3 เดือน และสินเชื่อบ้าน พักหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน หรือลดค่างวด เป็นต้น

ทั้งนี้การช่วยเหลือลูกหนี้ทุกประเภท ทั้งลูกหนี้รายย่อย เอสเอ็มอี และลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่ จะเป็นไปตามความเหมาะสมกับประเภทสินเชื่อและความเสี่ยง ซึ่งเป็นแนวทางปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ต่ออายุวงเงินหรือคงวงเงิน เปลี่ยนประเภทหนี้จากสินเชื่อระยะสั้นเป็นสินเชื่อระยะยาว ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย หรือเลือกจ่ายดอกเบี้ยและพักเงินต้นชั่วคราว ลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราตลาด และให้เงินทุนหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติม

บลูมเบิร์ก รายงานว่า มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ตรัสถึงการพัฒนาเส้นทางที่เรียกว่า ‘เดอะไลน์’ (The Line)

ความยาว 170 กิโลเมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมืองแห่งอนาคต ‘นีออม’ (Neom) หรือบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซาอุฯ ติดกับทะเลแดง มูลค่าหลายแสนล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับ ‘นีออม’ นั้นเป็นโครงการชิ้นเอกของมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย ที่เปิดตัวไปช่วงเดือนตุลาคม ปี 2017 โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก พลิกโฉมมาก้าวเป็นศูนย์กลางของโลกด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีรวมทั้งธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงยังต้องการปั้นให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว บนครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 26,500 ตารางกิโลเมตร เพื่อใช้ดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก

เมื่อเมืองนี้เริ่มมีความชัดเจนขึ้น ทาง มกุฎราชกุมาร จึงต้องการต่อยอดให้เมืองนี้ไม่มีถนน และ ไม่มีรถแม้แต่คันเดียว โดยใช้ ‘เดอะไลน์’ หรือเส้นทางสายสีเขียวเป็นหัวหอก เพื่อเชื่อมต่อคนให้เข้าสู่เมืองที่ครบวงจรและเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่างไว้ในนั้น เพียงเดินทางด้วยการ ‘เดิน’ ไม่เกิน 5 นาที ภายใต้บรรยากาศที่ห้อมล้อมไปรอบด้วยต้นไม้และธรรมชาติ

นอกจากนี้ยังมีการนำ ‘ระบบขนส่งความเร็วสูงพิเศษและการเคลื่อนย้ายอัตโนมัติ’ ที่เชื่อมไปสู่เมืองภายนอกได้ในระยะเวลาไม่เกิน 20 นาที ภายใต้ระบบพลังงานสะอาดอีกด้วย

ทั้งนี้คาดว่าโครงการดังกล่าวได้ใช้งบประมาณไปหลายแสนล้านเหรียญสหรัฐ (ระหว่าง 2 – 5 แสนล้าน) สามารถรองรับผู้อยู่อาศัย 1 ล้านคน และช่วยสร้างงานได้ราว 360,000 - 380,000 ตำแหน่งภายในปี 2030 และก่อให้เกิดมูลค่าด้านจีดีพีของประเทศภายในปี 2030 ราว 1.8 แสนล้านริยัลซาอุดีอาระเบีย หรือ 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด ยังย้ำอีกว่า เมืองแห่งอนาคตนี้จะเป็นการ ‘การปฏิวัติเพื่อมนุษยชาติ’ ด้วยปริมาณรถยนต์ ถนน และการปล่อยมลพิษในเมืองเป็นศูนย์ แม้จะมีเสียงวิพากย์วิจารณ์ว่า เมืองสีเขียวแห่งนี้ สร้างขึ้นจากการเผาผลาญน้ำมันปริมาณมหาศาลก็ตาม

ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมัน แต่ก็มีแผนที่จะลดการผลิตน้ำมันและหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนแทนโดยตั้งเป้าที่จะเป็นประเทศสีเขียวในอนาคต โดยล่าสุดได้ประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2021

ทิศทางนี้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ซาอุดีอาระเบีย 2030 (Saudi Vision 2030) เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันในประเทศ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือผลักดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่ไม่ใช้น้ำมัน และตั้งเป้าที่จะผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 50 ภายในปี 2030หลังจากซาอุดีอาระเบียค่อนข้างมีข้อได้เปรียบในการผลิตพลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์เนื่องจากมีพื้นที่กว้างใหญ่และภูมิอากาศแจ่มใส โดยกระทรงพลังงานจะทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและโครงการพลังงานทดแทนแห่งชาติ


แหล่งที่มา: เพจ ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป

https://www.neom.com/en-us

https://www.youtube.com/watch?v=eXEnS-u3fAY

https://www.reuters.com/.../saudi-crown-prince-launches…

กรมสรรพากร ขยายเวลาการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) เหลือ 2% ถึงสิ้นปี 2565 คาดทำให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ กว่า 24,840 ล้านบาท ส่วนการลงทุนระบบใช้สิทธิหักรายจ่ายได้ 2 เท่า

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) โดยลดอัตราภาษีหัก ณ ที่มีอัตรา 5% และ 3% เหลือ 2%

สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินผ่านระบบ e-Withholding Tax ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งจะช่วยคืนสภาพคล่องให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ ทำให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ กว่า 24,840 ล้านบาท

นายเอกนิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะรัฐมนตรี ยังได้เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำรายจ่ายจากการลงทุน และการใช้บริการระบบ e-Withholding Tax หรือระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) มาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 - 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งจะช่วยให้ภาคเอกชนมีต้นทุน และภาระในการจัดทำ และการจัดเก็บเอกสารรวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีลดลง นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและการแปลงเป็นดิจิทัลของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สนับสนุนนโยบายประเทศไทย 4.0 และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)

สำหรับ ระบบ e-Withholding Tax เป็นหนึ่งในนโยบาย Tax From Home ที่กรมสรรพากรได้นำการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) มาใช้เพื่อให้การปฏิบัติการและชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องง่าย สามารถทำได้ทุกที่ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนการลงทุนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19

คณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาฯ จูงใจเอกชนบริจาคเงินเข้ากองทุนวิจัย 4 หน่วยงาน สามารถใช้ลดหย่อนภาษี ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร พ.ศ. ....

ซึ่งเป็นมาตรการทางภาษีเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนร่วมบริจาคเงินให้แก่กองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม โดยยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดา บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย

1.) กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

3.) กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา

และ 4.) กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข

ซึ่งมาตรการนี้เป็นการขยายเวลามาตรการทางภาษีเดิมที่สิ้นสุดไปแล้วเมื่อ 31 ธันวาคม 2562 โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 สาระสำคัญมีดังนี้

1.) บุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กับ 4 หน่วยงาน สามารถนำเงินที่บริจาคมาหักเป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนที่บริจาค แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนแล้ว

2.) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กับ 4 หน่วยงาน สามารถนำเงินที่บริจาคมาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาคแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลฯ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือการกีฬา

น.ส.รัชดา กล่าวว่า "แม้มาตรการนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 5 ล้านบาท แต่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการจูงใจให้ภาคเอกชนร่วมบริจาคให้แก่กองทุนวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

อีกทั้งยังเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินการและสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวอีกด้วย ทั้งนี้ ในลำดับต่อไป จะส่งร่างพระราชกฤษฎีกาให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้"

รถไฟฟ้าบีทีเอส เพิ่มความถี่การเดินรถในช่วงเวลาเร่งด่วน หนุนมาตรการ Social Distancing แม้ขณะนี้จำนวนผู้โดยสารลดลง พร้อมทำความสะอาดภายในสถานี และคัดกรองผู้โดยสารก่อนเขาใช้บริการตามมาตรฐานด้านสารธารณสุขอย่างเข้มข้น

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทวีความรุนแรงมาอีกระลอกนั้น เพื่อความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดให้แก่ผู้โดยสาร และสร้างความมั่นใจในการใช้บริการ

แม้ว่าในขณะนี้จำนวนผู้โดยสารจะลดลง บริษัทฯ ยังคงนำขบวนรถไฟฟ้าออกวิ่งให้บริการมากที่สุด เพื่อเพิ่มการให้บริการด้วยความถี่สูงสุดเป็น 2 นาที 25 วินาที จากเดิม 2 นาที 40 วินาที ในช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อส่งเสริมมาตรการ Social Distancing นอกเหนือจากมาตรการลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการมาแล้วอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้

คัดกรองอุณหภูมิของผู้โดยสารก่อนเข้าใช้บริการในระบบ อุณหภูมิต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส พร้อมทั้งคัดกรองสุขภาพของเจ้าหน้าที่พนักงาน ทุกครั้งก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมหน้ากากอนามัย และถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด

ให้ผู้โดยสารทุกท่านต้องสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า และตลอดเวลาที่ใช้บริการ ไม่นำหน้ากากลงมาไว้ใต้คาง พร้อมทั้งงดการพูดคุยภายในขบวนรถไฟฟ้า หลีกเลี่ยงการหันหน้าเข้าหากัน เว้นระยะห่างในการยืน และนั่งภายในขบวนรถไฟฟ้า และชานชาลา

จัดจุดบริการแอลกอฮอล์ ทุกทางเข้า - ออกสถานี พร้อมเพิ่มความถี่ในการฉีดพ่น และเช็ดทำความสะอาดภายในขบวนรถไฟฟ้า และจุดสัมผัสร่วม ภายในสถานีทุกชั่วโมง และบริเวณรอบสถานีด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จัดบริการแอลกอฮอล์เคลื่อนที่ บนชั้นชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้โดยสาร

ขอความร่วมมือผู้โดยสารทุกท่านลงทะเบียน “ไทยชนะ” เมื่อเข้า และออกจากขบวนรถไฟฟ้าขบวนนั้น ๆ ด้วยการพิมพ์หมายเลขรถไฟฟ้า 4 หลัก ลงใน Application ‘BTS SkyTrain’ หรือ Line official : @btsskytrain

ทั้งนี้ บริษัทขอความร่วมมือผู้โดยสารทุกท่านโปรดเผื่อเวลาในการเดินทาง เพื่อกระจายการเดินทาง ลดความหนาแน่น บริษัทฯ ต้องขออภัยในความไม่สะดวก และจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจแก่ผู้มาใช้บริการสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บีทีเอส โทรศัพท์ 0 2617 6000 Line official : @btsskytrain หรือเช็กสถานะการเดินรถได้ที่ Application ‘BTS SkyTrain’ และแฟนเพจ Facebook :รถไฟฟ้าบีทีเอส

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา บนอินเทอร์เน็ต กับผู้ประกอบการ 3 แพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ ลาซาด้า, ช้อปปี้ และเจดี เซ็นทรัล

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต กับผู้ประกอบการ 3 แพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ ลาซาด้า, ช้อปปี้ และเจดี เซ็นทรัล และเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา 20 หน่วยงาน เพื่อป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก และยังช่วยปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของทุกคนรวมทั้งของคนไทย รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ต่างประเทศมาลงทุน และเพื่อเพิ่มอันดับขีดความสามารถแข่งขันของประเทศในอนาคต

สำหรับสาระสำคัญของเอ็มโอยู ฉบับนี้คือ การระงับการจำหน่ายสินค้าละเมิดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และการเสริมสร้างองค์ความรู้ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ผู้ค้าออนไลน์ เพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต ที่ส่งผลกระทบ ต่อระบบเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และความไว้วางใจของผู้บริโภคต่อการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า และบริการของไทยได้

ทั้งนี้ในปี 2563 กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีการดำเนินคดีกับผู้ละเมิดผ่านออนไลน์ มากถึง 231 คดี ยึดของกลางที่เป็นสินค้าละเมิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าแบรนด์ดังจากต่างประเทศ 44,953 ชิ้น ส่วนยอดรวมตั้งแต่ปี 2561-63 ศาลสั่งให้ปิดกั้นเว็บไซต์ละเมิด ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งปิดไปแล้วกว่า 1,500 รายการ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top