Wednesday, 3 July 2024
The States Times EconBiz Team

ธุรกิจสปาทรุดหนัก จากพิษโควิด-19 ล่าสุดพบเปิดให้บริการแค่ 20% จากจำนวนกว่า 8,000 แห่ง ส่งผลแรงงานที่เกี่ยวข้องตกงานแล้วกว่า 2.4 แสนคน วอนรัฐพยุงการจ้างงานภาคท่องเที่ยว ช่วยจ่ายค่าแรงคนละครึ่งกับเอกชน นาน 6 - 12 เดือน

นายกรด โรจนเสถียร นายกสมาคมสปาไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมของธุรกิจสปานั้น ถือว่าได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะธุรกิจร้านนวดสปา ซึ่งมีกว่า 8,000 แห่งที่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 มีจำนวนบุคลากรที่เกี่ยวข้องรวมกว่า 3 แสนคน ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนร้านนวดสปาเปิดให้บริการเพียง 20% ของทั้งหมด และแรงงานที่เกี่ยวข้องกว่า 80% หรือราว 240,000 คน อยู่ในสภาวะตกงาน

เพื่อแก้ปัญหาและเยียวยาผลกระทบให้กับผู้ประกอบธุรกิจ สมาคมฯ จึงจัดทำข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือ โดยเฉพาะการช่วยพยุงการจ้างงานภาคท่องเที่ยว ด้วยการทำโครงการร่วมจ่าย ระหว่างรัฐและเอกชนช่วยกันเงินเดือนให้พนักงานคนละครึ่ง วงเงินต่อรายไม่เกิน 7,500 บาท รวมจำนวน 8 แสนคน เป็นระยะเวลา 6-12 เดือน รวมทั้งเสนอให้คลายล็อกธุรกิจบริการออนเซ็น ภายใต้ พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ เพราะไม่ได้มีลักษณะเหมือนสถานประกอบการอาบอบนวด

"ขณะนี้ได้รับทราบมาว่า ได้มีกลุ่มทุนจากต่างประเทศหลายรายกำลังเข้ามาหาช่องทางซื้อกิจการในประเทศไทยจำนวนมาก หลังจากธุรกิจหลายประเภทได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยส่วนของธุรกิจสปาเองนั้น ก็มีกลุ่มทุนจากจีนหลายรายที่แสวงหาช่องทางเข้ามาซื้อกิจการของไทยที่ประสบปัญหาด้านรายได้ หรือมีสายป่านทางธุรกิจที่ไม่ยาวพอ และอาจขยายไปยังธุรกิจอื่นๆ ในภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมที่ตอนนี้กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก"

ธอส. เพิ่มโอกาสคนมีรายได้น้อยอยากมีบ้าน เตรียมวงเงิน 70,000 ล้านบาท ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำผ่าน 3 โครงการ ผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 40 ปี

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ธอส.ได้เตรียมกรอบวงเงิน 70,000 ล้านบาท จัดทำ 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย (Social Solution) ซึ่งครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์การกู้หลัก อาทิ เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม และไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น ผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 40 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. โครงการสินเชื่อที่อยู่ที่อาศัยเพื่อบุคลากรภาครัฐ” กรอบวงเงิน 30,000 ล้านบาท สำหรับข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงาน/เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ชื่อเรียกอย่างอื่น และลูกจ้างประจำที่เป็นผู้มีสิทธิกู้เงินตามข้อตกลงโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยประเภทไม่มีเงินฝากที่หน่วยงานต้นสังกัดได้ลงนามร่วมกับ ธอส. สามารถกู้ไม่จำกัดวงเงินกู้สูงสุด อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 เท่ากับ 2.65% ปีที่ 2 เท่ากับ 3% ปีที่ 3 เท่ากับ MRR-2.65% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 3.05% และปีที่ 4-5 เท่ากับ MRR-2.00% หรือเท่ากับ 4.15% และปีที่ 6 จนถึงครบอายุสัญญา คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% ต่อปี กู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระเริ่มต้นเพียง 3,400 บาท ต่อเดือน พิเศษค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ และค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กู้ เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม ไถ่ถอนจำนองที่ดินจากสถาบันการเงินอื่น ชำระหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และซื้ออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย ยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564

2. โครงการสินเชื่อบ้านคนละหลัง กรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท สำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน วงเงินให้กู้รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 เท่ากับ 2.75% ต่อปีปีที่ 3 เท่ากับ MRR-3.40% (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ 6.150%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 2.75% ต่อปีเท่านั้น ปีที่ 4-5 เท่ากับ MRR-2% และปีที่ 6 จนถึงครบอายุสัญญา กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% ต่อปี และกรณีลูกค้าสวัสดิการ อัตราดอกเบี้ย MRR-1% ต่อปี กู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระเริ่มต้นเพียง 3,500 บาท ต่อเดือน พิเศษฟรี ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ ค่าประเมินราคาหลักประกัน และค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้กู้เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม และไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น ยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564

3. โครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรัก กรอบวงเงิน 30,000 ล้านบาท สำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 35,000 บาท ต่อเดือน วงเงินให้กู้รายละไม่เกิน 3 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 เท่ากับ 3% ปีที่ 2 เท่ากับ 4% ปีที่ 3 เท่ากับ MRR-1.15% และปีที่ 4 จนถึงครบอายุสัญญา กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% ต่อปี และกรณีลูกค้าสวัสดิการ คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-1% ต่อปี กู้ 1 ล้านบาท ผ่อนชำระเริ่มต้นเพียง 3,800 บาท ต่อเดือน ฟรี ค่าธรรมเนียม การยื่นกู้ เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม และซื้ออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัยพร้อมกับการกู้ตามวัตถุประสงค์หลัก ยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2564

ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อทั้ง 3 โครงการ มีส่วนสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อย (Social Solution) ให้เป็นไปตามเป้าหมายในปี 2564 จำนวน 140,167 ล้านบาท จากเป้าหมายสินเชื่อปล่อยใหม่รวม 215,641 ล้านบาท

รมว. คลัง ปลื้มสินค้า OTOP ศรีสะเกษ มียอดขายกว่า 6 พันล้านบาท โดยสินค้าประเภทผ้ามีเป้าหมายการจำหน่าย 1 พันล้านบาท สามารถจำหน่ายได้ถึง 978,342,747 ล้านบาท พร้อมเปิดรับออเดอร์สั่งซื้อออนไลน์ ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง พร้อมด้วย น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดศูนย์ OTOP จ.ศรีสะเกษ โดยมี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.ศรีสะเกษ เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีนายสำรวย เกษกุล นายวิชัย ตั้งคำเจริญ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รอง ผวจ.ศรีสะเกษ พล.ต.ต.สันติ เหล่าประทาย ผบก.ภ.จว.ศรีสะเกษ นายวิทยา วิรารัตน์ ประธานสภาวัฒนธรรม จ.ศรีสะเกษ นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการ จ.ศรีสะเกษ และหัวหน้าส่วนราชการ นำกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP จ.ศรีสะเกษ ให้การต้อนรับ และร่วมจำหน่ายสินค้า OTOP เป็นจำนวนมาก

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า จ.ศรีสะเกษ ได้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและจำหน่ายสินค้า OTOP เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก แก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสืบสานรักษาต่อยอด ให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ในการขับเคลื่อนงาน จ.ศรีสะเกษ ได้มีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และการสร้างแบรนด์สินค้าใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เช่น การฝึกอบรมทักษะการแส่ว การนำวัสดุธรรมชาติมาย้อมผ้า ภายใต้แนวคิด "ศรีสะเกษธานี ผ้าศรี...แส่ว" ซึ่งการจำหน่ายสินค้า OTOP ในปี 2563 มียอดการจำหน่าย จำนวน 6,125,553,509 บาท โดยสินค้าประเภทผ้ามีเป้าหมายการจำหน่าย 1 พันล้านบาท จำหน่ายได้ 978,342,747 ล้านบาท และในปี 2564 ได้นำยุทธศาสตร์การพัฒนา ย้อม ทอ แส่ว ออกแบบ แปรรูปและจำหน่าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายพันล้านบาท โดยใช้ศูนย์ OTOP เป็นสถานที่บริการนักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกจังหวัด รวมถึงเป็นสถานที่รับออเดอร์ออนไลน์ และเป็นที่รวบรวมการสั่งซื้อออนไลน์อีกช่องทางหนึ่ง

ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานมีการบูรณาการขับเคลื่อนกับทุกภาคส่วนทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงการนำนโยบายของรัฐบาลมาใช้ในระบบการซื้อขาย เช่น โครงการช้อปดีมีคืน โครงการคนละครึ่ง และโครงการไทยชนะ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ยอดการผลิต และจำหน่ายสินค้า OTOP ทุกประเภท มีการหมุนเวียนซื้อ-ขาย ลดลงเพียงเล็กน้อย ดังนั้น ทางศูนย์ OTOP จ.ศรีสะเกษ จึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายสินค้า OTOP ของ จ.ศรีสะเกษ อย่างครบวงจร โดยเปิดให้บริการประชาชนผู้สนใจทั่วไป ภายใต้แนวคิด "มาหน้าร้านเราขาย สั่งออนไลน์เราส่ง" อันเป็นการสร้างช่องทางการกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนชาวศรีสะเกษอย่างยั่งยืน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า นับว่าเป็นความสำเร็จที่น่าชื่นชมเป็นอย่างมาก ที่ยอดการจำหน่ายสินค้า OTOP จ.ศรีสะเกษ มียอดการจำหน่ายสูงถึง 6,125,553,509 บาท ทำให้เศรษฐกิจของ จ.ศรีสะเกษดีขึ้นมากกว่าเดิม อีกทั้งมีการผลิตผ้าเบญจศรี ภายใต้แนวคิด"ศรีสะเกษธานี ผ้าศรี...แส่ว" จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนชาวศรีสะเกษให้มีความอยู่ดีกินดี มีความสุข สนองนโนบายของรัฐบาลเป็นอย่างดียิ่ง

สำหรับโครงการเราชนะ มีการลงทะเบียนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ร้านค้าที่เข้าไปร่วมก็มีมาก ได้รับการตอบรับที่ดีมาก โครงการเราชนะ เราตั้งเป้าครอบคลุมเอาไว้ 31.1 ล้านคน ถ้าบวกโครงการประกันตนตามมาตรา 33 เข้ามาอีกประมาณ 9 ล้านกว่า รวมแล้วจะประมาณ 41 ล้าน นั่นคือเป้าหมายในการครอบคลุมให้ทั่วถึง ส่วนร้านค้านั้นได้มีการหารือกับกระทรวงมหาดไทยก็จะมีการเชิญชวนร้านค้าเข้ามาให้ได้อีกประมาณ 1 ล้านราย

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ รัฐบาลนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคนเป็นอย่างมาก ขอฝากในเรื่องมาตรการ การ์ดไม่ตก เนื่องจากว่าการแพร่ระบาดยังไม่จบ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงก็ยังมีการตรวจเชิงลึกอยู่ จึงต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็คงจะต้องงดกิจกรรมในการเดินทาง เรื่องการเข้มงวดกับตนเองในเรื่องการสวมหน้ากากเมื่อออกไปในที่ชุมชนและหมั่นล้างมืออยู่เสมอ จะเป็นการช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้


ภาพ / ข่าว ศิริเกษ หมายสุข ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ศรีสะเกษ

‘สามารถ ราชพลสิทธิ์’ ผิดหวังรฟม. ไม่สู้ต่อในชั้นศาลปกครองสูงสุด ชิงล้มประมูลคัดเลือกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้ม อ้างถ้าสู้ต่อทำให้เสียเวลา หลังถูกบีทีเอสฟ้องใช้เกณฑ์คัดเลือกใหม่ ส่อไม่เป็นธรรม เอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งมวลชน โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte’ โดยระบุว่า
ล้มสายสีส้ม
สู้ไม่สุดซอย ถอยดีกว่า
น่าเสียดายที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สู้ไม่สุดซอย ถอยเสียก่อน ไม่รอฟังคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด สร้างความผิดหวังให้กับผู้เกาะติดการประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้ไม่รู้ว่าใครจะแพ้ ใครจะชนะ
ในที่สุด รฟม. ได้ประกาศล้มการประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มอย่างไม่เกรงกลัวต่อข้อครหาของผู้ติดตามการประมูลที่ต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการประมูลไทย
รฟม. ประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีผู้ซื้อเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน (RFP) 10 ราย หลังจากปิดขาย RFP แล้ว มีเอกชนเพียงรายเดียวร้องขอให้เปลี่ยนเกณฑ์การคัดเลือกจากเดิมที่จะต้องพิจารณาความสามารถด้านเทคนิคก่อน หากสอบผ่านก็จะพิจารณาข้อเสนอผลตอบแทนให้แก่ รฟม. ใครให้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล เป็นเกณฑ์ใหม่ที่จะพิจารณาความสามารถด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอผลตอบแทน ใครได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งอาจทำให้ผู้เสนอผลตอบแทนสูงสุดไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะการประมูลก็ได้ ทำให้ รฟม.ไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุดที่ควรจะได้
เกณฑ์ใหม่ทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุดจริงหรือ?
รฟม. อ้างว่าเกณฑ์ใหม่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติ กล่าวคือการคัดเลือกผู้ชนะการประมูลด้วยการพิจารณาความสามารถด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอผลตอบแทนให้แก่ รฟม. จะทำให้สามารถคัดเลือกผู้ชนะการประมูลที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง เนื่องจากโครงการนี้ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพราะต้องก่อสร้างอุโมงค์ใต้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์และอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา รฟม. ไม่ได้พิจารณาแค่เพียงข้อเสนอผลตอบแทนเท่านั้น
แต่ผมมีความเห็นว่าเกณฑ์ใหม่สู้เกณฑ์เดิมไม่ได้ เนื่องจากเกณฑ์ใหม่ไม่ได้กำหนดคะแนนขั้นต่ำด้านเทคนิคไว้ นั่นหมายความว่าผู้ที่ได้คะแนนด้านเทคนิคไม่ว่าจะต่ำเพียงใดก็จะได้รับการพิจารณา และอาจได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะถ้าเขาเสนอผลตอบแทนให้แก่ รฟม. สูงมาก เป็นผลให้ รฟม. ไม่ได้ผู้ชนะการประมูลที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูงตามที่ รฟม. ต้องการ
นอกจากนี้ เกณฑ์ใหม่จะเปิดโอกาสให้กรรมการคัดเลือกช่วยเอกชนรายใดรายหนึ่งให้เป็นผู้ชนะก็ได้ กล่าวคือเมื่อกรรมการฯ เห็นข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมๆ กับข้อเสนอผลตอบแทน ทำให้รู้ว่าจะต้องให้คะแนนอย่างไรจึงจะทำให้เอกชนรายนั้นเป็นผู้ชนะ เช่น หากต้องการช่วยเอกชน A ซึ่งเสนอผลตอบแทนต่ำกว่า ให้ชนะเอกชน B ซึ่งเสนอผลตอบแทนสูงกว่า กรรมการฯ ก็อาจให้เอกชน A ได้คะแนนด้านเทคนิคสูงกว่าเอกชน B เพื่อทำให้เอกชน A ได้คะแนนรวมสูงกว่า ซึ่งจะได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะทั้ง ๆ ที่เสนอผลตอบแทนต่ำกว่า ทำให้ รฟม. ไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุดที่ควรจะได้
ต่างกับเกณฑ์เดิมที่ให้ความสำคัญกับความสามารถด้านเทคนิคเป็นอย่างมาก โดยจะพิจารณาความสามารถด้านเทคนิคก่อน ซึ่งจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 85% ถ้าได้น้อยกว่าก็ถือว่าสอบตก รฟม. จะไม่พิจารณาข้อเสนอผลตอบแทนต่อไป ทำให้ผู้ชนะการประมูลเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูงสามารถทำการก่อสร้างในพื้นที่ใดก็ได้ และในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้ รฟม. ได้ผู้ชนะการประมูลที่เสนอผลตอบแทนสูงที่สุดด้วย
สรุปได้ว่า เกณฑ์ใหม่จะไม่ทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด สู้เกณฑ์เดิมไม่ได้ รฟม. จึงต้องใช้เกณฑ์เดิมในการประมูลโครงการที่ต้องการผู้ชนะการประมูลที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง ดังเช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ผมขอย้ำว่าเกณฑ์เดิมมีความเหมาะสมกับโครงการของ รฟม. มากกว่าเกณฑ์ใหม่อย่างแน่นอน
คงเป็นเหตุผลนี้กระมังที่ทำให้ผู้แทนสำนักงบประมาณซึ่งร่วมเป็นกรรมการฯ “ยืนหนึ่ง” ค้านการใช้เกณฑ์ใหม่ตลอดมา
รฟม. เคยใช้เกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอผลตอบแทนมาก่อน!
อันที่จริง รฟม. เคยใช้เกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอผลตอบแทนมาก่อน แต่เป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้ว โดยใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ หลังจากนั้น รฟม. ไม่ใช้เกณฑ์นี้อีกเลย เพราะรู้ว่าเกณฑ์นี้ลดความสำคัญของข้อเสนอด้านเทคนิค ไม่เหมาะสมกับโครงการที่มีความซับซ้อน ดังนั้น ในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าต่อมา รฟม. จึงเลือกพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อน หากสอบผ่านจึงจะพิจารณาข้อเสนอผลตอบแทน หากสอบตกก็จะไม่พิจารณาข้อเสนอผลตอบแทน ซึ่งถือว่าเป็นการให้ความสำคัญต่อข้อเสนอด้านเทคนิคอย่างแท้จริง ทำให้ได้ผู้ชนะการประมูลที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง และให้ผลตอบแทนแก่ รฟม.สูงที่สุดด้วย แต่อะไรทำให้ รฟม. ต้องกลับไปใช้เกณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับโครงการที่มีความซับซ้อนดังเช่นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มอีก?
บีทีเอสฟ้องศาลปกครองกลาง
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสเห็นว่าการเปลี่ยนเกณฑ์การประมูลทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใดรายหนึ่ง จึงฟ้องศาลปกครองกลางโดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ใหม่ หรือไม่ให้ รฟม. ใช้เกณฑ์ใหม่ และขอให้ศาลทุเลาการใช้เกณฑ์ใหม่ก่อนที่จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือไม่ให้ รฟม. ใช้เกณฑ์ใหม่ในระหว่างที่รอการพิจารณาของศาล ในที่สุดศาลได้มีคำสั่งให้ทุเลาการใช้เกณฑ์ใหม่ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยศาลได้ระบุไว้ในคำพิพากษาตอนหนึ่งว่า การเปลี่ยนเกณฑ์การประมูล “จึงเป็นคำสั่งที่น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย” รฟม. ไม่เห็นด้วย จึงเดินหน้าสู้ด้วยการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดโดยขอให้ศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง
รฟม. สู้ไม่สุดซอย
แต่ยังไม่ทันที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งลงมา รฟม. ได้ชิงล้มการประมูลไปก่อน น่าเสียดายที่ รฟม. สู้ไม่สุดซอย โดยอ้างว่าถ้าสู้ต่อไปจะทำให้เสียเวลานาน แต่ถ้าล้มประมูลจะเสียเวลาน้อยกว่า แต่ผมเห็นว่าถ้าสู้ให้สุดซอยก็จะทำให้รู้ว่าการที่ รฟม. เปลี่ยนเกณฑ์การประมูลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่? และเกณฑ์ใหม่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติจริงหรือไม่?
อันที่จริง ถ้า รฟม. ทนรอคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดต่อไปอีกสักหน่อย ซึ่งคาดว่าในอีกไม่นานศาลน่าจะมีคำสั่งลงมา และถ้าศาลมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลาง นั่นหมายความว่า รฟม. ไม่สามารถใช้เกณฑ์ใหม่ได้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ในกรณีศาลปกครองสูงสุดมีความเห็นเหมือนกับศาลปกครองกลางเช่นนี้ โอกาสที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่นคงยากมาก ดังนั้น รฟม. จึงสามารถเดินหน้าประมูลต่อไปโดยใช้เกณฑ์เดิมได้ ซึ่งสามารถประหยัดเวลาได้เมื่อเปรียบเทียบกับการล้มประมูลแล้วเปิดประมูลใหม่
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้า รฟม. ไม่เปลี่ยนเกณฑ์ประมูลก็จะไม่เสียเวลาเลย ใช่ไหม?
ข้อสงสัยและข้อสังเกตดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง



Cr : เพจ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

กรุงไทย'​ รับ 'เราชนะ'​ วันแรกระบบล่ม พบทำรายการซ้อนกันเพียบ

ธนาคารกรุงไทย แจ้งว่า ธนาคารได้ปิดระบบการใช้สิทธิโครงการเราชนะของกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐชั่วคราวประมาณ 5 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากเปิดให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้สิทธิตามโครงการเราชนะเป็นวันแรก

พบว่า ระบบการใช้สิทธิขัดข้อง ในส่วนของระบบแอปพลิเคชันถุงเงิน และระบบ EDC โดยพบความผิดปกติจากการทำรายการที่ซ้ำซ้อนกันได้ จำนวนประมาณ 25,000 คน โดยมีการใช้จ่ายเกินวงเงินสิทธิรวมประมาณ 17 ล้านบาท หรือเกือบ 0.7% ของยอดใช้จ่าย

สำหรับรายการที่มีการใช้สิทธิซ้ำซ้อนกัน ธนาคารอยู่ระหว่างตรวจสอบและแยกแยะรายการที่ผิดปกติ โดยจะดำเนินการโอนเงินให้แก่ร้านค้าในส่วนที่มีการใช้สิทธิอย่างถูกต้อง ตรงตามเงื่อนไขโครงการฯก่อน

ส่วนรายการที่เป็นการใช้จ่ายไม่ตรงตามสิทธิ โดยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐบางกลุ่มมีการใช้จ่ายซ้ำซ้อนกัน จนเกินวงเงินจากสิทธิที่ได้รับในโครงการเราชนะ

ซึ่งเท่ากับเป็นการใช้วงเงินตามสิทธิที่ได้รับล่วงหน้านั้น โดยธนาคารจะตรวจสอบและดำเนินการปรับปรุงรายการให้ถูกต้อง และปรับปรุงการใช้สิทธิให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการฯ เพื่อป้องกันความสับสนที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและร้านค้าต่อไป

สยบดราม่า!! 'ปาท่องโก๋'​ ขาลง!! >> 'การบินไทย'​ แจง!! เหตุภาพร้านไร้คนว่อนเน็ต​ เพราะพื้นที่ขายในห้างจำกัด พนักงานจึงต้องเตรียมกล่องวางเรียงไว้ล่วงหน้า​ ลดกระบวนการหน้างาน​ ช่วยลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาในการเข้าคิวรอ

หลังเพจ "ผู้บริโภค" ได้เผยภาพเมนูปาท่องโก๋การบินไทย บรรจุใส่กล่อง ที่วางขายในห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ในราคา 100 บาทพร้อมน้ำจิ้ม แต่กลับไม่มีใครต่อคิวซื้อแบบตอนช่วงแรกๆ​ จนของตั้งเหลืออยู่จำนวนมาก โดยผู้โพสต์ระบุว่า...

"แรก ๆ​ กระแสแรง ตอนนี้ไม่มีคิวเลย ที่ห้างสรรพสินค้า (100 บาท พร้อมน้ำจิ้มด้วยนะ) มีใครเคยกินแล้วบ้าง อร่อยไหม?" ขณะเดียวกันชาวเน็ตก็ได้มีการคอมเม้นต์ว่า อาจจะเป็นเพราะราคาสูงเกินไป

ล่าสุด​ “การบินไทย” ได้ออกมายืนยันว่าปาท่องโก๋ยังเป็นสินค้าขายดีเหมือนเดิม ลูกค้ายังให้การตอบรับสูง และตามจุดจำหน่ายแต่ละสาขาต่างๆ ก็ยังมีลูกค้าแน่นตามเป็นปกติ และแจงเกี่ยวกับภาพสื่อออนไลน์ที่ถูกโพสต์ก่อนหน้า​ จนทำให้เห็นว่าเหมือนไม่มีลูกค้าแล้วนั้น​ เป็นภาพกล่องปาท่องโก๋ที่เตรียมพร้อมเพื่อขายไว้ล่วงหน้าเท่านั้น

นางวรางคณา ลือโรจน์วงค์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายครัวการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปาท่องโก๋การบินไทยยังได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี นอกจากสาขาร้านปัจจุบันที่ยังเปิดจำหน่ายปกติและขยายเวลาจำหน่ายแล้ว

ฝ่ายครัวการบิน การบินไทย ยังได้นำไปทอดจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างทั่วถึง ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2564 เช่น ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพระราม 3 เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต เซ็นทรัลลาดพร้าว เซ็นทรัลรัตนาธิเบศร์ โรบินสันฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต โรบินสันแฟชั่นไอร์แลนด์ ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต สุขาภิบาล 3 และเปิดจุดขายเพิ่มตามสาขาต่างจังหวัดทั้งเชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ รวมถึงเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่าน delivery services ที่โทร. 0-2356-1666

ส่วนกรณีที่มีภาพกล่องปาท่องโก๋การบินไทยวางตั้งเหลืออยู่จำนวนมากที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์นั้น เนื่องจากพื้นที่จำหน่ายปาท่องโก๋ในห้างสรรพสินค้ามีจำกัด พนักงานจึงเตรียมกล่องไว้ล่วงหน้า​เพื่อความรวดเร็ว​ ลูกค้าจะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาในการเข้าคิวรอ

ทั้งนี้ ปาท่องโก๋การบินไทยยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และลูกค้ายังให้ความสนใจเหมือนเดิม


ที่มา: https://mgronline.com/business/detail/9640000011835

'ชื่อฉัน' นั้นไพเราะที่สุด เรื่องเล็กๆ ที่ Starbucks 'เสก' ให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ | Story Telling EP.1

ใครจะคิดว่ากิมมิคของการเขียนชื่อลงบนแก้วกาแฟ Starbucks จะกลายเป็นวัฒนธรรมหลัก ที่สร้างความผูกพันต่อลูกค้าและช่วยต่อยอดแบรนด์กาแฟแก้วนี้ได้แบบไม่รู้จบ

.

อสังหาไทย ปี'64 เป็นอย่างไรบ้าง ? | สนามนักสู้ EP.24

จากข่าว ''LPN Wisdom' ชี้!! อสังหาฯ ยังมีลุ้น หลังรัฐ 'ไม่ล็อกดาวน์ - ลดค่าธรรมเนียม - ลดเก็บภาษีที่ดิน' เชื่อตัวเลข 64 จะ 'บวก' จะ 'ลบ' อยู่ที่ฝีมือรัฐ''

Link ข่าว : https://thestatestimes.com/post/2021012209

LPN Wisdom คาดตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 จะสามารถเพิ่มผลกำไรหรือจะติดลบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โควิด-19 และรัฐบาลที่จะต้องแก้มือกับสถานการณ์นี้ วิเคราะห์ทิศทาง และ การแก้ไขปัญหา กับ คุณปอ ณัฐภูมิ รัฐชยากร

 

ตอนนี้กระแสกัญชงมาแรงทันที่ อย. เปิดให้มีการขออนุญาตทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ‘กัญชง’ ทำให้หลายบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ให้ความสนใจในการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกัญชงมากขึ้น

โดยเมื่อไม่กี่วันก่อน RS Group ก็ได้ประกาศว่า ได้จับมือพันธมิตรเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในหมวดสกินแคร์ เครื่องดื่ม และอาหารเสริม ที่มีสารสกัดจากกัญชงไปแล้ว

ล่าสุด ก็มี บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG ที่แว่วมาว่าสนใจและมีความพร้อมในการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกัญชง เพราะมีธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มอย่าง กาแฟพันธุ์ไทย และ Coffee World ที่สามารถนำกัญชง มาต่อยอดธุรกิจได้อยู่แล้ว อีกทั้งบริษัท มีนโยบายในการดำเนินธุรกิจ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน จึงหยิบคอนเซ็ปต์ กัญชง เพื่อประชาชนมาชู

สำหรับ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG เป็นผู้ให้บริการสถานีบริการน้ำมันภายใต้แบรนด์ ‘PT’ นอกจากนี้ PTG ยังเป็นเจ้าของ ร้านสะดวกซื้อ Max Mart ร้านกาแฟพันธุ์ไทย และร้านกาแฟ Coffee Worldทั้งในและนอกสถานีบริการน้ำมัน

ฉะนั้นในจังหวะที่ตลาดกัญชง กำลังกลายเป็นอีกเทรนด์ร้อนแรงในเมืองไทย จึงเชื่อได้ว่าจะมีอีกหลายๆ ธุรกิจหันมาไล่จับกัญชงมากขึ้น และเราอาจจะได้เห็นหลากหลายผลิตภัณฑ์ ที่มีกัญชงเป็นส่วนผสม ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องก็เป็นได้


ที่มา: https://www.ryt9.com/s/prg/3197384

การบินไทย เคาะลดขนาดฝูงบิน ปลดกัปตันเฉียด 400 ชีวิต พร้อมตัดเงินที่เหลือ 900 คน แต่พนักงานข้องใจ? ทำไมยังจะทุ่มหมื่นล้าน ซื้อเครื่องบินเจ้าปัญหาเพิ่ม

รายงานข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ล่าสุดการบินไทยได้สรุปแผนฟื้นฟูกิจการด้านการปรับลดฝูงบินเรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทตัดสินใจปลดระวางเครื่องบิน 3 ประเภท คือ แอร์บัส A-330-300, แอร์บัส A380 และโบอิ้ง 747 คงเหลือเครื่องบิน 3 ประเภทที่จะใช้ในการทำบินต่อไป ได้แก่ โบอิ้ง 777-300ER, โบอิ้ง 787 และแอร์บัส 350-900

การปรับลดฝูงบินครั้งนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อนักบินที่ทำการบินเครื่องบิน 3 ประเภทดังกล่าว รวมประมาณ 395 คน ซึ่งจะต้อง ‘ถูกปลดออก’ หรือขอให้เข้าร่วมโครงการสมัครใจลาออกก่อนกำหนด โดยเฉพาะนักบินที่มีอายุเกินกว่า 52 ปี ซึ่งบริษัทมีคำแนะนำให้สมัครใจลาออก โดยจะอนุมัติให้ออกตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2564 และส่งผลให้มีนักบินเหลือที่จะปฏิบัติงานรวม 905 คน จากปัจจุบันที่มีนักบินรวม 1,300 คน และในช่วงปี 2564-2565 จะไม่มีการเพิ่มจำนวนนักบินอีก

รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 บริษัทจะประกาศรายชื่อนักบินที่บริษัทเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อจำนวน 905 คน โดยจะใช้เกณฑ์ในการประเมินและคัดเลือก ซึ่งพิจารณาจากประสิทธิภาพการทำงานด้านต่างๆ

นอกจากนี้ บริษัทจะทำการปรับโครงสร้างเงินเดือนของนักบินใหม่ทั้งหมด โดยจะปรับลดอัตราเงินเดือนลง 15-20% ตามตลาดความต้องการนักบินทั่วโลกที่ปรับลดลง หลังจากอุตสาหกรรมการบินซบเซาจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยบริษัทจะให้นักบินทั้ง 905 คน ที่ทำสัญญาจ้างฉบับใหม่

อย่างไรก็ตาม ในแผนการปรับโครงสร้างฝูงบินครั้งนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะจัดหาเครื่องบินโบอิ้ง 787 จำนวน 9-10 ลำ พร้อมเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์รุ่น Trent-1000 มูลค่าอีกหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งฝ่ายมองว่าไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากเครื่องยนต์รุ่นดังกล่าวมีปัญหาใบพัดอัดอากาศเสี่ยงต่อการแตกร้าว ซึ่งการบินไทยเคยประสบปัญหาดังกล่าวมาแล้วในอดีต ทำให้ต้องจอดเครื่องบินรอซ่อมเครื่องยนต์เป็นเวลานาน จนสูญเสียประโยชน์ในการทำการบิน รวมทั้งที่ผ่านมาสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐ (FAA) ยังได้ออกคำเตือนความเสี่ยงในการใช้เครื่องยนต์ประเภทดังกล่าวด้วย

“ไม่เข้าใจว่าทำไมการบินไทยจะซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 787 เพิ่มอีก 10 ลำ พร้อมเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์รุ่น Trent-1000 เพราะเป็นเครื่องที่มีปัญหาไปทั่วโลก มีการผูกขาดหลังการขายต้องซ่อมในศูนย์ซ่อมโรลส์รอยซ์และยังต้องจ่ายค่าใช้โปรแกรมเครื่องยนต์อีก ถือว่าเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้บริษัทมาก ขัดแย้งกับแผนฟื้นฟูที่ต้องเร่งลดค่าใช้จ่าย ที่สำคัญในอดีตเครื่องยนต์ยี่ห้อนี้ยังมีข้อครหาเรื่องสินบนมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นอยากให้ผู้ทำแผนชี้แจงเหตุผลการสั่งปลดเครื่องบินแอร์บัส A-330-300 จำนวน 15 ลำ ทั้งๆ ที่ผ่อนหมดแล้ว และยังเหลืออายุการใช้งานอีกอย่างน้อย 5 ปี เป็นอย่างน้อย” แหล่งข่าวกล่าว


ที่มา: https://www.thebangkokinsight.com/545260/


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top