Sunday, 30 June 2024
สุวินัย_ภรณวลัย

‘สุวินัย’ มั่นใจ ไร้เงื่อนไขจุดไฟสงครามปชช. จับตาปฏิบัติการเช็กบิล ‘ขบวนการล้มล้างฯ’

ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อมีสถานภาพเป็น "ขบวนการล้มล้างการปกครองฯ" ไปแล้ว ต่อไปผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏทั้งสิ้น

นี่คือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญอันเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

อีกฝ่ายพยายามสร้างวาทกรรมสงครามประชาชนขึ้นมาต่อสู้ ต่อต้านศาลรัฐธรรมนูญ

'สุวินัย' มองการโดนคดีม.112ของ 'ปิยบุตร' เป็นโอกาสทองพิสูจน์ความเป็น 'คนจริง'

'สุวินัย' มองอีกมุมการโดนคดีม.112ของ 'ปิยบุตร' คือโอกาสทองที่จะได้พิสูจน์ความเป็น'คนจริง'ชี้ต้องรับผิดชอบในความคิดและการกระทำของตนเอง เหน็บคิดเป็นนักปฏิวัติได้มิใช่เรื่องแปลกแต่อย่าลวงโลกเป็นวิญญูชนจอมปลอม

(17 มิ.ย.65) ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กภายหลังนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เรื่อง "เมื่อผมกลายเป็นผู้ต้องหาในความผิด 112 " มีเนื้อหาดังนี้

ผมว่าคนแต่ละคนมีจุดพีคในชีวิตไม่เหมือนกันนะ

ในกรณีของอาจารย์ปิยบุตร จุดพีคของเขาน่าจะเป็นช่วงปี 2018-9

ในฐานะเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ และผู้นำทางความคิดเรื่องการปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อเปลี่ยนแปลงสถาบันกษัตริย์ไทย ที่ทรงอิทธิพลที่สุดต่อคนรุ่นใหม่ในตอนนั้น ... จนเป็นที่มาของขบวนการ"ชูสามนิ้ว(เพื่อล้มเจ้า)" ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตในวันที่ 10 สิงหาคม 2020

วันนี้ อาจารย์ปิยบุตรถูกตั้งข้อหาคดี ม.112 ผมคิดว่าเป็นเรื่องดีที่อาจารย์ปิยบุตรจะยืดอกไปพิสูจน์ตัวเองในศาล เคียงบ่าเคียงไหล่กับพวกลูกศิษย์สาวกจำนวนหนึ่งที่โดนคดี ม.112 ไปก่อนแล้ว ... เพราะอย่างน้อยนี่คือความรับผิดชอบเชิงจริยธรรมของคนที่เคยเป็นครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

'ดร.สุวินัย' เลคเชอร์ความเชื่อเรื่อง 'สมมติเทพ' ของ 'พุทธ-พราหมณ์' ผู้ประกอบแต่คุณงามความดี ภายใต้ทศพิธราชธรรม

(18 มี.ค. 67) รองศาสตราจารย์ ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความในหัวข้อ 'สมมติเทพ' ระบุว่า...

สถาบันกษัตริย์ในภูมิภาคนี้ ผูกพันกับพระวิษณุนารายณ์ (มหาเทพผู้ปกป้อง) และบูชาพระวิษณุนารายณ์

ในตำนาน พระวิษณุนารายณ์ อวตารลงมาเป็นพระรามเพื่อปราบอธรรมใน 'รามเกียรติ์' ซึ่งเป็นวรรณคดีประจำชาติ...พระรามเป็นกษัตริย์

พระวิษณุนารายณ์ยังอวตารลงมาเป็น พระกฤษณะเพื่อปราบอธรรม ใน 'มหาภารตะยุทธ' ...ซึ่งเป็นวรรณคดีประจำชาติของอินเดีย...พระกฤษณะก็เป็นกษัตริย์

'สมมติเทพ' คือคติความเชื่อเรื่องกษัตริย์ทรงเป็นเทพลงมาจุติเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อประกอบคุณความดี (ทศพิธราชธรรม) และสะสมบารมี เมื่อเสด็จสวรรคตก็กลับขึ้นสรวงสวรรค์

เมืองไทยได้รับคติพราหมณ์นี้มาจากขอม โดยที่ขอมก็รับมาจากอินเดียใต้อีกทอดหนึ่ง คติความเชื่อนี้แยกไม่ออกจากโลกทัศน์แบบไตรภูมิ ซึ่งเป็นโลกทัศน์ของพุทธศาสนาด้วย

ในพระไตรปิฎกคำว่า 'เทพ' มี 3 อย่างคือ...

(1) อุบัติเทพ : เทพโดยกำเนิด ได้แก่เทวดาที่อยู่ในสวรรค์
(2) สมมติเทพ : เทพโดยสมมติ คือบุคคลที่เป็นเทวดาเดินดินโดยการยอมรับหรือตกลงร่วมกันของมนุษย์ในเชิงสถาบัน ได้แก่ พระมหากษัตริย์ (ถ้าในประเทศญี่ปุ่น คือพระจักรพรรดิที่ถือเป็นสมมติเทพของญี่ปุ่น)
(3) วิสุทธิเทพ : เทพโดยความบริสุทธิ์ของจิต ได้แก่ พระอรหันต์

จะเห็นได้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ตั้งอยู่บนคติและรากฐานความเชื่อแต่โบราณของสองศาสนาผสมผสานกัน คือ พราหมณ์ กับ พุทธ

โดยที่พราหมณ์จะเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ เป็นอวตารปางหนึ่งที่ลงมาดับทุกข์เข็ญให้ประชาชนของพระองค์ ส่วนพุทธก็จะเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ ทรงมีภาระบำเพ็ญบารมีเพื่อจะได้เข้าสู่พุทธภูมิในกาลข้างหน้า

พระครูสมุห์ วิษุวัตร วรกิจจฺโจ 
เจ้าอาวาสวัดฝายหิน 

“เขาเป็นสมมติเทพ ชาวบ้านในประเทศไทยเคารพนับถือแต่ไหนแต่ไรมา อาตมาเสียดาย ติดตามข่าวทำไมถึงไป คิดถึงขั้นนั้น แล้วถ้าโยมไม่คิด บริวารเขาคิด"

'รศ.ดร.สุวินัย' เลคเชอร์!! พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่? แนะ!! ไม่ต้องถก แค่เข้าใจคำสอนที่เป็นหัวใจแห่งพุทธธรรมก็พอ

(27 มี.ค.67) รองศาสตราจารย์ ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

เห็นเมื่อสองวันก่อน อยู่ดี ๆ พิภพ ธงชัย อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (คนเสื้อเหลือง) ก็โพสต์ขึ้นมาลอย ๆ ว่า "พระพุทธเจ้าไม่มีจริง!"

ไม่ต้องมาเถียงกันหรอกว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่?

เราควรมาทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนดีกว่าว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร และอะไรคือคำสอนที่เป็นหัวใจของพุทธธรรม?

ถ้าเป็นชาวพุทธจริง ๆ ย่อมทราบดีว่า การเจริญสติเป็นแก่นคำสอนของพระพุทธองค์ และเป็นทางเอกไปสู่การบรรลุพุทธะ

'สติ' ตามความหมายของพุทธธรรมคือ 'สติ' ที่เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตที่ดีเท่านั้น ... โดยจะไม่เกิดกับอกุศลจิตเลย

สติจึงเป็นเจตสิก และเป็นเจตสิกที่เป็นสังขารขันธ์ 

เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต

ถ้าแบ่งเจตสิกตามประเภทของ ขันธ์ จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ เวทนาขันธ์ (เวทนาเจตสิก), สัญญาขันธ์ (สัญญาเจตสิก) และ สังขารขันธ์ (ซึ่งเป็นเหมือนรหัสพันธุกรรมของจิต)

ดังนั้น ขณะใดที่เป็น 'อกุศล' ขณะนั้นย่อมไม่มี 'สติ' ตามความหมายของพระพุทธองค์

แต่ถ้าขณะใดที่เป็น 'กุศล' ไม่ว่าระดับใด ขณะนั้นย่อมมี 'สติเจตสิก' เกิดร่วมด้วยเสมอ 

เพราะ 'สติ' ทำหน้าที่ระลึก และกั้นกระแสกิเลสที่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้นในขณะที่ 'สติ' เกิด

นอกจากนี้ 'สติ' ยังมี 4 ขั้นในคำสอนเชิงปฏิบัติของพระพุทธองค์ คือ…

(1) สติขั้นทาน (ระลึกที่จะให้)
(2) สติขั้นศีล (ระลึกที่จะไม่ทำบาปทางกาย-วาจา-ใจ)
(3) สติขั้นสมถะ (ระลึกลมหายใจ)
(4) สติขั้นวิปัสสนา (ระลึกลักษณะสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตรงหน้า พร้อมกับ 'รู้' ว่ามันไม่มีตัวตน)

ในวิชาอภิธรรมของพระพุทธองค์... 'สติ' สังกัดอยู่ใน ‘โสภณเจตสิก 25’

โสภณเจตสิก หมายถึง กลุ่มเจตสิกฝ่ายดีงาม เป็นกลุ่มที่ประกอบได้กับ 'โสภณจิต' โดยที่โสภณเจตสิกมีอยู่ 25 ดวง แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้...

กลุ่มที่หนึ่ง ‘โสภณสาธารณเจตสิก 19’ 
ได้แก่ สติ, สัทธา, หิริ, โอตตัปปะ, อโลภะ, อโทสะ, ตัตรมัชฌัตตา (อุเบกขา) รวมเป็น 7

ที่เหลือจัดเป็น 6 คู่รวมเป็น 12 คือการบังคับควบคุมเจตสิกและจิตที่ดี ได้แก่...
(1) กายลหุตา จิตลหุตา (ทำกายเบาจิตเบา)
(2) กายมุทุตา จิตมุทุตา (ทำกายอ่อนจิตอ่อน)
(3) กายกัมมัญญัตตา จิตกัมมัญญัตตา (ทำกายจิตควรแก่งาน คือพอประมาณ)
(4) กายอุชุตา จิตตอุชุตา (ทำกายจิตให้ตรง ไม่เอนเอียง)
(5) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ (ทำกายจิตให้สงบ)
(6) กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา (ทำกายจิตให้คล่องแคล่ว)

กลุ่มที่สอง ‘วิรัตติ 3’
ได้แก่ สัมมาวาจา(เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) และ สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)

กลุ่มที่สาม ‘อัปปมัญญา 2’
ได้แก่ กรุณา กับ มุทิตา

กลุ่มที่สี่ ‘ปัญญา 1’
ได้แก่ ปัญญินทรีย์ หรือการกำหนด 'รู้'

จะเห็นได้ว่า ‘ลมปราณกรรมฐาน’ เป็นกรรมฐานที่ทรงพลังมากในการเจริญ 'สติเจตสิก' เพราะลมปราณกรรมฐานมุ่งเจริญ ‘โสภณสาธารณเจตสิก 19’ โดยตรงนั่นเอง

ใครจะด้อยค่าพุทธธรรมยังไง...ก็ตามใจเถิด 

ใครจะไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า...ก็แล้วไปเถิด

ใครจะอวดดีประกาศว่าพระพุทธเจ้าไม่มีจริง...ก็ทำไปเถิด

เพราะเพชรแท้ ไม่ว่าจะถูกมองยังไง...มันก็ยังเป็นเพชร (แห่งปัญญา) อันเลอค่าอยู่ดี

~ สุวินัย ภรณวลัย
Suvinai Pornavala

‘อ.สุวินัย’ โพสต์เฟซฟาด ‘โน้ส อุดม’ ที่พูดสนุกปาก ‘เรื่องความพอเพียง’ ย้ำ!! ขอเดินตาม ‘วิถีแห่งชีวิตศักดิ์สิทธิ์’ ที่พ่อหลวง ร.9 ได้ทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง 

(6 พ.ค.67) รองศาสตราจารย์ ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับกรณีที่ โน้ส อุดม แต้พานิช ได้ขึ้นเดี่ยวไมโครโฟน พูดถึงเรื่องของความพอเพียง อย่างผิดความหมายที่แท้จริง โดยได้ระบุว่า ...

หนทางพิสูจน์ม้า เวลาพิสูจน์อุดม

ทุกครั้งที่มึงหรือกูพิมพ์อะไร พูดอะไรในโซเชียล นั่นหมายถึงทั้งมึงและกูพร้อมแล้วที่จะให้คนอื่นเห็นสติปัญญาของมึงและของกู ได้เห็นธาตุแท้สันดานที่แท้จริงของตัวมึงและตัวกู

กูไม่ขอเป็น ‘คนรุ่นเก่า’ ที่หิวแสงและมุ่งเกาะกระแสคนรุ่นใหม่เพื่อเอาใจ...อย่างมึง

กูไม่ขอเป็น 'ทาสของความโลภ' ที่เที่ยวป่าวประกาศว่าตัวเองเป็น "คนไม่รู้จักพอ" แถมยังมาแซะหลักการเศรษฐกิจพอเพียง...อย่างมึง.

กูขอแสวงหา "ความรุ่มรวยทางจิตวิญญาณ" แทนที่จะแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุ ผ่านการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและพอเพียงโดยเต็มใจ

โดยไม่ตกเป็นทาสเงิน รวมทั้งทาสของโลกธรรม 8 ทั้งปวง...อย่างมึง 

กูกับมึงต่างกันตรงนี้ ทั้งในความเป็นมนุษย์และความเป็นลูกผู้ชาย ...

กูขีดเส้นแบ่งกับมึงตรงนี้ชัดเจนว่ากูกับมึงเป็นมนุษย์คนละสายพันธุ์กัน
เพราะกูไม่เคยเอาเรื่องของผู้หญิงที่เคยคบหาออกมาแฉบนเวทีการแสดงเพื่อให้เป็นเรื่องตลก หรือเป็นเหยื่อของเสียงหัวเราะอย่างที่มึงทำอย่างหน้าตาเฉย

คนที่ชื่นชอบมึง เชียร์มึง เป็นแฟนคลับของมึง ก็คงมีสันดานไม่ต่างกันเท่าไรหรอก 

‘เงิน’ สำหรับกู ต้องเป็นแค่เครื่องมืออย่างหนึ่งในการใช้ชีวิตของกูเท่านั้น

‘เวลา’ สำหรับกู ต้องมีไว้สำหรับทำหน้าที่ให้ถูกต้อง ในฐานะที่เป็น ‘ผู้ให้’ กับเพื่อฝึกฝนตนเองในสรรพวิชาต่างๆ เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่แท้ให้ถึงขีดสุดแห่งศักยภาพเท่านั้น

‘ความตาย’ สำหรับกู มันก็แค่การได้หยุดพักชั่วคราวจากการอาสาลงมาเกิด เพื่อสืบสานปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ชาติแล้วชาติเล่าเท่านั้น

นี่คือ ‘วิถีแห่งชีวิตศักดิ์สิทธิ์’ ที่พ่อหลวง ร. 9 ของกูได้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตของท่านทำให้ดูเป็น ‘แบบอย่าง’ ให้ได้รู้ ได้เห็น ได้เจริญรอยตาม ‘วิถีชีวิตศักดิ์สิทธิ์’ แบบนี้แหละจึงจะสามารถตอบโจทย์วิกฤตสังคมของประเทศนี้ที่กำลังหลงทางและถูกจูงจมูกให้เดินลงเหวโดยพวกนักการเมืองได้จริง

เนื่องเพราะ ‘ชีวิตศักดิ์สิทธิ์’ เช่นนี้พึ่งพาเงินตรา อำนาจ ตำแหน่งหัวโขนใดๆ น้อยเหลือเกิน 

มันแทบไม่มีความจำเป็นด้วยซ้ำ เพราะ ‘ชีวิตศักดิ์สิทธิ์’ เป็นเรื่องของการยินยอมเลือกใช้ชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่ายและพอเพียงโดยเต็มใจ

เพื่อมีชีวิตอยู่อย่างแข็งแรง อย่างรุ่มรวยทางจิตวิญญาณและทางปัญญาตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิตตนเท่านั้น

'ดร.สุวินัย' โพสต์อาลัยถึง 'บำรุง คะโยธา' หลังจากไปด้วยอาการสงบ ภูมิใจและดีใจที่เคยเป็น 'สหายร่วมรบ' กันในสมัยกลุ่มพันธมิตรฯ

(25 มิ.ย.67) รองศาสตราจารย์ ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กไว้อาลัยแด่ คุณบำรุง คะโยธา โดยระบุว่า…

“หมากนิพพานของผู้บำเพ็ญอภิมรรค (2) : ไม่เสพอารมณ์ทั้ง 7”

“หลังจากที่เขาฝึกเคล็ด ‘กรรมฐานของมหาเทพ’ หรือเคล็ดลมปราณกรรมฐานเพื่อจิตอมตะที่คุรุเทพถ่ายทอดให้เขา ตัวเขาก็ทุ่มเทชีวิตจิตใจของเขาเข้าสู่มรรควิถีโพธิสัตว์อย่างเต็มตัว

“นี่เป็นการแสวงหาส่วนบุคคล เพื่อความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณอย่างก้าวกระโดดใหญ่ของตัวเขาเอง”

“ทุกค่ำคืนที่เขาล้มตัวลงนอน เขาก็พาตัวเองเข้าสู่โลกแห่ง ‘การตายก่อนตาย’ ”

“เมื่อตื่นขึ้นมา เขาก็เข้าสู่ ‘โลกแห่งความรู้ตัว’ บางครั้งความคิดต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีตแวบเข้ามา แต่เขาก็ตัดความอาลัยเหล่านั้นลงโดยเร็ว”

“มีแต่การฝึกลมปราณกรรมฐานเท่านั้นที่นำความพึงพอใจอย่างใหญ่หลวงให้แก่ตัวเขา ทำให้ตัวเขาไม่มุ่งมาดปรารถนาอื่นใดอีกในชีวิตที่เหลือ”

“สิ่งที่ผู้บำเพ็ญลมปราณกรรมฐานต้องระมัดระวังมากที่สุดคือ การเกิดอารมณ์ 7 ชนิด ซึ่งได้แก่
(1) ความแตกตื่น (驚)
(2) ความกลัว (慴)
(3) ความลังเลสงสัย (疑)
(4) ความฟุ้งซ่านสับสน (惑)
(5) ความประมาท (緩)
(6) ความโกรธ (怒)
(7) ความใจร้อนหงุดหงิด (焦)”

“เพราะอารมณ์ทั้ง 7 นี้คือข้อห้ามในการฝึกลมปราณกรรมฐาน และเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การฝึกจิตของผู้บำเพ็ญไม่ประสบความสำเร็จ”

“การบำเพ็ญลมปราณกรรมฐานทุกวัน คือการบ่มเพาะถนอมบำรุงพลังชีวิตควบคู่ไปกับการ "ดูจิต" เจริญวิปัสสนา โดยไม่เสพอารมณ์ใด ๆ โดยเฉพาะอารมณ์ทั้ง 7 จนกระทั่งจิตของผู้บำเพ็ญนิ่งเองดุจบ่อน้ำที่สงบงันจนสามารถสะท้อนดวงจันทร์ได้อย่างสวยงามหมดจด ผลที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งก็คือตัวผู้บำเพ็ญสามารถจดจ่อกับสิ่งที่ตัวเองกำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันขณะอย่างมีสติรู้ตัวบ่อย ๆ ได้”

“ผู้บำเพ็ญอภิมรรคย่อมใช้การฝึกลมปราณกรรมฐานเพื่อเข้าถึงตัวตนที่แท้จริง (真我) ได้อย่างล้ำลึก ด้วยวิธีการนี้เอง เขาย่อมสามารถมีอิทธิพลต่อจักรวาลรอบตัวเขา และจะไม่ถูกกระทบใด ๆ จากความเป็นอนิจจังของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางโลก”

“ตบะและขันติของเขาย่อมมีขึ้นเอง เพราะมีขันติ เขาจึงเป็นผู้เที่ยงธรรม มีใจเป็นธรรมได้ และเพราะเขามีใจเป็นธรรม เขาจึงมีใจที่เปิดกว้าง เป็นคนที่ใจกว้าง และเพราะเขาเป็นคนที่ใจกว้าง เขาจึงสามารถกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างงามสง่า”

“ความใจกว้างและวัตรปฏิบัติที่งดงามของเขา ทำให้ตัวเขาสามารถเข้าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตที่เปี่ยมพร้อมไปด้วยความจริง ความดีและความงามได้”

“เพราะฉะนั้น เขาจึงกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอภิมรรค (道) ในที่สุด มันเป็นแค่เรื่องของเวลาว่าเมื่อไรเท่านั้น”

“คติประจำใจของผู้บำเพ็ญอภิมรรค
- ไม่แสวงหาความรุ่งโรจน์บนความเจ็บปวดของผู้อื่น
- ยอมละทิ้งตนเอง ผ่อนตามคนอื่นเสมอ
- ถนอมรักกับทุกสิ่ง สามารถรักโลกใบนี้ดุจรักตัวเอง
- ไม่ยึดติดในวัตถุ ไม่หลงใหลในอำนาจลาภยศสรรเสริญทางโลก
- แสวงหาทุกสิ่งจากภายในตัวเองด้วยการเจริญลมปราณกรรมฐาน
- มุ่งบ่มเพาะคุณธรรมต่าง ๆ ภายในตัวเอง จนกระทั่งมีจิตบริสุทธิ์ดุจทารกอีกครั้ง”

“ด้วยความปรารถนาดี
สุวินัย ภรณวลัย
Suvinai Pornavalai

“หมายเหตุ : คุณบำรุง คะโยธา เดินทางไกลครั้งสุดท้าย ด้วยอาการสงบ ณ บ้านกุดตาใกล้ ต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ วันที่ 24 มิถุนายน 2567 เวลา 16.25 น.”

“ขอน้อมส่งดวงวิญญาณของคุณบำรุงกลับสู่ ‘ดาวนักสู้’ ภูมิใจและดีใจที่เราเคยเป็น ‘สหายร่วมรบ’ กันในสมัยการต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรฯ (ปี พ.ศ. 2549-2556)”

'ดร.สุวินัย' ออกบทความ 'ปลายทาง' ของนักปฏิกษัตริย์นิยมคืออะไร? พร้อมจุดจบผู้ตกกระไดพลอยโจน ที่โดนหลอกให้เชื่อเรื่องสถาบันฯ ผิดๆ

(26 มิ.ย. 67) รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ 'ปลายทางของนักปฏิกษัตริย์นิยมคืออะไร?' จากกรณีนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน จำเลยคดี 112 ไม่เดินทางไปฟังคำพิพากษาและถูกหมายจับ โดยมีเนื้อหา ดังนี้…

ปลายทางของนักปฏิกษัตริย์นิยมคืออะไร?

ตัวเองต้องตอบคำถามนี้ให้ชัดแจ้งให้ได้ก่อนที่จะริเป็นนักปฏิกษัตริย์นิยมในประเทศนี้

เพราะสุดท้ายแล้ว ปัจเจกต้องรับผิดชอบชีวิตของตนเองให้ได้ในทุกการตัดสินใจของตัวเองว่าจะเลือกเป็น ‘นัก…’ อะไร

ถ้าจับพลัดจับผลูกลายมาเป็น ‘นักปฏิกษัตริย์นิยม’ แบบตกกระไดพลอยโจน เพราะโดนหลอกให้เชื่อเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างผิด ๆ ด้วยข้อมูลที่บิดเบือน ยกตัวอย่างเช่น...

ทำทีเป็นตั้งคำถามลอย ๆ แซะ ๆ แบบว่า ‘ตระกูลไหนเนรคุณพระเจ้าตากสินหว่า? ’

ชุดคำตอบที่จริงและตรงตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ (จากเพจ ฤๅ - Lue History) คือ

(1) พระเจ้าตากกับรัชกาลที่ 1 ไม่ได้เป็นเพื่อนกัน

คนที่บอกว่าเป็นเพื่อนกัน สามเกลอ จีน ไทย แขก น่าจะอ่านมาจากนิยายของ กศร. กุหลาบ ที่เขียนเรื่องอภินิหารบรรพบุรุษเอาไว้สมัย ร.5

ตอนนี้ความจริงเปิดเผยออกมาหมดแล้ว มีแต่พวกฟังนิทานมาเท่านั้นที่จะพูดแบบนี้

(2) คนก่อกบฏ คือ พระยาสรรค์กับเจ้ารามลักษณ์ หลานของพระเจ้าตาก ตอนนั้นรัชกาลที่ 1 อยู่เขมร

(3) พระยาสรรค์ปลดพระเจ้าตากออกจากกษัตริย์ แล้วบังคับให้ไปบวช ในเวลานั้นพระยาสรรค์คือรัฏฐาธิปัตย์ ที่ยังไม่ได้ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์

(4) เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกลับมา พระยาสรรค์กลัวเลยไปกราบบังคมทูลเชิญพระเจ้าตากกลับมาเพื่อต่อสู้ แต่พระองค์ปฏิเสธ แปลว่าพระยาสรรค์ยังคงเป็นรัฏฐาธิปัตย์อยู่

(5) พระยาสรรค์ยอมแพ้ พระเจ้าตากบวชไม่ยอมสึก ไม่มีรัฏฐาธิปัตย์ ขุนนาง อำมาตย์ เลยกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เริ่มต้นราชวงศ์จักรี

(6) ส่วนเรื่องการชำระโทษนั้น มีรายละเอียดและเหตุผลที่รัชกาลที่ 1 ต้องทำตามบริบททางประวัติศาสตร์ในยุคนั้น

นี่เป็นแค่ตัวอย่างเล็ก ๆ ตัวอย่างเดียวเท่านั้น ที่สะท้อนความเป็นจริงว่า ...

- มีขบวนการปฏิกษัตริย์นิยมดำรงอยู่ในประเทศนี้จริง

- มีกระบวนการจัดตั้ง - ผลิตซ้ำความคิดปฏิกษัตริย์นิยมผ่านสื่อโซเชียลต่าง ๆ จริง

- มีขบวนการบิดเบือนใส่ร้ายสถาบันกษัตริย์จริงผ่าน "การเมืองแห่งเรื่องเล่า" ที่สร้างเรื่องเล่าในอดีตเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อย่างจงใจแหกตาผู้คนที่เสพสื่อรูปแบบต่าง ๆ จริง

- มีกลุ่มปัญญาชนอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ฝักใฝ่ในความคิดปฏิกษัตริย์นิยมจริง

- รวมทั้งมีนักการเมืองและพรรคการเมืองที่เป็นพรรคปฏิกษัตริย์นิยมดำรงอยู่จริง แถมเป็นพรรคใหญ่ด้วย

ทีนี้ เราขอถามกลับพวกปฏิกษัตริย์นิยมบ้างว่า

"ตระกูลไหนเนรคุณในหลวงในสมัย ร.7, ร.8, ร.9 และ ร.10? "

ยุคนี้สามารถค้นหาคำตอบได้ไม่ยากเช่นกัน ขอเพียงผู้นั้น คิดเป็น-วิเคราะห์เป็น-แยกแยะเป็น ได้เท่านั้น

ปลายทางของนักปฏิกษัตริย์นิยมคืออะไร?

คนที่ค้นพบตัวตนแล้วและตระหนักว่า...ตัวเองอยากเป็น ‘นักปฏิกษัตริย์นิยม’ จริง ๆ อย่างยอมอุทิศชีวิตของตนให้ และยึดเอาการกระทำแบบปฏิกษัตริย์นิยม เป็นความสำคัญสูงสุดของชีวิตตน ...ก็จงเป็นนักปฏิกษัตริย์นิยมต่อไปเถิด สักวันอาจมีชื่ออยู่ในตำราประวัติศาสตร์ไทยก็เป็นได้ ถ้าเจ้าตัวมีบทบาททางประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นพอ

แต่ถ้าเจ้าตัวยังมิได้ค้นพบตัวตนที่แท้จริงของตน เพียงแค่หลงในกระแสที่ถูกสื่อเสี้ยมสื่อปั่นแค่ช่วงหนึ่งของชีวิตที่ฮอร์โมนพลุกพล่านจน ‘พร้อมบวกพร้อมปะทะกับอำนาจรัฐพันลึก’

ขอให้ตั้งสติ คิดให้ดีเถิด

ทุก ๆ การกระทำของเรา ล้วนมีผลตามมาที่ตัวเราต้องรับผิดชอบทั้งนั้น

ตอนนี้รู้แล้วรึยังว่าปลายทางของนักปฏิกษัตริย์นิยมคืออะไร?

ใครใฝ่ฝันจะเป็นนักปฏิกษัตริย์นิยมในประเทศนี้ ผมไม่ห้ามนะ แต่เจ้าตัวต้องยอมรับผลที่ตามมา รวมทั้งควรต้อง ‘รู้ทันความคิดปฏิกษัตริย์นิยม’ ก่อนที่จะสมาทานลัทธินี้ใส่สมอง ใส่จิตวิญญาณของตัวเอง

ด้วยความปรารถนาดี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top